ประเภทนิตยสาร
ที่ออกวางจำหน่าย
ในประเทศไทย
ในทุกยุคสมัยนั้น
มีนิตยสารมากมาย
ที่มีความหลากหลาย
ทั้งในรูปแบบ
ประเภทรายสัปดาห์
รายปักษ์ รายเดือน
ที่เริ่มต้นการก่อตั้ง
และออกวางจำหน่าย
สู่สายตาผู้อ่าน
ให้ได้ติดตาม
และซื้อหา
ตามแต่รสนิยม
และความชื่นชอบ
ของผู้อ่านท่านนั้นๆ
ซึ่งในจำนวน
ของนิตยสารต่างๆ
ที่มีการสร้างสรรค์
ออกมาวางจำหน่าย
ในแต่ละยุคสมัยนั้น
ก็มีนิตยสารมากมาย
ที่มีการยุติการผลิต
และห่างหายไป
จากแผงหนังสือ
ด้วยเหตุผล
และปัจจัยต่างๆ
ที่มีความหลากหลาย
และแตกต่างกันไป
โดยนิตยสาร
แนวบันเทิง
ที่นำเสนอ
ข่าสารและเรื่องราว
ของวงการภาพยนตร์
จากฝั่งตะวันตก
ในชื่อว่า Cinemag
ที่ผู้เขียนบลอก
นำมาบันทึก
ไว้ในบทความ
ของบลอก
ในครั้งนี้นั้น
ถือเป็นนิตยสาร
เกี่ยวกับภาพยนตร์
อีกหนึ่งฉบับ
ที่เปิดตัวขึ้น
ในช่วงกลางยุค 90
ที่ได้ห่างหายไป
และยังคงเป็นที่จดจำ
ของผู้อ่านทางบ้าน
หลาย-หลายท่าน
มาจนถึงในทุกวันนี้
โดยในการบันทึก
บทความของบลอก
ในครั้งนี้นั้น
หากมีข้อผิดพลาด
ในด้านรายละเอียด
หรือมีข้อมูลต่างๆ
ที่ไม่ครบถ้วน
ผู้เขียนบลอก
ต้องขออภัย
ผู้ที่เกี่ยวข้อง
กับการสร้างสรรค์
นิตยสารฉบับนี้
ทุก-ทุกท่าน
ไว้ ณ ที่นี้
ที่ไม่ได้เติบโต
มาในช่วงยุค 90
หรือไม่ได้ติดตาม
นิตยสารบันเทิง
สำหรับผู้อ่าน
ที่มีความสนใจ
ในด้านภาพยนตร์
จากต่างประเทศ
ในฉบับนี้
นิตยสารซิเนเเม็ก
(Cinemag)
เป็นนิตยสาร
แนวบันเทิง
เกี่ยวกับภาพยนตร์
ของบริษัท
แฟมไลต์ จำกัด
(ในช่วงปีแรกนั้น
ในหน้าสารบัญ
ของทางนิตยสาร
ระบุว่านิตยสาร
เป็นการผลิต
โดยบริษัทแห่งนี้
ก่อนจะมีการปรับ
ในหน้าสารบัญ
จากการไม่ได้ระบุ
ในด้านชื่อบริษัทไว้
ในช่วงปีต่อ-ต่อมา)
ที่มีการวางจำหน่าย
ในรูปแบบรายปักษ์
ที่ออกวางจำหน่าย
ไปสู่ผู้อ่าน
ในทุกวันที่ 1
และวันที่ 15
ของแต่ละเดือน
(โดยมีการปรับ
ในด้านรูปแบบ
เป็นรายเดือน
ในช่วงปี พ.ศ. 2543)
โดยนิตยสารซีเนเเม็ก
ในฉบับแรกนั้น
มีการเปิดตัว
และวางจำหน่าย
เป็นครั้งแรก
ในช่วงปักษ์แรก
ของเดือนมีนาคม
ปี พ.ศ. 2537
โดยในการเปิดตัว
และวางจำหน่าย
ในฉบับแรก
ของปีที่ 1 ฉบับที่ 1
นิตยสารภาพยนตร์
ในฉบับนี้
มีราคาปก
คือ 40 บาท
ต่อหนึ่งฉบับ
