นิตยสารเกย์
ในชื่อ เชิงชาย
ซึ่งมีการสร้างสรรค์
ออกมาวางจำหน่าย
ในระยะสั้นๆ
เพียง 2 ฉบับ
ในช่วงปี พ.ศ. 2525
รวมถึงความฮือฮา
จากการที่นิตยสาร
ในชื่อ หนุ่มสาว
มีการตีพิมพ์
ภาพนู๊ดชาย
ควบคู่กันไป
เป็นการเพิ่มเติม
จากที่เดิมนั้น
เคยมีการตีพิมพ์
เฉพาะภาพนู๊ด
ของเหล่านางแบบ
ซึ่งจากกระแสตอบรับที่ดี
ของกลุ่มผู้อ่านทางบ้าน
ทำให้ในช่วงต้นยุค 80
ที่ผ่านมานั้น
วงการสื่อสิ่งพิมพ์
ประเภทนิตยสาร
ในประเทศไทย
ได้มองเห็น
ถึงตลาดใหม่
ของนิตยสาร
ที่มีกลุ่มผู้อ่าน
ซึ่งเป็นชาวเกย์
ซึ่งจากเสียงตอบรับ
ทั้งจากการเปิดตัว
นิตยสารเชิงชาย
การตีพิมพ์
ภาพเซ็กซี่
ของเหล่าดาราชาย
ในนิตยสารแฟชั่น
ในชื่อ พีจี
รวมถึงการตีพิมพ์
ภาพนู๊ดนายแบบ
ในนิตยสารหนุ่มสาว
ก็ทำให้ในปี พ.ศ. 2526
เป็นต้นมานั้น
วงการสื่อสิ่งพิมพ์
ของประเทศไทย
ก็ได้มีโอกาส
ในการต้อนรับ
นิตยสารรายเดือน
หลาย-หลายฉบับ
ที่มีการสร้างสรรค์ขึ้น
สำหรับผู้อ่าน
ที่เป็นชาวเกย์
โดยจากความทรงจำ
ของผู้เขียนบลอก
ในช่วงยุค 80
ซึ่งถือเป็นยุคก่อตั้ง
ของนิตยสารเกย์
ในประเทศไทย
นิตยสารมิถุนา
มรกต มิดเวย์
และ นีออน
ที่นำเรื่องราว
มาบันทึกไว้
ในบทความ
ของบลอก
ในครั้งนี้นั้น
ถือเป็นนิตยสาร
จำนวน 4 ฉบับ
ที่เป็นที่นิยม
และถือเป็นที่จดจำ
ของผุ้อ่านมากมาย
จากการมีเนื่อหา
และรูปแบบ
ที่มีคุณภาพ
สามารถตอบสนอง
ความต้องการ
ของกลุ่มผู้อ่าน
ที่เป็นชาวเกย์
ในช่วงเวลานั้น
ได้เป็นอย่างดี
(โดยในการบันทึก
บทความของบลอก
ในครั้งนี้นั้น
จะเป็นการบันทึก
โดยเป็นการเน้น
ในด้านข้อมูล
ในช่วงปี พ.ศ. 2527
ถึงในช่วงปี พ.ศ. 2532
ซึ่งเป็นช่วงยุคก่อตั้ง
ของทางนิตยสาร
และเพื่อไม่ให้ข้อมูล
ในบทความครั้งนี้
กลายเป็นการรุกล้ำ
ความเป็นส่วนตัว
ของทีมงาน
และกองบรรณาธิการ
รวมถึงนายแบบ
ในเซทภาพนู๊ด
ทำให้ในการบันทึก
บทความครั้งนี้
จะไม่มีการบันทึก
ในด้านข้อมูล
เกี่ยวกับรายชื่อ
ของทีมงาน
กองบรรณาธิการ
และผู้เกี่ยวข้อง
รวมถึงจะไม่ลงภาพ
ของปกนิตยสาร
ในฉบับต่างๆ
ที่เป็นภาพ
ของนายแบบ
ในการถ่ายภาพนู๊ด
ของแต่ละฉบับ
เพื่อรักษา
ความเป็นส่วนตัว
ของแต่ละท่านไว้
โดยในการบันทึก
ของบลอก
