ในช่วงต้นยุค 90
ที่ผ่านมานั้น
หลังจากความสำเร็จ
ของผลงานภาพยนตร์
แนว ชีวิต / ตลก / วัยรุ่น
เรื่อง กลิ้งไว้ก่อนพ่อสอนไว้
ที่มีการเปิดตัว
ต่อสื่อมวลชน
และเข้าฉาย
ในโรงภาพยนตร์
ทั่วประเทศ
ในช่วงปี พ.ศ. 2534
ทางผู้ผลิต
สื่อบันเทิง
ประเภทต่างๆ
ทั้งบริษัท
ผู้ผลิตภาพยนตร์
สถานีโทรทัศน์
ค่ายเพลง
รวมถึงสำนักพิมพ์
ผู้ผลิตนิตยสาร
ในฉบับต่างๆ
ก็ได้มีการผลิต
สื่อบันเทิง
ในรูปแบบต่างๆ
ที่มีเป้าหมาย
ของกลุ่มผู้ชม
เป็นเหล่าวัยรุ่น
ที่มีอายุน้อย
ซึ่งจากเสียงตอบรับ
ในด้านที่ดี
อย่างต่อเนื่อง
ของกระแสความนิยม
ที่ผู้ชมทางบ้าน
มีให้เหล่านักแสดง
นักร้อง นายแบบ
นางแบบวัยรุ่น
ในช่วงต้นยุค 90
ก็ทำให้ในช่วงต้นปี
ของปี พ.ศ. 2535
ที่ผ่านมานั้น
นอกจากการเปิดตัว
และมีการอนุมัติ
ในด้านการผลิต
ผลงานภาพยนตร์
แนว วัยรุ่น
หลาย-หลายเรื่อง
(อนึ่งคิดถึงพอสังเขป
สะแด่วแห้ว
ม่อก 2 ต้องได้ 3
กระโปรงบานขาสั้น
ครั้งนี้โลกฉุดไม่อยู่
โจ๋ไม่โจ๋หัวใจให้โจ๋
จะใหญ่จะย่อก็พ่อเรา
โก๊ะจ๋าป่านะโก๊ะ
หอหึหึ ฯลฯ)
ทางบริษัทภาพยนตร์
ไฟว์สตาร์ โปรดักชั่น
ยังมีการผลิต
รายการโทรทัศน์
แนว วัยรุ่น / วาไรตี้
ในชื่อ 4+1 ถึงจะเท่ห์
ที่มีการแพร่ภาพ
และได้รับความนิยม
จากการแพร่ภาพ
ทางสถานีโทรทัศน์ช่อง 3
ในช่วงปี พ.ศ. 2535
ถึงปี พ.ศ. 2536
ให้ได้ติดตามรับชม
อีกรายการหนึ่ง
โดยในการบันทึก
บทความของบลอก
ในครั้งนี้นั้น
จะเป็นการบันทึก
ในด้านข้อมูล
เกี่ยวกับการผลิต
รวมถึงรายชื่อ
ของทีมงาน
และพิธีกร
ที่มาทำหน้าที่
เป็นผู้ดำเนินรายการ
ให้กับรายการโทรทัศน์
แนว วัยรุ่น / วาไรตี้
ที่ได้รับความนิยม
อย่างมาก
ในกลุ่มผู้ชม
ซึ่งเป็นเหล่าวัยรุ่น
ในช่วงต้นยุค 90
รายการนี้
สำหรับข้อมูล
ในด้านรายชื่อ
ของทีมงาน
และพิธีกร
รวมถึงข้อมูล
ในด้านวัน-เวลา
ของการออกอากาศ
รายการโทรทัศน์
ในชื่อ 4+1 ถึงจะเท่ห์
เป็นรายการโทรทัศน์
แนว วัยรุ่น / วาไรตี้
สร้างสรรค์สังคม
ซึ่งเป็นผลงาน
รายการโทรทัศน์
แบบหนึ่งชั่วโมง
จากการร่วมมือ
ของสถานีโทรทัศน์ช่อง 3
และบริษัทไฟว์สตาร์
เอ็นเตอร์เทนเมนท์
โดย คุณเธียร พรวาณิชย์
ซึ่งมีทีมงาน
ในการผลิต
คือ คุณนพพร วาทิน
เป็นโปรดิวเซอร์
และผู้กำกับรายการ
คุณสถาพร นาควิไลโรจน์
คุณนพรัตน์ พุทธรัตน์มณี
คุณอานนท์ มิ่งขวัญตา
และ คุณประสม เรืองศรี
เป็นผู้ช่วยผู้กำกับ
คุณเบญจมาศ ดวลหิรัญรัตน์
และ คุณอรัญญา วงษ์สมกลิ่น
เป็นผู้เขียนบทโทรทัศน์
โดยรายการโทรทัศน์
ในชื่อ 4+1 ถึงจะเท่ห์
มีการแพร่ภาพ
เป็นประจำ
ในทุกวันอาทิตย์
เวลา 11.00 น.
