ตั้งแต่การเปิดตัว
ผลงานนวนิยาย
เรื่อง ปริศนา
ซึ่งมีการตีพิมพ์
เป็นครั้งแรก
ในแบบเป็นตอนๆ
ลงในหนังสือพิมพ์
ประเภทรายปักษ์
ในชื่อ เดลิเมล์วันจันทร์
ในเดือนตุลาคม
ของปี พ.ศ. 2494
ผลงานนวนิยาย
แนว ชีวิต / โรแมนติก
ซึ่งเป็นผลงาน
นวนิยายอมตะ
จากการประพันธ์
โดย ว.ณ ประมวญมารค
ในเรื่องนี้นั้น
ก็ได้รับความนิยม
และเป็นที่จดจำ
ของผู้อ่าน
อย่างต่อเนื่อง
ในทุกยุคสมัย
โดยเนื่องในโอกาส
ที่ในปี พ.ศ. 2548
ที่ผ่านมานี้
ทางสำนักพิมพ์
นานมี บุ๊คส์
พับลิเคชั่นส์
ได้มีการจัดพิมพ์
ผลงานนวนิยาย
และงานนิพนธ์ต่างๆ
ของพระเจ้าวรวงศ์เธอ
พระองค์เจ้าวิภาวดีรังสิต
ซึ่งใช้นามปากา
ว. ณ ประมวญมารค
ออกมาวางจำหน่าย
ในรูปเล่มสวยงาม
และปราณีต
ซึ่งมีภาพปก
ที่มีความโดดเด่น
ซึ่งเป็นผลงาน
จากการวาดภาพ
โดยคุณเบ็ญจมาศ คำบุญมี
ซึ่งในความทรงจำ
ของผู้เขียนบลอก
การจัดพิมพ์
หนังสือชุดนี้
ในครั้งนี้นั้น
ถือเป็นการจัดพิมพ์
ที่มีความสวยงาม
และน่าจดจำ
ทำให้ในการบันทึก
บทความของบลอก
ในครั้งนี้นั้น
ผู้เขียนบลอก
จึงมีความตั้งใจ
ที่จะบันทึก
ภาพปกหนังสือ
จากการจัดพิมพ์
หนังสือชุดนี้
โดยมีรายละเอียด
ของงานเขียน
และเรื่องย่อ
ในแบบสั้นๆ
ลงประกอบไว้
เพื่อเป็นแนวทาง
สำหรับผู้อ่าน
ในรุ่นใหม่ๆ
ที่มีความสนใจ
ในผลงานต่างๆ
ที่มีความโดดเด่น
ของนักประพันธ์ท่านนี้
(โดยในการบันทึก
บทความของบลอก
ในครั้งนี้นั้น
เนื่องจากผู้เขียน
ยังหาหนังสือ
เจ้าสาวของอานนท์
และ นิกกับพิม
ซึ่งคงจะหลงลืม
และเอาไปเก็บไว้
ในลังหนังสืออื่นๆ
ซึ่งแยกออก
ไปจากกลุ่ม
ทำให้ในการบันทึก
ในส่วนของผลงาน
ของทั้งสองเรื่องนี้
ผู้เขียนบลอก
มีความจำเป็น
ที่จะต้องใช้ภาพ
จากสื่ออินเตอร์เน็ท
ซึ่งต้องขอขอบคุณ
เจ้าของภาพ
ของหน้าปก
ทั้งสองเรื่อง
โดยหากผู้เขียน
ค้นเจอหนังสือ
ทั้งสองเล่มนี้
ก็จะนำมาสแกน
ให้มีความคมชัด
มากยิ่งขึ้น
เพื่อแก้ใขภาพ
ในบทความ
อีกครั้งหนึ่ง)
สำหรับผู้อ่าน
ในรุ่นใหม่ๆ
ที่ไม่ได้ติดตาม
ผลงานนวนิยาย
และงานเขียนต่างๆ
ของ ว.ณ ประมวญมารค
ในการบันทึก
ในครั้งนี้นั้น
ผู้เขียนบลอก
ขอถือโอกาส
