นิตยสารขวัญเรือน (1968)

ในวงการสื่อสิ่งพิมพ์

ประเภทนิตยสาร

ของประเทศไทย

ในทุกยุคสมัยนั้น

มีนิตยสารชั้นนำ

หลาย-หลายฉบับ

ที่มีการก่อตั้ง

และมีการสร้างสรรค์

เพื่อออกวางจำหน่าย

สำหรับผู้อ่าน

ตามความต้องการ

และความสนใจ

รวมถึงรสนิยม

ที่มีความหลากหลาย

โดยจากความทรงจำ

ของผู้เขียนบลอก

นอกจากนิตยสาร

อย่างเปรียว

ดิฉัน ผู้หญิง

แพรว สุดสัปดาห์

เพื่อนเดินทาง

พลอยแกมเพชร

บ้านและสวน

สตาร์พิคส์

และ เอนเตอร์เทน

ที่มีการเปิดตัว

และวางจำหน่าย

ผ่านช่วงระยะเวลา

มาอย่างยาวนานแล้ว

นิตยสารขวัญเรือน

ที่นำมาเรื่องราว

มาบันทึกไว้

ในบทความ

ครั้งนี้นั้น

ก็เป็นนิตยสารชั้นนำ

อีกฉบับหนึ่ง

ที่หลังจากการเปิดตัว

ก็ได้รับความนิยม

และมีการวางจำหน่าย

มาอย่างยาวนาน

โดยในการบันทึก

บทความของบลอก

ในครั้งนี้นั้น

จะเป็นการย้อนวันเวลา

กลับไปในช่วงแรกเริ่ม

ของการเปิดตัว

นิตยสารฉบับนี้

ในช่วงปี พ.ศ. 2511

ซึ่งถือเป็นยุคเเรกเริ่ม

ของการสร้างสรรค์

นิตยสารผู้หญิง

และครอบครัว

ที่ได้รับความนิยม

จากผู้อ่านทางบ้าน

ในทุกยุค-สมัย

ในฉบับนี้




















สำหรับผู้อ่านบลอก

ที่ไม่ได้เติบโต

มาในช่วงยุคสมัย

ที่นิตยสารฉบับนี้

มีการเปิดตัว

นิตยสารขวัญเรือน

เป็นนิตยสาร

สำหรับครอบครัว

ที่มีสโลแกน

ในช่วงยุคแรก

ว่า มิตรในเรือน

เพื่อนคู่คิด

จรรโลงจิต

ให้แจ่มใส

และมีสโลแกน

ในช่วงยุคต่อมา

ว่า ขวัญเรือน

นิตยสารสำหรับครอบครัว

เป็นนิตยสาร

ที่มีการวางจำหน่าย

ในรูปแบบรายปักษ์

โดยเป็นนิตยสาร

ของบริษัท ศรีสยาม

การพิมพ์ จำกัด

(ซึ่งนอกจากขวัญเรือน

บริษัทศรีสยาม

ยังมีนิตยสารอื่นๆ

ที่อยู่ในเครือเดียวกัน

อย่าง รุ้ง ตลาดตลก

แฟชั่นรีวิว การฝีมือ

โลกทิพย์ โลกลี้ลับ

I-SPY J-SPY

I-LIKE J-NET

SINCERE ฯลฯ)

โดยนิตยสารฉบับนี้

เป็นที่จดจำ

ของผู้อ่านทางบ้าน

จากการมีคุณพนิดา ชอบวณิชชา

เป็นเจ้าของ บรรณาธิการ

ผู้พิมพ์ผู้โฆษณา

ซึ่งเป็นที่คุ้นเคย

ของผู้อ่านทางบ้าน

มาตั้งแต่ในปี พ.ศ. 2511

โดยชื่อนิตยสาร

ว่า ขวัญเรือน

ที่ใช้ตั้งแต่ช่วงแรก

ของการเปิดตัว

และออกวางจำหน่าย

ในช่วงปี พ.ศ. 2511

จนถึงในทุกวันนี้นั้น

เป็นชื่อนิตยสาร

ที่มีการตั้งขึ้น

โดยคุณสาธิต คล่องเวสสะ

ซึ่งเป็นน้องชาย

ของคุณพนิดา

(โดยจากข้อมูล

ในปี พ.ศ. 2551

ในปัจจุบันนี้

คุณสาธิต คล่องเวสสะ

ท่านเป็นที่รู้จัก

ในตำแหน่ง

ผู้อำนวยการฝ่ายบริหาร

ของบริษัทศรีสยาม

การพิมพ์ จำกัด)




















สำหรับการเปิดตัว

ของนิตยสาร

ในชื่อ ขวัญเรือน

นิตยสารฉบับนี้

มีการสร้างสรรค์

ออกมาแนะนำตัว

ไปสู่ผู้อ่าน

เป็นฉบับแรก

จำนวน 50,000 ฉบับ

ในช่วงเดือนธันวาคม

ของปี พ.ศ. 2511

โดยนิตยสารใหม่

ในชื่อ ขวัญเรือน

ในฉบับแรกนี้นั้น

เพื่อความเป็นสิริมงคล

แก่ทางทีมงาน

ของนิตยสาร

และบริษัทศรีสยาม

รวมถึงผู้อ่านทางบ้าน

ทางกองบรรณาธิการ

ของนิตยสาร

จึงได้ขอพระราชทาน

พระอนุญาตอัญเชิญ

พระบรมฉายาลักษณ์

สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์

พระบรมราชินีนาถ

เพื่อมาเป็นแบบปก

ของทางนิตยสาร

ในการเปิดตัว

เป็นฉบับแรก

เพื่อเป็นการอวยพร

ไปสู่ผู้อ่านทางบ้าน

โดยในฐานะนิตยสาร

ที่พึ่งมีการเปิดตัว

ทำให้ในฉบับที่ 1

ของทางนิตยสารนั้น

บริษัทศรีสยาม

การพิมพ์ จำกัด

ได้มีการจัดพิมพ์

นิตยสารขวัญเรือน

เพื่อเป็นการแจกฟรี

ไปพร้อมกับนิตยสาร

ศรีสยาม รายสัปดาห์

ซึ่งเป็นนิตยสาร

ในเครือเดียวกัน

เพื่อเป็นการโปรโมท

และแนะนำตัว

ไปสู่ผู้อ่านทางบ้าน

(โดยหลังจากโปรโมท

ด้วยการแจกฟรี

ในการเปิดตัว

ของฉบับแรก

นิตยสารขวัญเรือน

ในฉบับที่ 2

ก็มีการวางจำหน่าย

ในราคา 5 บาท

โดยในฐานะนิตยสาร

ที่มีการวางจำหน่าย

มาอย่างยาวนาน

นิตยสารฉบับนี้

มีการปรับราคา

มาเป็น 6 / 7 / 10

15 / 20 / 25 / 30

35 / 40 / 45 / 50

60 / 70 บาท

ในแต่ละช่วงเวลา

ของแต่ละยุคสมัย)

