จิบิมารุโกะจัง / โมโมโกะ ซากุระ

ตั้งแต่ในช่วงปี พ.ศ. 2535

ที่วงการการ์ตูน

ในประเทศไทย

มีการเปลี่ยนแปลง

จากการเข้าสู่ช่วงเวลา

ที่สำนักพิมพ์ต่างๆ

มีการจัดพิมพ์

การ์ตูนเรื่องต่างๆ

จากประเทศญี่ปุ่น

ในรูปแบบลิขสิทธิ์

อย่างถูกต้อง

ทางสำนักพิมพ์

NED-COMICS

ในเครือเนชั่นนั้น

เป็นที่จดจำ

ของผู้อ่าน

หลาย-หลายท่าน

ที่ได้ติดตาม

ผลงานการ์ตูน

เรื่องต่างๆ

ของประเทศญี่ปุ่น

จากการเป็นสำนักพิมพ์

ที่ถือเป็นบริษัทใหญ่

ในประเทศไทย

ที่ได้ลิขสิทธิ์

การ์ตูนเรื่องดัง

หลาย-หลายเรื่อง

ของประเทศญี่ปุ่น

นำมาแปล

และจัดพิมพ์

เพื่อวางจำหน่าย

ในประเทศไทย

โดยจากความทรงจำ

ของผู้เขียนบลอก

ผลงานการ์ตูน

เรื่อง จิบิมารุโกะจัง

ของ อ.โมโมโกะ ซากุระ

ที่ประสบความสำเร็จ

อย่างสูง

ทั้งในประเทศญี่ปุ่น

และประเทศอื่นๆนั้น

ถือเป็นการ์ตูนสุดฮิต

อีกเรื่องหนึ่ง

ที่สำนักพิมพ์แห่งนี้

ได้มีการติดต่อ

ในด้านลิขสิทธิ์

กับทางสำนักพิมพ์

ของประเทศญี่ปุ่น

เพื่อนำมาแปล

และจัดพิมพ์

สำหรับผู้อ่าน

ในประเทศไทย




สำหรับผู้อ่านบลอก

ที่ไม่ได้ติดตาม

ผลงานการ์ตูน

ในเรื่องนี้

ผลงานการ์ตูน

เรื่อง จิบิมารุโกะจัง

(Chibi Maruko-chan)

เป็นผลงานการ์ตูน

สำหรับผู้หญิง

จากการวาด

และประพันธ์เรื่อง

โดย อ.โมโมโกะ ซากุระ

ซึ่งในช่วงแรกนั้น

การ์ตูนเรื่องนี้

มีรูปแบบ

เป็นการ์ตูน

ประกอบบทความ

สำหรับผู้อ่าน

ที่ค่อนข้าง

เป็นผู้ใหญ่

(จากการเป็นเรื่อง

ในแบบย้อนอดีต

เกี่ยวกับชีวิต

ในช่วงวัยเด็ก

ของผู้เขียน)

ก่อนจะมีการปรับ

ให้เป็นการ์ตูนสั้น

ที่มีรูปแบบ

ที่อ่านง่าย

และมีภาพลายเส้น

ที่มีความสวยงาม

เนื้อหาสร้างสรรค์

เหมาะสมกับเด็กๆ

มากยิ่งขึ้น

ในช่วงยุคหลัง

โดยการ์ตูนเรื่องนี้

ในตอนแรกสุดนั้น

มีการเปิดตัว

และตีพิมพ์

เป็นครั้งแรก

ลงในนิตยสาร

ในชื่อ Ribon

ซึ่งเป็นนิตยสาร

ประเภทการ์ตูน

สำหรับเด็กผู้หญิง

ของสำนักพิมพ์ชูเอชะ

ในช่วงปี พ.ศ. 2529

ซึ่งหลังจากการเปิดตัว

การ์ตูนเรื่องนี้

ในตอนแรก

ทางสำนักพิมพ์

ได้มีการตีพิมพ์

ผลงานการ์ตูนเรื่องนี้

แบบเป็นตอน-ตอน

ลงในนิตยสาร

แบบไม่สม่ำเสมอ

ตั้งแต่ในช่วงปี พ.ศ. 2529

ถึงในช่วงปี พ.ศ. 2552

โดยในแง่ของการวมเล่ม

ออกมาวางจำหน่าย

สำหรับผู้อ่านนั้น

การ์ตูนเรื่องนี้

มีการรวมเล่ม

ออกมาวางจำหน่าย

ทั้งหมด 16 เล่ม

(โดยเป็นเล่มปกติ

จำนวน 15 เล่ม

และเป็นเล่มพิเศษ

ที่เป็นการรวมภาพ

และเรื่องราว

ของการ์ตูน

ในรูปแบบ

ของภาพยนตร์

จำนวน 1 เล่ม)

ออกมาวางจำหน่าย

สำหรับผู้อ่าน

ที่ต้องการสะสม

ในภายหลัง

ซึ่งจากความดีเด่น

ของการ์ตูนเรื่องนี้

ที่มียอดจำหน่าย

ถึง 31 ล้านเล่ม

จนเป็นที่จดจำ

ในฐานะการ์ตูน

ที่มียอดขาย

สูงสุดตลอดกาล

ในลำดับที่ 5

ของฝั่งการ์ตูน

สำหรับผู้หญิง

(รองจากการ์ตูน

สาวแกร่งแรงเกินร้อย

หน้ากากแก้ว

คำสาปฟาโรห์

และ นานะ

แต่ทั้งนี้ทั้งนั้น

การ์ตูนเรื่องนี้

มีจำนวน

ลำดับเล่ม

ที่น้อยที่สุด

ในกลุ่มท๊อปไฟว์นี้

ทำให้หากคิด

ถึงยอดขาย

แยกแต่ละเล่ม

ก็ถือว่าสูงมาก)

ก็ทำให้ผลงาน

การ์ตูนเรื่องนี้

ได้รับรางวัล

การ์ตูนผู้หญิงยอดเยี่ยม

จากการประกาศรางวัล

Kodansha Manga Award

ในปี พ.ศ. 2532

รวมถึงได้รับเลือก

นำมาดัดแปลง

เป็นผลงานภาพยนตร์

การ์ตูนโทรทัศน์

ละครโทรทัศน์

ในแบบคนแสดง

รวมถึงมีสินค้า

ของที่ระลึก

ออกวางจำหน่าย

ในหลากหลายรูปแบบ

ซึ่งก็ได้รับความนิยม

จากผู้ชมทางบ้าน

ทั้งในประเทศญี่ปุ่น

และต่างประเทศ

อย่างต่อเนื่อง

มาจนถึงในทุกวันนี้




สำหรับผู้อ่าน

ในประเทศไทย

ผลงานการ์ตูน

เรื่อง จิบิมารุโกะจัง

(Chibi Maruko-chan)

ของ อ.โมโมโกะ ซากุระ

ในรูปแบบมังงะนั้น

ได้รับการติดต่อ

ในด้านลิขสิทธิ์

จากสำนักพิมพ์ชูเอชะ

เพื่อนำมาแปล

และจัดพิมพ์

ในประเทศไทย

โดยสำนักพิมพ์

NED-COMICS

ซึ่งเป็นสำนักพิมพ์

ที่อยู่ในเครือ

ของบริษัทเนชั่น

โดยผลงานการ์ตูน

ที่ได้รับความนิยม

ในเรื่องนี้

มีการตั้งชื่อ

ในภาษาไทย

ในการจัดพิมพ์

เป็นครั้งแรก

ในรูปแบบ

ของการ์ตูน

ในแบบรวมเล่ม

ในประเทศไทย

ว่า เด็กหญิงเป๋อแหวว

จิบิมารุโกะจัง

โดยการ์ตูน

ฉบับภาษาไทย

ในฉบับที่ 1

จากการตีพิมพ์

เป็นครั้งแรก

ในประเทศไทย

ออกวางจำหน่าย

เป็นครั้งแรก

ในเดือนกันยายน

ของปี พ.ศ. 2540

โดยมีราคาปก

อยู่ที่ 35 บาท

และมีรูปเล่ม

ที่สวยงาม

คล้ายการจัดพิมพ์

และรูปเล่มเดิม

ในประเทศญี่ปุ่น

(โดยในฉบับที่ 15

ที่เป็นการรวบรวม

เอาตอนใหม่ๆ

มาตีพิมพ์นั้น

มีการเปลี่ยนแปลง

ในด้านราคา

เป็น 45 บาท

จากการตีพิมพ์

ออกมาวางจำหน่าย

ในช่วงปี พ.ศ. 2551

ซึ่งมีระยะเวลา

ห่างจากฉบับที่ 14

ที่มีการตีพิมพ์

ในประเทศไทย

เป็นครั้งแรก

ในช่วงปลายปี

ของ พ.ศ. 2541

ค่อนข้างนาน

ทำให้มีการปรับ

ในด้านราคาปก)

โดยในการจัดพิมพ์

ในรูปแบบภาษาไทย

ในฉบับพิมพ์ครั้งแรกนี้

มีรายชื่อของผู้แปล

คือ คุณสุณีย์ ตั้งตน

และ คุณรัชนิภา ถาวรนิติ

(ในการจัดพิมพ์

เป็นครั้งแรก

มีการลงรายชื่อ

ของผู้แปล

เพียง 3 เล่มเท่านั้น

คือ เล่มที่ 1

4 และ 15

ทำให้หากมีข้อมูล

ที่มีความผิดพลาด

ผู้เขียนบลอก

ต้องขออภัย

ไว้ ณ ที่นี้)