ในการบันทึก
ประวัติและข้อมูล
ในแบบย่อๆ
ของท่านผู้ประพันธ์
เจ้าของนามปากกา
ว.ณ ประมวญมารค
ซึ่งอย่างที่ผู้อ่าน
ทุก-ทุกท่าน
คงจะทราบกันดี
ว.ณ ประมวญมารค
เป็นนามปากกา
ของพระเจ้าวรวงศ์เธอ
พระองค์เจ้าวิภาวดีรังสิต
ซึ่งทรงมีพระนามเดิม
ว่า หม่อมเจ้าวิภาวดี รังสิต
โดยเป็นพระธิดา
ในพระราชวรวงศ์เธอ
กรมหมื่นพิทยาลงกรณ
(พระองค์เจ้ารัชนีแจ่มจรัส)
และหม่อมเจ้าพรพิมลพรรณ รัชนี
ประสูตรเมื่อวันที่ 20 พฤศจิกายน พ.ศ. 2463
โดยมีพระอนุชาหนึ่งองค์
คือ หม่อมเจ้าภีศเดช รัชนี
พระเจ้าวรวงศ์เธอ
พระองค์เจ้าวิภาวดีรังสิต
ทรงเสกสมรส
กับหม่อมเจ้าปิยะรังสิต รังสิต
เมื่อวันที่ 6 พฤษภาคม พ.ศ. 2489
โดยทั้งสองท่านนั้น
ทรงมีธิดา 2 ท่าน
คือ หม่อมราชวงศ์วิภานันท์ รังสิต
และ หม่อมราชวงศ์ปรียนันทนา รังสิต
โดยในฐานะนักประพันธ์
ท่านทรงนิพนธ์
ผลงานเรื่องแรก
ซึ่งเป็นเรื่องแปล
ในชื่อ เด็กจอมแก่น
ซึ่งมีการตีพิมพ์
ในแบบเป็นตอนๆ
เป็นครั้งแรก
ลงในหนังสือพิมพ์
ประเภทรายสัปดาห์
ในชื่อ ประมวญสาร
ขณะที่ท่านนั้น
ชันษาเพียง 14 ปี
ซึ่งหลังจากผลงาน
ในแนวสร้างสรรค์
สำหรับเยาวชน
ในเรื่องนี้
ในฐานะนักประพันธ์
เจ้าของนามปากกา
ว.ณ ประมวญมารค
ท่านได้ทรงนิพนธ์
ผลงานนวนิยาย
บทละครวิทยุ
บทความ เรื่องสั้น
สารคดีการท่องเที่ยว
ที่มีความหลากหลาย
อย่าง ปริศนา
เจ้าสาวของอานนท์
รัตนาวดี นิกกับพิม
นี่หรือชีวิต เรื่องลึกลับ
ตามเสด็จปากีสถาน
คลั่งเพราะรัก
เรื่องหลายรส
พระราชินีนาถวิกตอเรีย
ฤทธีราชินีสาว
เป็นผลงานเอก
ในลำดับต่อมา
สำหรับผลงาน
นวนิยายเรื่องแรก
ของ ว.ณ ประมวญมารค
ที่ผู้เขียนบลอก
อยากจะบันทึกไว้
ในบทความครั้งนี้
คือ ปริศนา
ซึ่งเป็นผลงาน
นวนิยายเรื่องยาว
ในแนวชีวิต
และโรแมนติก
ซึ่งมีตัวละครหลัก
คือ ปริศนา สุทธากุล
บุตรสาวคนเล็ก
ของพระวินิจมนตรี
และคุณนายสมร
ซึ่งจากการไปใช้ชีวิต
ที่ต่างประเทศ
ตั้งแต่ยังเล็กๆ
ทำให้ปริศนา
ซึ่งเดินทางกลับมา
เพื่อใช้ชีวิต
ร่วมกับครอบครัว
ที่ประเทศไทยนั้น
กลายเป็นหญิงสาว
ที่มีความโดดเด่น
จากหน้าตา
และรูปร่าง
ที่มีความสวยงาม
และการมีอุปนิสัย