ทางสถานีโทรทัศน์ช่อง 3
ในช่วงปี พ.ศ. 2535
ถึงปี พ.ศ. 2536
โดยมีการออกอากาศ
เป็นครั้งแรก
วันที่ 2 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2535
และมีการออกอากาศ
อย่างต่อเนื่อง
ไปจนถึงช่วงปลายปี
ของปี พ.ศ. 2536
(ขอขอบคุณ
วิดีโอตัวอย่าง
รายการโทรทัศน์
4+1 ถึงจะเท่ห์
โดยคุณ TJA AYUDHYA
www.youtube.com)
ในด้านรายชื่อ
ของพิธีกรหลัก
ประจำรายการโทรทัศน์
ในชื่อ 4+1 ถึงจะเท่ห์
โดยจากความทรงจำ
ของผู้เขียนบลอก
รายการโทรทัศน์
4+1 ถึงจะเท่ห์
มีพิธีกรประจำ
ในแต่ละช่วง
ของรายการนี้
ดังนี้ คุณสุรศักดิ์ วงษ์ไทย
คุณสมชาย เข็มกลัด
คุณปราโมทย์ แสงศร
คุณศักดิ์ศิลป์ สุวรรณเกต
คุณจักรกฤษณ์ อำมรัตน์
คุณสายฟ้า เศรษฐบุตร
คุณเพ็ญเพ็ชร เพ็ญกุล
(โดยในช่วงแรก
ของการเปิดตัว
ในช่วงต้นปี
ของปี พ.ศ. 2535
รายการนี้
มีพิธีกรหลัก
จำนวน 4 ท่าน
คือ คุณเอ็ม
สุรศักดิ์ วงษ์ไทย
คุณเต๋า สมชาย เข็มกลัด
คุณโมทย์ ปราโมทย์ แสงศร
และ คุณอาร์ต
ศักดิ์ศิลป์ สุวรรณเกต
จากผลงานภาพยนตร์
แนว วัยรุ่น / ตลก
เรื่อง กลิ้งไว้ก่อนพ่อสอนไว้
และ มอร์แกน 99 ครึ่งก็ถึงได้
จากนั้นในช่วงกลางปี
ของปี พ.ศ. 2535
ซึ่งเข้าสู่ช่วงที่สอง
ของรายการ
ทางทีมงาน
และบริษัทไฟว์สตาร์
เอ็นเตอร์เทนเมนท์
ก็ได้มีการปรับเปลี่ยน
ในด้านพิธีกรหลัก
มาเป็นคุณต้น
จักรกฤษณ์ อำมรัตน์
มาเป็นพิธีกรหลัก
แทนคุณเอ็ม
สุรศักดิ์ วงษ์ไทย
ที่มีความสนใจ
ในงานเบื้องหลัง
และมีการเปิดตัว
คุณฟ้า สายฟ้า เศรษฐบุตร
ซึ่งในขณะนั้น
เป็นนักแสดงวัยรุ่น
ในบทพระเอกนำ
ของบริษัทไฟว์สตาร์
มาเป็นพิธีกรประจำ
แทนคุณอาร์ต
ศักดิ์ศิลป์ สุวรรณเกตุ
นอกจากนี้
ในช่วงกลางปี
ของปี พ.ศ. 2536
ก็ได้มีการปรับเปลี่ยน
ในด้านพิธีกร
อีกครั้งหนึ่ง
จากการเปิดตัว
คุณแจ๊บ เพ็ญเพ็ชร เพ็ญกุล
นักแสดง / นายแบบวัยรุ่น
ที่กำลังได้รับความนิยม
ในช่วงเวลานั้น
มาเป็นพิธีกรประจำ
แทนคุณเต๋า