ในครั้งนี้นั้น
จะมีภาพประกอบ
ที่มาจากภาพ
ของการถ่ายแฟชั่น
เสื้อผ้าบูติก
ที่ใช้นายแบบ
หรือนักแสดง
มาเป็นแบบ
รวมถึงมีภาพ
จากคอลัมภ์ต่างๆ
ของทางนิตยสาร
เพียงเท่านั้น
โดยมีการละเว้น
ในส่วนของภาพนู๊ด
ในแบบเห็นหน้า
แบบชัดเจน
ของนายแบบ
ประจำฉบับ
ที่เป็นชาวไทย)
สำหรับผู้อ่าน
ที่ไม่ได้เติบโต
มาในช่วงยุค 80
หรือไม่ได้ติดตาม
นิตยสารฉบับนี้
นิตยสารนีออน
เป็นนิตยสาร
สำหรับผู้อ่าน
ที่เป็นชาวเกย์
ที่ในช่วงยุคก่อตั้ง
ของการเปิดตัว
และการสร้างสรรค์
ออกวางจำหน่ายนั้น
นิตยสารนีออน
ถือเป็นนิตยสาร
ในเครือเดียวกัน
กับนิตยสารจีเอ็ม
ไฮคลาส บ้าน
สู่ฝัน หนุ่มสาว
หนุ่มสาวมินิ ฯลฯ
ของทางสำนักพิมพ์
ในชื่อ หนุ่มสาว
ที่มีการสร้างสรรค์
ออกมาวางจำหน่าย
ในรูปแบบรายเดือน
ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2527
ถึงในปี พ.ศ. 2542
(อยู่ในสังกัด
ของสำนักพิมพ์
ในชื่อ หนุ่มสาว
ในช่วงยุคก่อตั้ง
ถึงในปี พ.ศ. 2532
เพียงเท่านั้น
จากนั้นนิตยสาร
ได้เป็นอิสระ
จากการมีเจ้าของ
และทีมงาน
ในกลุ่มใหม่
ตั้งแต่ในช่วงปี พ.ศ. 2533
ไปจนถึงช่วงสุดท้าย
ของการจัดพิมพ์
โดยมีการปรับเปลี่ยน
ทั้งในด้านทีมงาน
รวมถึงรูปแบบ
ของนิตยสาร
อย่างสม่ำเสมอ)
โดยนิตยสาร
ในชื่อ นีออน
ในฉบับนี้นั้น
เป็นที่จดจำ
และเป็นที่คุ้นเคย
ของผู้อ่าน
ในช่วงยุค 80
จากการมีรูปเล่ม
ในแบบขนาดเล็ก
เท่าพ๊อกเก็ตบุ๊ค
และมีความหนา
ประมาณ 148 หน้า
ซึ่งถือเป็นขนาด
ในแบบมาตรฐาน
ของนิตยสารเกย์
ที่ได้รับความนิยม
ในช่วงยุค 80
โดยนิตยสารนีออน
ในฉบับที่ 1
ของปีที่ 1
มีการวางจำหน่าย
ไปสู่ผู้อ่าน
เป็นครั้งแรก
ในวันที่ 1
ของเดือนพฤศจิกายน
ในปี พ.ศ. 2527
โดยนิตยสาร
ในฉบับแรก
มีคำโปรย
บนแผ่นปก
เพื่อการโฆษณา
คือ ร้อนแรง
และจัดจ้าน
ด้วยภาพชุด
ของชายหนุ่ม
นุ่มนวล ลุ่มลึก
ด้วยเนื้อหา สาระ
จากนักเขียนชั้นนำ
โดยนิตยสารนีออน
ในฉบับแรก
ของการจัดพิมพ์
ในปี พ.ศ. 2527
มีราคา 30 บาท
ต่อหนึ่งฉบับ
ก่อนจะมีการปรับเปลี่ยน
ในด้านของราคา
มาเป็น 40 / 50
60 / 120 บาท
ในแต่ละช่วงเวลา
ของการจัดพิมพ์
โดยในช่วงยุคก่อตั้ง
ของทางนิตยสาร
นอกจากนิตยสาร
ในชื่อ นีออน