สำหรับเนื้อหา

ของผลงานการ์ตูน

เรื่อง จิบิมารุโกะจัง

ผลงานการ์ตูน

ที่ประสบความสำเร็จ

อย่างมากเรื่องนี้

เป็นเรื่องราวชีวิต

ของครอบครัว

ชาวญี่ปุ่น

ในเขตชิมิซุ

เมืองชิซึโอะกะ

ในช่วงกลางยุค 70

(ประมาณปี พ.ศ. 2517)

ที่มีตัวละครหลัก

คือ โมโกะโกะ ซากุระ

เด็กผู้หญิงตัวเล็กๆ

อายุ 9 ขวบ

ซึ่งเพื่อนๆ

และครอบครัว

มักจะเรียกเธอ

ว่า มารุโกะ

โดยการ์ตูนเรื่องนี้

เป็นการนำเสนอ

ชีวิตวัยเยาว์

และเรื่องราวใกล้ตัว

ทั้งที่บ้าน

และโรงเรียน

ของมารุโกะ

ซึ่งเป็นเด็กผู้หญิง

ในครอบครัว

แบบธรรมดาๆ

ที่มีฐานะปานกลาง

ซึ่งมีพ่อ แม่

ลูกสาวสองคน

คุณปู่ คุณย่า

(ฮิโรชิ ซึมิเระ

ซากิโกะ โมโมโกะ

โทโมโซ โคตาเกะ)

โดยมารุโกะนั้น

เป็นเด็กผู้หญิง

ในแบบธรรมดาๆ

ที่มีความร่าเริง

มีความตั้งใจดี

แต่บางครั้ง

ก็ทำผิดพลาด

ตามประสาเด็กๆ

โดยในการ์ตูนเรื่องนี้

นอกจากตัวละคร

ในครอบครัว

ของมารุโกะแล้ว

คุณครูและเพื่อนๆ

ในโรงเรียนประถม

อย่าง คุณครูโทะงาว่า

ฮานาวะคุง ทามะจัง

มารุโอะคุง ยามาดะ

ฮามาซากิคุง นางาซาว่า

ฟุจิคิ โนะงุจิ มิงิวะ

ก็มีความโดดเด่น

และเป็นตัวละคร

ที่ทำให้เรื่องราว

มีความสนุกสนาน

มากยิ่งขึ้น




จากความทรงจำ

ของผู้เขียนบลอก

ผลงานการ์ตูน

เรื่อง จิบิมารุโกะจัง

ของ อ.โมโมโกะ ซากุระ

ถือเป็นการ์ตูน

ทางฝั่งผู้หญิง

อีกเรื่องหนึ่ง

ที่ผู้เขียนนั้น

มีความรู้สึก

ที่ประทับใจ

โดยส่วนตัวแล้ว

แม้จะเริ่มต้นอ่าน

การ์ตูนเรื่องนี้

ในวัย 20 ปี

(การ์ตูนเรื่องนี้

มีการตีพิมพ์

เป็นครั้งแรก

ในประเทศไทย

ในช่วงปี พ.ศ. 2540

ซึ่งในขณะนั้น

ผู้เขียนบลอก

กำลังอยู่ปี 2

ในระดับมหาวิทยาลัย)

แต่จากการที่ผลงาน

การ์ตูนเรื่องนี้นั้น

แม้จะนำเสนอ

เรื่องราวชีวิต

ของเด็กผู้หญิง

ในโรงเรียนประถม

แต่ในช่วงยุคแรก

ของการจัดพิมพ์

(ในเล่มที่ 1

ถึงเล่มที่ 8)

การ์ตูนเรื่องนี้

มีการนำเสนอ

ในรูปแบบ

ของการ์ตูน

ในแบบบทความ

ซึ่งทั้งในเรื่องหลัก

คือ จิบิมารุโกะจัง

และเรื่องสั้นต่างๆ

ที่แทรกในทุกเล่ม

อย่าง อยู่คนเดียว

ใส้ติ่งอักเสบยามเช้า

สมัยไว้หางเปีย

ทางเดินกลับบ้าน

ณ ที่หนึ่งอันแสนไกล

อุ่นใอของสายแดด

ฤดูร้อนอันไร้สีสัน

เสียงและแสง

แห่งความฝัน

แว่วเสียงผิวปาก

หนูเอยจะสอนให้

จงขอบใจครูซะดีๆ

เลือดกำเดาที่เฝ้าฝัน

เลี้ยงสัตว์มีรางวัลให้

แค่ไปดิสโก้เเค่เนี้ย

อยากกินหิมะ

ผมทรงกะลาครอบ

เด็กใหม่ไม่รู้สัญชาติ

เล่นคนเดียวก็ได้

ทำไมไม่อาย

บ้านหนูจน

บ่านหนูจน 2

A Jolly Day ฯลฯ

ซึ่งเป็นเหมือนบทความ

ที่บอกเล่าชีวิต

ในช่วงวัยเยาว์

และช่วงวัยรุ่น

ในแนวตลกขบขัน

แต่ให้ความรู้สึก

ที่อบอุ่นใจ

ของผู้เขียนนั้น

ดูจะเป็นการบอกเล่า

เกี่ยวกับความทรงจำ

และสิ่งต่างๆรอบตัว

ในช่วงยุค 70

ถึงช่วงยุค 80

ที่ผู้อ่าน

ที่เป็นผู้ใหญ่

หลาย-หลายคน

ยังคงระลึกถึง

(ถ้าเป็นเรื่องหลัก

อย่างมารุโกะ

ก็มักจะมีเรื่องราว

เกี่ยวกับของเล่น

โฆษณา อาหาร

รายการฮิต

รวมถึงบอกเล่า

ถึงดารา นักร้อง

ในช่วงกลางยุค 70

อย่าง โจ มิจิรุ

ลินดา ยามาโมโตะ

โมโมเอะ ยามากุจิ

แทรกมาเสมอ

ส่วนในบทความ

ที่เป็นเรื่องสั้น

ที่ได้แถมมา

ในแต่ละฉบับนั้น

มักเป็นเรื่องราว

ในช่วงชั้นมัธยม

ของ อ.โมโมโกะ ซากุระ

ซึ่งเป็นระยะเวลา

ในช่วงยุค 80)

ก็ดูจะเป็นเรื่องราว

การเล่าเรื่อง

ในแบบการย้อน

ภาพความทรงจำ

และเป็นการบอกเล่า

ในรูปแบบ

ที่สนุกสนาน

มีอารมณ์ขัน

จากมุมมอง

ของคนที่เป็นผู้ใหญ่

(และผ่านโลก

มาพอสมควร)

ซึ่งทำให้มีกลุ่มผู้อ่าน

ในวัยผู้ใหญ่

ไม่ใช่น้อย

ที่หลงรัก

การ์ตูนเรื่องนี้

(จิบิมารุโกะจัง

ฉบับมังงะ

เป็นที่จดจำ

ในประเทศญี่ปุ่น

ในแง่การเล่าเรื่อง

ของครอบครัวญี่ปุ่น

ในช่วงอดีต)

แต่เป็นที่น่าเสียดาย

ที่จากความฮิต

ของการ์ตูน

ในรูปแบบอนิเมะ

ที่มีการแพร่ภาพ

ทางโทรทัศน์

ซึ่งเป็นที่นิยม

ในกลุ่มผู้ชม

ที่เป็นเด็กๆ

จนมีการสร้าง

อย่างต่อเนื่อง

และยาวนานนั้น

ก็ทำให้ในช่วงยุคหลัง

ผลงานการ์ตูนเรื่องนี้

ดูจะปรับเปลี่ยน

ในด้านเนื้อหา

ให้เป็นการนำเสนอ

เรื่องราวต่างๆ

ไปสู่กลุ่มผู้อ่าน

ที่เป็นเหล่าเด็กๆ

อย่างเต็มตัว

จากการมีภาพ

ของลายเส้น

ที่ดูสวยงาม

และน่ารัก

มากยิ่งขึ้น

รวมถึงมีเนื้อหา

ที่มีความอ่อนโยน

และสร้างสรรค์

โดยในส่วนตัวแล้ว

แม้ว่าการ์ตูน

ในช่วงครึ่งหลัง

จะยังคงตลก

และสนุกสนาน

แต่เสน่ห์ยุคแรก

ซึ่งเป็นเรื่องราว

ในรูปแบบการ์ตูน

ที่เป็นบทความ

ซึ่งเป็นภาพวาด

ที่ให้ความรู้สึก

ในแบบง่ายๆ

แต่จริงใจ

ซึ่งเป็นการเล่าเรื่อง

ที่มาพร้อมความตลก

ของชีวิตเด็กๆ

และวัยรุ่น

ในต่างจังหวัด

ผ่านมุมมอง

ของผู้เขียน

ในวัยผู้ใหญ่

ซึ่งเป็นเสน่ห์

ที่ทำให้ผู้อ่าน

ที่หลากหลายวัย

เคยชื่นชอบ

ในช่วงแรกนั้น

ก็ดูจะหายไป

จากเนื้อหา

พอสมควร

(ป.ล. เห็นผู้เขียน

ทำเป็นบ่นๆ

เกี่ยวกับครึ่งหลัง

ที่มีเนื้อหา

แบบเด็กๆมากขึ้น

แต่การ์ตูนเรื่องนี้

ก็ยังคงเป็นการ์ตูน

ทางฝั่งโชโจ

ในกลุ่มที่ผู้เขียน

ประทับใจมากที่สุด

เช่นเดียวกัน

กับ หน้ากากแก้ว

อสูรน้อยกระซิบรัก

อเล็กซานไดรท์

มนต์รักโยโกฮาม่า

บันทึกของเจ้าส้ม

ไรซิ่ง แหวกม่านมายา

ยุ่งชะมัดเป็นสัตว์แพทย์

ซึ่งแม้ว่าตอนนี้

จะอายุ 38 ปีแล้ว

แต่เวลาอยู่คนเดียว

ก็ยังแอบหยิบเล่มต้นๆ

มาอ่านใหม่เสมอ

ซึ่งหากเป็นไปได้

ก็อยากให้สำนักพิมพ์

ในประเทศไทย

นำมาพิมพ์ใหม่

อีกครั้งหนึ่ง

เพราะเล่มเก่าๆ

อ่านบ่อยจนยับ

ไปหมดแล้ว)