โดยจากข้อมูล

ของทางนิตยสาร

ในช่วงแรก

ของการวางจำหน่าย

นิตยสารฉบับนี้

มีการออกวางจำหน่าย

ในรูปแบบรายเดือน

ก่อนจะมีการปรับเปลี่ยน

มาเป็นการวางจำหน่าย

ในรูปแบบรายปักษ์

จากความนิยม

ของผู้อ่านทางบ้าน

(ในช่วงแรกนั้น

ออกวางจำหน่าย

ในทุกวันที่ 5 และ 20

ก่อนจะมีการปรับเปลี่ยน

มาเป็นวันที่ 1 และ 16

ในแต่ละเดือนแทน)

นอกจากนี้

ในช่วงแรก

ของการวางจำหน่ายนั้น

นิตยสารฉบับนี้

มีการใช้หัวหนังสือเก่า

ของทางวารสารยูโด

ทำให้ในช่วงเริ่มต้น

ของการจัดพิมพ์

ในช่วงปี พ.ศ. 2511

ที่ผ่านมานั้น

หน้าปกของนิตยสาร

จะมีการใช้ชื่อ

ของนิตยสาร

ว่า วารสารยูโด

ฉบับ ขวัญเรือนรายเดือน

(Sweet Home Magazine)

ซึ่งหลังจากการเปิดตัว

และได้รับความนิยม

ทางบริษัท

และกองบรรณาธิการ

ก็ได้มีการจดทะเบียน

หัวหนังสือใหม่

มาเป็นขวัญเรือน

อย่างที่ใช้

บนปกนิตยสาร

อย่างต่อเนื่อง

มาจนถึงในทุกวันนี้

(ข้อมูลมีการบันทึก

ในด้านราคานิตยสาร

ถึงในช่วงปลายปี

ของ พ.ศ. 2557

เพียงเท่านั้น)



















สำหรับรายชื่อ

ของทีมงาน

และกองบรรณาธิการ

ของนิตยสารขวัญเรือน

ในช่วงยุคแรกเริ่มนั้น

จากหนังสือ 40 ปี

ชีวิตในขวัญเรือน

ที่เป็นบทความ

จากความทรงจำ

ของคุณพนิดา ชอบวณิชชา

และมีการเรียบเรียง

โดยคุณชุติมา ศรีทอง

จากการจัดพิมพ์

ของสำนักพิมพ์

A BOOK

นิตยสารขวัญเรือน

ในช่วงยุคแรกเริ่ม

ของการทำงานนั้น

มีบุคลากร

ในกองบรรณาธิการ

เพียง 6 ท่าน

โดยนอกจากเจ้าของ

บรรณาธิการ

ผู้พิมพ์ ผู้โฆษณา

อย่างคุณพนิดา ชอบวณิชชา

ที่ยังคงรับหน้าที่

มาถึงในปัจจุบันนี้

และคุณสนิท โกศะรถ

(นักเขียนชื่อดัง

เจ้าของนามปากกา

ว่า ส.เนาวราช)

ที่รับตำแหน่ง

เป็นหัวหน้า

กองบรรณาธิการ

ในกองบรรณาธิการ

ของนิตยสารขวัญเรือน

ยังมีทีมงาน

ของบริษัท

ศรีสยาม การพิมพ์

เป็นกองบรรณาธิการ

อีก 2 ท่าน

และมีทีมงาน

รับตำแหน่ง

เป็นฝ่ายศิลป์

และฝ่ายปรู๊ฟ

ฝ่ายละ1 ท่าน

เพียงเท่านั้น

(โดยในการเปิดตัว

ของนิตยสาร

ในช่วงแรกนั้น

นิตยสารขวัญเรือน

ยังได้รับเกียรติ

จากคุณผกาวดี อุตตโมทย์

ซึ่งในปัจจุบันนี้

ท่านเป็นที่รู้จัก

ในฐานะบรรณาธิการ

อำนวยการ

ของสำนักพิมพ์ผีเสื้อ

มาเป็นที่ปรึกษา

และแนะนำ

รุปแบบคอลัมภ์

ของทางนิตยสาร

รวมถึงให้เกียรติ

ร่วมเขียนคอลัมภ์ต่างๆ

ลงในนิตยสารฉบับนี้

ในช่วงยุคแรกเริ่ม)



















สำหรับรูปแบบ

และองค์ประกอบ

ของนิตยสาร

ในชื่อ ขวัญเรือน

นิตยสารรายปักษ์

สำหรับครอบครัว

ที่มีการเริ่มต้น

การวางจำหน่าย

ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2511

ในฉบับนี้นั้น

ประกอบด้วยแฟชั่น

บทความ เรื่องสั้น

นิยาย นิทาน สารคดี

และคอลัมภ์ประจำต่างๆ

ที่มีการสร้างสรรค์ขึ้น

เพื่อกลุ่มผู้อ่าน

ทุกเพศ-ทุกวัย

และทุกช่วงอายุ

โดยจากความทรงจำ

ของผู้เขียนบลอก

นิตยสารขวัญเรือน

ตั้งแต่ในช่วงปี พ.ศ. 2511

เป็นต้นมานั้น

มีคอลัมภ์ต่างๆ

ในแต่ละช่วงเวลา

ของการสร้างสรรค์

ที่น่าสนใจ

สำหรับผู้อ่าน

ดังนี้ บก.บอกกล่าว

ห้องรับแขก

(บทบรรณาธิการ

และการตอบจดหมาย

รวมถึงอีเมล์

จากผู้อ่านทางบ้าน)

ก้าวทันโลก

โดย พิชัย วาสนาส่ง

และ ร.ศ.ประทุมพร วัชรเสถียร

งามมารยาท สุ.จิ.ปุ.ลิ

โดย อ.สมศรี สุกุมลนันทน์

ศิราณีคลายปัญหารัก

โดย ศิราณี

(คุณถนอม อัครเศรณี)

