ปู พงษ์สิทธิ์ คำภีร์

ในปี พ.ศ. 2534

บริษัทรถไฟดนตรี

ได้เสนอผลงานเพลง

ในอัลบั้มชุดที่สอง

ของคุณปู

พงษ์สิทธิ์ คำภีร์

ในชื่อชุด เสือตัวที่ 11

หลังจากนักร้องหนุ่มท่านนี้

มีอัลบั้มเพลงชุดแรก

ในชื่อ ถึงเพื่อน

ในปี พ.ศ. 2530

และจากอัลบั้มเพลง

ในชุดที่ 2 ของเขานี้นี่เอง

ที่สร้างชื่อเสียง

ในวงการดนตรี

ให้กับคุณปู

ก่อนจะมีผลงานเพลง

ในแนวเพลงเพื่อชีวิต

ตามมาอีกมากมาย

ซึ่งก็ได้รับความนิยม

จากผู้ฟังทางบ้าน

อย่างต่อเนื่อง

มาจนถึงในปัจจุบันนี้


สำหรับประวัติส่วนตัว

ของนักร้องหนุ่ม

ผู้มีความสามารถท่านนี้

คุณปู พงษ์สิทธิ์ คำภีร์

เกิดวันที่ 2 พฤศจิกายน พ.ศ. 2510

ใช้ชีวิตและเติบโต

ในจังหวัดหนองคาย

คุณพ่อของคุณปู

คือ คุณสุดใจ

มีอาชีพช่างไม้

ในโรงพยาบาล

คุณแม่ของเขา

คือ คุณสมพร

ประกอบอาชีพ

เป็นผู้ช่วยพยาบาล

(ข้อมูลในปี พ.ศ. 2534)

โดยคุณปูเองนั้น

เป็นลูกชายคนเล็ก

ในจำนวนสามพี่น้อง

พี่ชายคนโตของเขา

ชื่อ คุณสมศักดิ์

และมีพี่สาวคนรอง

ชื่อ คุณเสาวลักษณ์


สำหรับในด้านการศึกษา

คุณปู พงษ์สิทธิ์ คำภีร์

เริ่มต้นการศึกษา

จากการเข้าเรียน

ชั้นก่อนอนุบาล

ที่โรงเรียนนิคมศึกษา

จากนั้นมาต่อชั้นอนุบาล

จนจบชั้นประถมศึกษา

ที่โรงเรียนวัดอรุณรังษี

โดยคุณปูสำเร็จการศึกษา

ในระดับชั้นมัธยมต้น

จากโรงเรียนประถม

เทพวิทยาคาร

ในจังหวัดหนองคาย

จากนั้นจึงมาศึกษาต่อ

ในระดับชั้น ปวช.

ที่วิทยาลัยเทคนิค

ไทย-เยอรมัน

ในแผนก ช่างกลโรงงาน

ที่จังหวัดขอนแก่น

(ข้อมูลถึงปี พ.ศ. 2534 เท่านั้น)