ที่ออกวางจำหน่าย
ในทุกช่วงต้นเดือน
จากความนิยม
อย่างล้นหลาม
ของทางผู้อ่าน
ก็ทำให้ในปี พ.ศ. 2529
ถึงในช่วงปี พ.ศ. 2530
ที่ผ่านมานั้น
ทางทีมงาน
และกองบรรณาธิการ
ของนิตยสารนีออน
ได้มีการสร้างสรรค์
นิตยสารเกย์
อีกหนึ่งฉบับ
เพื่อออกวางจำหน่าย
ในทุกช่วงกลางดือน
โดยจากความทรงจำ
นิตยสารนีออน
ฉบับกลางเดือน
ที่มีเนื้อหาสาระ
ที่มีความผ่อนคลาย
แบบไม่เป็นทางการ
ตามรูปแบบ
ของนิตยสารนีออน
ในฉบับปกติ
ที่ใช้ชื่อนิตยสาร
ว่า นีออน วีคเอนด์
มีการเปิดตัว
และวางจำหน่าย
เป็นครั้งแรก
ในเดือนตุลาคม
ของปี พ.ศ. 2529
และมีการจัดพิมพ์
อย่างต่อเนื่อง
ไปจนถึงฉบับที่ 9
ประจำเดือนกันยายน
ของปี พ.ศ. 2530
ซึ่งจากการที่นิตยสาร
นีออน นีออน วีคเอนด์
ต่างเป็นนิตยสาร
ที่อยู่ในเครือ
ของสำนักพิมพ์ใหญ่
ซึ่งทางทีมงาน
มีนิตยสารหลายฉบับ
ที่ต้องสร้างสรรค์
และจัดพิมพ์
ก็ทำให้ทางทีมงาน
ได้ตัดสินใจ
ที่จะนำนีออน
และนีออน วีคเอนด์
กลับมารวม
เป็นเล่มเดียวกัน
ในช่วงเดือนพฤศจิกายน
ของปี พ.ศ. 2530
เพื่อการวางจำหน่าย
ที่ตรงเวลา
โดยในฐานะ
นิตยสารนีออน
ในแบบรวมเล่ม
ตั้งแต่ในฉบับที่ 27
เป็นต้นมานั้น
นิตยสารนีออน
ฉบับปกติ
ก็มีการเพิ่มราคา
และมีการนำคอลัมภ์
ที่ความโดดเด่น
จากนีออน วีคเอนด์
มารวมกันไว้
ในนิตยสารนีออน
ฉบับปกติ
(โดยนอกจากนิตยสาร
ในชื่อ นีออน วีคเอนด์
ที่มีการสร้างสรรค์
ออกมาวางจำหน่าย
เป็นการเพิ่มเติม
จากการผลิต
นิตยสารนีออน
ในช่วงยุคก่อตั้ง
ตั้งแต่ในปี พ.ศ. 2533
ที่ทางนิตยสาร
เป็นอิสระ
จากสำนักพิมพ์
ในช่วงยุคก่อตั้ง
ทางทีมงานใหม่
ก็ได้มีการผลิต
นิตยสารวีคเอนด์ เม็น
นิตยสารห้องห้าเหลี่ยม
นิตยสารนีออน สเปเชียล
ผลงานอัลบั้มภาพ
รวมภาพนู๊ด
และภาพลับเฉพาะ
จากนิตยสารนีออน
และ วีคเอนด์ เม็น
ออกมาวางจำหน่าย
อย่างสม่ำเสมอ
ในช่วงปี พ.ศ. 2533
ถึงในช่วงปี พ.ศ. 2542)
สำหรับรุปแบบ
และภาพลักษณ์
ของนิตยสาร
สำหรับผู้อ่าน
ที่เป็นเกย์
ในชื่อ นีออน
และ นีออน วีคเอนด์
จากความทรงจำ
ของผู้เขียนบลอก
นิตยสารนีออน
และ นีออนวีคเอนด์
ในช่วงยุคก่อตั้งนั้น
เป็นนิตยสาร
ที่มีเนื้อหา
ประกอบด้วยแฟชั่น
เสื้อผ้าบูติก
จากสปอนเซอร์