มานะ เนตรสาลี

นายแบบหนุ่มหล่อจากวงการแฟชั่นยุค 90
ในช่วงปี พ.ศ. 2527

ถึงในปี พ.ศ. 2545

ที่ผ่านมานั้น

การประกวด

หนุ่ม-สาวแพรว

โดยนิตยสารแพรว

และสุดสัปดาห์นั้น

ถือเป็นเวที

การประกวด

เพื่อเฟ้นหา

หนุ่มสาวหน้าใหม่

ก้าวเข้าสู่วงการบันเทิง

และวงการแฟชั่น

ที่ได้รับความสนใจ

จากผู้ชมทางบ้าน

และสื่อมวลชน

จากการที่ผู้ชนะเลิศ

และผู้เข้ารอบสุดท้าย

ในแต่ละครั้งนั้น

ล้วนแต่เป็นหนุ่มสาว

ที่มีความโดดเด่น

ทั้งในด้านบุคลิก

และความสามารถ

โดยจากความทรงจำ

ของผู้เขียนบลอก

คุณมานะ เนตรสาลี

นายแบบหนุ่มหล่อ

ที่ฝากผลงาน

ในด้านการถ่ายแบบ

การเดินแบบ

และโฆษณา

ไว้ในวงการแฟชั่น

รวมถึงมีผลงาน

ในด้านการแสดง

ฝากไว้ในวงการบันเทิง

ตลอดช่วงยุค 90

ที่ผ่านมา

ท่านนี้นั้น

ถือเป็นนายแบบ

และนักแสดง

อีกท่านหนึ่ง

ที่เป็นที่รู้จัก

ในวงการบันเทิง

เป็นครั้งแรก

จากการเข้าร่วม

ในการประกวด

หนุ่ม-สาวแพรว

ประจำปี พ.ศ. 2533

ซึ่งในการบันทึก

บทความของบลอก

ในครั้งนี้นั้น

จะเป็นการบันทึก

เส้นทางการทำงาน

ในฐานะนายแบบ

และนักแสดง

ของคุณมานะ

ตั้งแต่ในปลายช่วงยุค 80

ที่เขาเริ่มต้นการทำงาน

ในวงการแฟชั่น

ก่อนที่จะเป็นที่รู้จัก

ในวงกว้าง

จากการเข้าร่วม

การประกวด

หนุ่ม-สาวแพรว

ในช่วงต้นยุค 90

ที่ผ่านมา


สำหรับประวัติส่วนตัว

ของนายแบบ

และนักแสดง

หนุ่มหล่อท่านนี้

คุณนะ มานะ เนตรสาลี

เกิดวันที่ 9 พฤศจิกายน พ.ศ. 2510

ที่จังหวัดราชบุรี

ประเทศไทย

โดยคุณนะนั้น

เป็นลูกชายคนเล็ก

ในจำนวนลูกๆ

ทั้งหมด 7 คน

ของคุณพ่อ คุณแม่

ซึ่งมีธุรกิจส่วนตัว

ในการเปิดอู่รถยนต์

อยู่ที่จังหวัดนครปฐม

จากบทสัมภาษณ์

ในปี พ.ศ. 2533

ขณะที่เขานั้น

มีอายุ 23 ปี

คุณนะสูง 181 เซนติเมตร

หนัก 70 กิโลกรัม

สำเร็จการศึกษา

ในระดับ ปวส.

ด้านเทคนิคโลหะ

จากวิทยาลัยเทคนิค

จังหวัดราชบุรี

โดยก่อนเริ่มต้น

การทำงาน

ในวงการแฟชั่น

ในฐานะนายแบบ

อย่างเต็มตัว

เขาทำงานประจำ

ในตำแหน่งเซลส์

อยู่ที่บริษัท

Design Business

(เป็นข้อมูล

ในด้านการศึกษา

และการทำงาน

จากบทสัมภาษณ์

ในปี พ.ศ. 2533

เพียงเท่านั้น)
















สำหรับเส้นทาง

การทำงาน

ในฐานะนายแบบ

ในวงการแฟชั่น

ของคุณนะ

มานะ เนตรสาลี

จากบทสัมภาษณ์

ในช่วงปี พ.ศ. 2533

คุณนะเริ่มต้น

การทำงาน

ในด้านนายแบบ

เป็นครั้งแรก

ในช่วงปลายยุค 80

(ประมาณปี พ.ศ. 2531

หรือปี พ.ศ. 2532)

จากการที่เขานั้น

ได้รับการชักชวน

ให้เข้ามาทำงาน

ในด้านการถ่ายโฆษณา

โดยในฐานะ

นายแบบหน้าใหม่

คุณนะมีผลงาน

ในด้านโฆษณา

ในช่วงแรกๆ

ของอาชีพ

อย่างโฆษณา

บัตรเครดิต

ธนาคารกสิกรไทย

โทรทัศน์สีเนชั่นเเนล

ผลิตภัณฑ์เครื่องดื่ม

จอห์นนี่วอล์กเกอร์

แบล๊กเลเบิ้ล

(โดยหลังจากเป็นที่รู้จัก

จากการประกวด

หนุ่ม-สาวแพรว

ประจำปี พ.ศ. 2533

ในช่วงต้นยุค 90

ที่ผ่านมานั้น

เขาก็มีผลงาน

ในด้านโฆษณา

ให้ติดตามรับชม

ตามมาอีกมากมาย

เช่น แบน ฟอร์ เม็น

ยาอมแก้เจ็บคอ

ตราซีพาคอล

ผลิตภัณฑ์เสื้อผ้า

Pan Punch

Silver Screen ฯลฯ)



ในฐานะนายแบบ

คุณนะ มานะ เนตรสาลี

เป็นที่รู้จักในวงกว้าง

และได้รับความนิยม

ขึ้นมาอย่างรวดเร็ว

ในช่วงปลายปี พ.ศ. 2533

จากการที่เขานั้น

ได้ตัดสินใจ

เข้าร่วมการประกวด

ในเวทีหนุ่ม-สาวแพรว

ประจำปี พ.ศ. 2533

ที่เป็นการประกวด

เพื่อเป็นการเฟ้นหา

นายแบบ นางแบบ

และนักแสดงหน้าใหม่

ให้กับวงการแฟชั่น

และวงการบันเทิง

ที่มีการจัดขึ้น

อย่างต่อเนื่อง

และได้รับความนิยม

โดยนิตยสารแพรว

และแพรวสุดสัปดาห์

(ชื่อนิตยสารขณะนั้น)

ซึ่งจากการเข้าประกวด

และได้รับคัดเลือก

เป็น 1 ใน 5 คนสุดท้าย

ในประเภทฝ่ายชาย

ในปีการประกวด

ที่มีคุณพิทยา ณ ระนอง

และคุณบุษกร พรวรรณะศิริเวช

เป็นผู้ได้รับตำแหน่ง

เป็นหนุ่ม-สาวแพรว

ก็ทำให้คุณนะ

และเพื่อนๆ

ผู้เข้าประกวด

ในเวทีแห่งนี้

(คุณยุทธนา บุญประเสริฐ

คุณบงกชมาช ยุทธมานพ

คุณสุรางคณา สุนทรพนาเวศ

คุณอิทธิพล เปลี่ยนวงศ์

คุณสมเดช มงคลดี ฯลฯ)