(โดยในช่วงปี พ.ศ. 2537
ถึงในช่วงปี พ.ศ. 2545
ที่มีการสร้างสรรค์
นิตยสารฉบับนี้
ออกมาวางจำหน่าย
ไปสู่ผู้อ่านนั้น
นิตยสารฉบับนี้
มีการปรับราคา
เป็น 50 / 60
และ 70 บาท
ในแต่ละช่วงเวลา)
สำหรับรายชื่อ
ของทีมงาน
ของทางนิตยสาร
ในชื่อ Cinemag
จากหน้าสารบัญ
ของนิตยสาร
ในช่วงปีแรก
ซึ่งเป็นช่วงยุคก่อตั้ง
ในช่วงปี พ.ศ. 2537
นิตยสารบันเทิง
เกี่ยวกับภาพยนตร์
ในฉบับนี้
มีรายชื่อทีมงาน
ในกองบรรณาธิการ
และผู้เกี่ยวข้อง
กับการผลิต
ในช่วงยุคแรก
ดังนี้ คุณประไพพรรณ เหล่ายนตร์
เป็นบรรณาธิการ
คุณมงคลชัย ชัยวิสุทธิ์
เป็นหัวหน้า
กองบรรณาธิการ
และบรรณาธิการ
ผู้พิมพ์ ผู้โฆษณา
คุณวรรัตน์ ปิยะกุล
เป็นผู้ช่วยบรรณาธิการ
คุณสุระชาติ ตั้งตระกูล
คุณอรรถพล นวมะชิติ
คุณมนต์ชัย ปั้นวงศ์รอด
คุณทรงศร สำลีทอง
คุณศิริพร เจริญหิรัญศิลป์
คุณวันชัย ไวยบุตร
คุณพรรณิภา กบิลลิกกะวานิชย์
คุณธิดา ผลิตผลการพิมพ์
เป็นกองบรรณาธิการ
คุณธเนศ หัศบำเรอ
คุณจักรี จงยศยิ่ง
คุณชาลี วงศ์เสงี่ยม
คุณสุภัทรชัย สรรเพชร
เป็นฝ่ายศิลป์
คุณวิไล เก่งทุกทาง
เป็นผู้จัดการฝ่ายโฆษณา
คุณดิเรก สุขเสมือน
คุณมาลี บุณยศรีสวัสดิ์
เป็นประชาสัมพันธ์
คุณธารทิพย์ เหล่ายนตร์
เป็นผู้จัดการทั่วไป
คุณเพ็ญจันทร์ จิตต์จุฬานนท์
เป็นฝ่ายผลิต
(เป็นรายชื่อทีมงาน
จากหน้าสารบัญ
ของนิตยสาร
ในช่วงยุคก่อตั้ง
ของปี พ.ศ. 2537
เพียงเท่านั้น
โดยในช่วงยุคที่ 2
ของทางนิตยสาร
ที่มีการเปลี่ยนแปลง
ในด้านตำแหน่ง
บรรณาธิการ
รวมถึงมีการปรับเปลี่ยน
ในด้านรูปแบบ
ของทางนิตยสาร
นิตยสารซีเนแม็ก
ในช่วงปี พ.ศ. 2543
ถึงปี พ.ศ. 2545
ก็มีคุณนพพร ศุภพิพัฒน์
มารับตำแหน่ง
เป็นบรรณาธิการ
ให้กับทางนิตยสาร
ในช่วงยุคที่สอง
ของการวางจำหน่าย)
สำหรับรูปแบบ
และภาพรวม
ของนิตยสาร
ในชื่อ Cinemag
ซึ่งนอกจากนิตยสาร
ในแบบปกติ
ที่ออกวางจำหน่าย
ในรูปแบบรายปักษ์
ยังมีนิตยสาร
ฉบับพิเศษ
ในชื่อ Cinemag
ฉบับ Special
และ Cinemag
ฉบับ Extra
ที่มีการสร้างสรรค์
ออกมาวางจำหน่าย
ในช่วงปี พ.ศ. 2537
ถึงในช่วงปี พ.ศ. 2545
ที่ผ่านมานั้น
จากความทรงจำ
ของผู้เขียนบลอก
นิตยสารฉบับนี้
เป็นนิตยสาร
แนวบันเทิง
ที่นำเสนอ
ข่าวสาร เรื่องราว