ถักโครเชต์ เรียนตัดเสื้อ

แพทเทิร์นเสื้อผ้า

โดย อ.กาญจนา ภาณุโสภณ

เพื่อชีวิตและสุขภาพ

โดย พญ.ลลิตา ธีระสิริ

คุยกับจิตแพทย์

โดย นพ.วิทยา นาควัชระ

เงาอดีต

โดย มานพ ถนอมศรี

เรียนจัดดอกไม้

โดย กีรติ ชนา

ทนายคู่คิด

โดย ณรงค์ นิติจันทร์

สนธยากาล

โดย มายาวดี

ริมรั้วหัวใจ

โดย โดม วุฒิชัย

ทำเสริมเพิ่มสวย

โดย ป๊อก เชลซี

ท่องต่างแดน

โดย อัลฟาและโรมิโอ

บททดสอบ สวนเด็ก

โลกทิพย์ เปิดใจสนทนา

บุคคลน่ารู้จัก

นิทานด็ก / นิทานชาวบ้าน

ครองรัก-ครองเรือน

ไกลกังวล คลีนิคสุขภาพ

ปัญหาความงาม ไม้ประดับ

บ้านของเรา โชคชะตาราศี

เพียงเสี้ยวอารมณ์

ร่วมสนุกกับขวัญเรือน

ตลาดตลก รอบรั้วขวัญเรือน

อ่านดวงผ่านลายมือ

สัตว์เลี้ยงแสนรัก

มองผ่านเลนส์ ตำรับอาหาร

ในชั่วโมงว่าง

เสียงทิพย์จากมนต์จันทร์

แฟชั่นดีไซน์

ของรักของสะสม ฯลฯ




















ในฐานะนิตยสาร

ที่มีการสร้างสรรค์

เพื่อการวางจำหน่าย

และได้รับความนิยม

จากผู้อ่านมากมาย

ในแต่ละยุคสมัย

ขณะที่บันทึก

บทความของบลอก

ในปัจจุบันนี้นั้น

(ปี พ.ศ. 2558)

นิตยสารขวัญเรือน

ในฉบับนี้นั้น

ยังคงครองใจผู้อ่าน

และมียอดจำหน่าย

ในระดับสูง

จากการเป็นนิตยสาร

ที่มีรูปแบบต่างๆ

ในนิตยสาร

ที่เน้นในการนำเสนอ

คอลัมภ์ประจำจำ

และงานเขียน

จากนักเขียนชื่อดัง

ที่คัดสรรมาอย่างดี

สำหรับกลุ่มผู้อ่าน

ที่มีความหลากหลาย

แต่มีความต้องการ

และรักในการอ่าน

ผลงานชั้นดี

อย่างแท้จริง

โดยแม้ว่าในช่วงระยะหลัง

ตั้งแต่ในปี พ.ศ. 2540

นิตยสารหลายฉบับ

ที่มีการสร้างสรรค์

ในประเทศไทยนั้น

จะมีการปรับเปลี่ยน

รูปแบบนิตยสาร

เพื่อปรับปรุง

ในด้านธุรกิจ

จนทำให้นิตยสาร

หลาย-หลายฉบับ

ในทุกวันนี้

เน้นในการผลิต

นิตยสารต่างๆ

ที่มีรูปแบบ

ที่เข้ากับโฆษณา

จากการปรับ

ในด้านเนื้อหา

ให้เข้ากับสินค้า

เพื่อเป็นการดึงดูด

บริษัทเอเจนซี่

และเจ้าของสินค้า

นอกเหนือการตีพิมพ์

ภาพโฆษณาต่างๆ

ในรูปแบบปกติ

มากกว่าการเน้น

ในด้านเนื้อหา

ซึ่งเคยเป็นส่วนหลัก

ที่เป็นส่วนจูงใจ

กลุ่มผู้อ่านมากมาย

ให้ผูกพันกับนิตยสาร

เหมือนในอดีต

(ในสมัยก่อนนั้น

นิตยสารฉบับไหน

ที่มียอดจำหน่าย

และมีผู้อ่าน

ติดตามมาก

ก็จะมีโฆษณา

เข้ามามาก

แต่ในปัจจุบันนี้

นิตยสารหลายฉบับ

ที่เน้นในการปรับ

ในด้านรุปลักษณ์

ของนิตยสาร

ให้ทันสมัย หรุหรา

เข้ากับสินค้า

จะทำให้มีโฆษณา

เข้ามามากขึ้น

แม้จะมีเนื้อหา

สำหรับการอ่าน

อย่างแท้จริง

ไม่มากนัก

หรือมีจัดพิมพ์

ในจำนวนจำกัด

ไม่แพร่หลาย

ไปทั่วประเทศ)

