ถึงช่วงยุค 80
ที่ผ่านมานั้น
สื่อสิ่งพิมพ์
ประเภทการ์ตูน
ที่วางจำหน่าย
ในประเทศไทยนั้น
ยังไม่ได้เข้าสู่การเปลี่ยนแปลง
ในด้านกฎหมายลิขสิทธิ์
ที่เริ่มมีการบังคับใช้
อย่างเด็ดขาด
ในประเทศไทย
ในช่วงปี พ.ศ. 2535
ทำให้ในช่วงก่อนหน้านี้
ถือเป็นช่วงเวลา
ที่สำนักพิมพ์ต่างๆ
จะแข่งขันกัน
ในด้านการจัดพิมพ์
การ์ตูนฮิตเรื่องต่างๆ
ออกมาวางขาย
ถึงแม้จะเป็นการ์ตูน
ที่เป็นเรื่องเดียวกันก็ตาม
นิตยสารการ์ตูน
จึงถือเป็นอีกหนึ่งช่องทาง
ในการนำต้นฉบับ
ของนิตยสารการ์ตูน
จากประเทศญี่ปุ่น
ทั้งรายสัปดาห์
และรายเดือน
มาแปลและจัดพิมพ์
รวมถึงออกวางจำหน่าย
ในประเทศไทย
ให้เร็วที่สุด
ก่อนจะมีการรวมเล่ม
และออกวางขายอีกครั้ง
กิฟท์ แมกกาซีน
ถือเป็นอีกหนึ่งนิตยสาร
ที่ตีพิมพ์การ์ตูนเรื่องต่างๆ
ซึ่งก็ได้รับความนิยมอย่างสูง
จากผู้อ่านทางบ้าน
บทความของบลอกในครั้งนี้
ผู้เขียนจึงขอย้อนวัน-เวลา
นำพาผู้อ่านทุกๆท่าน
กลับไปในช่วงยุค 80 อีกครั้ง
เพื่อจะบอกเล่าถึงเรื่องราว
ของนิตยสารการ์ตูนฉบับนี้
โดยในการจัดทำ
บทความครั้งนี้
ผู้เขียนขอความกรุณา
ผู้อ่านทุกๆท่าน
ในแง่ของการย้ำเตือน
ว่านิตยสารฉบับนี้
ได้รับการจัดพิมพ์
ในช่วงที่กฎหมายลิขสิทธิ์
ยังไม่แพร่หลาย
ในประเทศไทย
โดยในการจัดทำ
ภาพประกอบ
สำหรับบทความ
ของบลอกในครั้งนี้
เป็นการสแกนภาพต่างๆ
จากหนังสือการ์ตูน
ที่มีขนาดเล็ก
ซึ่งนั่นทำให้ยากมาก
แก่การสแกน
ภาพต่างๆในบทความนี้
บางภาพจึงขาดความสมดุล
และมีตัวอักษรที่ขาดหาย
จากลักษณะการกางหนังสือ
เพื่อการสแกนนั่นเอง
จึงขอเรียนชี้แจง
ไว้ ณ ที่นี้
สำหรับผู้อ่านบลอก
ที่ไม่ได้ติดตาม
นิตยสารการ์ตูนฉบับนี้
กิฟท์ แมกกาซีน
เป็นนิตยสารการ์ตูน
สำหรับผู้หญิงรายเดือน
จัดทำโดยทีมงาน
กลุ่มไลน์อาร์ทแพลนนิ่ง
และมีการจัดจำหน่าย
โดย วิบูลย์กิจ
นิตยสารการ์ตูน
กิฟท์ แมกกาซีน
มีการเปิดตัว
และวางจำหน่าย
ทั่วประเทศ
เป็นฉบับแรก
ในเดือนธันวาคม
ปี พ.ศ. 2524
โดยมีราคาปก
ในแต่ละฉบับ
คือ 15 บาท
(ก่อนจะขยับราคา
เป็น 18 และ 20 บาท
ในภายหลัง
โดยในบางฉบับ
จะมีการวางจำหน่าย
ในราคาพิเศษ
เช่น 20 / 25
หรือ 35 บาท
ในฉบับพิเศษของปี