ภาพนู๊ดนายแบบ
เรื่องสั้น นิยาย
นิยายแปล
บทกวี บทความ
บทสัมภาษณ์
บทวิจารณ์
ภาพยนตร์ เพลง
และ หนังสือ
รวมถึงมีบทความ
แนะนำสถานที่ท่องเที่ยว
ทั้งแบบธรรมชาติ
และสถานบันเทิง
สำหรับชาวเกย์
นอกจากนี้
ยังมีคอลัมภ์ต่างๆ
ที่มีการนำเสนอ
ทั้งในด้านสุขภาพ
บุคลิกภาพ สุขภาพจิต
โชคชะตาราศี
ตอบปัญหาชีวิต ฯลฯ
โดยนิตยสาร
ทั้งสองฉบับนี้
ในช่วงแรกๆ
ของการจัดพิมพ์
ก่อนปี พ.ศ. 2533
นิตยสารนีออน
และ นีออนวีคเอนด์
ทั้งสองฉบับนี้
มีรูปแบบนิตยสาร
ที่แม้จะมีจุดเด่น
ในการนำเสนอ
ภาพนู๊ดชาย
แต่ก็เน้น
ในการนำเสนอ
ภาพรวมต่างๆ
ของนิตยสาร
ในรูปแบบ
ของนิตยสารปกติ
ที่มีคอลัมภ์ต่างๆ
อย่างบทวิจารณ์
ภาพยนตร์ เพลง
แนะนำหนังสือ
แนะนำที่ท่องเที่ยว
ตอบปัญหาชีวิต
และสุขภาพ ฯลฯ
ซึ่งรูปแบบเฉพาะ
ของนิตยสารเกย์
ในรุปแบบนี้
ที่ต่างจากปัจจุบัน
ที่มักนำเสนอ
ในด้านภาพนู๊ด
และเรื่องราว
ประสบการณ์ทางเพศ
ซึ่งจากลักษณะเฉพาะ
ของนิตยสาร
ที่มีการสร้างสรรค์
ในรูปแบบนี้นั้น
ก็มาจากการที่นิตยสาร
นีออน นีออน วีคเอนด์
ถือเป็นนิตยสาร
สำหรับเกย์
ที่มีการเปิดตัว
เป็นยุคแรกๆ
ของประเทศไทย
ซึ่งการเป็นผู้บุกเบิก
รุปแบบใหม่ๆ
ก็นำมาสู่การจับจ้อง
ของสังคมไทย
และสื่อมวลชน
ในขณะนั้นนั่นเอง
(เป็นที่น่าเสียดาย
ที่ตั้งแต่ในปี พ.ศ. 2533
เป็นต้นมานั้น
นิตยสารนีออน
นีออนวีคเอนด์
ที่มีการแยกตัว
จากสำนักพิมพ์เดิม
รวมถึงนิตยสาร
สำหรับผู้อ่าน
ที่เป็นเกย์
ฉบับต่างๆ
ในประเทศไทย
ที่มักมีปัญหา
ในด้านการถูกปฎิเสธ
จากทางสายส่ง
ซึ่งยากต่อการขาย
ตามแผงนิตยสาร
จากการถูกเหมารวม
ไปกับนิตยสาร
ที่เน้นภาพโป๊
ของการร่วมเพศ
ในแบบเห็นหมดจด
ซึ่งจากปัญหา
ในการวางแผง
ก็ทำให้นิตยสาร
ของชาวเกย์
ที่มีรูปแบบดีๆ
และมีรูปเล่ม
ที่มีความสวยงาม
ในช่วงยุคก่อตั้ง
มียอดจำหน่าย
ลดลงอย่างมาก
จากการกวาดล้าง
สื่อลามกต่างๆนั้น
ได้มีการปรับเปลี่ยน
ในด้านราคา
ให้สูงมากขึ้น
เพื่อให้พอเพียง
กับยอดพิมพ์
ที่ลดน้อยลง
รวมถึงมีการเน้น
ในด้านการนำเสนอ
ภาพนู๊ดชาย
การจำหน่าย
วีดืโอโป๊
ที่มีความโจ่งแจ้ง
และมีการตีพิมพ์
ประสบการณ์ทางเพศ
ที่หวือหวา
ให้มากยิ่งขึ้น
เพื่อเป็นการจูงใจ