เริ่มเป็นที่รู้จัก

ของผู้ชมทางบ้าน

และสื่อมวลชน

จากการมีบทสัมภาษณ์

และภาพแฟชั่น

ที่เป็นการโปรโมท

และเป็นการแนะนำตัว

ผู้เข้ารอบสุดท้าย

ที่มีการตีพิมพ์

อย่างสม่ำเสมอ

ลงในนิตยสารแพรว

และแพรวสุดสัปดาห์

ซึ่งเป็นนิตยสาร

ประเภทรายปักษ์

ตลอดระยะเวลา

ในช่วงปี พ.ศ. 2533


หลังจากผ่านพ้น

การประกวด

หนุ่ม-สาวแพรว

ในรอบสุดท้าย

ที่มีการจัดขึ้น

ที่ห้องดุสิตธานี ฮอลล์

โรงแรมดุสิตธานี

ในวันที่ 4 พฤศจิกายน พ.ศ. 2533

คุณนะ มานะ เนตรสาลี

ในฐานะนายแบบ

จากเวทีการประกวด

หนุ่ม-สาวแพรว

ประจำปี พ.ศ. 2533

ก็มีผลงาน

การถ่ายแบบ

ผลงานโฆษณา

และบทสัมภาษณ์

ที่มีการตีพิมพ์

ลงในนิตยสารแพรว

และแพรวสุดสัปดาห์

ในช่วงปีแรก

จากนั้นจึงมีผลงาน

ในด้านการถ่ายแบบ

ผลงานโฆษณา

บทสัมภาษณ์

ทั้งในนิตยสารแพรว

แพรวสุดสัปดาห์

รวมถึงนิตยสาร

แนวแฟชั่น

และนิตยสาร

สำหรับผู้ชาย

ในฉบับอื่นๆ

รวมถึงมีผลงาน

ด้านการเดินแบบ

ในงานแฟชั่นโชว์ต่างๆ

ตามมาอีกมากมาย

โดยในฐานะนายแบบ

ที่เป็นที่ชื่นชอบ

ของผู้อ่าน

นิตยสารแพรว

และแพรวสุดสัปดาห์

คุณนะได้รับการโหวต

จากผู้อ่านทางบ้าน

ให้เป็น 1 ใน 10

นายแบบยอดนิยม

จากการประกาศรางวัล

นายแบบ นางแบบ

ที่ได้รับความนิยม

ซึ่งมีการจัดขึ้น

โดยนิตยสารแพรว

และแพรวสุดสัปดาห์

ในช่วงปี พ.ศ. 2534

(โดยมีท่านอื่นๆ

ที่ได้รับตำแหน่ง

ในประเภทฝ่ายชาย

อย่างคุณรวิชญ์ เทิดวงส์

คุณพิทยา ณ ระนอง

คุณจอนนี่ แอนโฟเน่

คุณสมเจตน์ สะอาด

คุณกฤษฎา เคลิก ฮาลส์

คุณกฤษณรัตน์ บูรณะสัมฤทธิ

คุณนฤเบศร์ จินปิ่นเพ็ชร

คุณจักรกฤษณ์ อำมะรัตน์

และคุณศักดิ์สิทธิ์ แท่งทอง)


โดยจากความทรงจำ

ของผู้เขียนบลอก

ในฐานะนายแบบ

คุณมานะ เนตรสาลี

เป็นที่จดจำ

ในช่วงต้นยุค 90

จากการเป็นนายแบบ

หน้าตาหล่อเหลา

ในแบบมีเอกลักษณ์

จากรูปคางบุ๋ม

แบบชาวต่างชาติ

รวมถึงมีรูปร่าง

ที่สูงใหญ่

ซึ่งทำได้ดี

ทั้งงานถ่ายแบบ

งานด้านโฆษณา

และงานเดินแบบ

ในงานแฟชั่นโชว์

ซึ่งมีอย่างต่อเนื่อง

ในช่วงต้นยุค 90

โดยในฐานะนายแบบ

หนุ่มหล่อท่านนี้

เป็นที่จดจำ

เช่นเดียวกัน

กับคุณวัฒน์

ชัยวัฒน์ อนันตาวระ

จากการเป็นนายแบบ

ซึ่งเป็นชาวไทย

ที่ได้รับการคัดเลือก

เป็นสองนายแบบ

ที่มีส่วนร่วม

บนเวทีการประกวด

Miss Universe

ประจำปี พ.ศ. 2535

ที่มีการจัดงาน

การประกวดขึ้น

ที่ประเทศไทย

ซึ่งได้รับความสนใจ

จากสื่อมวลชน

รวมถึงผู้ชม

อย่างมาก

ในช่วงเวลานั้น

(เป็นการบันทึก

จากความทรงจำ

ของผู้เขียนบลอก

เพียงเท่านั้น

โดยหากมีข้อมูล

ที่มีความคลาดเคลื่อน

ผู้เขียนบลอก

ต้องขออภัย

ไว้ ณ ที่นี้)







โดยนอกจากผลงาน

ในด้านการถ่ายแบบ

ในนิตยสาร

การเดินแบบ

ในงานแฟชั่นโชว์

และมีผลงาน

ในด้านโฆษณา

ในช่วงยุค 90

ที่ผ่านมานั้น

คุณมานะ เนตรสาลี

ยังเป็นที่จดจำ

ในวงการบันเทิง

จากการเป็นนายแบบ

ที่มีผลงานการแสดง

ฝากไว้ในวงการบันเทิง

โดยจากความทรงจำ

ของผู้เขียนบลอก

หนุ่มหล่อท่านนี้

มีผลงานการแสดง

ฝากไว้ในช่วงยุค 90

ดังนี้ ละครโทรทัศน์

เรื่อง โสมส่องแสง

ฝนปลายฟ้า

ฝนตกขี้หมูใหล

คนอะไรมาพบกัน

ละครเล่ห์เสน่หา

ด้วยสองมือแม่นี้

ที่สร้างโลก

โปลิศจับขโมย ฯลฯ

ผลงานภาพยนตร์

เรื่อง นางแบบ

Goodbye Summer

เอ้อเฮอเทอมเดียว

เทวดาตกสวรรค์ ฯลฯ

นอกจากนี้

ยังมีผลงาน

ด้านการแสดง

ในมิวสิควีดีโอ

เพลง คนทรยศ

ของคุณนีโน่

เมทนี บูรณศิริ

และเพลง ทอร์นาโด

ของคุณพาเมล่า เบาว์เดนท์

(เป็นรายชื่อผลงาน

ในด้านการแสดง

ของคุณนะ

เพียงส่วนหนึ่ง

จากความทรงจำ

ของผู้เขียนบลอก

เพียงเท่านั้น

โดยหากมีข้อมูล

เป็นการเพิ่มเติม

ก็จะมีการแก้ไข

และปรับปรุง

ในภายหลัง)


ในฐานะนายแบบ

และนักแสดง

ซึ่งเป็นที่รู้จัก

ในช่วงยุค 90

คุณมานะ เนตรสาลี

ห่างหายจากการทำงาน

ในด้านการถ่ายแบบ

การเดินแบบ

การมีผลงาน

ในด้านโฆษณา

และการทำงาน

ในด้านการแสดง

ไปตามวันและเวลา

ของวงการแฟชั่น

และวงการบันเทิง

ในประเทศไทย

ที่ในแต่ละยุคสมัย

ก็จะมีนายแบบ

และนักแสดง

ในรุ่นใหม่

ที่ก้าวเข้ามา

เพื่อสร้างสีสัน

ให้กับวงการแฟชั่น

และวงการบันเทิง

ในแต่ละช่วงเวลาเสมอ

โดยในการบันทึก

บทความของบลอก

ในครั้งนี้นั้น

เป็นการบันทึก

จากข้อมูล

ในช่วงปี พ.ศ. 2533

ถึงในปี พ.ศ. 2540

เพียงเท่านั้น

โดยหากมีข้อมูล

ที่ไม่ครบถ้วน

หรือมีรายละเอียด

ที่ไม่ถูกต้อง

ผู้เขียนบลอก

ต้องขออภัย

คุณมานะ เนตรสาลี

และทางครอบครัว

รวมถึงผู้อ่าน

ทุก-ทุกท่าน

ไว้ ณ ที่นี้


GANG MAGAZINE (1987-1988)