อย่างเดือนธันวาคม
หรือ มกราคม
ที่มีการเพิ่มภาพสี
และมีของแถมพิเศา
ให้กับผู้อ่านทางบ้าน)
นิตยสารการ์ตูน
กิฟท์ แมกกาซีน
เริ่มได้รับความนิยม
จากผู้อ่านทางบ้าน
จากการเป็นนิตยสาร
ในแวดวงการ์ตูน
ที่มีภาพสีสวยงาม
แทรกมาในเล่ม
ซึ่งในช่วงต้นยุค 80 นั้น
ถือเป็นสิ่งแปลกใหม่
ในวงการการ์ตูนบ้านเรา
โดยหลังจากการปรับปรุง
ในฉบับที่ 40
ที่เป็นเล่มพิเศษ
หนากว่า 350 หน้า
และมาพร้อมภาพสีมากมาย
รวมถึงมีการแจกแถม
สมุดโน๊ตที่น่ารัก
ให้กับผู้อ่าน
โดยกิฟท์ แมกกาซีน
ฉบับพิเศษ
ออกวางจำหน่าย
ในราคา 35 บาทนี้
แม้จะมีราคาจะสูง
(ในปี พ.ศ. 2529)
แต่ก็เป็นที่ต้อนรับ
ของผู้อ่านเป็นอย่างดี
ทำให้ ไลน์อาร์ทแพลนนิ่ง
ค้นพบแนวทางของตนเอง
ในการจัดวางรูปแบบ
ของนิตยสารฉบับนี้
ให้กลายเป็นนิตยสาร
ที่มีภาพสี
และเรื่องราวมากมาย
ในด้านบันเทิง
ที่มีความหลากหลาย
มอบให้กับผู้อ่าน
นอกเหนือจากการ์ตูน
ที่ลงประจำในเล่ม
ซึ่งรูปแบบใหม่นี้เอง
ถือเป็นลักษณะเฉพาะ
ที่ทำให้ กิฟท์ แมกกาซีน
ได้รับความนิยม
จากผู้อ่านอย่างมาก
ในช่วงปี พ.ศ. 2529
ถึงช่วงปี พ.ศ. 2535
ก่อนที่ทางวิบูลย์กิจ
จะตัดสินใจยุติ
การออกวางจำหน่าย
เมื่อเข้าสู่การเปลี่ยนแปลง
ในด้านกฎหมายลิขสิทธิ์
ซึ่งทางบริษัทวิบูลย์กิจเอง
ก็เป็นบริษัทใหญ่
ที่ให้การตอบรับ
กฎหมายลิขสิทธิ์
และทำให้เกิดความถูกต้อง
เป็นบริษัทแรกๆ
ของประเทศไทย
ในช่วงยุค 90
ที่ผ่านมา
สำหรับในการบันทึก
บทความของบลอก
ในครั้งนี้
ผู้เขียนก็จะขอเสนอ
ในส่วนต่างๆ
ของนิตยสาร
กิฟท์ แมกกาซีน
ที่มีส่วนสำคัญ
ที่ทำให้นิตยสารฉบับนี้
ได้รับความนิยม
ในกลุ่มผู้อ่าน
โดยส่วนแรกที่จะกล่าวถึง
แน่นอนว่าต้องเป็น
ส่วนของการ์ตูน
ที่ลงติดต่อกันเป็นประจำ
โดย กิฟท์ แมกกาซีน
ในช่วงแรกๆนั้น
ดึงดูดใจผู้อ่าน
ด้วยผลงานการ์ตูน
ของ อ. ยูมิโกะ อิการาชิ
ผู้วาด แคนดี้
ที่โด่งดังมากๆ
ก่อนจะเข้าสู่ช่วงยุคทอง
ของกิฟท์ แมกกาซีน
ที่ลงผลงานเรื่อง ไซเฟอร์
ของ อ. นาริตะ มินาโกะ
อสูรน้อยกระซิบรัก
ของ อ.อิเคโนะ โคอิ
เลขรักพิสดาร ไอบอย
ของ อ.อาซางิริ ยู
ซึ่งผลงานการ์ตูน
ของนักเขียนชื่อดัง
ทั้งสามท่านนี้
ถือเป็นการ์ตูนเรื่องหลัก