กลุ่มผู้อ่าน
ให้มีความต้องการ
ในนิตยสาร
ที่มียอดพิมพ์
ที่ลดลงไป)
ซึ่งจากรูปแบบ
ของนิตยสารเกย์
ในช่วงยุคก่อตั้ง
ของการสร้างสรรค์
ซึ่งนอกจากภาพนู๊ด
ของนายแบบ
ที่มีการถ่ายทำ
ในแบบมีรสนิยม
ไม่เน้นความหวือหวา
โดยช่างภาพอาชีพ
และภาพแฟชั่น
ของเซทเสื้อผ้า
จากสปอนเซอร์
โดยผู้แสดงแบบ
ที่เป็นนายแบบ
ในวงการแฟชั่น
ที่ถือเป็นจุดเด่น
ของนิตยสารเกย์
ในช่วงยุคก่อตั้ง
ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2527
เป็นต้นมานั้น
นิตยสารนีออน
และ นีออน วีคเอนด์
ยังมีบทความ
และคอลัมภ์ต่างๆ
ที่เป็นงานข้อเขียน
ที่อ่านสนุก
และเพลิดเพลิน
ไม่มีความหยาบโลน
โดยจากความทรงจำ
ของผู้เขียนบลอก
นิตยสารนีออน
และ นีออน วีคเอนด์
ในช่วงยุคแรกเริ่ม
คือ พ.ศ. 2527
ถึงในช่วงปี พ.ศ. 2533
นิตยสารเกย์
ทั้งสองฉบับนี้
มีคอลัมภ์ต่างๆ
ที่มีความน่าสนใจ
สำหรับผู้อ่าน
ดังนี้ เปิดสวิชต์
ปิดสวิชต์
ป้องปากเม๊าท์
(บทบรรณาธิการ
และการตอบจดหมาย
ของผู้อ่านทางบ้าน)
ปีกนีออน
เกย์ เวย์
วีคเอนด์พาเที่ยว
(แนะนำสถานที่ท่องเที่ยว
ทั้งในแบบธรรมชาติ
และสถานบันเทิง
สำหรับชาวเกย์)
นีออนโน๊ต
แสงและเงา
หิ้งหนังสือ
ข่าวอาร์ต
(คอลัมภ์แนะนำ
และบทวิจารณ์
ผลงานเพลง
หนังสือ
งานศิลปะ
นิทรรศการ
ภาพยนตร์
ละครเวที
ละครโทรทัศน์ ฯลฯ)
อีโรติก อาร์ต
(ภาพศิลปะ
ในแบบอีโรติก
ทั้งจากศิลปิน
ในประเทศ
และต่างประเทศ)
ห้องห้าเหลี่ยม
(ประสบการณ์ทางเพศ
จากผู้อ่านทางบ้าน)
ใต้อาทิตย์ดวงเดิม
(ประวัติศาสตร์เกย์
จากบันทึกทั่วโลก)
บทความทางเพศ
ฝานมิติ
เพื่อตัวเอง
สุขภาพดี
มีชัยไปกว่าครึ่ง
(คอลัมภ์ บทความ
เกี่ยวกับปัญหา
ในด้านสุขภาพ
สุขภาพจิต
เซ็กซ์ การแต่งตัว
การปรับปรุง
ในด้านบุคลิกภาพ
ความรู้และการป้องกัน
ในด้านเพศสัมพันธ์)
สิบสามนาที
ห้องรับแขก
ยัง แอนด์ สมาร์ท
(บทสัมภาษณ์
บุคคลต่างๆ
ที่มีความหลากหลาย
ไม่เน้นเฉพาะเกย์)
เสี่ยงสาส์น
(ประกาศหาเพื่อน
ทางจดหมาย)
ทำเนียบคนดัง
(ประวัติชีวิต
บุคคลสำคัญ
จากทั่วโลก
ที่เป็นเกย์)
หนึ่งนาที
กับนายแบบ
ผู้ชายนีออน
ลุกขึ้นทำหล่อ
หนุ่มข้างบ้าน
(ข้อมูลนายแบบ
ในภาพแฟชั่น
และภาพนู๊ด)
คลายเส้น
