ในช่วงยุค 80
ที่ผ่านมานั้น
นิตยสารนีออน
ถือเป็นนิตยสาร
ประเภทสาระ
และบันเทิง
สำหรับผู้อ่าน
ซึ่งเป็นชาวเกย์
ที่ได้รับความนิยม
อย่างสูงสุด
ในกลุ่มนิตยสาร
ประเภทเดียวกัน
ซึ่งจากความนิยม
ของผู้อ่านทางบ้าน
ในช่วงยุคก่อตั้ง
ของทางนิตยสาร
ก็ทำให้ในช่วงปี พ.ศ. 2529
ถึงในช่วงปี พ.ศ. 2530
ที่ผ่านมานั้น
กองบรรณาธิการ
ของนิตยสารนีออน
ได้มีการสร้างสรรค์
นิตยสารนีออน
ในฉบับพิเศษ
แยกจากนิตยสาร
ในฉบับปกติ
ออกมาวางจำหน่าย
เป็นการเพิ่มเติม
ในช่วงกลางเดือน
ของทุก-ทุกเดือน
โดยในการบันทุก
บทความของบลอก
ในครั้งนี้นั้น
ก็จะเป็นการบันทึก
ถึงเรื่องราว
ของนิตยสาร
ฉบับพิเศษ
ในชื่อ นีออนวีคเอนด์
ที่มีการสร้างสรรค์
ออกมาวางจำหน่าย
ไปสู่ผู้อ่านทางบ้าน
ในช่วงระยะเวลาสั้นๆ
ของช่วงยุค 80
(โดยในการบันทึก
บทความของบลอก
ในครั้งนี้นั้น
เพื่อไม่ให้กระทบ
ถึงความเป็นส่วนตัว
ของเหล่านายแบบ
บนแผ่นปก
ของนิตยสาร
ทำให้ในการบันทึก
บทความครั้งนี้
ทางผู้เขียนบลอก
จึงตัดสินใจ
ที่จะไม่ลงรูป
จากภาพแฟชั่น
แบบเห็นหน้า
ของนายแบบ
ในเซ็ทนู๊ด
ประจำฉบับ
รวมถึงภาพปก
ของนิตยสาร
ในทุกฉบับ
ของนิตยสาร
ในฉบับนี้
ซึ่งต้องขออภัย
ไปยังผู้อ่านทุกท่าน
ในความไม่สะดวก
และไม่ปกติ
ของบทความ
ในครั้งนี้
ไว้ ณ ที่นี้)
สำหรับข้อมูล
ของนิตยสาร
ในฉบับนี้นั้น
จากหน้าสารบัญ
ของนิตยสาร
ในฉบับที่ 1
ของปีที่ 1
ในปี พ.ศ. 2529
นิตยสารรายเดือน
ในชื่อ นีออน วีคเอนด์
(Neon Weekend)
เป็นนิตยสาร
ประเภทสาระ
และบันเทิง
สำหรับผู้อ่าน
ที่เป็นชาวเกย์
ซึ่งเป็นนิตยสาร
ที่มีการจัดพิมพ์
อยู่ในสำนักพิมพ์
ในเครือหนุ่มสาว
(ถือเป็นนิตยสาร
ในเครือเดียวกัน
กับนิตยสาร
ในฉบับอื่นๆ
ของทางบริษัท
อย่าง หนุ่มสาว
หนุ่มสาว-มินิ
GM MAGAZINE
HI-CLASS ฯลฯ)
ซึ่งมีการสร้างสรรค์
ออกมาวางจำหน่าย
ในทุกวันที่ 15
ของทุก-ทุกเดือน
ในช่วงปี พ.ศ. 2529
ถึงช่วงปี พ.ศ. 2530
(โดยนิตยสาร
ชื่อ นีออน
ในฉบับปกตินั้น
จะมีการผลิต
ออกมาวางจำหน่าย
ในทุกต้นเดือน
เป็นการสลับกันไป
กับนิตยสารฉบับนี้
ในรูปแบบเดียวกัน