ที่ผู้อ่านทางบ้าน
รอคอยและตามอ่านกัน
นอกจากนี้
การลงภาพเปิดเรื่อง
โดยลงเป็นภาพสี
แบบเดียวกัน
กับนิตยสารการ์ตูน
จากประเทศญี่ปุ่น
ก็ทำให้นิตยสารฉบับนี้
เป็นที่ชื่นชอบ
ของผู้อ่านทางบ้าน
ในช่วงยุค 80 อย่างมาก
ส่วนสำคัญ
อีกด้านหนึ่ง
ในช่วงยุค 80
ที่ทำให้นิตยสาร
กิฟท์ แมกกาซีน
ได้รับความนิยม
จากผู้อ่านทางบ้าน
คือการที่ทางนิตยสาร
ลงข่าวบันเทิง
ของดาราวัยรุ่น
จากประเทศญี่ปุ่น
ซึ่งในช่วงยุค 80 นั้น
ได้รับความนิยม
จากผู้ชมชาวไทยอย่างสูง
อีกทั้งการลงภาพต่างๆนั้น
มีความคมชัด สวยงาม
ในรูปแบบของการจัดวางหน้า
ที่เป็นเอกลักษณ์
ที่มีความน่ารัก
ของ กิฟท์ แมกกาซีน
ทำให้แม้จะมีนิตยสารบันเทิง
ที่นำเสนอข่าวคราว
ของดาราญี่ปุ่น
อย่าง ทีวีรีวิว อยู่แล้ว
แต่ กิฟท์ แมกกาซีน
ก็เป็นอีกทางเลือกหนึ่ง
ของผู้ที่ชื่นชอบ
ดาราจากประเทศญี่ปุ่น
ให้ได้เลือกติดตามข่าวกัน
โดยนอกเหนือ
จากการ์ตูน
ที่ลงประจำ
ในแต่ละฉบับ
และข่าวบันเทิง
จากประเทศญี่ปุ่นแล้ว
นิตยสารการ์ตูน
กิฟท์ แมกกาซีน
ยังมีความโดดเด่น
ด้วยการมีคอลัมภ์
ในนิตยสารมากมาย
ซึ่งคอมลัมภ์ประจำเหล่านั้น
ต่างก็มีความหลากหลาย
รวมถึงมีการจัดวางรูปแบบ
ของหน้าต่างๆ
ที่มีรูปสีสวยงาม
ในบทความครั้งนี้
ผู้เขียนบลอก
จึงจะขอแนะนำ
คอลัมภ์ที่น่าสนใจ
ของนิตยสาร
การ์ตูนฉบับนี้
โดยแบ่งการบันทึก
เป็นแต่ละหัวข้อกันไป
สำหรับคอลัมภ์ประจำ
ที่ผู้อ่านจะพบ
เป็นอันดับแรกๆ
ของนิตยสารเล่มนี้
คือ เปิดเล่ม สารบัญ
ที่อยู่ในช่วงต้นๆ
รวมถึง ปิดเล่ม
และ วรรณกรรมคำตอบ
ที่อยู่ในช่วงท้ายเล่ม
ซึ่งเป็นการพูดคุยทางจดหมาย
เพื่อตอบคำถามของผู้อ่าน
ในแง่ของการ์ตูน
และการวางจำหน่าย
ของนิตยสารอื่นๆ
ในเครือของวิบูลย์กิจ
โดยผู้รับหน้าที่พูดคุย
กับน้องๆทางบ้าน
ใช้ชื่อว่า พี่กิฟท์
ซึ่งในช่วงยุค 80 ที่ผ่านมานั้น
สายสัมพันธ์ระหว่างผู้อ่าน
กับทีมงานของนิตยสารนั้น
ค่อนข้างจะใกล้ชิดกันมาก
ทำให้ในเทศกาลต่างๆ
รวมถึงวันเสาร์ อาทิตย์
บางครั้งทีมงานของกิฟท์
ก็จะมีโอกาสได้ต้อนรับ
น้องๆที่ไปเยี่ยมเยียน
ที่ออฟฟิศ
รวมถึงมีโทรศัพธ์
เข้าไปพูดคุย ถามไถ่
กับพี่ๆทีมงานอยู่เสมอ
สำหรับคอลัมภ์