(เรื่องขำขัน
ประจำฉบับ)
ซุบ(รูด)ซิบ
(ข่าวซุบซิบ
วงการบันเทิง
และวงสังคม
ในประเทศไทย)
แลไปข้างหลัง
(ข่าวที่น่าสนใจ
ในประเทศ
และต่างประเทศ)
กิฟท์ ไกด์
(แนะนำสินค้า
ที่น่าสนใจ)
นีออน ไลท์
(ข่าวฝากประชาสัมพันธ์)
โดยจากความทรงจำ
ของผู้เขียนบลอก
นิตยสารเกย์
ในชื่อ นีออน
ที่มีการเปิดตัว
และมีการวางจำหน่าย
ในฉบับที่ 1
ในช่วงปี พ.ศ. 2527
ถือเป็นนิตยสารเกย์
ในกลุ่มนิตยสาร
จำนวน 4 ฉบับ
คือ มิถุนา
มิดเวย์ มรกต
และ นีออน
ที่ได้รับความนิยม
จากผู้อ่าน
ในช่วงยุค 80
ที่มีการเปิดตัว
เป็นลำดับที่ 2
ต่อจากนิตยสาร
ในชื่อ มิถุนา
ที่มีการเปิดตัว
ไปก่อนหน้านี้
ในช่วงปี พ.ศ. 2526
โดยในฐานะนิตยสาร
สำหรับผู้อ่าน
ที่เป็นชาวเกย์
ในช่วงยุคก่อตั้ง
ของนิตยสารเกย์
ในประเทศไทย
(ประมาณปี พ.ศ. 2526
ถึงปี พ.ศ. 2533)
นิตยสารนีออน
ถือเป็นนิตยสารเกย์
ที่อยู่ในแถวหน้า
เป็นอันดับหนึ่ง
ของนิตยสาร
ประเภทนี้
จากการมีรูปแบบ
ของนิตยสาร
ที่มีความปราณีต
มีเนื้อหา สาระ
ไม่หยาบโลน
จากการที่นิตยสาร
ในช่วงยุคก่อตั้ง
มีคุณวีร์ นิติ
เป็นบรรณาธิการ
เป็นท่านแรก
ซึ่งจากการเป็นผู้หญิง
และมาจากแวดวง
ของงานโฆษณา
ก็ทำให้นิตยสารนีออน
ในช่วงยุคก่อตั้งนั้น
ถือเป็นนิตยสาร
ที่มีความทันสมัย
และมีความโดดเด่น
ในด้านเนื้อหา
ที่สร้างความเข้าใจ
ให้กับชาวเกย์
นอกจากนี้
การที่นิตยสาร
ในช่วงยุคก่อตั้ง
ถือเป็นนิตยสาร
ที่มาจากทีมงาน
กองบรรณาธิการ
ฝ่ายภาพ ฝ่ายศิลป์
ช่างภาพ สายส่ง
ของบริษัท
และสำนักพิมพ์
ในเครือเดียวกัน
กับ ไฮคลาส
จีเอ็ม สู่ฝัน
หนุ่มสาว
หนุ่มสาวมินิ
ซึ่งล้วนเป็นนิตยสาร
ที่ได้รับความนิยม
และเป็นที่จดจำ
ในช่วงยุค 80
ในฐานะนิตยสาร
ที่มีคุณภาพ
ก็ทำให้นิตยสารนีออน
ถือเป็นนิตยสารเกย์
ที่มีการเปิดตัว
ได้อย่างมั่นคง
และประสบความสำเร็จ
จากการได้รับความนิยม
ขึ้นมาอย่างรวดเร็ว
จากคุณภาพ
ของทางนิตยสาร
ซึ่งมาจากทีมงาน
และสำนักพิมพ์
ที่มีความมั่นคง
ในระดับแถวหน้า
ของวงการสื่อสิ่งพิมพ์
ในประเทศไทย
ในช่วงเวลานั้น
จากความโดดเด่น
ในด้านเนื้อหา
และรูปเล่ม
ที่มีระดับ
ในช่วงยุคก่อตั้ง
ที่มีคุณวีร์ นิติ
เป็นบรรณาธิการ