กับนิตยสารแพรว
และแพรวสุดสัปดาห์
ในช่วงเวลาเดียวกัน)
โดยสำหรับข้อมูล
ในด้านการเปิดตัว
และการวางจำหน่าย
เป็นครั้งแรกนั้น
นิตยสารรายเดือน
ในชื่อ นีออน วีคเอนด์
ในฉบับนี้นั้น
มีการเปิดตัว
และวางจำหน่าย
ทั่วประเทศ
เป็นครั้งแรก
ในเดือนตุลาคม
ของปี พ.ศ. 2529
โดยนิตยสาร
ในฉบับแรกนั้น
มีรูปแบบ
ของนิตยสาร
ซึ่งมีความคล้ายคลึง
กับนิตยสารนีออน
ในฉบับปกติ
คือเป็นนิตยสาร
ที่มีขนาด
เป็นพ๊อกเก็ตบุ๊ค
ที่มีความหนา
ของกระดาษสีน้ำตาล
ประมาณ 134 หน้า
และมีราคาปก
จำนวน 30 บาท
ต่อหนึ่งฉบับ
โดยนิตยสาร
นีออนวีคเอนด์
ในฉบับที่ 1
ของปีที่ 1
มีนายแบบท่านแรก
บนแผ่นปก
คือ คุณกสิณ คงประสิทธิ์
ซึ่งมาพร้อมแฟชั่นปก
ภายใต้คอนเซปต์
เพื่อนสุดสัปดาห์
เช่นเดียวกัน
กับรูปแบบ
และชื่อ
ของนิตยสาร
ในฉบับนี้
สำหรับข้อมูล
ในด้านรายชื่อ
ของเจ้าของ
บรรณาธิการ
และทีมงาน
กองบรรณาธิการ
ของทางนิตยสาร
จากข้อมูล
ในหน้าสารบัญ
ของนิตยสาร
นีออน วีคเอนด์
ในฉบับที่ 1
ของปีที่ 1
เดือนตุลาคม
ของปี พ.ศ. 2529
นิตยสารรายเดือน
ในฉบับนี้
มีรายชื่อ
ของทีมงาน
และผู้เกี่ยวข้อง
ในการผลิต
นิตยสารฉบับนี้
ดังนี้ คุณนิสิต พงศ์วราภา
เป็นผู้จัดการทั่วไป
คุณพิริยะ เมฆฉาย
เป็นบรรณาธิการ
และหัวหน้า
กองบรรณาธิการ
คุณนิตินันท์ อัศวรัตน์
คุณพงศ์พิทักษ์ รุ่งโรจน์
คุณญาณี ชัยยาตระกูล
เป็นกองบรรณาธิการ
คุณสามารถ จงเจษฎากุล
คุณกฤษดี ราธี
เป็นฝ่ายศิลปกกรรม
มิสเตอร์มาร์ค อาร์ ดีไวซ์
เป็นบรรณาธิการฝ่ายภาพ
คุณสมบูรณ์ ตามภักดีพานิชย์
คุณธีรพงศ์ เหลียวรักวงศ์
คุณบุศย์ ปิยะวุฒิ
คุณกิตติพงษ์ พันกุล
เป็นฝ่ายภาพ
คุณมานะ ไกรศิริเดชา
เป็นผู้จัดการ
ฝ่ายโฆษณา
คุณทิพย์วรรณ ยางงาม
เป็นฝ่ายโฆษณา
คุณรัชนี บัวแย้ม
เป็นฝ่ายพิสูจน์อักษร
คุณอุไรวรรณ รัตนสิทธิ์
เป็นฝ่ายการเงิน
บริษัท เจ ฟิลม์ โปรเซส
เป็นฝ่ายแยกสี
โรงพิมพ์กรุงสยาม
เป็นฝ่ายจัดพิมพ์
เพ็ญบุญ
รับจัดจำหน่าย
ทั่วประเทศ
(เป็นรายชื่อ
ของทีมงาน
และผู้เกี่ยวข้อง
กับนิตยสาร
ในฉบับที่ 1
ปีที่ 1
ของนิตยสาร
เพียงเท่านั้น