อีกกลุ่มหนึ่ง
ที่นิตยสาร
กิฟท์ แมกกาซีน
ให้ความสำคัญเสมอ
คือ เรื่องราวของดนตรี
จากการมีหลายคอมลัมภ์
ที่นำเสนอในด้านนี้
ไม่ว่าจะเป็น Gift New Music
ที่นำเสนออัลบั้มต่างๆ
จากประเทศญี่ปุ่น
ซึ่งบริษัท CBS
นำมาวางจำหน่าย
ในประเทศไทย
โดยการวิจารณ์
ของคุณแซงแซว
และคุณกาจ๊วป
นอกจากนี้
ยังมีอีกหลายคอลัมภ์
ที่เกี่ยวข้องกับดนตรี
ไม่ว่าจะเป็น Bus Stop
ที่ในระยะหลังๆ
นำเสนอข่าวศิลปินเพลง
ในฝั่งอาร์ททิสมากขึ้น
Voice From The Heart
ที่เป็นการลงเนื้อเพลง
ทั้งฝั่งอังกฤษ อเมริกา
และประเทศญี่ปุ่น
88 Hit Line
อันดับเพลงฮิต
จากคลื่นวิทยุยอดนิยม
ในช่วงยุค 80
Fm 88 Smile Radio ฯลฯ
จากการที่คอลัมภ์ต่างๆ
ในด้านดนตรี
ของนิตยสารการ์ตูน
กิฟท์ แมกกาซีน
มักจะมีการนำเสนอ
ข่าวด้านดนตรี
จากคลื่น Fm 88
ที่ในช่วงยุค 80 นั้น
มีดีเจรุ่นใหม่
ที่มีความโดดเด่น
ในการนำเสนอเพลง
จากต่างประเทศ
และมักจะเป็นผู้จัดงาน
ในคอนเสริต์ต่างๆเสมอ
ซึ่งจากสายสัมพันธ์
และเหตุผลในจุดนี้
ทำให้ กิฟท์ แมกกาซีน
เป็นนิตยสารอีกฉบับหนึ่ง
ที่มีการลงข้อมูล ภาพข่าว
ของการจัดงานคอนเสริต์
ที่น่าสนใจอยู่เสมอ
โดยนำเสนอภาพข่าว
ทั้งศิลปินจากประเทศญี่ปุุ่น
และฝั่งอังกฤษ อเมริกา
รวมถึงของไทยเราเอง
สลับกันไปอยู่เสมอ
โดยนอกจากภาพคอนเสริต์
กิฟท์ แมกกาซีน
ยังได้เป็นหนึ่งในนิตยสาร
ที่ได้เข้าสัมภาษณ์
ศิลปินจากต่างประเทศ
ที่เข้ามาแสดงคอนเสริต์
ในประเทศไทยเสมอ
รวมถึงมีบทสัมภาษณ์
ดีเจชื่อดังท่านต่างๆ
จาก Smile Radio
ที่กำลังเป็นที่ชื่นชอบ
ของกลุ่มวัยรุ่น
ในขณะนั้น
สำหรับคอลัมภ์
อีกส่วนหนึ่ง
ที่มีความสำคัญ
ของนิตยสาร
กิฟท์ แมกกาซีน
คือส่วนบทความ
และภาพ
ในด้านไลฟ์สไตล์
ที่นิตยสารการ์ตูนฉบับนี้
ได้มีการจัดสรร
ในส่วนหน้าสี
ได้อย่างคุ้มค่า
โดยในแต่ละแบับนั้น
ก็จะมีการลง
ทั้งในด้านเสื้อผ้า
การแต่งตัว
การแต่งบ้าน
การท่องเที่ยว
ไว้อย่างครบถ้วน
โดยในการบันทึก
บทความครั้งนี้
ผู้เขียนขอนำเสนอ
ภาพตัวอย่าง
เล็กๆน้อยๆ
ที่แสดงถึงการจัดวาง
ในด้านรุปแบบ
ของหน้านิตยสาร
ที่มีความสวยงาม
เป็นเอกลักษณ์
ของกิฟท์ แมกกาซีน
มาลงเป็นตัวอย่าง