ในแบบหญิงสาว
ที่ได้รับการเลี้ยงดู
และเติบโต
มาจากต่างประเทศ
ซึ่งจากความเก่งกาจ
ทั้งด้านศิลปะ
การเล่นเทนนิส
การขี่ม้า ฯลฯ
ก็ทำให้หญิงสาว
ที่น่ารักผู้นี้
กลายเป็นที่หมายปอง
ของเหล่าหนุ่มๆ
ในวงสังคมไทย
(ผลงานนวนิยาย
เรื่อง ปริศนา
เป็นผลงานอมตะ
ที่ผู้ประพันธ์
ท่านทรงนิพนธ์
ไว้ในช่วงปี พ.ศ. 2483
ถึงประมาณปี พ.ศ. 25485
แต่มีการเปิดตัว
และมีการตีพิมพ์
ไปสู่ผู้อ่าน
เป็นครั้งแรก
ในแบบเป็นตอนๆ
ลงในหนังสือพิมพ์
ในชื่อ เดลิเมล์วันจันทร์
หรือชื่อในปัจจุบันนี้
คือ เดลินิวส์
ในช่วงปี พ.ศ. 2494
ซึ่งจากความโดดเด่น
ในด้านการนำเสนอ
เรื่องราวความรัก
ในแบบโรแมนติก
และการนำเสนอ
สภาพสังคม
และความรื่นรมย์
ของหนุ่มสาว
ในระดับ
ชนชั้นผู้ดี
ได้อย่างสมจริง
ซึ่งให้อรรถรส
ในการอ่าน
ที่มีความเพลิดเพลิน
ก็ทำให้นวนิยาย
ในเรื่องนี้
ได้รับความนิยม
อย่างมาก
และมีการนำไปสร้าง
ในรูปแบบภาพยนตร์
และละครโทรทัศน์
หลาย-หลายครั้ง
ในระยะเวลาต่อมา)
สำหรับผลงาน
ในลำดับที่สอง
ของนวนิยาย
ในรูปแบบ
ของซีรียส์
ชุด ปริศนา
คือผลงานนวนิยาย
ในแบบเรื่องยาว
เรื่อง เจ้าสาวของอานนท์
โดยในนวนิยาย
แนว ชีวิต
ตลก / โรแมนติก
ในเรื่องนี้นั้น
มีตัวละครหลัก
คือ อานนท์ วิทยาธร
ชายหนุ่มหล่อเหลา
ที่มีบุคลิกโก้ เก๋
จนเป็นที่หมายปอง
ของเหล่าสาวๆ
ในวงสังคมไทย
หลังจากสำเร็จการศึกษา
มาจากต่างประเทศ
และได้สนิทสนม
กับสาวสวย
อย่างปริศนา
ซึ่งเข้าพิธีแต่งงาน
กับท่านชายพจน์
อานนท์ผู้มีเสน่ห์
ก็ยังคงค้นหา
หญิงสาวสวย
และเฉลียวฉลาด
ที่เขาจะรัก
และอยากจะขอ
ให้เธอผู้นั้น
มาเป็นเจ้าสาว
ของอานนท์
อยู่เรื่อยๆ
(ผลงานนวนิยาย
เรื่อง เจ้าสาวของอานนท์
ในเรื่องนี้นั้น
ถือเป็นนวนิยาย
ของ ว.ณ ประมวญมารค
อีกเรื่องหนึ่ง
ที่ได้รับการสร้าง
ในรูปแบบ
ของสื่อบันเทิง
อยู่บ่อยครั้ง
โดยในการบันทึก
บทความของบลอก
ในครั้งนี้นั้น
ผู้มารับบทบาท
เป็น อานนท์ วิทยาธร
ในแต่ละยุคสมัย
อย่าง คุณไพโรจน์ สังวริบุตร
คุณคาเมล ซาลวาลา
คุณศรัณยู วงษ์กระจ่าง
คุณจอนนี่ แอนโฟเน่
คุณโทนี่ รากแก่น
ก็ดูจะเป็นการบอกเล่า