โดยในฐานะนิตยสาร

ที่ยังคงประสบความสำเร็จ

ในด้านยอดขาย

และยังคงภาคภูมิ

จากการเป็นนิตยสาร

ที่มีการสร้างสรรค์ขึ้น

สำหรับผู้อ่าน

ที่รักการอ่าน

ผลงานชั้นดี

ในฐานะนิตยสาร

ที่มีนักเขียนชั้นนำ

อย่างมากมายนั้น

นิตยสารขวัญเรือน

ตั้งแต่ในช่วงปี พ.ศ. 2511

เป็นต้นมานั้น

ถือเป็นที่จดจำ

ของกลุ่มผุ้อ่าน

ในทุกยุคสมัย

จากการมีนักเขียนชื่อดัง

ในระดับชั้นนำ

ของประเทศ

หมุนเวียนผลัดเปลี่ยน

มานำเสนองานเขียน

ที่มีความหลากหลาย

กลับไปสู่ผู้อ่าน

ของนิตยสารฉบับนี้

โดยจากความทรงจำ

ของผู้เขียนบลอก

นิตยสารขวัญเรือน

มีนักเขียนชื่อดัง

ที่เป็นที่ชื่นชอบ

ของผู้อ่านทางบ้าน

ซึ่งมีผลงานการเขียน

ลงตีพิมพ์ในนิตยสาร

ในแต่ละช่วงเวลา

ดังนี้ สุภาว์ เทวกุล

นราวดี จันทรำไพ

นิดา ม.มธุการี

กฤษณา อโศกสิน

โบตั๋น ทมยันตี

โสภาค สุวรรณ

นันทนา วีระชน

ช่อลัดา วราภา

ภุเตศวร ลักษณวดี

ว.วินิจฉัยกุล แก้วเก้า

ประภัสสร เสวิกุล

มาลา คำจันทร์

จำลอง ฝั่งชลจิตร

พิบูลย์ศักดิ์ ละครพล

วัฒนา บุญยัง

กีรติ ชนา อาริตา

ปิยะพร ศักดิ์เกษม

กิ่งฉัตร ดวงตะวัน

กนกวลี พจนปกรณ์

นิเวศน์ กันไทยราษฎร์

ดำรงค์ อารีกุล

ชมัยภร แสงกระจ่าง

วีรวัฒน์ กนกนุเคราะห์

วิศวนาถ โดม วุฒิชัย

วิรัตน์ โตอารีย์มิตร

ญามิลา ดวงดาว

สิทธา เชตวัน

ณารา ภาณุ มณีวัฒนกุล

อัลฟ่าและโรมิโอ

จันทร์ ศรีจรูญ แอนเดอร์สัน

ลั่นทมริมทะเล ฯลฯ

(รายชื่อนักเขียน

เพียงส่วนหนึ่ง

จากความทรงจำ

และความคุ้นเคย

ของผู้เขียนบลอก

ที่มีต่อนิตยสาร

ในแต่ละช่วงเวลา

ที่ผ่านมา

เพียงเท่านั้น

และต้องขออภัย

เป็นอย่างสูง

ที่ไม่ได้ลงรายชื่อ

ตามลำดับ

ความอาวุโส

ของแต่ละท่าน)





















ในฐานะนิตยสาร

ที่เปี่ยมด้วยคุณภาพ

สำหรับนักอ่าน

ในแต่ละยุคสมัย

ในฐานะนิตยสาร

ที่มีคุณค่า

และสร้างสรรค์

เพื่อสังคม

นิตยสารขวัญเรือน

เคยได้รับรางวัล

และการประกาศ

เกียรติคุณต่างๆ

ตั้งแต่การเปิดตัว

ของทางนิตยสาร

ดังนี้ โล่เกียรติคุณ

ในฐานะผู้ช่วยเหลือ

กิจกรรมผู้ป่วย

และพัฒนาการแพทย์

จากคณะเเพทย์ศาสตร์

โรงพยาบาลศิริราช

ปี พ.ศ. 2538

ได้รับโล่เกียรติคุณ

ในโครงการรณรงค์

เพื่อการไม่สูบบุหรี่

ในฐานะผู้สร้างสรรค์

สังคมปลอดบุหรี่

ปี พ.ศ. 2538

ได้รับโล่เกียรติคุณ

ในฐานะผู้รับรางวัล

ประเภทดีเด่น

จากการพิจารณา

ผลงานสื่อสารมวลชนดีเด่น

ในสาขา วารสาร

ที่มีเนื้อหาเหมาะสม

กับเยาวชน

ด้านบันเทิงคดี

จากคณะกรรมการ

ส่งเสริมและประสานงาน

เยาวชนแห่งชาติ

ปี พ.ศ. 2541-2542

ได้รับโล่เกียรติคุณ

ในฐานะผู้ทำประโยชน์

และมีอุปการคุณ

ต่อกระทรวงแรงงาน

และสวัสดิการสังคม

จากรัฐมนตรีว่าการ

กระทรวงแรงงาน

และสวัสดิการสังคม

ปี พ.ศ. 2542

ได้รับโล่เกียรติคุณ

ในฐานะผู้เผยแพร่

และส่งเสริม

ภาวะโภชนาการที่ดี

ให้แก่คนไทย

จากรองนายกรัฐมนตรี

และรัฐมนตรีว่าการ

กระทรวงสาธารณสุข

ปี พ.ศ. 2542

ได้รับโล่พระราชทาน

สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ

สยามบรมราชกุมารี

ในฐานะผู้มีผลงานดีเด่น

เป็นตัวอย่าง

ในการใช้

วัฒนธรรมไทย

สู้ภัยเศรษฐกิจ

จากการประกาศ

ของสำนักงาน

คณะกรรมการ

วัฒนธรรมแห่งชาติ

ปี พ.ศ. 2543

ได้รับวุฒิบัตร

รางวัลชมเชย

จากการพิจารณา

ผลงานสื่อมวลชนดีเด่น

เพื่อเยาวชน

ประเภทวารสาร

สำหรับเยาวชน

ประเภทบันเทิงคดี

จากการประกาศรางวัล

ของสำนักงาน

ส่งเสริมสวัสดิภาพ

และพิทักษ์เด็ก

เยาวชน ผู้ด้อยโอกาส

คนพิการ ผู้สูงอายุ

ปี พ.ศ. 2546

ได้รับโล่เกียรติคุณ

ในฐานะองค์กร

ส่งเสริมกิจกรรมเยาวชน

กับการอนุรักษ์พลังงาน

จากรองนายกรัฐมนตรี

เนื่องในพิธีลงนาม

บันทึกข้อตกลงร่วมมือ

ระหว่างกระทรวงพลังงาน

และกระทรวงศึกษาธิการ

ในปี พ.ศ. 2548

(ข้อมูลมีการบันทึก

ถึงในปี พ.ศ. 2551

เพียงเท่านั้น)




















ในฐานะนิตยสาร

สำหรับครอบครัว

ที่มีการเปิดตัว

ตั้งแต่ในปี พ.ศ. 2511

ในขณะที่บันทึก

บทความของบลอก

ในครั้งนี้นั้น

(ปี พ.ศ. 2558)