ในทุกๆหัวข้อ
รวมกันไป
เพื่อประกอบไว้
ในบทความครั้งนี้
โดยจากความทรงจำ
ของผุ้เขียนบลอก
สำหรับส่วนที่สาม
คือ การท่องเที่ยว
โดยในการนำเสนอ
ภาพและข้อมูล
ที่มีการตีพิมพ์
ลงในกิฟท์นี้
มีความโดดเด่น
จากการมีทั้งสกุ๊ป
ที่เป็นการถ่ายภาพ
ในประเทศไทย
ที่ทางทีมงานนั้น
ได้ไปทำสกู๊ปมาฝาก
ในช่วงแรก-แรก
ของทางนิตยสาร
(เช่น ร้านกิฟท์ชีอปต่างๆ)
จากนั้นในช่วงระยะหลัง
จึงมีการปรับเปลี่ยน
เป็นการมีข้อมูลต่างๆ
เกี่ยวกับสถานที่ท่องเที่ยว
ในต่างประเทศ
ซึ่งในช่วงยุค 80
ที่ผ่านมานั้น
ประเทศญี่ปุ่น
และสหรัฐอเมริกานั้น
ก็ดูจะเป็นประเทศในฝัน
ของวัยรุ่นชาวไทย
ทำให้ทางนิตยสาร
กิฟท์ แมกกาซีน
ในช่วงยุค 80
ที่ผ่านมานั้น
มักจะลงข้อมูล
ในด้านการท่องเที่ยว
จากประเทศญี่ปุ่น
และสหรัฐอเมริกา
มาฝากกันอยู่เสมอ
สำหรับคอลัมภ์อื่นๆ
ที่มีความน่าสนใจ
ที่มีความเกี่ยวข้อง
ในด้านการ์ตูนนั้น
กิฟท์ แมกกาซีน
ที่เป็นนิตยสารการ์ตูน
ก็มีหลายคอลัมภ์
ที่ให้ความรู้
และคำแนะนำ
เกี่ยวกับการจัดทำ
และการวาดภาพการ์ตูน
ไม่ว่าจะเป็น กระจุย
ที่ตอบปัญหาการวาดภาพ
และข้อมูลต่างๆ
ของนักเขียนการ์ตูน
คอลัมภ์ซุ้มศิลป์
คอลัมภ์ประกวดวาดภาพ
ที่ให้ผู้อ่านทางบ้าน
ได้แสดงฝีมือ
เพื่อชิงเงินรางวัล
ภาพน้อยชวนถนอม
ส่วนของภาพสวยๆ
จากนักเขียนการ์ตูนชื่อดัง
Lound Speaker
ข่าวคราวอัพเดท
ของการ์ตูนใหม่ๆ
Magazine of The Month
รายละเอียดต่างๆ
ของนิตยสารการ์ตูน
จากประเทศญี่ปุ่น
พบนักเขียน
ที่พาไปทำความรู้จัก
กับนักเขียนชื่อดัง
ท่านต่างๆ
คอลัมภ์กระซิบบอก
เป็นการนำเสนอสินค้า
ที่มีรูปการ์ตูนน่ารักๆ
ซึ่งเป็นสินค้าของแถม
และของชิงโชค
ซึ่งทางนิตยสารญี่ปุ่น
เป็นผู้จัดทำขึ้น
อีกส่วนหนึ่ง
ที่มีความน่าสนใจ
ของ กิฟท์ แมกกาซีน
คือคอลัมภ์ต่างๆ
ที่ให้ผู้อ่านทางบ้าน
ได้ร่วมสนุก
ในการส่งจดหมาย
หรืองานเขียน
มาพุดคุย แสดงฝีมือกัน
โดยคอลัมภ์ส่วนใหญ่
อยู่ในความดูแล
ของคุณแซงแซว
ไม่ว่าจะเป็น จั๊กกะจี้วัยรุ่น
ที่เป็นการตอบจดหมายสั้นๆ
ของคุณแซงแซว
ที่มีความโดดเด่น
ในการใช้ลายมือ
ที่น่ารัก
มาจัดทำคอลัมภ์
เพื่อให้เกิดความสนิทสนม
กับผู้อ่านทางบ้าน
นอกจากนี้