โดยหากไม่ครบถ้วน
หรือมีรายละเอียด
ที่ผิดพลาด
ผู้เขียนบลอก
ต้องขอออภัย
ไว้ ณ ที่นี้)
สำหรับข้อมูล
ในด้านรูปแบบ
และเนื้อหา
ของนิตยสาร
ในฉบับนี้นั้น
จากความทรงจำ
ของผู้เขียนบลอก
เนื่องจากนิตยสาร
นีออน วีคเอนด์
ถือเป็นนิตยสาร
ซึ่งเป็นการสร้างสรรค์
โดยทางทีมงาน
ในกลุ่มเดียวกัน
ของนิตยสารนีออน
ในฉบับปกติ
ที่มีความต้องการ
ที่จะผลิต
นิตยสารเกย์
ออกมาเพิ่มเติม
เพื่อเป็นการสนับสนุน
ความต้องการ
ของผู้อ่าน
ที่มีความชื่นชอบ
ในนิตยสารนีออน
ซึ่งออกวางจำหน่าย
เพียงเดือนละฉบับ
ซึ่งจากการผลิต
นิตยสารฉบับใหม่
ออกมาวางจำหน่าย
ในช่วงกลางเดือน
เป็นการเพิ่มเติม
ทางทีมงาน
ของนิตยสารนีออน
และ นีออนวีคเอนด์
ก็ได้มีการวางรูปแบบ
ของนิตยสาร
ทั้งสองฉบับ
ให้มีความแตกต่าง
จากการที่นีออน
ในฉบับปกติ
ซึ่งมีรูปแบบ
ของนิตยสาร
ที่มีเนื้อหา
ซึ่งเป็นแบบแผน
และมีความเคร่งขรึม
ดูอนุรักษ์นิยม
แม้จะเป็นนิตยสาร
สำหรับชาวเกย์
(เป็นรูปแบบ
ในช่วงยุคก่อตั้ง
ซึ่งเป็นนิตยสาร
ในเครือจีเอ็ม
เพียงเท่านั้น
โดยหลังจากเปลี่ยนมือ
ของกลุ่มเงินทุน
และเปลี่ยนทีมงาน
ในกองบรรณาธิการ
นิตยสารนีออน
ในฉบับต้นยุค 90
ก็เปลี่ยนแปลง
ในด้านรูปแบบ
ของนิตยสาร
ไปจากยุคก่อตั้ง
อย่างสิ้นเชิง)
โดยนิตยสาร
นีออน วีคเอนด์
ที่นำมาบันทึกไว้
ในบทความ
ของบลอก
ในครั้งนี้
ซึ่งเป็นนิตยสาร
ในฉบับพิเศษ
ที่เป็นการแยกตัว
ออกมานิตยสาร
ในชื่อ นีออน
ในฉบับปกตินั้น
ก็จะมีรูปแบบ
ที่ผ่อนคลาย
และมีเนื้อหา
ที่มีความสนุกสนาน
รวมถึงภาษาที่ใช้
ซึ่งเป็นกันเอง
กับทางผู้อ่าน
มากยิ่งขึ้น
นอกจากนี้
ในส่วนของแฟชั่น
และภาพปก
ก็มักเป็นการถ่ายทำ
โดยใช้สถานที่
ในแบบธรรมชาติ
อย่าง ทะเล
ภูเขา น้ำตก
ซึ่งให้ความรู้สึก
ที่สดใส ผ่อนคลาย
ควบคู่กันไป
กับบทความ
การแนะนำ
สถานที่ท่องเที่ยว
ทั้งในแบบธรรมชาติ
และสถานบันเทิง
ยามค่ำคืน
ที่มีการจัดพิมพ์
เป็นเนื้อหา
อยู่ภายในนิตยสาร
มากกว่าฉบับปกติ
ที่มักจะเน้น
ในด้านสุขภาพ
และความรู้
เกี่ยวกับสังคม
และความเป็นไป
ของแวดวงเกย์
ในระดับนานาชาติ