ถึงภาพลักษณ์
ของชายหนุ่ม
ที่มีเสน่ห์
ในแต่ละยุคสมัย
ได้เป็นอย่างดี)
สำหรับผลงาน
เรื่อง รัตนาวดี
ซึ่งเป็นผลงาน
ในลำดับสุดท้าย
ของนวนิยาย
ชุด ปริศนา
นวนิยายเรื่องนี้
มีตัวละครหลัก
คือ หม่อมเจ้าหญิงรัตนาวดี
ผู้เป็นขนิษฐา
ของหม่อมเจ้าพจนปรีชา
ซึ่งเป็นตัวละครหลัก
จากนวนิยาย
ในเรื่องปริศนา
โดยในนวนิยาย
เรื่อง รัตนาวดี
มีการดำเนินเรื่อง
ในรูปแบบ
การเขียนจดหมาย
จากท่านหญิงรัตน์
และท่านดนัย
เพื่อส่งไปบอกเล่า
ให้กับท่านชายพจน์
ได้รับรู้เหตุการณ์ต่างๆ
ระหว่างการเดินทาง
ของท่านหญิงรัตน์
และคุณสร้อย
ซึ่งเป็นพี่เลี้ยง
ซึ่งจากเหตุการณ์
ความเข้าใจผิด
เกี่ยวกับนายเล็ก
ผู้เป็นมหาดเล็ก
ของท่านดนัย
ก็ทำให้นวนิยาย
แนวการเดินทาง
ในเรื่องนี้นั้น
เต็มไปด้วยความรัก
และความโรแมนติก
เป็นที่ชื่นชอบ
ของผู้อ่าน
(จากหน้าคำนำ
ในการจัดพิมพ์
นวนิยายอมตะ
แนวโรแมนติก
และการท่องเที่ยว
เรื่อง รัตนาวดี
เป็นผลงานนวนิยาย
ที่ท่านเจ้าของเรื่อง
ได้ทรงนิพนธ์ขึ้น
ในช่วงปี พ.ศ. 2496
โดยข้อมูลต่างๆ
ในการเดินทางนั้น
ก็มาจากบันทึก
ของผู้เขียน
ซึ่งมีข้อมูล
ในด้านเส้นทาง
ของการเดินทาง
จากการที่ท่าน
และ ม.จ.ปิยะรังสิต รังสิต
ได้เดินทาง
ไปท่องเที่ยว
ในประเทศต่างๆ
ในแถบยุโรป
ในช่วงปี พ.ศ. 2490
ซึ่งเป็นช่วงเวลาแรกสุด
หลังจากการเสกสมรส
ซึ่งจากเหตุการณ์
การเดินทาง
ในครั้งนั้นนี่เอง
ที่ทางผู้ประพันธ์
ได้นำมาใช้
เป็นฉากหลัง
ของนวนิยาย
แนวการท่องเที่ยว
เรื่อง รัตนาวดี
ซึ่งเป็นตอนสุดท้าย
ของผลงาน
ชุด ปริศนา)
โดยนอกจากผลงาน
นวนิยายอมตะ
ชุด ปริศนา
ในฐานะนักประพันธ์
ซึ่งใช้นามปากกา
ว่า ว.ณ ประมวญมารค
พระเจ้าวรวงศ์เธอ
พระองค์เจ้าวิภาวดีรังสิต
ในรูปแบบนิยาย
ที่เป็นเรื่องยาว
ในเรื่องอื่นๆ
โดยผลงานนวนิยาย
ในแนว ชีวิต
เรื่อง นี่หรือชีวิต
ที่นำมาบันทึก
ไว้ในบทความ
ของบลอก
ในครั้งนี้นั้น
เป็นนวนิยาย
ในแบบเรื่องยาว
เกี่ยวกับชีวิต
ของสามสาว
เพ็ญ ลักษณา
และ วิไล
ซึ่งเป็นพี่น้อง
ในครอบครัวเดียวกัน
ซึ่งมีวิถีชีวิต
และการตัดสินใจ
เลือกทางเดิน
ในชีวิตของตน
ที่แตกต่างกัน