ในคอลัมภ์นี้
ยังมีการเปิดหน้า
ในการฝากแซว
และประกาศหาเพื่อน
สำหรับผู้อ่านทางบ้าน
ให้ส่งมาร่วมสนุกกัน
โดยในแต่ละเดือน
ก็จะมีรายการอวยพร
ในวันเกิดผู้อ่าน
ที่เป็นสมาชิก
ของไลน์อาร์ทแพลนนิ่ง
ให้เป็นพิเศษเสมอ
อีกทั้งหากผู้อ่านท่านไหน
มีฝีไม้ลายมือ
ในการแต่งบทกลอน
ก็สามารถส่งงานเขียน
มาร่วมสนุกได้
ในคอลัมภ์
ชื่อ รอยเล็บเจ็บรัก
จากใจที่มีให้
จินตกวีที่ขอบฟ้า
ความจริงจากใจ
และ กันเอง
ได้อีกทางหนึ่งด้วย
โดยในแง่ของการติดต่อ
กับผู้อ่านทางบ้าน
ที่เป็นสมาชิก
ของไลน์อาร์ทแพลนนิ่ง
โดยนอกจากจะได้รับ
บัตรสมาชิก
ในการเป็นส่วนลด
ในการซื้อหนังสือ
และสินค้าต่างๆ
ของทางบริษัท
สมาชิกทุกท่าน
ยังได้รับนิตยสาร
ที่ชื่อว่า New Type
ส่งให้ถึงบ้าน
ในทุกๆเดือนอีกด้วย
สำหรับคอลัมภ์
ในนิตยสารกิฟท์
ก็ได้มีคอลัมภ์พิเศษ
ที่มีขึ้นเพื่อติดต่อ พุดคุย
และแนะนำสมาชิก
โดยในส่วนนี้
ของนิตยสาร
ก็ได้มีการใช้
หลาย-หลายชื่อ
ในการทำคอลัมภ์นี้
ไม่ว่าจะเป็น จุ๊...จุ๊ คนน่ารัก
Gift Girl Gallery
รวมถึง ล้มทับสมาชิก
ซึ่งก็สร้างความสนิทสนม
ระหว่างผู้อ่านทางบ้าน
กับทางทีมงาน
ของนิตยสาร
ได้เป็นอย่างดี
สำหรับคอลัมภ์
อีกส่วนหนึ่ง
ที่ได้รับความนิยมมาก
ในกลุ่มผู้อ่าน
ของนิตยสาร
กิฟท์ แมกกาซีน
ในช่วงหลังๆ
ของนิตยสารเล่มนี้
คือคอลัมภ์
ในแบบบททดสอบ
ลักษณะนิสัย
ทำนายดวง
ทำนายบุคลิก
จากรุ๊ปเลือด
ซึ่งมีการแปล
มาจากนิตยสารวัยรุ่น
ของประเทศญี่ปุ่น
ซึ่งก็มีเสียงเรียกร้อง
มาในคอลัมภ์
วรรณกรรมคำตอบ
ให้ลงเพิ่มขึ้นอยู่เสมอ
เพื่อเป็นการทดแทน
ในส่วนของคอลัมภ์
เกี่ยวกับดวงชะตา
อย่าง ชะตาราศีคุณ
ที่การทำนาย
ประจำเดือน
ในแต่ละฉบับนั้น
มักจะไม่สามารถอ่านได้
เพราะนิตยสารฉบับนี้
มักจะออกล่าช้า
กว่ากำหนด
อยู่เสมอนั่นเอง
สำหรับส่วนสุดท้าย
ที่ผู้เขียนบลอก
จะขอกล่าวถึง
หากจะกล่าวถึง
ความโดดเด่น
ของนิตยสารกิฟท์
ในช่วงยุค 80
โดยจากความทรงจำ
ของผุ้เขียนบลอก
นิตยสารฉบับนี้
ยังเป็นที่จดจำ
จากการมักจะวางแผง
โดยมีของแถม
และมีการเปิดคอลัมภ์
ในด้านรายการ
การชิงรางวัล
ที่ทางนิตยสาร
และทีมงาน
ของกิฟท์ แมกกาซีน
มักจะมีมอบให้