ในช่วงยุค 80

ที่ผ่านมานั้น

คุณสถาพร เชื้อมงคล

ซึ่งมีความสามารถ

ที่รอบด้าน

ทั้งงานเขียน

และการถ่ายภาพ

เป็นที่จดจำ

ในกลุ่มผุ้อ่าน

นิตยสารวัยรุ่น

ในช่วงยุค 80

จากการที่เขานั้น

เป็นที่จดจำ

ในฐานะบรรณาธิการ

ของนิตยสารวัยรุ่น

ที่ได้รับความนิยม

หลาย-หลายฉบับ

โดยจากความทรงจำ

ของผู้เขียนบลอก

นอกจากนิตยสาร

ในชื่อ เธอกับฉัน

รักและคิดถึง

Action Hello

Model Hot

นิตยสารวัยรุ่น

ในชื่อ Gang

ที่ผู้เขียนบลอก

นำเรื่องราว

มาบันทึกไว้

ในครั้งนี้นั้น

ถือเป็นนิตยสาร

อีกหนึ่งฉบับ

ที่มาจากการสร้างสรรค์

ในฐานะบรรณาธิการ

ของคุณสถาพร

ที่มีการสร้างสรรค์

เพื่อวางจำหน่าย

ในช่วงปี พ.ศ. 2530

ถึงปี พ.ศ. 2531


สำหรับผู้อ่านบลอก

ที่ไม่ได้เติบโต

มาในช่วงยุค 80

หรือไม่ได้ติดตาม

นิตยสารฉบับนี้

นิตยสารแก๊งค์

เป็นนิตยสาร

ประเภทแฟชั่น

และบันเทิง

สำหรับผุ้อ่าน

ที่เป็นวัยรุ่น

ซึ่งเป็นผลงาน

การสร้างสรรค์

ของสำนักพิมพ์

สิบห้า มีน สตูดิโอ

ซึ่งมีการวางจำหน่าย

ในรูปแบบรายเดือน

และมีราคาปก

อยู่ที่ 20 บาท

ตลอดระยะเวลา

ของการวางจำหน่าย

โดยนิตยสารแก๊งค์

ในฉบับแรกนั้น

มีการเปิดตัว

และวางจำหน่าย

เป็นครั้งแรก

ในเดือนมิถุนายน

ของปี พ.ศ. 2530

โดยมีคุณราตรี วิทวัส

คุณวีระชัย หัตถโกวิท

คุณวทัญญู มุ่งหมาย

มาเป็นผู้แสดงแบบ

ในภาพแฟชั่นปก

ของทางนิตยสาร

ในฉบับแรก









สำหรับข้อมูล

ในด้านรายชื่อ

ของทีมงาน

กองบรรณาธิการ

และผู้เกี่ยวข้อง

กับนิตยสารฉบับนี้

จากหน้าสารบัญ

ของนิตยสารแก๊งค์

ฉบับที่ 1 ปีที่ 1

ของเดือนมิถุนายน

ในปี พ.ศ. 2530

นิตยสารฉบับนี้

มีรายชื่อ

ของทีมงาน

กองบรรณาธิการ

ในการสร้างสรรค์

นิตยสารแก๊งค์

ดังนี้ คุณสถาพร เชื้อมงคล

เป็นเจ้าของ

และบรรณาธิการ

คุณอรุณศักดิ์ อ่องละออ

คุณอภิชาติ โพธิ์ไพโรจน์

คุณดานนท์ ย่านตาขาว

คุณลัลตรา วรสุมาวงศ์

คุณสยุมพร บุตรนา

คุณสุรศักดิ์ ชัยอรรถ

คุณสรศักดิ์ จุลมณี

คุณนาน สินธูสวัสดิ์

เป็นที่ปรึกษา

คุณประภัสสร เชื้อมงคล

คุณวิริยะ พงษ์อาจหาญ

คุณปัทมาพร นารถเสวี

คุณนภาพร สเลลานนท์

คุณสุรัฐ มหาภาส

คุณจักรี จงยศยิ่ง

คุณสุรศักดิ์ สทานสัตย์

เป็นกองบรรณาธิการ

คุณวิรารัตน์ บุตรประเสริฐ

เป็นฝ่ายธุรการ

สิบห้า มีน เรียว

(คุณสถาพร เชื้อมงคล)

คุณเฉลิมชัย ชิ้นเจริญชัย

เป็นฝ่ายภาพ

และฝ่ายศิลป์

คุณสายทิพย์ เกิดประดับ

เป็นฝ่ายประชาสัมพันธ์

(เป็นรายชื่อทีมงาน

จากหน้าสารบัญ

ของนิตยสาร

ในฉบับที่ 1

เพียงเท่านั้น

โดยหากมีข้อมูล

ที่ไม่ถุกต้อง

หรือมีรายละเอียด

ที่ไม่ครบถ้วน

ผู้เขียนบลอก

ต้องขออภัย

ทางทีมงาน

กองบรรณาธิการ

และผู้เกี่ยวข้อง

กับทางนิตยสาร

ไว้ ณ ที่นี้)









สำหรับรุปแบบ

และเนื้อหาหลัก

ของนิตยสาร

ในชื่อ แก๊งค์

จากการสร้างสรรค์

ของคุณสถาพร เชื้อมงคล

และกองบรรณาธิการ

ของทางสำนักพิมพ์

สิบห้า มีน สตูดิโอ

นิตยสารรายเดือน

ประเภทแฟชั่น

และบันเทิง

ในฉบับนี้นั้น

ถือเป็นนิตยสาร

ที่ได้มีการสร้างสรรค์

ไปสู่ผู้อ่านทางบ้าน

ในช่วงที่คุณไก่

สถาพร เชื้อมงคล

ซึ่งเป็นที่จดจำ

ในช่วงยุค 80

จากการทำงาน

ในฐานะบรรณาธิการ

ของนิตยสารเธอกับฉัน

และนิตยสารเฮลโหล

ในช่วงยุคก่อตั้ง

ได้ตัดสินใจ

เปิดสำนักพิมพ์

เป็นของตนเอง

โดยในฐานะ

ของนิตยสาร

จากการสร้างสรรค์

ของสำนักพิมพ์

สิบห้า มีน สตูดิโอ

ที่มีการผลิต

นิตยสารวัยรุ่น

และนิตยสารแฟชั่น

รวมถึงมีการผลิต

ผลงานพ๊อกเก็ตบุ๊ค

และอัลบั้มรวมภาพ

ออกมาวางจำหน่าย

ในช่วงยุค 80

อย่างต่อเนื่องนั้น

นิตยสารแก๊งค์

มีความโดดเด่น

ในการเป็นนิตยสาร

ที่นำเสนอแฟชั่น

และข่าวสารต่างๆ

ของนายแบบ

นางแบบ นักแสดง

นักร้อง นักดนตรี

ที่เป็นขวัญใจวัยรุ่น

โดยมีเนื้อหา สาระ

และมีรูปแบบ

ที่มีความสดใส

ไม่เคร่งเครียด

โดยในฐานะนิตยสาร

ที่อยู่ในเครือเดียวกัน

กับนิตยสารแฟชั่น

สำหรับผู้ชาย

อย่าง Hot

และนิตยสารแฟชั่น

สำหรับผู้หญิง

อย่าง Model

และ Action

นิตยสารแก๊งค์นั้น

เป็นที่จดจำ

ในกลุ่มผุ้อ่าน

ที่เป็นแฟนคลับ

ของสำนักพิมพ์

สิบห้า มีน สตูดิโอ

จากการเป็นนิตยสาร

ที่มีเนื้อหาหลัก

และรุปแบบ

ที่เน้นการนำเสนอ

ในด้านข่าวบันเทิง

มากกว่านิตยสาร

อีกสองฉบับ

ที่มีการนำเสนอ

ข่าวสารต่างๆ

ของวงการแฟชั่น

ซึ่งมีการผลิต

ไปยังผู้อ่าน

ที่มีช่วงอายุ

ที่มากกว่า

กลุ่มผู้อ่าน

ของนิตยสารแก๊งค์

ซึ่งกลุ่มผู้อ่าน

ของนิตยสาร

ในฉบับนี้นั้น

มักเป็นเหล่าวัยรุ่น

ที่อยู่ในช่วงวัยเรียน

ในช่วงชั้นมัธยมต้น

และมัธยมปลาย

ทำให้มีความแตกต่าง

จากอีกสองฉบับ

ที่มีการสร้างสรรค์

ไปสู่ผู้อ่านทางบ้าน

ในช่วงระยะเวลา

ที่ใกล้เคียงกัน









โดยในฐานะนิตยสาร

ที่มีการสร้างสรรค์

ไปสู่ผู้อ่าน

ที่เป็นกลุ่มวัยรุ่น

นอกจากภาพแฟชั่น

นวนิยาย เรื่องสั้น

และเรื่องแปล

ในแต่ละฉบับแล้ว

นิตยสารแก๊งค์

ยังมีคอลัมภ์ต่างๆ

ที่มีความน่าสนใจ

สำหรับผู้อ่าน

ที่ได้ติดตาม

นิตยสารฉบับนี้

ดังนี้ บท บก.

หน้าสุดท้าย

(บทบรรณาธิการ

โดย สถาพร เชื้อมงคล)

โพสท่าหน้ากล้อง

(เบื้องหลังแฟชั่น

และแนะนำ

นายแบบ นางแบบ

ประจำฉบับ)

กระชากข่าว

กรี๊ดหนุ่มเมืองนอก

(ข่าววงการบันเทิง

และประวัติดารา)

เปิดตลับจับโน๊ต

ผึ่งพุงฟังเพลง

(แนะนำผลงาน

อัลบั้มเพลง

ที่มีความน่าสนใจ

และเนื้อเพลงฮิต)

ขอเขียนถึงหน่อยเถอะ

(เรื่องพิเศษประจำฉบับ)

ชะโงกหน้ามองแผง

(แนะนำหนังสือ

ที่มีความน่าสนใจ)

สะดุดกึ๋นข้างทาง

กระเทาะเปลือก

ระเบิดแก๊งค์คนดัง

(บทสัมภาษณ์

บุคคลต่างๆ)

ถนนวัยรุ่น

(แฟชั่นบุคคล

ที่มีความหลากหลาย)

ณ ที่นี้ ละลายอารมณ์

(ข้อเขียนจากทางบ้าน)

ดวงสะดุดดาว

(คอลัมภ์ทำนาย

โชคชะตาราศี)

Art Gang

(คอลัมภ์ประกวด

ผลงานภาพวาด

จากผู้อ่านทางบ้าน)