นิตยสารขวัญเรือน

ยังคงมีการสร้างสรรค์

และการจัดพิมพ์

เพื่อการวางจำหน่าย

ในรูปแบบรายปักษ์

ให้ได้ติดตามอ่าน

กันอย่างต่อเนื่อง

โดยในฐานะ

นิตยสารชั้นนำ

ที่ครองใจ

ผู้อ่านมากมาย

มาตลอดระยะเวลา

ของการวางจำหน่าย

ในช่วงปี พ.ศ. 2551

ที่ผ่านมานั้น

ทางสำนักพิมพ์

A BOOK

บริษัท เดย์ โพเอทส์ จำกัด

ก็ได้มีการเปิดตัว

ผลงานหนังสือ

40 ปี ชีวิตในขวัญเรือน

ซึ่งเป็นการรวบรวม

เส้นทางการทำงาน

ในฐานะบรรณาธิการ

นิตยสารขวัญเรือน

ของคุณพนิดา ชอบวณิชชา

ซึ่งมีคุณชุติมา ศรีทอง

เป็นผู้เรียบเรียง

โดยในหนังสือ

ฉบับพิเศษ

ในเล่มนี้

ซึ่งเกิดจากแนวคิด

ของคุณวงศ์ทนง ชัยณงค์สิงห์

บรรณาธิการอำนวยการ

ของนิตยสาร A DAY

คุณวิรัตน์ โตอารีย์มิตร

และ คุณชุติมา ศรีทอง

ก็ได้รวบรวม

เรื่องราวต่างๆ

ของเส้นทาง

ในการเส้นทาง

ของบรรณาธิการ

และกองบรรณาธิการ

ของนิตยสารฉบับนี้

ตลอดระยะเวลา

ในการสร้างสรรค์

นิตยสารขวัญเรือน

ซึ่งอยู่คู่กับคนไทย

มาอย่างยาวนาน

ได้อย่างครบถ้วน

และเปี่ยมด้วยคุณค่า

ซึ่งในการจัดพิมพ์

หนังสือฉบับพิเศษ

ในเล่มนี้

รายได้ส่วนหนึ่ง

ก็จะมอบให้

กับกองทุนขวัญเรือน

เพื่อใช้ในโครงการ

เพื่อการศึกษา

และส่งเสริมการอ่าน

เพื่อเป็นประโยชน์

แก่สังคมต่อไป

(ในการบันทึก

บทความของบลอก

ในครั้งนี้นั้น

เป็นการบันทึก

ข้อมูลต่างๆ

จากความทรงจำ

ของผู้เขียนบลอก

และข้อมูลต่างๆ

ถึงในช่วงปี พ.ศ. 2558

เพียงเท่านั้น

โดยหากมีข้อมูล

ที่ไม่ครบถ้วน

หรือไม่ถุกต้อง

ในด้านรายละเอียด

ผู้เขียนบลอก

ต้องขออภัย

ทางทีมงาน

กองบรรณาธิการ

ของนิตยสารขวัญเรือน

และผู้อ่านทางบ้าน

ทุก-ทุกท่าน

ไว้ ณ ที่นี้)





















































































นิตยสารเก่าในความทรงจำ

นิตยสารเก่าในความทรงจำ
นิตยสารลลนา (1973-1995)

สโมสรผึ้งน้อย (1984)

บทความเก่าของบลอก

บทความเก่าของบลอก
แหม่ม พัชริดา วัฒนา

นิตยสารเก่าในความทรงจำ

นิตยสารเก่าในความทรงจำ
นิตยสารทีวีรีวิว (1972-1992)

SAN MIGUEL BEER (1989)

บทความเก่าของบลอก

บทความเก่าของบลอก
เมย์ ศศลักษณ์ พันธุ์หาญ

SVESVESB / YASUO MIYATA (1982)

การ์ตูนเก่าในความทรงจำ

การ์ตูนเก่าในความทรงจำ
เอล (1992-1995)

SEVENTH HEAVEN (1996-2007)

เสือ 11 ตัว (2001)

เสือ 11 ตัว (2001)

NIVEA SKIN LOTION (1988)

บทความเก่าของบลอก

บทความเก่าของบลอก
เจี๊ยบ ศักราช ฤกษ์ธำรงค์

BALENO / DAVID WU (1989)

นิตยสารเก่าในความทรงจำ

นิตยสารเก่าในความทรงจำ
นิตยสารแพรวสุดสัปดาห์ (1983)

สิงห์โกลด์ไลท์เบียร์ (1989)

From Me To You


การจัดทำบลอกนี้

เกิดจากความรู้สึก

ที่ผู้เขียนบลอก

อยากจะบันทึก

ความทรงจำ

ในช่วงเวลา

ของวันเก่าๆ

ผ่านเส้นทาง

จากเรื่องราว

และผลงานต่างๆ

ของเหล่าดารา

นักร้อง นักแสดง

นายแบบ นางแบบ

นักเขียน ฯลฯ

ซึ่งมีความเกี่ยวข้อง

กับศิลปะบันเทิง

ในช่วงยุคสมัย

ก่อนการมาถึง

ของอินเทอร์เน็ต

ที่แพร่หลาย

ในสังคมไทย

อย่างในทุกวันนี้

ซึ่งในการจัดทำ

ผู้เขียนบลอก

ได้รวบรวม

เรื่องราวต่างๆ

จากความทรงจำ

และค้นข้อมูล

โดยนำรูปภาพ

จากนิตยสารต่างๆ

ในช่วงเวลาอดีต

นำมารวบรวม

และเรียบเรียง

ให้เป็นภาพชัดเจน

ขึ้นมาอีกครั้ง

ด้วยสิ่งที่ตนเองนั้น

ยังคงเก็บไว้

ด้วยความมุ่งหวัง

ในการนำเสนอ

ด้วยความให้เกียรติ

ผ่านการนำเสนอ

ในด้านที่สวยงาม

ซึ่งในการจัดทำ

บทความต่างๆ

ซึ่งต้องใช้ภาพ

จากนิตยสารแฟชั่น

และนิตยสารบันเทิง

ในฉบับต่างๆ

จากช่วงยุค 70

ถึงช่วงปลายยุค 90

ซึ่งภาพทั้งหมดนั้น

ถือเป็นลิขสิทธิ์

ของนิตยสาร

และช่างภาพ

ท่านต่างๆ

ทำให้ผู้เขียนบลอก

มีความตั้งใจ

ที่จะจัดทำบลอกนี้

โดยไม่แสวงผลกำไร

และไม่เปิดรับโฆษณา

เพื่อเป็นการยุติธรรม

ต่อเจ้าของภาพ

ในนิตยสาร หนังสือ

และวีดีโอต่างๆ

ที่ผู้เขียนบลอก

นำมาเรียบเรียงไว้

ในบทความ

โดยในการจัดทำ

ผู้เขียนบลอก

อยากจะขอขอบคุณ

นิตยสารและช่างภาพ

ซึ่งเป็นเจ้าของภาพ

สำหรับภาพสวยๆ

ในทุก-ทุกรูป

และอยากจะขอ

ความกรุณา

จากผู้อ่านทุกท่าน

ที่จะนำข้อมูล

และภาพต่างๆ

ในบลอกนี้

ซึ่งผู้เขียนบลอก

ไม่ใช่เจ้าของ

ในด้านลิขสิทธิ์

นำไปเผยแพร่

ขอให้ทุกท่าน

ที่จะนำภาพไปใช้

ขอให้นำไปใช้

โดยมิใช่เพื่อการค้า

หรือนำไปรวบรวมใว้

ในเวบไซต์ เพจ

หรือบลอกต่างๆ

ที่มีการลงโฆษณา

หรือนำไปประกอบ

ในข้อความ บทความ

ที่จะเป็นการล่วงเกิน

ผู้ที่เป็นแบบ

ในภาพนั้นๆ

จากการนำไปใช้

ร่วมกับข้อความ

ที่มีข้อมูล

ในด้านลบ

หรือใช้ถ้อยคำ

ที่มีความหยาบคาย

ซึ่งจะสร้างความเสียหาย

ให้กับผู้เป็นแบบ

ซึ่งอยู่ในภาพ

ท่านนั้นๆ

SUMMER CONCERT / JIMMY LIN (1992)