บทความ บทสัมภาษณ์
รูปภาพและคอลัมภ์
ที่มีความน่าสนใจ
เกี่ยวกับนักแสดง
ผู้กำกับภาพยนตร์
ทีมผู้สร้าง ผู้เขียนบท
จากวงการภาพยนตร์
จากทางฝั่งตะวันตก
(รวมถึงมีข่าวสาร
และบทความต่างๆ
เกี่ยวกับทีมงาน
และการสร้าง
ผลงานภาพยนตร์
ที่มีความน่าสนใจ
ในประเทศไทย
ให้ได้ติดตาม
เช่นเดียวกัน)
โดยความโดดเด่น
ของนิตยสารฉบับนี้
คือการมีบรรณาธิการ
และนักเขียนชื่อดัง
ที่มีความรู้ ความเข้าใจ
ในด้านภาพยนตร์
ซึ่งมีชื่อเสียง
เป็นที่รู้จัก
จากการทำงาน
ในการสร้างสรรค์
นิตยสารเอนเตอร์เทน
ในช่วงยุคบุกเบิก
อย่างคุณประไพพรรณ เหล่ายนตร์
และคุณมงคลชัย ชัยวิสุทธิ์
ซึ่งมีผู้อ่านทางบ้าน
ที่มีความชื่นชอบ
ในงานเขียน
เกี่ยวกับภาพยนตร์
ของทั้งสองท่าน
จากทางนิตยสาร
ในฉบับเก่า
มารับหน้าที่
เป็นผู้ดูแล
และเป็นผู้สร้างสรรค์
นิตยสารภาพยนตร์
ในชื่อ ซีเนเเม็ก
ในฉบับนี้
นอกจากนี้
จากการเปิดตัว
ในรูปแบบนิตยสาร
ประเภทรายปักษ์
ที่ออกวางจำหน่าย
ในทุก 15 วัน
ก็ทำให้นิตยสาร
แนวบันเทิง
เกี่ยวกับภาพยนตร์
ในชื่อ ซิเนเเม็ก
ที่มีการเปิดตัว
ในช่วงปี พ.ศ. 2537
ในฉบับนี้นั้น
สามารถวางรูปแบบ
ในด้านเนื้อหา
ให้ความทันสมัย
ทันต่อเหตุการณ์
แต่ยังคงมีเวลา
และรูปเล่ม
ที่สามารถนำเสนอ
บทความพิเศษ
ในด้านความรู้
เกี่ยวกับภาพยนตร์
ซึ่งถือเป็นสิ่งสำคัญ
ทั้งสองด้าน
ของการผลิต
นิตยสารบันเทิง
เกี่ยวกับภาพยนตร์
ของผู้เขียนบลอก
ในช่วงปี พ.ศ. 2537
ถึงในช่วงปี พ.ศ. 2545
นิตยสารซีเนแม็ก
ซึ่งเป็นที่คุ้นเคย
ของผู้อ่าน
จากการมีนักเขียน
และนักวิจารณ์ภาพยนตร์
อย่าง คุณนรา
คุณกฤตยา
คุณเดือนเพ็ญ สีหรัตน์
คุณมงคลชัย ชัยวิสุทธิ์
คุณประไพรรณ เหล่ายนตร์
คุณสุระชาติ ตั้งตระกูล
คุณมโนธรรม เทียมเทียบรัตน์
คุณปาจรีย์ ณ นคร
คุณเปรมปพัทธ ผลิตผลการพิมพ์
คุณธิดา ผลิตผลการพิมพ์
คุณศิวาภรณ์ พงษ์สุวรรณ
คุณเกษมสันต์ พรหมสุภา
คุณเรืองรอง รุ่งรัศมี ฯลฯ
มีผลงานตีพิมพ์
ลงในนิตยสารนั้น
มีคอลัมภ์ต่างๆ
ที่มีความโดดเด่น
และน่าสนใจ
สำหรับผู้อ่าน
ดังนี้ บก.แถลง
คุยกับบรรณาธิการ
(บทบรรณาธิการ
และการตอบจดหมาย
ของผู้อ่านทางบ้าน)
ภาพยนตร์สนทนา
(บทสัมภาษณ์
เกี่ยวกับผู้เกี่ยวข้อง
ของวงการภาพยนตร์)