กับผู้อ่าน
ที่ติดตาม
ทางนิตยสารเสมอ
โดยในฉบับพิเศษ
รวมถึงในฉบับปกติ
นิตยสารการ์ตูน
กิฟท์ แมกกาซีน
ก็มักจะมีของแถมพิเศษให้
ไม่ว่าจะเป็น สมุดโน๊ต
ปกเทป ส.ค.ส การ์ด
ตารางสอน ปฏิทิน
โปสเตอร์ สติกเกอร์ ฯลฯ
รวมถึงมีคอลัมภ์ต่างๆ
ที่ให้ผู้อ่านร่วมสนุก
ตอบคำถามชิงรางวัล
ในหลายๆคอลัมภ์
ไม่ว่าจะเป็น กิฟท์ขนมาแจก
กระซิบบอกลอกคราบ
รางวัลหล่นทับ
ภาพนี้มีปัญหา
ของฝากจากCBS
มุมของแจกฯ
ถือเป็นการตอบแทน
แฟนๆผู้อ่าน
ที่ให้การสนับสนุน
มาโดยตลอดนั่นเอง
จากความพิเศษ
ในหลายๆส่วน
ของนิตยสาร
กิฟท์ แมกกาซีน
ทำให้ช่วงยุค 80
ที่ผ่านมานั้น
นิตยสารการ์ตูน
สำหรับเด็กผู้หญิงเล่มนี้
ได้กลายเป็นที่นิยม
และเป็นที่จดจำ
ของผู้อ่านมากมาย
โดยจากความทรงจำ
ของผุ้เขียนบลอก
สิ่งหนึ่งที่รับประกัน
ความสำเร็จที่ยิ่งใหญ่
ของนิตยสาร
การ์ตูนผู้หญิงฉบับนี้
คือการที่ในช่วงยุค 80
ถึงช่วงยุค 90
ที่ผ่านมานั้น
ทางบริษัทวิบูลย์กิจ
ได้มีการผลิต
นิตยสารการ์ตูน
สำหรับผู้หญิง
ออกมาวางจำหน่าย
อีกในหลายฉบับ
โดยนิตยสารใหม่
เหล่านี้นั้น
ต่างก็มีการตั้งชื่อ
โดยอิงกับชื่อ
ของนิตยสารกิฟท์
ที่เป็นที่นิยม
และติดตลาด
ในความรู้สึก
ของผู้อ่าน
ในวงกว้างไปแล้ว
โดยนอกจากนิตยสาร
กิฟท์ แมกกาซีน
ในรูปแบบปกติแล้ว
ในช่วงยุค 80
ถึงช่วงต้นยุค 90
ทางบริษัทวิบูลยืกิจ
ยังมีการผลิต
Gift Extra
Gift Out Of Order
Gift ฉบับ Best
Gift ฉบับ Hello
ซึ่งหลังเข้าสู่ช่วงใหม่
ของการเปลี่ยนแปลง
ในด้านลิขสิทธิ์
ในช่วงปี พ.ศ. 2535
ทางบริษัท วิบูลย์กิจ
ก็ได้ออกนิตยสารการ์ตูน
สำหรับเด็กผู้หญิง
ในแบบถุกลิขสิทธิ์
เพื่อทดแทน Gift
ที่ต้องยุติลงไป
โดยนิตยสารใหม่
ที่เปิดตัวเหล่านี้
ก็ยังคงใช้ชื่อ Gift
แม้จะมีความแตกต่าง
จาก Gift
ในแบบเดิมๆ
อย่างมากก็ตาม
โดยหลังจากปี พ.ศ. 2535
แผงหนังสือการ์ตูน
ก็ได้มี Gift ฉบับ Omo
Gift Scarett , Gift Mystery
ที่มีการเปิดตัว
ในตลาดการ์ตูน
ซึ่งนั่นก็แสดงถึง
ความโด่งดัง
และความสำเร็จ
อย่างแท้จริง
ของนิตยสารการ์ตูน
สำหรับผู้หญิง
ในฉบับนี้
ที่โด่งดังอย่างมาก
ในความทรงจำ
ของผู้อ่านมากมาย
ที่ได้ผ่านพ้น
ช่วงยุค 80
ร่วมกันมา