โดยเรื่องราว
ของนวนิยาย
เริ่มเรื่องขึ้น
เมื่อเพ็ญ
ผู้เป็นพี่สาว
ในวัย 40 ปี
ได้รับจดหมาย
จากวิไล
และลักษณา
ผู้เป็นน้องสาว
ซึ่งจะมาพัก
กับทางครอบครัว
ของเพ็ญ
และหลวงเมธาวที
ผู้เป็นสามี
ซึ่งจากจดหมาย
ของผู้เป็นน้องสาว
ก็ทำให้เพ็ญ
หรือนางเมธาวทีนั้น
ได้คิดคำนึง
และนึกย้อนเรื่องราว
ไปถึงฉากชีวิต
ในช่วงวันเก่าๆ
เมื่อครั้งที่เธอนั้น
ยังคงอยู่กับครอบครัว
(จากบทคำนำ
ในการจัดพิมพ์
ผลงานนวนิยาย
เรื่อง นี่หรือชีวิต
มีความโดดเด่น
ในแง่ของการเป็นผลงาน
นวนิยายเรื่องสุดท้าย
ของ ว.ณ ประมวญมารค
นอกจากนี้
นิยายเรื่องนี้
ยังมีคติเตือนใจ
ในด้านการใช้ชีวิต
การครองเรือน
และการวางตัว
ของผู้หญิง
ได้เป็นอย่างดี)
สำหรับงานเขียน
ของ ว.ณ ประมวญมารค
ในชิ้นต่อมา
ที่นำมาบันทึก
ไว้ในบทความ
คือ ผลงานหนังสือ
รวมงานเขียน
ในชื่อ เรื่องหลายรส
ซึ่งจากบทคำนำ
ของหนังสือ
ผลงานชุดนี้
เป็นหนังสือ
ซึ่งเป็นการรวบรวม
นำเอาเรื่องสั้น
บทความ สารคดี
บทละครวิทยุ
ของ ว.ณ ประมวญมารค
ที่น่าสนใจ
และมีคุณค่า
นำมารวมเล่ม
และจัดพิมพ์
ซึ่งจากความดีเด่น
ของผลงาน
ก็ทำให้หนังสือ
ในชุดนี้
ได้รับรางวัล
ในสาขาชนะเลิศ
ประเภทหนังสือทั่วไป
จากการตัดสิน
ของคณะกรรมการ
สวัสดิการเด็ก
สภาสังคมสงเคราะห์
แห่งประเทศไทย
ในพระบรมราชูปถัมภ์
ในการประกาศรางวัล
เพื่อเชิดชูเกียรติ
ในปี พ.ศ. 2515
โดยในหนังสือชุดนี้
มีบทความสารคดี
การท่องเที่ยว
ชุด ตามสเด็จ 14 ประเทศ
ตามเสด็จอเมริกา
ตามเสด็จประเทศอิหร่าน
ซึ่งนอกจากจะให้
ความเพลิดเพลิน
ไปยังผู้อ่าน
ยังถือเป็นงานเขียน
ที่มีคุณค่าอย่างมาก
ในด้านการบันทึก
ประวัติศาสตร์สำคัญ
ของประเทศไทย)
สำหรับผลงาน
ในเรื่องต่อมา
เรื่อง เรื่องลึกลับ
ที่นำมาบันทึก
ไว้ในบทความ
ครั้งนี้นั้น
ถือเป็นงานเขียน
ที่มีความแตกต่าง
จากผลงานอื่นๆ
ในชุดเดียวกัน
จากการเป็นงานเขียน
ในรูปแบบบทละคร
สำหรับการแสดง
ประเภทละครวิทยุ
โดยเรื่องราว
ที่นำมาดัดแปลง
เป็นบทละครนั้น
ทางผู้ประพันธ์
ได้นำเอาเรื่องราว
มาจากผลงาน
ในแบบเรื่องสั้น
ชุด ศุกระวาร-มาณะศรี
ของ น.ม.ส.