จากความทรงจำ

ของผุ้เขียนบลอก

นิตยสารแก๊งค์

ถือเป็นนิตยสาร

สำหรับวัยรุ่น

ที่มีระยะเวลา

ในการสร้างสรรค์

เพื่อวางจำหน่าย

ในช่วงปี พ.ศ. 2530

ถึงปี พ.ศ. 2531

ซึ่งเป็นระยะเวลา

ที่ไม่นานนัก

แต่มีความโดดเด่น

ในด้านรูปเล่ม

ที่มีความสวยงาม

ให้ความรู้สึก

ที่มีความน่ารัก

นอกจากนี้

ยังถือเป็นนิตยสาร

ที่ทางทีมงาน

และผู้อ่านทางบ้าน

มีความใกล้ชิด

ซึ่งดูจะเป็นจุดเด่น

ของนิตยสาร

ทุก-ทุกฉบับ

ที่มาจากการผลิต

ของคุณสถาพร

ซึ่งถือเป็นบรรณาธิการ

ที่มีความสนิทสนม

กับเหล่าทีมงาน

นายแบบ นางแบบ

ที่มักเป็นเพื่อน

รุ่นพี่ รุ่นน้อง

ที่มีความสนิทสนม

รวมถึงเปิดกว้าง

ในด้านการพุดคุย

กับทางผู้อ่าน

จากการที่เขานั้น

ยินดีต้อนรับ

น้องๆผู้อ่าน

ที่มาจากทางบ้าน

ซึ่งมาเยี่ยมเยือน

ถึงที่ออฟฟิศ

และโทรศัพธ์

เข้ามาพุดคุย

รวมถึงมีการจัดงาน

ในด้านกิจกรรม

สำหรับการพบปะ

ของผุ้อ่านทางบ้าน

และผุ้จัดทำนิตยสาร

อย่างสม่ำเสมอ

ซึ่งจากความใกล้ชิด

ระหว่างทีมงาน

และผุ้อ่านทางบ้าน

ในรูปแบบนี้เอง

ก็ทำให้นิตยสาร

ในชื่อ แก๊งค์

(รวมถึงนิตยสาร

ในเครือเดียวกัน

อย่าง Hot

Model Action)

ถือเป็นนิตยสาร

ที่เป็นที่จดจำ

ในแง่ความผุกพัน

ระหว่างผู้จัดทำ

และผู้อ่าน

ซึ่งถือเป็นรูปแบบ

ที่มีความแตกต่าง

จากนิตยสารต่างๆ

ในช่วงยุคหลัง

ที่มีความเป็นธุรกิจ

มากยิ่งขึ้น









ในฐานะนิตยสาร

ที่มีการเปิดตัว

และวางจำหน่าย

เป็นครั้งแรก

ในเดือนมิถุนายน

ของปี พ.ศ. 2530

นิตยสารแก๊งค์

ที่มีการปรับปรุง

และพัฒนา

อย่างต่อเนื่อง

ตลอดระยะเวลา

ในการวางจำหน่าย

ที่ไม่นานมากนัก

ก็ได้ห่างหาย

จากแผงนิตยสาร

และผู้อ่านทางบ้าน

ไปในช่วงปี พ.ศ. 2531

โดยนิตยสารแก๊งค์

ในฉบับสุดท้าย

ที่ผู้เขียนบลอก

ยังคงมีเก็บไว้นั้น

คือนิตยสารแก๊งค์

ในฉบับที่ 8

ซึ่งมีการสร้างสรรค์

เพื่อวางจำหน่าย

ในเดือนกุมภาพันธ์

ของปี พ.ศ. 2531

โดยนิตยสาร

ในฉบับนี้นั้น

มีราคาต่อฉบับ

จำนวน 20 บาท

และมีคุณแหม่ม

จินตหรา สุขพัฒน์

นางเอกยอดนิยม

จากวงการภาพยนตร์

ในช่วงเวลานั้น

มาเป็นแบบปก

ของทางนิตยสาร

(เป็นนิตยสาร

ในฉบับสุดท้าย

ที่ผู้เขียนบลอก

ยังคงมีเก็บไว้

เพียงเท่านั้น

ซึ่งอาจจะไม่ใช่

นิตยสารแก๊งค์

ในฉบับสุดท้าย

ที่มีการสร้างสรรค์

เพื่อวางจำหน่าย

โดยในการบันทึก

บทความของบลอก

ในครั้งนี้นั้น

หากมีข้อมูล

ที่ไม่ครบถ้วน

หรือมีรายละเอียด

ที่ไม่ถูกต้อง

ผู้เขียนบลอก

ต้องขออภัย

ทางทีมงาน

กองบรรณาธิการ

และผู้เกี่ยวข้อง

กับทางนิตยสาร

รวมถึงผู้อ่าน

ทุก-ทุกท่าน

ไว้ ณ ที่นี้)








นิตยสารเก่าในความทรงจำ

นิตยสารเก่าในความทรงจำ
นิตยสารลลนา (1973-1995)

สโมสรผึ้งน้อย (1984)

บทความเก่าของบลอก

บทความเก่าของบลอก
แหม่ม พัชริดา วัฒนา

นิตยสารเก่าในความทรงจำ

นิตยสารเก่าในความทรงจำ
นิตยสารทีวีรีวิว (1972-1992)

SAN MIGUEL BEER (1989)

บทความเก่าของบลอก

บทความเก่าของบลอก
เมย์ ศศลักษณ์ พันธุ์หาญ

SVESVESB / YASUO MIYATA (1982)

การ์ตูนเก่าในความทรงจำ

การ์ตูนเก่าในความทรงจำ
เอล (1992-1995)

SEVENTH HEAVEN (1996-2007)

เสือ 11 ตัว (2001)

เสือ 11 ตัว (2001)

NIVEA SKIN LOTION (1988)

บทความเก่าของบลอก

บทความเก่าของบลอก
เจี๊ยบ ศักราช ฤกษ์ธำรงค์

BALENO / DAVID WU (1989)

นิตยสารเก่าในความทรงจำ

นิตยสารเก่าในความทรงจำ
นิตยสารแพรวสุดสัปดาห์ (1983)

สิงห์โกลด์ไลท์เบียร์ (1989)

From Me To You


การจัดทำบลอกนี้

เกิดจากความรู้สึก

ที่ผู้เขียนบลอก

อยากจะบันทึก

ความทรงจำ

ในช่วงเวลา

ของวันเก่าๆ

ผ่านเส้นทาง

จากเรื่องราว

และผลงานต่างๆ

ของเหล่าดารา

นักร้อง นักแสดง

นายแบบ นางแบบ

นักเขียน ฯลฯ

ซึ่งมีความเกี่ยวข้อง

กับศิลปะบันเทิง

ในช่วงยุคสมัย

ก่อนการมาถึง

ของอินเทอร์เน็ต

ที่แพร่หลาย

ในสังคมไทย

อย่างในทุกวันนี้

ซึ่งในการจัดทำ

ผู้เขียนบลอก

ได้รวบรวม

เรื่องราวต่างๆ

จากความทรงจำ

และค้นข้อมูล

โดยนำรูปภาพ

จากนิตยสารต่างๆ

ในช่วงเวลาอดีต

นำมารวบรวม

และเรียบเรียง

ให้เป็นภาพชัดเจน

ขึ้นมาอีกครั้ง

ด้วยสิ่งที่ตนเองนั้น

ยังคงเก็บไว้

ด้วยความมุ่งหวัง

ในการนำเสนอ

ด้วยความให้เกียรติ

ผ่านการนำเสนอ

ในด้านที่สวยงาม

ซึ่งในการจัดทำ

บทความต่างๆ

ซึ่งต้องใช้ภาพ

จากนิตยสารแฟชั่น

และนิตยสารบันเทิง

ในฉบับต่างๆ

จากช่วงยุค 70

ถึงช่วงปลายยุค 90

ซึ่งภาพทั้งหมดนั้น

ถือเป็นลิขสิทธิ์

ของนิตยสาร

และช่างภาพ

ท่านต่างๆ

ทำให้ผู้เขียนบลอก

มีความตั้งใจ

ที่จะจัดทำบลอกนี้

โดยไม่แสวงผลกำไร

และไม่เปิดรับโฆษณา

เพื่อเป็นการยุติธรรม

ต่อเจ้าของภาพ

ในนิตยสาร หนังสือ

และวีดีโอต่างๆ

ที่ผู้เขียนบลอก

นำมาเรียบเรียงไว้

ในบทความ

โดยในการจัดทำ

ผู้เขียนบลอก

อยากจะขอขอบคุณ

นิตยสารและช่างภาพ

ซึ่งเป็นเจ้าของภาพ

สำหรับภาพสวยๆ

ในทุก-ทุกรูป

และอยากจะขอ

ความกรุณา

จากผู้อ่านทุกท่าน

ที่จะนำข้อมูล

และภาพต่างๆ

ในบลอกนี้

ซึ่งผู้เขียนบลอก

ไม่ใช่เจ้าของ

ในด้านลิขสิทธิ์

นำไปเผยแพร่

ขอให้ทุกท่าน

ที่จะนำภาพไปใช้

ขอให้นำไปใช้

โดยมิใช่เพื่อการค้า

หรือนำไปรวบรวมใว้

ในเวบไซต์ เพจ

หรือบลอกต่างๆ

ที่มีการลงโฆษณา

หรือนำไปประกอบ

ในข้อความ บทความ

ที่จะเป็นการล่วงเกิน

ผู้ที่เป็นแบบ

ในภาพนั้นๆ

จากการนำไปใช้

ร่วมกับข้อความ

ที่มีข้อมูล

ในด้านลบ

หรือใช้ถ้อยคำ

ที่มีความหยาบคาย

ซึ่งจะสร้างความเสียหาย

ให้กับผู้เป็นแบบ

ซึ่งอยู่ในภาพ

ท่านนั้นๆ

SUMMER CONCERT / JIMMY LIN (1992)