นิตยสารเก่าในความทรงจำ

นิตยสารเก่าในความทรงจำ
นิตยสารซินีแม๊ก (1994-2002)

SUCCESS / EISAKU YOSHIDA (1989)

บทความเก่าของบลอก

บทความเก่าของบลอก
Eisaku Yoshida

DIG MEN / TAKAHASHI BROTHERS (1989)

DAWSON'S CREEK (1998-2003)

บทความเก่าของบลอก

บทความเก่าของบลอก
นุ๊ก สุทธิดา เกษมสันต์ ณ อยุธยา

ชาวเวอร์ทูชาวเวอร์ / จอนนี่ แอนโฟเน่ (1989)

บทความเก่าของบลอก

บทความเก่าของบลอก
ลางลิขิต (2001)

โฆษณาเครื่องดื่มเป็ปซี่ / พีท ทองเจือ (1992)

นิตยสารเก่าในความทรงจำ

นิตยสารเก่าในความทรงจำ
Movie Time Magazine (1997-2009)

บทความเก่าของบลอก

บทความเก่าของบลอก
แพท พัสสน ศรินทุ

MELROSE PLACE (1992-1999)

นิตยสารเก่าในความทรงจำ

นิตยสารเก่าในความทรงจำ
Gift Magazine (1981-1992)
ในช่วงยุค 70-90 นั้น

สื่อสิ่งพิมพ์ประเภทการ์ตูน

ที่เข้ามาแพร่หลาย

ในประเทศไทยนั้น

ยังไม่ได้อยู่ภายใต้การบังคับ

ของกฎหมายลิขสิทธิ์

อย่างที่เกิดขึ้น

ในประเทศไทย

ในช่วงปี พ.ศ. 2535

ทำให้วงการการ์ตูน

ในประเทศไทย

ในขณะนั้น

มีการแข่งขันกัน

ระหว่างสำนักพิมพ์ต่างๆ

ในการตีพิมพ์และวางจำหน่าย

ผลงานการ์ตูนเรื่องดังๆ

จากประเทศญี่ปุ่น

จากเหตุผลในข้อนี้เอง

ทำให้เกิดนิตยสารการ์ตูน

เพื่อที่จะได้มีการแปล

และวางจำหน่าย

ให้ทันกับต้นฉบับ

ของนิตยสารการ์ตูน

ที่วางขายในประเทศญี่ปุ่น

และ กิฟท์ แม็กกาซีน

ของ ไลน์อาร์ทแพลนนิ่ง

ถือเป็นหนึ่งในนิตยสารการ์ตูน

สำหรับเด็กผู้หญิง

ที่โด่งดังมากที่สุด

ในช่วงยุค 80

ที่ผ่านมา

จากการมีการ์ตูนเรื่องดังๆ

อย่าง ไซเฟอร์ ไอบอย

เลขรักพิสดาร

อสูรน้อยกระซิบรัก

ตีพิมพ์เป็นประจำ

โดยนอกจากการ์ตูนฮิตเหล่านี้

กิฟท์ แม็กกาซีน

ยังมีลักษณะเฉพาะ

ที่มีความพิเศษ

ที่เป็นที่ชื่นชอบ

ของผู้อ่านมากมาย

จนกลายเป็นนิตยสารการ์ตูน

สำหรับเด็กผู้หญิง

ที่ยังคงอยู่ในความทรงจำ

ของผู้อ่านทุก-ทุกคน

มาจนถึงในทุกวันนี้

โดยผู้อ่านบลอก

ที่สนใจและชื่นชอบ

ในนิตยสารเล่มนี้

สามารถอ่านบทความ

และชมภาพทั้งหมด

ได้ในหัวข้อ 80 thai magazine

และ 90 thai magazinr

บทความเก่าของบลอก

บทความเก่าของบลอก
มารยาริษยา (1998)

SUNTORY NCAA / KOJI KIKKAWA (1985)

บทความเก่าของบลอก

บทความเก่าของบลอก
ต่อ กันติ ธรรมาณิชานนท์

MR PRIVATE EYE / CITY HUNTER (1987)

คิขุอาโนเนะ / วงบอยสเก๊าท์ (1993)

บทความเก่าของบลอก

บทความเก่าของบลอก
ธรรม์ โทณะวณิก

THE DREW CAREY SHOW (1995-2004)

นิตยสารเก่าในความทรงจำ

นิตยสารเก่าในความทรงจำ
นิตยสารอานนท์ (1993-1995)

SUNTORY / KAORU KOBAYASHI (1987)

การ์ตูนเก่าในความทรงจำ

การ์ตูนเก่าในความทรงจำ
รักทระนง (1987)

JAL OKINAWA / TORU KAZAMA (1989)

บทความเก่าของบลอก

บทความเก่าของบลอก
Taishu Kase

BEVERLY HILLS 90210 (1990-2000)

นิตยสารเก่าในความทรงจำ

นิตยสารเก่าในความทรงจำ
HELLO MAGAZINE (1985-1989)

LOVE LIGHT / YU HAYAMI (1982)

นิตยสารเก่าในความทรงจำ

นิตยสารเก่าในความทรงจำ
นิตยสารบงกช (1981-1989)

PRIVATE LIFE / SHONENTAI (1987)