ความสนใจในด้านดนตรี

ของคุณปู พงษ์สิทธิ์ คำภีร์

เริ่มขึ้นตั้งแต่เขาศึกษา

อยู่ในระดับชั้นประถม

จากการที่พี่ข้างบ้าน

ของคุณปูนั้น

สอนให้เขาลองเล่น

และให้ยืมกีตาร์มาใช้

คุณปูจึงหัดเล่นกีตาร์

และฝึกฝนตัวเองมาเรื่อยเรื่อย

จากความรักในดนตรี

ทำให้เขาเริ่มการแต่งเพลง

โดยมีเพลงแรกที่เขาแต่ง

ในเส้นทางนักดนตรี

คือ เพลง ผีโรงเย็น

ซึ่งสามารถแต่งขึ้นมาได้

ขณะที่เรียนอยู่ชั้น ป.6 เท่านั้น

โดยเพลงแรกของเขา

ได้รับแรงบันดาลใจ

มาจากประสบการณ์ในชีวิต

ที่ครอบครัวของเขานั้น

มีบ้านอยู่ใกล้กัน

กับห้องเก็บศพ

ของโรงพยาบาล

ซึ่งเพลงแรกของคุณปู

ก็สะท้อนมุมมอง

ต่อโลกและสังคม

ในสายตาของเขา

ได้เป็นอย่างดี


คุณปู พงษ์สิทธิ์ คำภีร์

ใช้ชีวิตของการเป็นนักดนตรี

ด้วยความจริงจัง

ในช่วงที่อยู่ขอนแก่น

จากการเป็นนักดนตรี

ในวงของวิทยาลัยเทคนิค

ไทย-เยอรมัน

ที่นอกจากจะมีงานแสดง

ในวิทยาลัยแล้ว

เขายังเล่นดนตรีอาชีพ

เพื่อหาค่าใช้จ่าย

และค่าเล่าเรียน

ของตนเอง

และจากการเล่นเปิด

ให้กับวงคาราวาน

ที่มาเเสดงดนตรี

ในจังหวัดขอนแก่น

ซึ่งในงานแสดงครั้งนี้

ทำให้เขาได้รู้จัก

กับคุณหงา

สุรชัย จันทิมาธร

และสมาชิกท่านอื่นๆ

ในวงคาราวาน

จากการเข้าไปพูดคุย

และแนะนำตัวในวันนั้น

ซึ่งจากความถูกชะตา

และพุดคุยกันอย่างถุกคอ

ทำให้คุณหงา

ชักชวนคุณปู

ว่าถ้าเรียนจบปวช

ให้ลองเข้ามากรุงเทพ

เพื่อทำงานด้านดนตรีด้วยกัน

โดยคุณหว่อง

มงคล อุทก

ได้ให้ที่อยู่ของวง

ในกรุงเทพไว้

ถ้าหากคุณปูนั้น

ตัดสินใจที่จะไปกรุงเทพ


คุณปู พงษ์สิทธิ์ คำภีร์

ตัดสินใจไปกรุงเทพ

หลังจบการศึกษา

ในระดับ ปวช.