Film News
Cinemag Starmania
คนดังเป็นข่าว
หนังข่าวรวมมิตร
(ข่าวนักแสดง
และวงการภาพยนตร์
จากฝั่งตะวันตก)
Cine Preview
(บทวิจารณ์ภาพยนตร์
จากนิตยสาร
ของต่างประเทศ)
ตีตั๋ว แขกรับชวน
หมาหยอกไก่
ชีวิตกับหนัง
คืนหมาหอน
เวทีวิจารณ์
(บทวิจารณ์ภาพยนตร์
จากนักวิจารณ์ไทย)
หลังจอ หลังกล้องกองถ่าย
แล่นตามหยามเตย
(ข่าวสารภาพยนตร์
ในประเทศไทย)
Cine Effect
(เบื้องหลังงานสร้าง
จากวงการภาพยนตร์
ในสหรัฐอเมริกา)
บันทึกที่สุด
ของวงการมายา
(รวมเรื่องเก่า
และสถิติต่างๆ
ของวงการภาพยนตร์
ในต่างประเทศ)
หรีดอาลัย
Cine Star Filmography
(บทสัมภาษณ์
และประวัติส่วนตัว
ของนักแสดง)
Coming Attraction
(คอลัมภ์แนะนำ
ภาพยนตร์ใหม่
ที่กำลังจะเข้าฉาย)
Cine Hut
(โปรแกรมภาพยนตร์
ของงานเทศกาลต่างๆ)
Cine Club
(คอลัมภ์ข่าวสาร
เกี่ยวกับสมาชิก
ของทางนิตยสาร
และการจัดงาน
ฉายภาพยนตร์
สำหรับผู้อ่าน)
Film Music
Soundtrack Corner
(บทวิจารณ์
อัลบั้มเพลง
ประกอบภาพยนตร์)
Box Office
(รายงานอันดับ
ภาพยนตร์ทำเงิน)
ข่าวบริการ
(ข่าวฝากประชาสัมพันธ์)
ใบปิดใบหนึ่ง
(คอลัมภ์แนะนำ
และวิจารณ์
การออกแบบ
ใบปิดภาพยนตร์)
The VISTA NEWS
V.D.O. UPDATE
(แนะนำวีดีโอออกใหม่)
ในฐานะนิตยสาร
ที่ต้องมีการปรับปรุง
และมีการปรับเปลี่ยน
เพื่อความน่าสนใจ
สำหรับผู้อ่าน
ในแต่ละช่วงเวลา
ของการสร้างสรรค์
นิตยสารซีเนแม็ก
ที่มีการเปิดตัว
เป็นครั้งแรก
ตั้งแต่ในปี พ.ศ. 2537
ก็มีการปรับปรุง
ในด้านรุปแบบ
ของทางนิตยสาร
หัวนิตยสาร
และเนื้อหา
ในคอลัมภ์ต่างๆ
เพื่อความทันสมัย
หลาย-หลายครั้ง
โดยจุดเปลี่ยน
ที่เป็นที่จดจำ
มากที่สุด
ของผู้อ่านทางบ้าน
คือการปรับเปลี่ยน
ในด้านบรรณาธิการ
จากคุณประไพพรรณ เหล่ายนตร์
มาเป็นคุณนพพร ศุภวิวัฒน์
(ในหน้าสารบัญ
ของนิตยสาร
ในช่วงยุคที่ 2
ยังคงมีคุณมงคลชัย
เป็นบรรณาธิการ
ผู้พิมพ์ ผู้โฆษณา
แบบในช่วงยุคแรก)
และมีการปรับเปลี่ยน
ในด้านรุปลักษณ์
ของทางนิตยสาร
จากการมีรูปเล่ม
หัวหนังสือ ราคา
ตัวอักษร การจัดหน้า
รวมถึงคอลัมภ์ใหม่
ที่เรียกว่าเป็นการปรับเปลี่ยน
ในแบบครั้งใหญ่
ของทางนิตยสาร
ในช่วงปี พ.ศ. 2543
ซึ่งก็ถือเป็นความแปลกใหม่
ของนิตยสารฉบับนี้