นิตยสารเก่าในความทรงจำ

นิตยสารเก่าในความทรงจำ
นิตยสารซินีแม๊ก (1994-2002)

SUCCESS / EISAKU YOSHIDA (1989)

บทความเก่าของบลอก

บทความเก่าของบลอก
Eisaku Yoshida

DIG MEN / TAKAHASHI BROTHERS (1989)

DAWSON'S CREEK (1998-2003)

บทความเก่าของบลอก

บทความเก่าของบลอก
นุ๊ก สุทธิดา เกษมสันต์ ณ อยุธยา

ชาวเวอร์ทูชาวเวอร์ / จอนนี่ แอนโฟเน่ (1989)

บทความเก่าของบลอก

บทความเก่าของบลอก
ลางลิขิต (2001)

โฆษณาเครื่องดื่มเป็ปซี่ / พีท ทองเจือ (1992)

นิตยสารเก่าในความทรงจำ

นิตยสารเก่าในความทรงจำ
Movie Time Magazine (1997-2009)

บทความเก่าของบลอก

บทความเก่าของบลอก
แพท พัสสน ศรินทุ

MELROSE PLACE (1992-1999)

นิตยสารเก่าในความทรงจำ

นิตยสารเก่าในความทรงจำ
Gift Magazine (1981-1992)
ในช่วงยุค 70-90 นั้น

สื่อสิ่งพิมพ์ประเภทการ์ตูน

ที่เข้ามาแพร่หลาย

ในประเทศไทยนั้น

ยังไม่ได้อยู่ภายใต้การบังคับ

ของกฎหมายลิขสิทธิ์

อย่างที่เกิดขึ้น

ในประเทศไทย

ในช่วงปี พ.ศ. 2535

ทำให้วงการการ์ตูน

ในประเทศไทย

ในขณะนั้น

มีการแข่งขันกัน

ระหว่างสำนักพิมพ์ต่างๆ

ในการตีพิมพ์และวางจำหน่าย

ผลงานการ์ตูนเรื่องดังๆ

จากประเทศญี่ปุ่น

จากเหตุผลในข้อนี้เอง

ทำให้เกิดนิตยสารการ์ตูน

เพื่อที่จะได้มีการแปล

และวางจำหน่าย

ให้ทันกับต้นฉบับ

ของนิตยสารการ์ตูน

ที่วางขายในประเทศญี่ปุ่น

และ กิฟท์ แม็กกาซีน

ของ ไลน์อาร์ทแพลนนิ่ง

ถือเป็นหนึ่งในนิตยสารการ์ตูน

สำหรับเด็กผู้หญิง

ที่โด่งดังมากที่สุด

ในช่วงยุค 80

ที่ผ่านมา

จากการมีการ์ตูนเรื่องดังๆ

อย่าง ไซเฟอร์ ไอบอย

เลขรักพิสดาร

อสูรน้อยกระซิบรัก

ตีพิมพ์เป็นประจำ

โดยนอกจากการ์ตูนฮิตเหล่านี้

กิฟท์ แม็กกาซีน

ยังมีลักษณะเฉพาะ

ที่มีความพิเศษ

ที่เป็นที่ชื่นชอบ

ของผู้อ่านมากมาย

จนกลายเป็นนิตยสารการ์ตูน

สำหรับเด็กผู้หญิง

ที่ยังคงอยู่ในความทรงจำ

ของผู้อ่านทุก-ทุกคน

มาจนถึงในทุกวันนี้

โดยผู้อ่านบลอก

ที่สนใจและชื่นชอบ

ในนิตยสารเล่มนี้

สามารถอ่านบทความ

และชมภาพทั้งหมด

ได้ในหัวข้อ 80 thai magazine

และ 90 thai magazinr

บทความเก่าของบลอก

บทความเก่าของบลอก
มารยาริษยา (1998)

SUNTORY NCAA / KOJI KIKKAWA (1985)

บทความเก่าของบลอก

บทความเก่าของบลอก
ต่อ กันติ ธรรมาณิชานนท์

MR PRIVATE EYE / CITY HUNTER (1987)

คิขุอาโนเนะ / วงบอยสเก๊าท์ (1993)

บทความเก่าของบลอก

บทความเก่าของบลอก
ธรรม์ โทณะวณิก

THE DREW CAREY SHOW (1995-2004)

นิตยสารเก่าในความทรงจำ

นิตยสารเก่าในความทรงจำ
นิตยสารอานนท์ (1993-1995)

SUNTORY / KAORU KOBAYASHI (1987)

การ์ตูนเก่าในความทรงจำ

การ์ตูนเก่าในความทรงจำ
รักทระนง (1987)

JAL OKINAWA / TORU KAZAMA (1989)

บทความเก่าของบลอก

บทความเก่าของบลอก
Taishu Kase

BEVERLY HILLS 90210 (1990-2000)

นิตยสารเก่าในความทรงจำ

นิตยสารเก่าในความทรงจำ
HELLO MAGAZINE (1985-1989)

LOVE LIGHT / YU HAYAMI (1982)

นิตยสารเก่าในความทรงจำ

นิตยสารเก่าในความทรงจำ
นิตยสารบงกช (1981-1989)

PRIVATE LIFE / SHONENTAI (1987)

Shonentai / 少年隊

ในช่วงยุค 80

ที่ผ่านมานั้น

ถือเป็นช่วงยุคเฟื่องฟู

ของเหล่านักแสดง

นักร้องวัยรุ่น

ขวัญใจวัยรุ่น

จากประเทศญี่ปุ่น

ที่เริ่มเป็นที่รู้จัก

และมีชื่อเสียง

ในประเทศไทย

โดยหลังจากความสำเร็จ

ของละครโทรทัศน์

เรื่อง เคนโด้

ข้าคือลุกผู้ชาย

รวมถึงละครโทรทัศน์

แนวกีฬา

จากประเทศญี่ปุ่น

อีกหลายๆเรื่อง

ที่เข้ามาแพร่ภาพ

และได้รับความนิยม

ในประเทศไทย

ในช่วงยุค 70

ผู้ชมชาวไทย

ก็เริ่มจะเปิดรับ

ผลงานเพลง

ละครโทรทัศน์

และภาพยนตร์เรื่องต่างๆ

จากประเทศญี่ปุ่น

โดยในฐานะ

กลุ่มนักร้อง

ขวัญใจวัยรุ่น

สามนักร้องหนุ่มหล่อ

วง Shonentai

ถือเป็นกลุ่มนักร้อง

จากประเทศญี่ปุ่น

ที่ได้รับความนิยม

จากสาวๆชาวไทย

มากที่สุด

ในช่วงยุค 80

ซึ่งความโด่งดัง

ของพวกเขา

ทำให้ผู้ชม

ในประเทศไทยเอง

ได้มีโอกาสต้อนรับ

และเข้าชมคอนเสริต์

ของพวกเขา

ที่มีการจัดขึ้น

ในประเทศไทย

ซึ่งถือเป็นความยิ่งใหญ่

ในยุคสมัย

ที่ยังไม่มี Internet

และสื่อบันเทิงต่างๆ

ให้ได้ติดตามรับชม

กันอย่างมากมาย

เหมือนในทุกวันนี้

โดยผู้อ่านของบลอก

ที่คิดถึงผลงาน

และเรื่องราวเก่าๆ

ในช่วงแรก

ของอาชีพนักร้อง

ของทั้งสามหนุ่มหล่อนี้

สามารถติดตามเรื่องราว

และรับชมรูปภาพ

ของพวกเขาได้

ในหัวข้อ 80 Japan Male Idol

บทความเก่าของบลอก

บทความเก่าของบลอก
โด่ง สิทธิพร นิยม

แกล้งโง่ / ฝันดี ฝันเด่น จรรยาธนากร (1994)

ละครเก่าในความทรงจำ

ละครเก่าในความทรงจำ
ดั่งดวงหฤทัย (1996)

นิตยสารเก่าในความทรงจำ

นิตยสารเก่าในความทรงจำ
นิตยสารด้วยรัก (1983-1985)

ขอคืน / บอยสเก๊าท์ (1993)

นิตยสารเก่าในความทรงจำ

นิตยสารเก่าในความทรงจำ
Starpics Magazine (1965)

EARLY EDITION (1996-2000)

การ์ตูนเก่าในความทรงจำ

การ์ตูนเก่าในความทรงจำ
บันทึกรักโพนีเทล (1985-1987)

นิตยสารฉบับเก่าในความทรงจำ

นิตยสารฉบับเก่าในความทรงจำ
นิตยสารแพรว (1979)

STILL LOVE HER / TM NETWORK

บทความเก่าของบลอก

บทความเก่าของบลอก
Kazukiyo Nishikiori (Shonentai)

ปราสาทมืด (1994)

บทความเก่าของบลอก

บทความเก่าของบลอก
ม.6/2 ห้องครูวารี (1994)

MEIJI CHOCOLAT (1993)

บทความเก่าของบลอก

บทความเก่าของบลอก
อัลเฟรด เนติพงษ์ ศรีทองอินทร์

TOKI WO KAKERU SHOUJO (1983)