ที่จังหวัดขอนแก่น

โดยขึ้นมากรุงเทพ

ด้วยความรักในดนตรี

และเงินจำนวน 34 บาท

กับเสื้อผ้าอีกสองสามชุด

โดยเขาตัดสินใจ

ไปพักกับเพื่อน

ที่อยู่ที่ราม 2

ก่อนจะเข้าไปทำงาน

ในวงดนตรีคาราวาน

โดยได้รับโอกาส

ให้เป็นผู้เล่นเปิด

ในคอนเสริต์ต่างๆ

ของวงคาราวาน

โดยในการแสดงแต่ละครั้ง

คุณปูแสดงอย่างเต็มที่

โดยมักจะเล่นเพลง

ที่เขาแต่งขึ้นมาเอง

และมีความหวังในใจ

ว่าจะออกอัลบั้มเพลง

ที่มีบทเพลงในอัลบั้ม

เป็นเพลงจากความรู้สึก

ที่เขาแต่งขึ้นด้วยตนเอง


อัลบั้มเพลงชุดแรก

ของคุณปู

พงษ์สิทธิ์ คำภีร์

เปิดตัวและออกวางแผง

ทั่วประเทศ

ในปี พ.ศ. 2530

ในชื่อชุดว่า ถึงเพื่อน

โดยเป็นการออกผลงานเพลง

ในสังกัด บริษัทแว่วหวาน

โดยเขามีโอกาส

ได้เข้ามาทำอัลบั้มเพลง

จากการชักชวน

ของคุณเล็ก

ปรีชา ชนะภัย

สมาชิกวงคาราบาว

ซึ่งในอัลบั้มชุดนี้

ก็ได้รับตำแหน่ง

โปรดิวเซอร์

ให้กับอัลบั้มชุดนี้ด้วย

โดย 8 ใน 10 เพลง

ในอัลบั้มชุดนี้

มาจากฝีมือการแต่งเพลง

ของคุณปูเอง

โดยอีกสองเพลงนั้น

เป็นฝีมือการแต่งเพลง

ของคุณสุเทพ

สมาชิกวงซูซู

โดยอัลบั้มชุดแรกนี้

มีเพลงที่ได้รับความนิยม

จากผู้ฟังทางบ้าน

อย่าง พเนจร สู้

โดยคุณปูเองก็เริ่มเป็นที่รู้จัก

จากการไปร่วมทัวร์คอนเสริต์

กับวงคาราวาน ซูซู

และวงกะท้อน

ในขณะที่ออกอัลบั้มชุดแรก

กับทางบริษัทแว่วหวาน







คุณปู พงษ์สิทธิ์ คำภีร์

เป็นที่รู้จักในวงกว้าง

และประสบความสำเร็จ

ในวงการดนตรีอย่างสูง

ทั้งในกลุ่มผุ้ฟัง

ที่มีความชื่นชอบ

ในดนตรีเพื่อชีวิต

รวมถึงกลุ่มผู้ฟัง

ที่ไม่เคยฟังแนวนี้มาก่อน

ซึ่งกลุ่มแฟนเพลง

ที่ค่อนข้างกว้างของเขานี้

ถือเป็นเอกลักษณ์

ที่โดดเด่นของเขา

ในวงการบันเทิงก็ว่าได้

ซึ่งอัลบั้มเพลง

ในชุดที่ 2 ของเขา

ที่ชื่อว่า เสือตัวที่ 11

ที่ออกวางแผง

ทั่วประเทศ

ในปี พ.ศ. 2534 นี้

เป็นการทำงานเพลง

ในสังกัด รถไฟดนตรี

โดยเป็นจากการชักชวน

ของคุณกิตติ กีตาร์ปืน

โดยบทเพลงต่างต่าง

ในอัลบั้มชุดที่ 2 นี้

ได้รับความนิยมอย่างสูง

จากผู้ฟังในวงกว้าง

จากลักษณะเฉพาะตัว

ในบทเพลงที่ให้ความรู้สึก

ถึงความรัก ความเหงา

ตีแผ่ความรู้สึก

ต่อชีวิต สังคม โลก

ผ่านเสียงร้องสุดเหงา

เนื้อเพลงที่ไพเราะ

และเสียงกีตาร์ฝีมือดี

ทำให้เขาเป็นที่นิยม

ในระดับศิลปินแถวหน้า

และมีผลงานเพลง

ตามมาอีกมากมาย

ต่อเนื่องมาจนถึงปัจจุบันนี้

โดยในอัลบั้มชุดนี้

ได้ส่งให้คุณปูนั้น

ได้รับรางวัล

ศิลปินเพลงยอดเยี่ยม

จากการประกาศรางวัล

ของสมาคมดนตรี

แห่งประเทศไทย

ในปี พ.ศ. 2534

มาครอง








บทเพลงไพเราะ

ส่วนหนึ่ง

ของคุณปู

พงษ์สิทธิ์ คำภีร์

ในความทรงจำ

ของผู้เขียนบลอก

มีดังนี้ ตลอดเวลา

ถึงเพื่อน ไถ่เธอคืนมา

คิดถึง สุดใจฝัน

ใจเกินร้อย

6 ต.ค. 2519

(เพลงยอดเยี่ยม

ปี พ.ศ. 2539

จากการประกาศรางวัล

สีสันอวอร์ด 1998)

มาตามสัญญา สุดใจ

เสือตัวที่ 11 แรงยังมี

คืนเปลี่ยว นักแสวงหา

เธอผู้เสียสละ แค่นั้น

เรียนและงาน โยโกฮาม่า

เราจะกลับมา ออนซอน

(ได้รับรางวัล

บันทึกเสียงยอดเยี่ยม

สีสันอวอร์ด ปี 1999 )

ความเข้มเเข็งสุดท้าย หวัง ฯลฯ


โดยนอกจากผลงานเพลง

ในอัลบั้มชุดต่างๆแล้ว

คุณปู พงษ์สิทธิ์ คำภีร์

ยังเป็นที่จดจำ

และได้รับความนิยม

จากผู้ฟังอย่างสูง

จากการเป็นผู้แต่งเพลง

เพื่อใช้ประกอบละครโทรทัศน์

ในช่วงต้นยุค 90 ที่ผ่านมา

โดยเพลงประกอบละครโทรทัศน์

เพลงแรกที่เขาแต่งนั้น

คือ ผู้การเรือเร่

ซึ่งมีเนื้อหาสนุกสนาน

เข้ากับเรื่องราว

ของละครฮิตเรื่องนี้

โดยมีความแตกต่างอย่างมาก

จากแนวเพลงของเขา

ในอัลบั้มชุดต่างๆ

ซึ่งนั่นก็แสดงถึง

ความสามารถ

และพรสวรรค์

ในการแต่งเพลงของเขา

โดยบทเพลงที่คุณปูแต่ง

เพื่อใช้ประกอบละครโทรทัศน์

ที่มีความโดดเด่นมากที่สุด

รวมถึงที่ได้รับความนิยม

จากผู้ฟังทางบ้านอย่างมาก

คือเพลง ตะวันชิงพลบ

ซึ่งเพลงคุณภาพเพลงนี้

ได้รับรางวัลในสาขา

เพลงประกอบละครโทรทัศน์

ในการประกาศรางวัล

โทรทัศน์ทองคำ

ประจำปี พ.ศ. 2534


คุณปู พงษ์สิทธิ์ คำภีร์

ยังคงมีผลงานเพลง

อย่างต่อเนื่อง

ในวงการดนตรี

มาจนถึงในทุกวันนี้

โดยมีผลงานเพลง

ทั้งในอัลบั้มเต็ม อัลบั้มพิเศษ

บันทึกการแสดงคอนเสริต์

ทั้งในรูปแบบ cd และ dvd

รวมถึงอัลบั้มเพลงฮิตต่างๆ

ออกวางวางจำหน่าย

ให้ได้ติดตามเสมอ

นอกจากนี้บทเพลงต่างๆ

ที่มีความไพเราะ

ในอัลบั้มเต็มที่ผ่านมา

ของคุณปูนั้น

ยังคงได้รับความนิยม

จากผู้ฟังทางบ้าน

มาจนถึงในทุกวันนี้

โดยยังคงได้รับการเปิด

ตามคลื่นวิทยุต่างๆเสมอ

จากความไพเราะ

และคุณค่า

ของบทเพลง

นอกจากนี้คุณปู

ยังคงเป็นนักร้อง

นักดนตรี นักแต่งเพลง

ที่มีงานแสดงคอนเสริต์

ให้ได้ติดตามกันอย่างต่อเนื่อง

และเป็นศิลปินเพลง

ในแนวเพื่อชีวิต

ที่มีฐานแฟนเพลง

ที่มีเหนียวแน่น

อีกคนหนึ่ง

ในวงการดนตรี

ของเมืองไทย






นิตยสารเก่าในความทรงจำ

นิตยสารเก่าในความทรงจำ
นิตยสารลลนา (1973-1995)