สมชาย เข็มกลัด
ที่ในขณะนั้น
กำลังเริ่มต้น
การทำงาน
ในฐานะนักร้อง
ภายใต้สังกัด
บริษัทอาร์เอส
ทำให้มีการปรับเปลี่ยน
ในด้านพิธีกร
ของทางรายการ
อีกครั้งหนึ่ง)
และภาพรวม
ของรายการโทรทัศน์
แนว วัยรุ่น / วาไรตี้
สร้างสรรค์สังคม
ในชื่อ 4+1 ถึงจะเท่ห์
ที่มีการแพร่ภาพ
ทางสถานีโทรทัศน์ช่อง 3
ในช่วงปี พ.ศ. 2535
ถึงปี พ.ศ. 2536
ที่ผ่านมานั้น
จากข้อมูล
บทความพิเศษ
ในนิตยสารวัยรุ่น
ชื่อ เธอกับฉัน
ฉบับที่ 212
ซึ่งเป็นปักษ์แรก
ของเดือนกันยายน
ในปี พ.ศ. 2535
รายการโทรทัศน์
รายการนี้นั้น
แบ่งเนื้อหา
ของรายการ
ออกเป็น 4 ช่วง
โดยนอกจากช่วงแรก
ซึ่งเป็นการเปิดตัว
ที่จะมีพิธีกรหลัก
ทั้งสี่ท่าน
มาร่วมพูดคุย
เพื่อเปิดรายการ
ในช่วงต่อมา
ของแต่ละเทปนั้น
ก็จะแบ่งเนื้อหา
ไปตามการทำงาน
ของพิธีกรหลัก
ในแต่ละท่าน
โดยช่วงแรก
คือ เรารักโรงเรียน
ซึ่งมีพิธีกรหลัก
คือ คุณเต๋า
สมชาย เข็มกลัด
(ในช่วงปี พ.ศ. 2536
มีการปรับเปลี่ยน
เป็น คุณแจ๊บ
เพ็ญเพ็ชร เพ็ญกุล)
จะมีเนื้อหา
ในการไปเยี่ยมชม
สถาบันการศึกษา
ที่หลากหลาย
โดยมีการนำเสนอ
ในด้านข้อมูล
รวมถึงมีบทสัมภาษณ์
เหล่านักเรียน
ของโรงเรียนเหล่านั้น
โดยสำหรับเนื้อหา
ในช่วงต่อมา
ของทางรายการ
คือ หวังไว้สักวันหนึ่ง
ซึ่งมีพิธีกรหลัก
คือ คุณโมทย์
ปราโมทย์ แสงศร
จะมีเนื้อหา
และการนำเสนอ
ในรูปแบบ
ของละครสั้น
ที่เป็นการนำเสนอ
ในด้านปัญหา
ของเหล่าวัยรุ่น
โดยในช่วงท้าย
ของแต่ละตอน
แต่ละอาทิตย์นั้น
ก็จะมีจิตแพทย์
มาให้คำแนะนำ
ในการแก้ไขปัญหา
รวมถึงชี้เเนะ
ในด้านแนวทาง
ของการปรับตัว
สำหรับผู้ชม
ที่เป็นวัยรุ่น
โดยสำหรับเนื้อหา
ในช่วงที่ 3
ของทางรายการ
คือ ช่วงกระดี๊กระด๊า
ซึ่งมีพิธีกรหลัก
คือ คุณอาร์ต
ศักดิ์ศิลป์ สุวรรณเกต
ก็จะมีเนื้อหา
เป็นการรวมสนุก
เพื่อชิงรางวัล
จากผู้สนับสนุน
ของทางรายการ
โดยคุณอาร์ตนั้น
จะไปพบปะ
และร่วมเล่นเกม
กับเหล่าแฟนๆ
ของทางรายการ