เป็นคนแรก
ของทางนิตยสาร
ซึ่งนำไปสู่ช่วงเวลา
ของความเฟื่องฟู
ในยุคที่ทีมงาน
ของทางนิตยสาร
มีคุณพิริยะ เมฆฉาย
เป็นบรรณาธิการ
ซึ่งในช่วงเวลา
ที่ทางนิตยสาร
มีบรรณาธิการ
ท่านหลังนี้
ประจำอยู่นั้น
นิตยสารนีออน
ก็ดูจะเป็นนิตยสาร
อันดับหนึ่ง
สำหรับผู้อ่าน
ที่เป็นชาวเกย์
จากการที่นิตยสาร
มีความโดดเด่น
ทั้งในด้านรุปเล่ม
และเนื้อหาสาระ
โดยนิตยสารนีออน
ในช่วงเวลานั้น
เป็นที่จดจำ
ของผู้อ่าน
จากการเป็นนิตยสาร
สำหรับเกย์
ที่ก้าวล้ำสมัย
จากการมีภาพ
ทั้งในแง่แฟชั่น
และภาพนู๊ด
รวมถึงมีสารคดี
การท่องเที่ยว
ที่เป็นการถ่ายทำ
มาจากต่างประเทศ
นอกจากนี้
นิตยสารนีออน
ในช่วงเวลานั้น
ยังมีความโดดเด่น
จากการเป็นนิตยสาร
ที่ให้ความสำคัญ
กับปัญหาสิทธิ
และความเท่าเทียม
ของชาวเกย์
ในสังคม
ซึ่งข้อมูลข่าวสาร
และกิจกรรมต่างๆ
จากการประสานงาน
ของคุณพิริยะ เมฆฉาย
ผ่านกลุ่มกิจกรรมต่างๆ
จากต่างประเทศ
ก็ทำให้นิตยสาร
ในฉบับนี้
ในช่วงเวลานั้น
ถือเป็นนิตยสาร
สำหรับผู้อ่าน
ที่เป็นเกย์
ที่ได้รับความสนใจ
จากผู้อ่าน
และกลุ่มกิจกรรมต่างๆ
จากทางต่างประเทศ
ซึ่งจากเสียงตอบรับที่ดี
ในรูปแบบนี้นี่เอง
ทำให้นิตยสารนีออน
ในช่วงปี พ.ศ. 2527
ถึงปี พ.ศ. 2532
ที่ผ่านมานั้น
ถือเป็นนิตยสาร
ที่เป็นที่จดจำ
ของผุ้อ่าน
หลาย-หลายท่าน
หากจะมองย้อนไป
ถึงในช่วงเวลาเก่าๆ
ที่นิตยสารเกย์
ในประเทศไทย
ล้วนมีการนำเสนอ
ในรูปแบบนิตยสาร
ที่มีเนื้อหา สาระ
ไม่เน้นในการนำเสนอ
ภาพนู๊ด ภาพการร่วมเพศ
หรือประสบการร์ทางเพศ
ที่มีความหวือหวา
อย่างนิตยสารเกย์
ในระยะต่อมา
โดยแม้ว่านิตยสาร
ในชื่อ นีออน
ในช่วงยุคก่อตั้ง
จะเป็นนิตยสาร
ที่ได้รับความนิยม
และเป็นที่ยอมรับ
ในแง่ของคุณภาพ
แต่จากการที่นิตยสาร
มีกลุ่มเป้าหมาย
ที่เฉพาะกลุ่ม
และมีปัญหา
ในด้านการวางจำหน่าย
จากการถูกเหมารวม
ไปกับสื่อสิ่งพิมพ์
ประเภทภาพโป๊
ซึ่งมีภาพ
ของการร่วมเพศ
อย่างชัดเจน
ทำให้ต้องพึ่งพิง
ในด้านยอดขาย
จากการจำหน่าย
ภาพลับเฉพาะ
ก็ทำให้ในช่วงปี พ.ศ. 2532
ทางสำนักพิมพ์
ในชื่อ หนุ่มสาว
ก็ได้ตัดสินใจ
ที่จะยุติ
การสร้่างสรรค์
นิตยสารฉบับนี้
อย่างกะทันหัน
เป็นครั้งแรก