Shonentai / 少年隊

ในช่วงยุค 80

ที่ผ่านมานั้น

ถือเป็นช่วงยุคเฟื่องฟู

ของเหล่านักแสดง

นักร้องวัยรุ่น

ขวัญใจวัยรุ่น

จากประเทศญี่ปุ่น

ที่เริ่มเป็นที่รู้จัก

และมีชื่อเสียง

ในประเทศไทย

โดยหลังจากความสำเร็จ

ของละครโทรทัศน์

เรื่อง เคนโด้

ข้าคือลุกผู้ชาย

รวมถึงละครโทรทัศน์

แนวกีฬา

จากประเทศญี่ปุ่น

อีกหลายๆเรื่อง

ที่เข้ามาแพร่ภาพ

และได้รับความนิยม

ในประเทศไทย

ในช่วงยุค 70

ผู้ชมชาวไทย

ก็เริ่มจะเปิดรับ

ผลงานเพลง

ละครโทรทัศน์

และภาพยนตร์เรื่องต่างๆ

จากประเทศญี่ปุ่น

โดยในฐานะ

กลุ่มนักร้อง

ขวัญใจวัยรุ่น

สามนักร้องหนุ่มหล่อ

วง Shonentai

ถือเป็นกลุ่มนักร้อง

จากประเทศญี่ปุ่น

ที่ได้รับความนิยม

จากสาวๆชาวไทย

มากที่สุด

ในช่วงยุค 80

ซึ่งความโด่งดัง

ของพวกเขา

ทำให้ผู้ชม

ในประเทศไทยเอง

ได้มีโอกาสต้อนรับ

และเข้าชมคอนเสริต์

ของพวกเขา

ที่มีการจัดขึ้น

ในประเทศไทย

ซึ่งถือเป็นความยิ่งใหญ่

ในยุคสมัย

ที่ยังไม่มี Internet

และสื่อบันเทิงต่างๆ

ให้ได้ติดตามรับชม

กันอย่างมากมาย

เหมือนในทุกวันนี้

โดยผู้อ่านของบลอก

ที่คิดถึงผลงาน

และเรื่องราวเก่าๆ

ในช่วงแรก

ของอาชีพนักร้อง

ของทั้งสามหนุ่มหล่อนี้

สามารถติดตามเรื่องราว

และรับชมรูปภาพ

ของพวกเขาได้

ในหัวข้อ 80 Japan Male Idol

บทความเก่าของบลอก

บทความเก่าของบลอก
โด่ง สิทธิพร นิยม

แกล้งโง่ / ฝันดี ฝันเด่น จรรยาธนากร (1994)

ละครเก่าในความทรงจำ

ละครเก่าในความทรงจำ
ดั่งดวงหฤทัย (1996)

นิตยสารเก่าในความทรงจำ

นิตยสารเก่าในความทรงจำ
นิตยสารด้วยรัก (1983-1985)

ขอคืน / บอยสเก๊าท์ (1993)

นิตยสารเก่าในความทรงจำ

นิตยสารเก่าในความทรงจำ
Starpics Magazine (1965)

EARLY EDITION (1996-2000)

การ์ตูนเก่าในความทรงจำ

การ์ตูนเก่าในความทรงจำ
บันทึกรักโพนีเทล (1985-1987)

นิตยสารฉบับเก่าในความทรงจำ

นิตยสารฉบับเก่าในความทรงจำ
นิตยสารแพรว (1979)

STILL LOVE HER / TM NETWORK

บทความเก่าของบลอก

บทความเก่าของบลอก
Kazukiyo Nishikiori (Shonentai)

ปราสาทมืด (1994)

บทความเก่าของบลอก

บทความเก่าของบลอก
ม.6/2 ห้องครูวารี (1994)

MEIJI CHOCOLAT (1993)

บทความเก่าของบลอก

บทความเก่าของบลอก
อัลเฟรด เนติพงษ์ ศรีทองอินทร์

TOKI WO KAKERU SHOUJO (1983)

AGAINST ALL ODDS (1984)

นิตยสารเก่าในความทรงจำ

นิตยสารเก่าในความทรงจำ
Starpics Magazine (1965)

GLICO ALMOND / RYUJI HARADA (1992)

บทความเก่าของบลอก

บทความเก่าของบลอก
โจ ธเนศ ฉิมท้วม

โปลิศจับขโมย (1996)

ปุกปุย (1990)

ภาพยนตร์คุณภาพ

เรื่อง ปุกปุย

ที่ยังคงอยู่ในความทรงจำ

ของผู้ชมภาพยนตร์

หลาย-หลายท่าน

มาจนถึงในทุกวันนี้

เกิดจากแนวคิด

ในการเขียนบท

ของ คุณอุดม อุดมโรจน์

และ คุณทองขาว มะขาวป้อม

โดยภาพยนตร์เรื่องนี้

มีชื่อแรกในบทร่าง

ว่า ใครใครก็ไม่รัก

ซึ่งแนวคิดของเรื่อง

ได้รับแรงบันดาลใจ

มาจาก My Life As a Dog

จากการที่คุณอุดมนั้น

ต้องการสร้างภาพยนตร์

เกี่ยวกับเด็กเด็ก

ในแนวคิดที่อยากนำเสนอ

ให้สังคมและครอบครัว

หันมาใส่ใจ

และดูแลเด็กเด็ก

ในด้านความรู้สึก

ของพวกเขามากกว่านี้

โดยรายนามของผู้สร้างสรรค์

ภาพยนตร์คุณภาพเรื่องนี้

มีดังนี้ กำกับภาพยนตร์

โดย อุดม อุดมโรจน์

อำนวยการสร้าง

โดย จรัญ/วิสูตร พูลวรลักษณ์

ถ่ายภาพ

โดย ปัญญา นิ่มเจริญพงศ์

ดนตรีประกอบ

โดย จำรัส เศวตาภรณ์

ภาพยนตร์เรื่อง ปุกปุย

เปิดตัวต่อสื่อมวลชน

และออกฉายทั่วประเทศ

เมื่อวันที่ 19 พฤษภาคม พ.ศ. 2533

โดยแม้จะมาพร้อม

กับคุณภาพ

และงานการสร้าง

ที่มีความสมบูรณ์แบบ

แต่ภาพยนตร์เรื่องนี้

ไม่ได้ออกฉายทันที

ที่การถ่ายทำเสร็จสิ้นลง

เนื่องจากต้องรอคิว

และเวลาในการออกฉาย

ในโรงภาพยนตร์

ที่มีจังหวะเหมาะสม

ก่อนที่ภาพยนตร์เล็กๆเรื่องนี้

จะทำรายได้ในปีนั้น

ไปอย่างเหนือความคาดหมาย

และยังคงอยู่ในความทรงจำ

ของผู้ชมทุก-ทุกคน

มาจนถึงทุกในวันนี้

ภาพยนตร์เรื่อง ปุกปุย

นำแสดงโดย ด.ช. ณพัชร สุพัฒนกุล

ที่ให้การแสดงชั้นยอด

และเป็นทุกสิ่งทุกอย่าง

ที่บทภาพยนตร์ต้องการ

ร่วมด้วย ด.ญ. ปรางใส ณ นคร

ด.ช. ศุภชัย ชัยวัฒนเมธิน

เกรียงไกร อุณหนันท์

ธิติมา สังขพิทักษ์

และ ญาณี จงวิสุทธิ์

สบตา / แอนเดรีย สวอเรซ (1994)