ที่สยามเซ็นเตอร์
ในทุกอาทิตย์
ที่มีการบันทึกเทป
(โดยในช่วงกลางปี
ของปี พ.ศ. 2535
มีการปรับเปลี่ยน
ในด้านเนื้อหา
เป็น ช่วงคิดถึง
ซึ่งเป็นการสัมภาษณ์
เหล่านักแสดงวัยรุ่น
และเพื่อนสนิท
ของนักแสดง
ท่านนั้นๆ
โดยในช่วงใหม่
ที่มาแทนนี้
ก็จะมีคุณฟ้า
สายฟ้า เศรษฐบุตร
มาเป็นพิธีกรหลัก
ของทางรายการ
เป็นการทดแทน)
สำหรับช่วงที่ 4
ซึ่งเป็นช่วงพิเศษ
ของทางรายการนั้น
คือ ช่วงหนึ่งนี้คือใคร
จะเป็นการเปิดตัว
พิธีกรคนที่ 5
ของทางรายการ
ซึ่งจะมีการปรับเปลี่ยน
ไปในทุกอาทิตย์
โดยพิธีกรพิเศษ
ท่านนี้นั้น
นอกจากการพูดคุย
กับพิธีกรหลัก
ทั้งสี่ท่าน
นักแสดงวัยรุ่น
ผู้ทำหน้าที่
เป็นพิธีกรพิเศษ
ก็จะพาผู้ชม
ไปเยี่ยมชม
ในด้านเบื้องหลัง
ของการผลิต
ผลงานภาพยนตร์
ละครโทรทัศน์
รายการโทรทัศน์
มิวสิควิดีโอ
และโฆษณาต่างๆ
ที่มีการผลิต
และมีความน่าสนใจ
ในช่วงเวลานั้น
จากความทรงจำ
ของผู้เขียนบลอก
รายการโทรทัศน์
ในชื่อ 4+1 ถึงจะเท่ห์
ที่มีการแพร่ภาพ
ทางสถานีโทรทัศน์ช่อง 3
ในช่วงปี พ.ศ. 2535
ถึงปี พ.ศ. 2536
ถือเป็นรายการโทรทัศน์
แนวสร้างสรรค์
สำหรับวัยรุ่น
อีกรายการหนึ่ง
ที่ประสบความสำเร็จ
และได้รับความนิยม
จากผู้ชมทางบ้าน
ซึ่งเป็นเหล่าวัยรุ่น
ในช่วงต้นยุค 90
ซึ่งจากความสำเร็จ
ของทางรายการ
ที่ทำให้สถานีโทรทัศน์ช่อง 3
ได้มีการอนุมัติ
ให้มีการผลิต
ตอนพิเศษ
ของทางรายการ
ในชื่อ 4+1
in Honk Kong
ซึ่งเป็นตอนพิเศษ
จากการที่พิธีกร
และทีมงาน
ได้ยกกองถ่ายทำ
ไปบันทึกภาพสวยๆ
จากเกาะฮ่องกง
มาฝากผู้ชม
รวมถึงมีการอนุมัติ
ให้มีการสร้างสรรค์
รายการโทรทัศน์
แนว วัยรุ่น / วาไรตี้
สร้างสรรค์สังคม
ในชื่อ นะคะ
ที่มีความคล้ายคลึง
กับ 4+1 ถึงจะเท่ห์
ออกมาแพร่ภาพ
ในระะยเวลา
ที่ใกล้เคียงกัน
(โดยรายการโทรทัศน์
ในชื่อ นะคะ
ถือเป็นรายการโทรทัศน์
สำหรับกลุ่มผู้ชม
ที่เป็นเหล่าวัยรุ่น
ซึ่งเป็นเด็กผู้หญิง
ที่มีพิธีกรหลัก
จำนวน 4 ท่าน