สโมสรผึ้งน้อย (1984)

บทความเก่าของบลอก

บทความเก่าของบลอก
แหม่ม พัชริดา วัฒนา

นิตยสารเก่าในความทรงจำ

นิตยสารเก่าในความทรงจำ
นิตยสารทีวีรีวิว (1972-1992)

SAN MIGUEL BEER (1989)

บทความเก่าของบลอก

บทความเก่าของบลอก
เมย์ ศศลักษณ์ พันธุ์หาญ

SVESVESB / YASUO MIYATA (1982)

การ์ตูนเก่าในความทรงจำ

การ์ตูนเก่าในความทรงจำ
เอล (1992-1995)

SEVENTH HEAVEN (1996-2007)

เสือ 11 ตัว (2001)

เสือ 11 ตัว (2001)

NIVEA SKIN LOTION (1988)

บทความเก่าของบลอก

บทความเก่าของบลอก
เจี๊ยบ ศักราช ฤกษ์ธำรงค์

BALENO / DAVID WU (1989)

นิตยสารเก่าในความทรงจำ

นิตยสารเก่าในความทรงจำ
นิตยสารแพรวสุดสัปดาห์ (1983)

สิงห์โกลด์ไลท์เบียร์ (1989)

From Me To You


การจัดทำบลอกนี้

เกิดจากความรู้สึก

ที่ผู้เขียนบลอก

อยากจะบันทึก

ความทรงจำ

ในช่วงเวลา

ของวันเก่าๆ

ผ่านเส้นทาง

จากเรื่องราว

และผลงานต่างๆ

ของเหล่าดารา

นักร้อง นักแสดง

นายแบบ นางแบบ

นักเขียน ฯลฯ

ซึ่งมีความเกี่ยวข้อง

กับศิลปะบันเทิง

ในช่วงยุคสมัย

ก่อนการมาถึง

ของอินเทอร์เน็ต

ที่แพร่หลาย

ในสังคมไทย

อย่างในทุกวันนี้

ซึ่งในการจัดทำ

ผู้เขียนบลอก

ได้รวบรวม

เรื่องราวต่างๆ

จากความทรงจำ

และค้นข้อมูล

โดยนำรูปภาพ

จากนิตยสารต่างๆ

ในช่วงเวลาอดีต

นำมารวบรวม

และเรียบเรียง

ให้เป็นภาพชัดเจน

ขึ้นมาอีกครั้ง

ด้วยสิ่งที่ตนเองนั้น

ยังคงเก็บไว้

ด้วยความมุ่งหวัง

ในการนำเสนอ

ด้วยความให้เกียรติ

ผ่านการนำเสนอ

ในด้านที่สวยงาม

ซึ่งในการจัดทำ

บทความต่างๆ

ซึ่งต้องใช้ภาพ

จากนิตยสารแฟชั่น

และนิตยสารบันเทิง

ในฉบับต่างๆ

จากช่วงยุค 70

ถึงช่วงปลายยุค 90

ซึ่งภาพทั้งหมดนั้น

ถือเป็นลิขสิทธิ์

ของนิตยสาร

และช่างภาพ

ท่านต่างๆ

ทำให้ผู้เขียนบลอก

มีความตั้งใจ

ที่จะจัดทำบลอกนี้

โดยไม่แสวงผลกำไร

และไม่เปิดรับโฆษณา

เพื่อเป็นการยุติธรรม

ต่อเจ้าของภาพ

ในนิตยสาร หนังสือ

และวีดีโอต่างๆ

ที่ผู้เขียนบลอก

นำมาเรียบเรียงไว้

ในบทความ

โดยในการจัดทำ

ผู้เขียนบลอก

อยากจะขอขอบคุณ

นิตยสารและช่างภาพ

ซึ่งเป็นเจ้าของภาพ

สำหรับภาพสวยๆ

ในทุก-ทุกรูป

และอยากจะขอ

ความกรุณา

จากผู้อ่านทุกท่าน

ที่จะนำข้อมูล

และภาพต่างๆ

ในบลอกนี้

ซึ่งผู้เขียนบลอก

ไม่ใช่เจ้าของ

ในด้านลิขสิทธิ์

นำไปเผยแพร่

ขอให้ทุกท่าน

ที่จะนำภาพไปใช้

ขอให้นำไปใช้

โดยมิใช่เพื่อการค้า

หรือนำไปรวบรวมใว้

ในเวบไซต์ เพจ

หรือบลอกต่างๆ

ที่มีการลงโฆษณา

หรือนำไปประกอบ

ในข้อความ บทความ

ที่จะเป็นการล่วงเกิน

ผู้ที่เป็นแบบ