และ แดนเดือน
ซึ่งเป็นนามปากกา
ของพระบิดา
และพระมารดา
ของผู้ประพันธ์
มาดัดแปลง
โดยบทละคร
ที่มีตัวเอก
ชื่อ ศุกระวาร-มาณะศรี
ที่นำมาจัดพิมพ์
ในแบบรวมเล่ม
ในครั้งนี้นั้น
มีการจัดแสดง
และออกอากาศ
ทางวิทยุ
เป็นครั้งแรก
ในรายการวิทยุ
ของ ท.ท.ท.
ภาคเพลินเพลง
(ไม่ระบุปี พ.ศ.)
โดยมีผู้แสดง
และให้เสียงตัวละคร
ในการจัดรายการ
ในรูปแบบครึ่งชั่วโมง
ต่อหนึ่งเรื่องนั้น
คือ ม.ร.ว.ฉันทากร วรวรรณ
ม.ร.ว.สายสิงห์ สวัสดิวัตน์
ม.ร.ว.สุประภาดา เกษมสันต์
ม.ล.รสคนธ์ อิศรเสนา
ดร.รชฏ กาญจนวณิชย์
และ คุณภาวาส บุนนาค
สำหรับผลงาน
ในเรื่องต่อมา
ที่นำมาบันทึก
คือผลงานนวนิยาย
เรื่อง นิกกับพิม
ซึ่งเป็นผลงาน
ในแบบเรื่องยาว
ขนาดสั้น
ซึ่งมีรูปแบบ
การประพันธ์
ที่มีความโดดเด่น
จากการใช้อารมณ์
และความนึกคิด
ของสัตว์เลี้ยง
มาเป็นตัวแทน
ของตัวเอก
ในการเขียนจดหมาย
ไปถึงอีกฝ่ายหนึ่ง
ซึ่งอยู่ต่างประเทศ
โดยนวนิยายเรื่องนี้
มีตัวละครหลัก
คือ พิเชฐ
ชายหนุ่มรูปหล่อ
การศึกษาดี
ผู้ที่ตกหลุมรัก
ในตัวมนทิรา
หญิงสาวสวย
ซึ่งอ่อนหวาน
และน่ารัก
ตั้งแต่แรกเห็น
จากการพบเธอ
ในร้านขายสัตวเลี้ยง
ที่เมืองซูริค
ประเทศสวิสเซอร์แลนด์
ซึ่งจากความเข้าใจผิด
คิดว่ามนทิรานั้น
มีครอบครัวแล้ว
ก็ทำให้ชายหนุ่ม
ซึ่งกำลังเดินทาง
จะกลับเมืองไทย
พยายามที่จะตัดใจ
แต่จากความรัก
และความหวังดี
ในตัวหญิงสาว
ด้วยความจริงใจ
พิเชฐตัดสินใจ
ที่จะเขียนจดหมาย
ไปหามนทิรา
โดยมีเนื้อหา
ตัดพ้อลึกๆ
มนทิราที่เข้าใจ
ในความรู้สึก
ของชายหนุ่ม
เป็นอย่างดี
จึงขอให้เขานั้น
เขียนจดหมาย
มาหาเธออีกครั้ง
โดยเลี่ยงไปใช้ชื่อ
ของเจ้านิก
ซึ่งเป็นสัตว์เลี้ยง
ของชายหนุ่ม
เป็นผู้เขียน
ส่งมาแทน
ซึ่งจากจดหมาย
หลาย-หลายฉบับ
ระหว่างนิก
ไปถึงพิม
ซึ่งเป็นสัตว์เลี้ยง
ของมนทิรา
ก็ทำให้หนุ่มสาว
ทั้งสองคนนั้น
ได้ผูกสัมพันธ์
และแก้ไข
ความเข้าใจผิด
ของชายหนุ่ม
ได้เป็นอย่างดี
(ผลงานวนิยาย
เรื่อง นิกกับพิม
ถือเป็นผลงาน
แนวโรแมนติก