AGAINST ALL ODDS (1984)

นิตยสารเก่าในความทรงจำ

นิตยสารเก่าในความทรงจำ
Starpics Magazine (1965)

GLICO ALMOND / RYUJI HARADA (1992)

บทความเก่าของบลอก

บทความเก่าของบลอก
โจ ธเนศ ฉิมท้วม

โปลิศจับขโมย (1996)

ปุกปุย (1990)

ภาพยนตร์คุณภาพ

เรื่อง ปุกปุย

ที่ยังคงอยู่ในความทรงจำ

ของผู้ชมภาพยนตร์

หลาย-หลายท่าน

มาจนถึงในทุกวันนี้

เกิดจากแนวคิด

ในการเขียนบท

ของ คุณอุดม อุดมโรจน์

และ คุณทองขาว มะขาวป้อม

โดยภาพยนตร์เรื่องนี้

มีชื่อแรกในบทร่าง

ว่า ใครใครก็ไม่รัก

ซึ่งแนวคิดของเรื่อง

ได้รับแรงบันดาลใจ

มาจาก My Life As a Dog

จากการที่คุณอุดมนั้น

ต้องการสร้างภาพยนตร์

เกี่ยวกับเด็กเด็ก

ในแนวคิดที่อยากนำเสนอ

ให้สังคมและครอบครัว

หันมาใส่ใจ

และดูแลเด็กเด็ก

ในด้านความรู้สึก

ของพวกเขามากกว่านี้

โดยรายนามของผู้สร้างสรรค์

ภาพยนตร์คุณภาพเรื่องนี้

มีดังนี้ กำกับภาพยนตร์

โดย อุดม อุดมโรจน์

อำนวยการสร้าง

โดย จรัญ/วิสูตร พูลวรลักษณ์

ถ่ายภาพ

โดย ปัญญา นิ่มเจริญพงศ์

ดนตรีประกอบ

โดย จำรัส เศวตาภรณ์

ภาพยนตร์เรื่อง ปุกปุย

เปิดตัวต่อสื่อมวลชน

และออกฉายทั่วประเทศ

เมื่อวันที่ 19 พฤษภาคม พ.ศ. 2533

โดยแม้จะมาพร้อม

กับคุณภาพ

และงานการสร้าง

ที่มีความสมบูรณ์แบบ

แต่ภาพยนตร์เรื่องนี้

ไม่ได้ออกฉายทันที

ที่การถ่ายทำเสร็จสิ้นลง

เนื่องจากต้องรอคิว

และเวลาในการออกฉาย

ในโรงภาพยนตร์

ที่มีจังหวะเหมาะสม

ก่อนที่ภาพยนตร์เล็กๆเรื่องนี้

จะทำรายได้ในปีนั้น

ไปอย่างเหนือความคาดหมาย

และยังคงอยู่ในความทรงจำ

ของผู้ชมทุก-ทุกคน

มาจนถึงทุกในวันนี้

ภาพยนตร์เรื่อง ปุกปุย

นำแสดงโดย ด.ช. ณพัชร สุพัฒนกุล

ที่ให้การแสดงชั้นยอด

และเป็นทุกสิ่งทุกอย่าง

ที่บทภาพยนตร์ต้องการ

ร่วมด้วย ด.ญ. ปรางใส ณ นคร

ด.ช. ศุภชัย ชัยวัฒนเมธิน

เกรียงไกร อุณหนันท์

ธิติมา สังขพิทักษ์

และ ญาณี จงวิสุทธิ์

สบตา / แอนเดรีย สวอเรซ (1994)

นิตยสารเก่าในความทรงจำ

นิตยสารเก่าในความทรงจำ
นิตยสารมิถุนา (1983-1997)

อยากรู้ความจริง / ทัช ณ ตะกั่วทุ่ง (1992)

บทความเก่าของบลอก

บทความเก่าของบลอก
เจริญทอง เกียรติบ้านช่อง

ครีมอาบน้ำลักส์ / อัญชลี จงคดีกิจ (1985)

บทความเก่าของบลอก

บทความเก่าของบลอก
โป้ง วราวุธ บูรพาชยานนท์

MISSING YOU / TOMMY PAGE (1997)

ตามรักคืนใจ (1998)

ในปี พ.ศ. 2541

สถานีโทรทัศน์ช่อง 3

ร่วมกับบริษัท ยูมาร์ 99 จำกัด

ได้เสนอละครโทรทัศน์

เรื่อง ตามรักคืนใจ

แพร่ภาพเป็นประจำ

ทุกวันศุกร์และเสาร์

เวลา 20:30 น.

ทางสถานีโทรทัศน์ช่อง 3

โดยละครโทรทัศน์เรื่องนี้

สร้างจากบทประพันธ์

ของ กิ่งฉัตร

ดัดแปลงเป็นบทโทรทัศน์

โดย ทุ่งดอกไม้

กำกับการแสดง

โดย วิลักษณา

นำแสดงโดย ธนากร โปษยานนท์

รับบท สีหนาท หรือ นายสิงห์

รามาวดี สิริสุขะ

รับบท หนูนา หรือ นารา

พงษ์พัฒน์ วชิรบรรจง

รับบท ราม

นาถยา แดงบุหงา รับบท รัศมี

นพชัย มัททวีวงศ์ รับบท อดิศร

ชไมพร สิทธิวรนันท์

รับบท จุฑารัตน์ หรือ จุ๊

เมธี อมรวุฒิกุล รับบท สารวัตรกช

รุ้งทอง ร่วมทอง รับบท ขนิษฐา

สมบัติ เมทะนี รับบท วรรณ

ทนงศักดิ์ ศุภการ รับบท ศักดา

ดารณีนุช โพธิปิติ รับบท แป้น

พิมพกา เสียงสมบุญ รับบท พวง

ศักราช ฤกษ์ธำรงค์ รับบท เอกชาติ

วัชรเกียรติ บุญภักดี รับบท เรือง

เรือนมยุรา (1997)

เธอยังคงมีฉัน / ปัทมวรรณ เค้ามูลคดี (1994)

บทความเก่าของบลอก

บทความเก่าของบลอก
เจ มณฑล จิรา

NEVER SURRENDER / COREY HART (1985)

บทความเก่าของบลอก

บทความเก่าของบลอก
Paul Visut Carey

คลังบทความของบล็อก

TOKI / YUTAKA OZAKI (1988)

บทความพิเศษของบลอก

บทความพิเศษของบลอก
นิตยสารวัยรุ่นทศวรรษที่ 90

TRUE / SPANDAU BALLET (1983)

MY FAVORITE ALBUM / EISAKU YOSHIDA

MOU DAREMO AISANAI (1991)

ดอกแก้วการะบุหนิง (2000)

ในปี พ.ศ. 2543

สถานีโทรทัศน์ช่อง 3

ร่วมกับบริษัท ฮู แอนด์ ฮู

โดย วรายุฑ มิลินทจินดา

เสนอละครโทรทัศน์

เเนว โรแมนติก-แฟนตาซี

เรื่อง ดอกแก้วการะบุหนิง

โดยเป็นการสร้าง

จากบทประพันธ์

โดย แก้วเก้า

นำมาดัดแปลง

เป็นบทโทรทัศน์

โดย วรดา

กำกับการแสดง

โดย ชูศักดิ์ สุธีรธรรม

นำแสดงโดย ธนากร โปษยานนท์

รับบท ดนย์

คัทลียา แมคอินทอช

รับบท การะบุหนิง

ฉัตรชัย เปล่งพานิช

รับบท สุหราปาตี

จินตหรา สุขพัฒน์

รับบท กิรณา

เพลงประกอบละครโทรทัศน์

เพลง เธอ

โดย ศิริลักษณ์ ผ่องโชค

ภาพประกอบละครโทรทัศน์

ช่วง Opening Credits

โดย อ.สุรเดช แก้วท่าไม้

ละครโทรทัศน์

เรื่อง ดอกแก้วการะบุหนิง

ออกอากาศเป็นประจำ

ทุกวันจันทร์ อังคาร

เวลา 20.25 น.

ทางสถานีโทรทัศน์ช่อง 3

ในปี พ.ศ. 2543

นิตยสารเก่าในความทรงจำ

นิตยสารเก่าในความทรงจำ
นิตยสารกระดังงา (1984-1990)

VITASOY / SIMON LO (1992)

บทความเก่าของบลอก

บทความเก่าของบลอก
สามารถ พยัคฆ์อรุณ

ป้ายกำกับ

JAL / KAORU KOBAYASHI (1991)

MY FAVORITE ALBUM

MY FAVORITE ALBUM
CAPRICCIO / SHONENTAI (1988)

HI-C LEMON TEA / EKIN CHENG (1987)

นิตยสารเก่าในความทรงจำ

นิตยสารเก่าในความทรงจำ
นิตยสารเพื่อนเดินทาง (1980)

GILMORE GIRLS (2000-2007)

HOP-STEP-LOVE / JUNICHI NITTA (1982)

บทความเก่าของบลอก

บทความเก่าของบลอก
Shingo Kazami

JA KYOSAI / EISAKU YOSHIDA (1990)

บทความเก่าของบลอก

บทความเก่าของบลอก
Yuki Saito

วนิดา (1991)