ในภาพนั้นๆ

จากการนำไปใช้

ร่วมกับข้อความ

ที่มีข้อมูล

ในด้านลบ

หรือใช้ถ้อยคำ

ที่มีความหยาบคาย

ซึ่งจะสร้างความเสียหาย

ให้กับผู้เป็นแบบ

ซึ่งอยู่ในภาพ

ท่านนั้นๆ

SUMMER CONCERT / JIMMY LIN (1992)

นิตยสารเก่าในความทรงจำ

นิตยสารเก่าในความทรงจำ
นิตยสารซินีแม๊ก (1994-2002)

SUCCESS / EISAKU YOSHIDA (1989)

บทความเก่าของบลอก

บทความเก่าของบลอก
Eisaku Yoshida

DIG MEN / TAKAHASHI BROTHERS (1989)

DAWSON'S CREEK (1998-2003)

บทความเก่าของบลอก

บทความเก่าของบลอก
นุ๊ก สุทธิดา เกษมสันต์ ณ อยุธยา

ชาวเวอร์ทูชาวเวอร์ / จอนนี่ แอนโฟเน่ (1989)

บทความเก่าของบลอก

บทความเก่าของบลอก
ลางลิขิต (2001)

โฆษณาเครื่องดื่มเป็ปซี่ / พีท ทองเจือ (1992)

นิตยสารเก่าในความทรงจำ

นิตยสารเก่าในความทรงจำ
Movie Time Magazine (1997-2009)

บทความเก่าของบลอก

บทความเก่าของบลอก
แพท พัสสน ศรินทุ

MELROSE PLACE (1992-1999)

นิตยสารเก่าในความทรงจำ

นิตยสารเก่าในความทรงจำ
Gift Magazine (1981-1992)
ในช่วงยุค 70-90 นั้น

สื่อสิ่งพิมพ์ประเภทการ์ตูน

ที่เข้ามาแพร่หลาย

ในประเทศไทยนั้น

ยังไม่ได้อยู่ภายใต้การบังคับ

ของกฎหมายลิขสิทธิ์

อย่างที่เกิดขึ้น

ในประเทศไทย

ในช่วงปี พ.ศ. 2535

ทำให้วงการการ์ตูน

ในประเทศไทย

ในขณะนั้น

มีการแข่งขันกัน

ระหว่างสำนักพิมพ์ต่างๆ

ในการตีพิมพ์และวางจำหน่าย

ผลงานการ์ตูนเรื่องดังๆ

จากประเทศญี่ปุ่น

จากเหตุผลในข้อนี้เอง

ทำให้เกิดนิตยสารการ์ตูน

เพื่อที่จะได้มีการแปล

และวางจำหน่าย

ให้ทันกับต้นฉบับ

ของนิตยสารการ์ตูน

ที่วางขายในประเทศญี่ปุ่น

และ กิฟท์ แม็กกาซีน

ของ ไลน์อาร์ทแพลนนิ่ง

ถือเป็นหนึ่งในนิตยสารการ์ตูน

สำหรับเด็กผู้หญิง

ที่โด่งดังมากที่สุด

ในช่วงยุค 80

ที่ผ่านมา

จากการมีการ์ตูนเรื่องดังๆ

อย่าง ไซเฟอร์ ไอบอย

เลขรักพิสดาร

อสูรน้อยกระซิบรัก

ตีพิมพ์เป็นประจำ

โดยนอกจากการ์ตูนฮิตเหล่านี้

กิฟท์ แม็กกาซีน

ยังมีลักษณะเฉพาะ

ที่มีความพิเศษ

ที่เป็นที่ชื่นชอบ

ของผู้อ่านมากมาย

จนกลายเป็นนิตยสารการ์ตูน

สำหรับเด็กผู้หญิง

ที่ยังคงอยู่ในความทรงจำ

ของผู้อ่านทุก-ทุกคน

มาจนถึงในทุกวันนี้

โดยผู้อ่านบลอก

ที่สนใจและชื่นชอบ

ในนิตยสารเล่มนี้

สามารถอ่านบทความ

และชมภาพทั้งหมด

ได้ในหัวข้อ 80 thai magazine

และ 90 thai magazinr

บทความเก่าของบลอก

บทความเก่าของบลอก
มารยาริษยา (1998)

SUNTORY NCAA / KOJI KIKKAWA (1985)

บทความเก่าของบลอก

บทความเก่าของบลอก
ต่อ กันติ ธรรมาณิชานนท์

MR PRIVATE EYE / CITY HUNTER (1987)