อีกเรื่องหนึ่ง
ของ ว.ณ ประมวญมารค
ที่ได้รับความนิยม
จากผู้อ่าน
ในทุกยุคสมัย
เช่นเดียวกัน
กับ ปริศนา
และ รัตนาวดี
ซึ่งจากกลวิธี
ในการแต่ง
ที่มีความโดดเด่น
จากการเป็นจดหมาย
ที่โต้ตอบกัน
ของสัตว์เลี้ยง
ของสองตัวเอก
รวมถึงการได้รับเลือก
ให้เป็นหนังสือนอกเวลา
สำหรับนักเรียน
ในระดับชั้นมัธยม
ในช่วงยุค 80
และช่วงต้นยุค 90
ก็ทำให้นิยาย
ในเรื่องนี้นั้น
กลายเป็นที่จดจำ
ของผู้อ่าน
หลาย-หลายท่าน
มาจนถึงในทุกวันนี้)
สำหรับผลงาน
เรื่องต่อมา
ที่นำมาบันทึก
คือผลงานนวนิยาย
ชุด เด็กจอมแก่น
ซึ่งจากบทคำนำ
ในการจัดพิมพ์
ผลงานหนังสือ
ในแบบชุดยาว
ซึ่งเป็นเรื่องสั้น
แบบจบในตอน
ซึ่งมีเนื้อหา
สำหรับผู้อ่าน
ที่เป็นเยาวชน
ในเรื่องนี้นั้น
ถือเป็นผลงาน
ในแบบเรื่องแปล
ที่เป็นการแปล
มาจากผลงาน
นวนิยายอมตะ
ชุด William
ซึ่งเป็นเรื่องชุด
เกี่ยวกับเด็กชาย
ที่มีนิสัยซุกซน
จากการประพันธ์
ของ Richmal Crompton
นักประพันธ์ชื่อดัง
ซึ่งเป็นชาวอังกฤษ
โดยในฐานะนักประพันธ์
ผลงานนวนิยายชุดนี้
เป็นที่จดจำ
ของผู้อ่าน
ที่ติดตามผลงาน
ของ ว.ณ ประมวญมารค
จากการที่เรื่องชุดนี้
ถือเป็นผลงาน
เรื่องยาวเรื่องแรก
ในฐานะนักประพันธ์
ของ ว.ณ ประมวญมารค
จากการที่ท่านทรงนิพนธ์
ผลงานชุดนี้
ที่มีการตีพิมพ์
แบบเป็นตอนๆ
เป็นครั้งแรก
ลงในหนังสือพิมพ์
รายสัปดาห์
ในชื่อ ประมวญสาร
ขณะที่ท่านนั้น
มีชันษา
เพียง 14 ปี
เพียงเท่านั้น
สำหรับผลงาน
ในกลุ่มสุดท้าย
ที่ผู้เขียนบลอก
นำมาบันทึกไว้
ในบทความครั้งนี้
จะเป็นกลุ่มผลงาน
ในรูปแบบนวนิยาย
อิงประวัติศาสตร์
ของทางยุโรป
ซึ่งในแต่ละเรื่องนั้น
ท่านผู้ประพันธ์
ก็ได้ทำการรวบรวม
ข้อมูลต่างๆ
ทางประวัติศาสตร์
นำมาเรียบเรียง
และประพันธ์ขึ้น
ในลีลาการเขียน
ในรุปแบบนวนิยาย
ที่มีความสนุกสนาน
โดยผลงาน
เรื่อง ฤทธีราชินีสาว
ที่นำมาบันทึกไว้
ในบทความครั้งนี้
ถือเป็นนวนิยาย
อิงประวัติศาสตร์
ซึ่งเป็นการนำชีวิต
และเรื่องราว
ของเจ้าหญิงแมรี่ ทิวดอร์
ซึ่งเป็นพระขนิษฐา