โดยจากบทบรรณาธิการ
ของทางนิตยสาร
ในฉบับที่ 43
ประจำเดือนตุลาคม
ของปี พ.ศ. 2532
ที่มีคำโปรย
บนแผ่นปก
ว่า ฉบับอำลา
ฟ้าเรืองแสง
คุณพิริยะ เมฆฉาย
ซึ่งเป็นบรรณาธิการ
ก็ได้มีการกล่าวอำลา
และแจ้งการปิดตัวลง
ของทางนิตยสาร
ไปสู่ผู้อ่านทางบ้าน
ซึ่งจากเสียงเรียกร้อง
ของกลุ่มผู้อ่าน
ที่มีจดหมาย
ไปถึงทีมงาน
อย่างมากมาย
จากการที่นิตยสาร
ได้ปิดตัวลง
อย่างกะทันหัน
ก็ทำให้ในช่วงต้นปี
ของปี พ.ศ. 2533
นิตยสารนีออน
ในรูปแบบใหม่
ที่เป็นอิสระ
จากสำนักพิมพ์
และเจ้าของเก่า
แต่มีบรรณาธิการ
เป็นคนเดิม
ได้มีการเปิดตัว
ฉบับที่ 44
ประจำเดือนมกราคม
ของปี พ.ศ. 2533
ออกมาวางจำหน่าย
ไปสู่ผู้อ่านทางบ้าน
อีกครั้งหนึ่ง
ซึ่งในการกลับมา
ของนิตยสารนีออน
ในรูปแบบใหม่
ซึ่งมีคุณพิริยะ เมฆฉาย
เป็นบรรณาธิการ
ประมาณ 4 ฉบับนั้น
หลังจากปี พ.ศ. 2534
นิตยสารฉบับนี้
ก็ได้มีการปรับเปลี่ยน
ในด้านทีมงาน
บรรณาธิการบริหาร
บรรณาธิการอำนวยการ
กองบรรณาธิการ
รวมถึงรูปแบบ
ของนิตยสาร
หลาย-หลายครั้ง
ควบคู่กันไป
กับการจัดพิมพ์
นิตยสารวีคเอนด์ เมน
นิตยสารห้องห้าเหลี่ยม
นิตยสารนีออน สเปเชียล
อัลบั้มภาพนู๊ด
อัลบั้มภาพลับเฉพาะ
การจัดจำหน่ายวีดีโอ
สำหรับผู้ชมเกย์
จากต่างประเทศ ฯลฯ
ออกมาวางจำหน่าย
ไปสู่ผู้อ่าน
โดยในฐานะ
นิตยสารเกย์
นิตยสารนีออน
ที่มีการเปิดตัว
ในช่วงปี พ.ศ. 2527
และมีการปรับเปลี่ยน
ในด้านรูปแบบครั้งใหญ่
ในช่วงปี พ.ศ. 2533
ได้มีการจัดพิมพ์
อย่างต่อเนื่อง
ไปถึงช่วงปี พ.ศ. 2542
โดยนิตยสารนีออน
ในฉบับสุดท้าย
ที่ผู้เขียนบลอก
ยังคงมีเก็บไว้
คือนิตยสารนีออน
ฉบับที่ 130
ประจำปี พ.ศ. 2542
ซึ่งเป็นปีที่ 15
ของทางนิตยสาร
หากจะนับย้อน
กลับไปในยุคก่อตั้ง
(เป็นนิตยสาร
ในฉบับสุดท้าย
ที่ผู้เขียนบลอก
ยังคงมีเก็บไว้
เพียงเท่านั้น
ซึ่งอาจจะใม่ใช่
นิตยสารนีออน
ฉบับสุดท้าย
ที่ทางทีมงาน
มีการสร้างสรรค์
และวางจำหน่าย
ไปสู่ผู้อ่าน
โดยในการบันทึก
บทความของบลอก
ในครั้งนี้นั้น
หากมีข้อมูล
ที่ไม่ครบถ้วน
หรือมีรายละเอียด
ที่ไม่ถุกต้อง
ผู้เขียนบลอก
ต้องขออภัย
ทางทีมงาน
ของนิตยสาร
ในช่วงยุคก่อตั้ง
และยุคเปลี่ยนแปลง
ไว้ ณ ที่นี้)