คิขุอาโนเนะ / วงบอยสเก๊าท์ (1993)

บทความเก่าของบลอก

บทความเก่าของบลอก
ธรรม์ โทณะวณิก

THE DREW CAREY SHOW (1995-2004)

นิตยสารเก่าในความทรงจำ

นิตยสารเก่าในความทรงจำ
นิตยสารอานนท์ (1993-1995)

SUNTORY / KAORU KOBAYASHI (1987)

การ์ตูนเก่าในความทรงจำ

การ์ตูนเก่าในความทรงจำ
รักทระนง (1987)

JAL OKINAWA / TORU KAZAMA (1989)

บทความเก่าของบลอก

บทความเก่าของบลอก
Taishu Kase

BEVERLY HILLS 90210 (1990-2000)

นิตยสารเก่าในความทรงจำ

นิตยสารเก่าในความทรงจำ
HELLO MAGAZINE (1985-1989)

LOVE LIGHT / YU HAYAMI (1982)

นิตยสารเก่าในความทรงจำ

นิตยสารเก่าในความทรงจำ
นิตยสารบงกช (1981-1989)

PRIVATE LIFE / SHONENTAI (1987)

Shonentai / 少年隊

ในช่วงยุค 80

ที่ผ่านมานั้น

ถือเป็นช่วงยุคเฟื่องฟู

ของเหล่านักแสดง

นักร้องวัยรุ่น

ขวัญใจวัยรุ่น

จากประเทศญี่ปุ่น

ที่เริ่มเป็นที่รู้จัก

และมีชื่อเสียง

ในประเทศไทย

โดยหลังจากความสำเร็จ

ของละครโทรทัศน์

เรื่อง เคนโด้

ข้าคือลุกผู้ชาย

รวมถึงละครโทรทัศน์

แนวกีฬา

จากประเทศญี่ปุ่น

อีกหลายๆเรื่อง

ที่เข้ามาแพร่ภาพ

และได้รับความนิยม

ในประเทศไทย

ในช่วงยุค 70

ผู้ชมชาวไทย

ก็เริ่มจะเปิดรับ

ผลงานเพลง

ละครโทรทัศน์

และภาพยนตร์เรื่องต่างๆ

จากประเทศญี่ปุ่น

โดยในฐานะ

กลุ่มนักร้อง

ขวัญใจวัยรุ่น

สามนักร้องหนุ่มหล่อ

วง Shonentai

ถือเป็นกลุ่มนักร้อง

จากประเทศญี่ปุ่น

ที่ได้รับความนิยม

จากสาวๆชาวไทย

มากที่สุด

ในช่วงยุค 80

ซึ่งความโด่งดัง

ของพวกเขา

ทำให้ผู้ชม

ในประเทศไทยเอง

ได้มีโอกาสต้อนรับ

และเข้าชมคอนเสริต์

ของพวกเขา

ที่มีการจัดขึ้น

ในประเทศไทย

ซึ่งถือเป็นความยิ่งใหญ่

ในยุคสมัย

ที่ยังไม่มี Internet

และสื่อบันเทิงต่างๆ

ให้ได้ติดตามรับชม

กันอย่างมากมาย

เหมือนในทุกวันนี้

โดยผู้อ่านของบลอก

ที่คิดถึงผลงาน

และเรื่องราวเก่าๆ

ในช่วงแรก

ของอาชีพนักร้อง

ของทั้งสามหนุ่มหล่อนี้

สามารถติดตามเรื่องราว

และรับชมรูปภาพ

ของพวกเขาได้

ในหัวข้อ 80 Japan Male Idol

บทความเก่าของบลอก

บทความเก่าของบลอก
โด่ง สิทธิพร นิยม

แกล้งโง่ / ฝันดี ฝันเด่น จรรยาธนากร (1994)

ละครเก่าในความทรงจำ

ละครเก่าในความทรงจำ
ดั่งดวงหฤทัย (1996)

นิตยสารเก่าในความทรงจำ

นิตยสารเก่าในความทรงจำ
นิตยสารด้วยรัก (1983-1985)

ขอคืน / บอยสเก๊าท์ (1993)

นิตยสารเก่าในความทรงจำ

นิตยสารเก่าในความทรงจำ
Starpics Magazine (1965)

EARLY EDITION (1996-2000)

การ์ตูนเก่าในความทรงจำ

การ์ตูนเก่าในความทรงจำ
บันทึกรักโพนีเทล (1985-1987)

นิตยสารฉบับเก่าในความทรงจำ

นิตยสารฉบับเก่าในความทรงจำ
นิตยสารแพรว (1979)

STILL LOVE HER / TM NETWORK

บทความเก่าของบลอก

บทความเก่าของบลอก
Kazukiyo Nishikiori (Shonentai)

ปราสาทมืด (1994)