ในสมเด็จพระเจ้าเฮนรี่ที่ 8
แห่งประเทศอังกฤษ
นำมาประพันธ์
โดยตัวนวนิยาย
ก็มีการแบ่ง
เป็น 2 ช่วง
คือ อังกฤษ
และ ฝรั่งเศส
ตามเส้นทางชีวิต
ที่มีความพลิกผัน
ของตัวละครเอก
ในเรื่องนี้
สำหรับผลงาน
นวนิยายชุดยาว
อิงประวัติศาสตร์
ของ ว.ณ ประมวญมารค
ในเรื่องต่อมา
ที่นำมาบันทึก
ไว้ในบทความ
ของบลอก
ในครั้งนี้นั้น
คือผลงาน
นวนิยายชุดยาว
เรื่อง คลั่งเพราะรัก
ซึ่งเป็นนวนิยาย
ขนาดยาว
ซึ่งเป็นการรวบรวม
นำเอาข้อมูล
และเหตุการณ์
ในประวัติศาสตร์
เกี่ยวกับฮัวน่าผู้บ้าคลั่ง
(Joanna the Mad)
ซึ่งเป็นสมญานาม
ของพระราชินีฮัวน่า
ซึ่งมีความรัก
และความหลงใหล
ในพระสวามี
คือพระเจ้าเฟลิเปที่ 1
แห่งคาสตีล
ซึ่งหลังจากการสิ้นพระชนม์
อย่างกะทันหัน
ของพระสวามี
ผู้หล่อเหลา
พระเจ้าเฟอร์ดินานด์ที่ 2
ผู้เป็นพระบิดา
ก็ได้มีการประกาศ
ให้มีการกักตัวพระนาง
ผู้ซึ่งเป็นบุคคลเสียสติ
ไว้ในปราสาทอเดซียัส
และยึดกุมอำนาจ
มาเป็นของตน
ในฐานะผู้สำเร็จราชการ
สำหรับผลงาน
ในเรื่องสุดท้าย
ของ ว.ณ ประมวญมารค
ที่ผู้เขียนบลอก
นำมาบันทึกไว้
ในบทความครั้งนี้
คือผลงานนวนิยาย
อิงประวัติศาสตร์
เรื่อง พระราชินีนาถวิกตอเรีย
ซึ่งถือเป็นผลงาน
ในด้านการประพันธ์
นวนิยายชุดยาว
แนวประวัติศาสตร์
เป็นเรื่องแรก
ของผู้ประพันธ์
โดยนวนิยายเรื่องนี้
เป็นการนำเอาข้อมูล
ประวัติศาสตร์
ในด้านชีวิต
และในด้านการเมือง
ของสมเด็จพระราชินีนาถวิกตอเรีย
แห่งสหราชอาณาจักร
นำมาประพันธ์
ในรุปแบบ
ของนวนิยาย
ที่มีความสนุกสนาน
โดยนวนิยายเรื่องนี้
เริ่มต้นเรื่องราว
โดยย้อนกลับไป
ในช่วงเวลาอดีต
ของประวัติศาสตร์
ของประเทศอังกฤษ
ซึ่งตรงกับช่วงเวลา
ในช่วงปีที่ 14
ในสมัยรัชกาลที่สาม
ของประเทศไทย
โดยจากบทคำนำ
ของการจัดพิมพ์
ท่านผู้ประพันธ์
ได้ทรงนิพนธ์
ผลงานเรื่องยาว
ในชุดนี้ขึ้น
โดยท่านใช้เวลา
ในการค้นคว้า
ข้อมูลต่างๆ
ทางประวัติศาสตร์
เป็นระยะเวลา
ถึง 3 ปีเต็ม
ก่อนจะเริ่มต้น
ในการเริ่มเรื่อง
ในบทแรก
ของผลงาน