ที่มีการปรับปรุง
เพื่อนำเสนอ
ไปสู่ผู้อ่านประจำ
และผู้อ่านกลุ่มใหม่
ในอีกรูปแบบหนึ่ง
หลังจากการปรับเปลี่ยน
ในด้านบรรณาธิการ
ที่มีการแจ้ง
ไปสู่ผู้อ่าน
ในบทบรรณาธิการ
ของทางนิตยสาร
ในฉบับที่ 154
ประจำปีที่ 7
ของเดือนสิงหาคม
ปี พ.ศ. 2543
นิตยสารซีเนแม็ก
ในช่วงยุคที่ 2
ที่มีรูปแบบใหม่
ซึ่งมีการปรับเปลี่ยน
ในด้านการวางจำหน่าย
มาเป็นแบบรายเดือน
ก็มีการสร้างสรรค์
และวางจำหน่าย
ไปสู่ผู้อ่านทางบ้าน
ในรูปแบบนิตยสาร
อย่างต่อเนื่อง
อีกครั้งหนึ่ง
แต่เป็นที่น่าเสียดาย
ที่ในฐานะนิตยสาร
ที่นำเสนอข่าวสาร
เกี่ยวกับภาพยนตร์
จากฝั่งตะวันตก
กองบรรณาธิการ
ของนิตยสารซีเนแม็ก
ก็ได้ตัดสินใจ
ที่จะยุติการสร้างสรรค์
และการวางจำหน่าย
อีกครั้งหนึ่ง
ในช่วงปี พ.ศ. 2545
โดยนิตยสาร
ในชื่อ ซิเนเเม็ก
ในฉบับสุดท้าย
ที่ผู้เขียนบลอก
ยังคงมีเก็บไว้
คือนิตยสาร
ฉบับที่ 184
ของปี พ.ศ. 2545
(เป็นนิตยสาร
ในยุคสุดท้าย
ของการจัดพิมพ์
ที่ผู้เขียนบลอก
ยังคงมีเก็บไว้
เพียงเท่านั้น
ซึ่งอาจจะไม่ใช่
นิตยสารฉบับสุดท้าย
ที่มีการจัดพิมพ์)
โดยในฐานะ
นิตยสารชื่อดัง
ที่มีผู้อ่านมากมาย
ให้การติดตาม
หลังจากการยุติ
การวางจำหน่าย
ในรูปแบบ
ของนิตยสาร
ไปในช่วงปี พ.ศ. 2545
นิตยสารซีเนเเม็ก
มีโอกาส
กลับมาพบผู้อ่าน
ในระยะเวลาสั้น-สั้น
อีกครั้งหนึ่ง
ในช่วงปี พ.ศ. 2548
โดยในการกลับมา
ในครั้งนี้นั้น
เป็นการสร้างสรรค์
ในรุปแบบเวบไซต์
ที่มีชื่อเวบไซต์
ว่า Cinemag Online
ซึ่งแม้ว่าเวบไซต์นี้
จะมีช่วงเวลา
ในการสร้างสรรค์
เพียงระยะสั้น-สั้น
แต่ก็เป็นช่วงเวลาหนึ่ง
ที่ทีมงานเก่า
ของทางนิตยสาร
และผู้อ่านทางบ้าน
ได้มีโอกาส
กลับมาพบปะ
และแลกเปลี่ยนความคิด
เกี่ยวกับวงการภาพยนตร์
แม้ว่าในการสร้างสรรค์
ในครั้งนี้นั้น
จะไม่ใช่ในรุปแบบ
ของการจัดพิมพ์
นิตยสารฉบับปกติ
อย่างที่เคยเป็นมา
ในช่วงยุคแรกเริ่มก็ตาม
(ข้อมูลต่างๆ
ในบทความนี้
มีการบันทึก
ข้อมูลต่างๆ
ของทางนิตยสาร
ถึงในช่วงปี พ.ศ. 2548
เพียงเท่านั้น
โดยหากมีข้อผิดพลาด
หรือมีข้อมูลต่างๆ
ในด้านรายละเอียด
ที่ไม่ถุกต้อง
ผู้เขียนบลอก
ต้องขออภัย
ทางทีมงาน
กองบรรณาธิการ
และผู้เกี่ยวข้อง
กับนิตยสารฉบับนี้
ไว้ ณ ที่นี้)