บทความเก่าของบลอก

บทความเก่าของบลอก
ม.6/2 ห้องครูวารี (1994)

MEIJI CHOCOLAT (1993)

บทความเก่าของบลอก

บทความเก่าของบลอก
อัลเฟรด เนติพงษ์ ศรีทองอินทร์

TOKI WO KAKERU SHOUJO (1983)

AGAINST ALL ODDS (1984)

นิตยสารเก่าในความทรงจำ

นิตยสารเก่าในความทรงจำ
Starpics Magazine (1965)

GLICO ALMOND / RYUJI HARADA (1992)

บทความเก่าของบลอก

บทความเก่าของบลอก
โจ ธเนศ ฉิมท้วม

โปลิศจับขโมย (1996)

ปุกปุย (1990)

ภาพยนตร์คุณภาพ

เรื่อง ปุกปุย

ที่ยังคงอยู่ในความทรงจำ

ของผู้ชมภาพยนตร์

หลาย-หลายท่าน

มาจนถึงในทุกวันนี้

เกิดจากแนวคิด

ในการเขียนบท

ของ คุณอุดม อุดมโรจน์

และ คุณทองขาว มะขาวป้อม

โดยภาพยนตร์เรื่องนี้

มีชื่อแรกในบทร่าง

ว่า ใครใครก็ไม่รัก

ซึ่งแนวคิดของเรื่อง

ได้รับแรงบันดาลใจ

มาจาก My Life As a Dog

จากการที่คุณอุดมนั้น

ต้องการสร้างภาพยนตร์

เกี่ยวกับเด็กเด็ก

ในแนวคิดที่อยากนำเสนอ

ให้สังคมและครอบครัว

หันมาใส่ใจ

และดูแลเด็กเด็ก

ในด้านความรู้สึก

ของพวกเขามากกว่านี้

โดยรายนามของผู้สร้างสรรค์

ภาพยนตร์คุณภาพเรื่องนี้

มีดังนี้ กำกับภาพยนตร์

โดย อุดม อุดมโรจน์

อำนวยการสร้าง

โดย จรัญ/วิสูตร พูลวรลักษณ์

ถ่ายภาพ

โดย ปัญญา นิ่มเจริญพงศ์

ดนตรีประกอบ

โดย จำรัส เศวตาภรณ์

ภาพยนตร์เรื่อง ปุกปุย

เปิดตัวต่อสื่อมวลชน

และออกฉายทั่วประเทศ

เมื่อวันที่ 19 พฤษภาคม พ.ศ. 2533

โดยแม้จะมาพร้อม

กับคุณภาพ

และงานการสร้าง

ที่มีความสมบูรณ์แบบ

แต่ภาพยนตร์เรื่องนี้

ไม่ได้ออกฉายทันที

ที่การถ่ายทำเสร็จสิ้นลง

เนื่องจากต้องรอคิว

และเวลาในการออกฉาย

ในโรงภาพยนตร์

ที่มีจังหวะเหมาะสม

ก่อนที่ภาพยนตร์เล็กๆเรื่องนี้

จะทำรายได้ในปีนั้น

ไปอย่างเหนือความคาดหมาย

และยังคงอยู่ในความทรงจำ

ของผู้ชมทุก-ทุกคน

มาจนถึงทุกในวันนี้

ภาพยนตร์เรื่อง ปุกปุย

นำแสดงโดย ด.ช. ณพัชร สุพัฒนกุล

ที่ให้การแสดงชั้นยอด

และเป็นทุกสิ่งทุกอย่าง

ที่บทภาพยนตร์ต้องการ

ร่วมด้วย ด.ญ. ปรางใส ณ นคร

ด.ช. ศุภชัย ชัยวัฒนเมธิน

เกรียงไกร อุณหนันท์

ธิติมา สังขพิทักษ์

และ ญาณี จงวิสุทธิ์

สบตา / แอนเดรีย สวอเรซ (1994)

นิตยสารเก่าในความทรงจำ

นิตยสารเก่าในความทรงจำ
นิตยสารมิถุนา (1983-1997)

อยากรู้ความจริง / ทัช ณ ตะกั่วทุ่ง (1992)

บทความเก่าของบลอก

บทความเก่าของบลอก
เจริญทอง เกียรติบ้านช่อง

ครีมอาบน้ำลักส์ / อัญชลี จงคดีกิจ (1985)

บทความเก่าของบลอก

บทความเก่าของบลอก
โป้ง วราวุธ บูรพาชยานนท์

MISSING YOU / TOMMY PAGE (1997)

ตามรักคืนใจ (1998)

ในปี พ.ศ. 2541

สถานีโทรทัศน์ช่อง 3

ร่วมกับบริษัท ยูมาร์ 99 จำกัด

ได้เสนอละครโทรทัศน์

เรื่อง ตามรักคืนใจ

แพร่ภาพเป็นประจำ

ทุกวันศุกร์และเสาร์

เวลา 20:30 น.