คือ คุณตั๊ก มยุรา ธนะบุตร
คุณยุ้ย ปัทมวรรณ เค้ามูลคดี
คุณเกด นารากร โลหะชาละ
และ คุณนุ๊ก
สุทธิดา เกษมสันต์ ณ อยุธยา
รวมถึงมีเวลา
ในการออกอากาศ
ในช่วงเช้า
ของสุดสัปดาห์
เช่นเดียวกัน
กับรายการนี้
เพื่อเป็นการดึงดูดใจ
กลุ่มผู้ชมวัยรุ่น
ให้ติดตามชม
ทางสถานีโทรทัศน์ช่อง 3
ทั้งในช่วงวันเสาร์
และวันอาทิตย์)
นอกจากนี้
ความพิเศษ
อีกด้านหนึ่ง
ของรายการโทรทัศน์
ในชื่อ 4+1 ถึงจะเท่ห์
คือการเป็นรายการโทรทัศน์
ที่ประสบความสำเร็จ
และได้รับความนิยม
จากกลุ่มผู้ชม
ซึ่งเป็นเหล่าวัยรุ่น
จนทางสถานีโทรทัศน์ช่อง 3
และบริษัทไฟว์สตาร์
เอ็นเตอร์เทนเมนท์
ได้มีการจัดงาน
การแสดงคอนเสริต์
สำหรับผู้ชม
ของทางรายการ
โดยสำหรับข้อมูล
ของการจัดงาน
ในครั้งนั้นนั้น
คอนเสิรต์ใหญ่
ในชื่อ คอนเสิรต์เลข 4
(วันนี้ไม่มีพิธีกร)
มีการจัดการแสดงขึ้น
ในวันที่ 1 พฤศจิกายน พ.ศ. 2535
ที่เอ็มบีเค ฮอลล์
ห้างสรรพสินค้ามาบุญครอง
(มีการจำหน่ายบัตร
ในราคา 144 / 244
344 / 444 บาท)
โดยการแสดง
ในครั้งนั้น
มีผู้แสดงหลัก
คือพิธีกร
ทั้งสี่ท่าน
ในช่วงที่ 2
ซึ่งเป็นยุคเฟื่องฟู
ของทางรายการ
คือ คุณต้น จักรกฤษณ์ อำมรัตน์
คุณเต๋า สมชาย เข็มกลัด
คุณโมทย์ ปราโมทย์ แสงศร
คุณฟ้า สายฟ้า เศรษฐบุตร
และมีแขกรับเชิญ
มาร่วมแสดงเป็นพิเศษ
ในการจัดงานครั้งนั้น
คือ คุณเอ็ม สุรศักดิ์ วงษ์ไทย
คุณปุ้ย สลักจิต ดลมินทร์
คุณแจ๊บ เพ็ญเพ็ชร เพ็ญกุล
คุณธัญญ่า ธัญญาเรศ รามณรงค์
คุณหนุ่ม สันติสุข พรหมศิริ
คุณหน่อย บุษกร พรวรรณะศิริเวช
คุณพีท พันธกานต์ ทองเจือ
คุณแอน อังคณา ทิมดี
คุณตรี สุขเกษม
คุณนก รัชนก พูลผลิน
คุณเล็ก ศรัณย์ สาครสิน
คุณเปิ้ล นาตาชา คอฟแมน
และ คุณต้น เฉลิมพล บุญรอด
(เป็นการบันทึก
จากข้อมูลต่างๆ
ในช่วงปี พ.ศ. 2535
ถึงปี พ.ศ. 2536
เพียงเท่านั้น
โดยหากมีข้อมูล
ที่ผิดพลาด
หรือไม่ครบถ้วน
ผู้เขียนบลอก
ต้องขออภัย
ไว้ ณ ที่นี้)