นิตยสารเก่าในความทรงจำ

นิตยสารเก่าในความทรงจำ
นิตยสารมิถุนา (1983-1997)

อยากรู้ความจริง / ทัช ณ ตะกั่วทุ่ง (1992)

บทความเก่าของบลอก

บทความเก่าของบลอก
เจริญทอง เกียรติบ้านช่อง

ครีมอาบน้ำลักส์ / อัญชลี จงคดีกิจ (1985)

บทความเก่าของบลอก

บทความเก่าของบลอก
โป้ง วราวุธ บูรพาชยานนท์

MISSING YOU / TOMMY PAGE (1997)

ตามรักคืนใจ (1998)

ในปี พ.ศ. 2541

สถานีโทรทัศน์ช่อง 3

ร่วมกับบริษัท ยูมาร์ 99 จำกัด

ได้เสนอละครโทรทัศน์

เรื่อง ตามรักคืนใจ

แพร่ภาพเป็นประจำ

ทุกวันศุกร์และเสาร์

เวลา 20:30 น.

ทางสถานีโทรทัศน์ช่อง 3

โดยละครโทรทัศน์เรื่องนี้

สร้างจากบทประพันธ์

ของ กิ่งฉัตร

ดัดแปลงเป็นบทโทรทัศน์

โดย ทุ่งดอกไม้

กำกับการแสดง

โดย วิลักษณา

นำแสดงโดย ธนากร โปษยานนท์

รับบท สีหนาท หรือ นายสิงห์

รามาวดี สิริสุขะ

รับบท หนูนา หรือ นารา

พงษ์พัฒน์ วชิรบรรจง

รับบท ราม

นาถยา แดงบุหงา รับบท รัศมี

นพชัย มัททวีวงศ์ รับบท อดิศร

ชไมพร สิทธิวรนันท์

รับบท จุฑารัตน์ หรือ จุ๊

เมธี อมรวุฒิกุล รับบท สารวัตรกช

รุ้งทอง ร่วมทอง รับบท ขนิษฐา

สมบัติ เมทะนี รับบท วรรณ

ทนงศักดิ์ ศุภการ รับบท ศักดา

ดารณีนุช โพธิปิติ รับบท แป้น

พิมพกา เสียงสมบุญ รับบท พวง

ศักราช ฤกษ์ธำรงค์ รับบท เอกชาติ

วัชรเกียรติ บุญภักดี รับบท เรือง

เรือนมยุรา (1997)

เธอยังคงมีฉัน / ปัทมวรรณ เค้ามูลคดี (1994)

บทความเก่าของบลอก

บทความเก่าของบลอก
เจ มณฑล จิรา

NEVER SURRENDER / COREY HART (1985)

บทความเก่าของบลอก

บทความเก่าของบลอก
Paul Visut Carey

คลังบทความของบล็อก

TOKI / YUTAKA OZAKI (1988)

บทความพิเศษของบลอก

บทความพิเศษของบลอก
นิตยสารวัยรุ่นทศวรรษที่ 90

TRUE / SPANDAU BALLET (1983)

MY FAVORITE ALBUM / EISAKU YOSHIDA

MOU DAREMO AISANAI (1991)

ดอกแก้วการะบุหนิง (2000)

ในปี พ.ศ. 2543

สถานีโทรทัศน์ช่อง 3

ร่วมกับบริษัท ฮู แอนด์ ฮู

โดย วรายุฑ มิลินทจินดา

เสนอละครโทรทัศน์

เเนว โรแมนติก-แฟนตาซี

เรื่อง ดอกแก้วการะบุหนิง

โดยเป็นการสร้าง

จากบทประพันธ์

โดย แก้วเก้า

นำมาดัดแปลง

เป็นบทโทรทัศน์

โดย วรดา

กำกับการแสดง

โดย ชูศักดิ์ สุธีรธรรม

นำแสดงโดย ธนากร โปษยานนท์

รับบท ดนย์

คัทลียา แมคอินทอช

รับบท การะบุหนิง

ฉัตรชัย เปล่งพานิช

รับบท สุหราปาตี

จินตหรา สุขพัฒน์

รับบท กิรณา

เพลงประกอบละครโทรทัศน์

เพลง เธอ

โดย ศิริลักษณ์ ผ่องโชค

ภาพประกอบละครโทรทัศน์

ช่วง Opening Credits

โดย อ.สุรเดช แก้วท่าไม้

ละครโทรทัศน์

เรื่อง ดอกแก้วการะบุหนิง

ออกอากาศเป็นประจำ

ทุกวันจันทร์ อังคาร

เวลา 20.25 น.

ทางสถานีโทรทัศน์ช่อง 3

ในปี พ.ศ. 2543

นิตยสารเก่าในความทรงจำ

นิตยสารเก่าในความทรงจำ
นิตยสารกระดังงา (1984-1990)

VITASOY / SIMON LO (1992)

บทความเก่าของบลอก

บทความเก่าของบลอก
สามารถ พยัคฆ์อรุณ

ป้ายกำกับ

JAL / KAORU KOBAYASHI (1991)

MY FAVORITE ALBUM

MY FAVORITE ALBUM
CAPRICCIO / SHONENTAI (1988)

HI-C LEMON TEA / EKIN CHENG (1987)

นิตยสารเก่าในความทรงจำ

นิตยสารเก่าในความทรงจำ
นิตยสารเพื่อนเดินทาง (1980)

GILMORE GIRLS (2000-2007)

HOP-STEP-LOVE / JUNICHI NITTA (1982)

บทความเก่าของบลอก

บทความเก่าของบลอก
Shingo Kazami

JA KYOSAI / EISAKU YOSHIDA (1990)

บทความเก่าของบลอก

บทความเก่าของบลอก
Yuki Saito

วนิดา (1991)