ทางสถานีโทรทัศน์ช่อง 3

โดยละครโทรทัศน์เรื่องนี้

สร้างจากบทประพันธ์

ของ กิ่งฉัตร

ดัดแปลงเป็นบทโทรทัศน์

โดย ทุ่งดอกไม้

กำกับการแสดง

โดย วิลักษณา

นำแสดงโดย ธนากร โปษยานนท์

รับบท สีหนาท หรือ นายสิงห์

รามาวดี สิริสุขะ

รับบท หนูนา หรือ นารา

พงษ์พัฒน์ วชิรบรรจง

รับบท ราม

นาถยา แดงบุหงา รับบท รัศมี

นพชัย มัททวีวงศ์ รับบท อดิศร

ชไมพร สิทธิวรนันท์

รับบท จุฑารัตน์ หรือ จุ๊

เมธี อมรวุฒิกุล รับบท สารวัตรกช

รุ้งทอง ร่วมทอง รับบท ขนิษฐา

สมบัติ เมทะนี รับบท วรรณ

ทนงศักดิ์ ศุภการ รับบท ศักดา

ดารณีนุช โพธิปิติ รับบท แป้น

พิมพกา เสียงสมบุญ รับบท พวง

ศักราช ฤกษ์ธำรงค์ รับบท เอกชาติ

วัชรเกียรติ บุญภักดี รับบท เรือง

เรือนมยุรา (1997)

เธอยังคงมีฉัน / ปัทมวรรณ เค้ามูลคดี (1994)

บทความเก่าของบลอก

บทความเก่าของบลอก
เจ มณฑล จิรา

NEVER SURRENDER / COREY HART (1985)

บทความเก่าของบลอก

บทความเก่าของบลอก
Paul Visut Carey

คลังบทความของบล็อก

TOKI / YUTAKA OZAKI (1988)

บทความพิเศษของบลอก

บทความพิเศษของบลอก
นิตยสารวัยรุ่นทศวรรษที่ 90

TRUE / SPANDAU BALLET (1983)

MY FAVORITE ALBUM / EISAKU YOSHIDA

MOU DAREMO AISANAI (1991)

ดอกแก้วการะบุหนิง (2000)

ในปี พ.ศ. 2543

สถานีโทรทัศน์ช่อง 3

ร่วมกับบริษัท ฮู แอนด์ ฮู

โดย วรายุฑ มิลินทจินดา

เสนอละครโทรทัศน์

เเนว โรแมนติก-แฟนตาซี

เรื่อง ดอกแก้วการะบุหนิง

โดยเป็นการสร้าง

จากบทประพันธ์

โดย แก้วเก้า

นำมาดัดแปลง

เป็นบทโทรทัศน์

โดย วรดา

กำกับการแสดง

โดย ชูศักดิ์ สุธีรธรรม

นำแสดงโดย ธนากร โปษยานนท์

รับบท ดนย์

คัทลียา แมคอินทอช

รับบท การะบุหนิง

ฉัตรชัย เปล่งพานิช

รับบท สุหราปาตี

จินตหรา สุขพัฒน์

รับบท กิรณา

เพลงประกอบละครโทรทัศน์

เพลง เธอ

โดย ศิริลักษณ์ ผ่องโชค

ภาพประกอบละครโทรทัศน์

ช่วง Opening Credits

โดย อ.สุรเดช แก้วท่าไม้

ละครโทรทัศน์

เรื่อง ดอกแก้วการะบุหนิง

ออกอากาศเป็นประจำ

ทุกวันจันทร์ อังคาร

เวลา 20.25 น.

ทางสถานีโทรทัศน์ช่อง 3

ในปี พ.ศ. 2543

นิตยสารเก่าในความทรงจำ

นิตยสารเก่าในความทรงจำ
นิตยสารกระดังงา (1984-1990)

VITASOY / SIMON LO (1992)

บทความเก่าของบลอก

บทความเก่าของบลอก
สามารถ พยัคฆ์อรุณ

ป้ายกำกับ

JAL / KAORU KOBAYASHI (1991)

MY FAVORITE ALBUM

MY FAVORITE ALBUM
CAPRICCIO / SHONENTAI (1988)

HI-C LEMON TEA / EKIN CHENG (1987)

นิตยสารเก่าในความทรงจำ

นิตยสารเก่าในความทรงจำ
นิตยสารเพื่อนเดินทาง (1980)

GILMORE GIRLS (2000-2007)

HOP-STEP-LOVE / JUNICHI NITTA (1982)

บทความเก่าของบลอก

บทความเก่าของบลอก
Shingo Kazami

JA KYOSAI / EISAKU YOSHIDA (1990)

บทความเก่าของบลอก

บทความเก่าของบลอก
Yuki Saito

วนิดา (1991)