เพื่อเป็นการสร้าง
ในด้านความเข้าใจ
ให้กับกลุ่มผู้อ่าน
ซึ่งเป็นเกย์
ในยุคสมัย
ของการเริ่มต้น
การผลิตนิตยสาร
ในประเภทนี้
ในประเทศไทย
ซึ่งจากการวางรูปแบบ
ของนิตยสาร
โดยทางทีมงาน
ที่มีความต้องการ
ให้นิตยสาร
นีออน วีคเอนด์
มีความแตกต่าง
จากนิตยสารนีออน
ในฉบับปกติ
ก็ทำให้ในช่วงปี พ.ศ. 2529
ถึงในช่วงปี พ.ศ. 2530
ที่ผ่านมานั้น
ในส่วนของเนื้อหา
และคอลัมภ์ต่างๆ
ของนิตยสาร
ในฉบับนี้นั้น
ก็ได้มีการสร้างสรรค์
ในด้านคอลัมภ์ต่างๆ
ไปสู่กลุ่มผู้อ่าน
ซึ่งอยู่ทางบ้าน
ดังนี้ เปิดสวิทช์
และ ปิดสวิทช์
(บทบรรณาธิการ)
คุยกันฉันท์เพื่อน
(คอลัมภ์ตอบจดหมาย
จากผู้อ่านทางบ้าน)
หน้าต่างสังคม
(บทสัมภาษณ์
ผู้มีชื่อเสียง
ในวงสังคม
และการทำงาน
ในสาขาต่างๆ
ทั้งชายและหญิง)
เรืองแสงแข่งตะวัน
บทสัมภาษณ์พิเศษ
(บทสัมภาษณ์
ผู้มีชื่อเสียง
ในวงสังคม
และวงการบันเทิง
ที่มีการเปิดเผย
ในด้านตัวตน
ของตัวเอง)
นีออน เซอร์เวย์
บทความทั่วไป
เก็บของเขามาเล่าต่อ
(บทความข่าวสาร)
เสริมเสน่ห์หนุ่ม
เพื่อตัวเอง ถนนนีออน
(บทความจิตวิทยา
พัฒนาบุคลิกภาพ
และคอลัมภ์สุขภาพ)
ประสบการณ์พิเศษ
(ประสบการณ์ทางเพศ
จากผู้อ่านทางบ้าน)
เซ็กซี่นักกีฬา
(ภาพถ่ายนักกีฬา
จากการแข่งขันต่างๆ)
1 นาทีกับนายแบบ
(ข้อมูลแนะนำตัว
นายแบบประจำปก)
เพื่อนสุดสัปดาห์
(ภาพแฟชั่นนู๊ด
ประจำฉบับ)
ชุมทางคนอกหัก
(ประสบการณ์
ด้านความรัก
จากผู้อ่านทางบ้าน)
เพลงดวงดาว
(บทกวีประจำฉบับ)
หนุ่มอิมพอร์ต
(ภาพแฟชั่น
ของนายแบบ
จากนิตยสาร
ต่างประเทศ)
วีคเอนด์พาเที่ยว
ชั่วโมงความสุข
(บทความท่องเที่ยว
สถานที่ธรรมชาติ
สถานบันเทิงยามค่ำคืน
และร้านอาหารต่างๆ)
ความเคลื่อนไหว
(ข่าววงการบันเทิง)
เพื่อนทางจดหมาย
(การลงประกาศ
เป็นการหาเพื่อน
ทางจดหมาย)
นวนิยายไทยประจำฉบับ
เรื่องสั้นไทยประจำฉบับ
เรื่องแปลประจำฉบับ
เรื่องสั้นแปลประจำฉบับ
(นิยายและเรื่องสั้น
ประจำฉบับ)
หลังจากการเปิดตัว
นิตยสารรายเดือน
ในชื่อ นีออน วีคเอนด์
ซึ่งเป็นการแยกตัว
มาจากนิตยสาร
ในชื่อ นีออน
ทางบริษัท
และทีมงาน
กองบรรณาธิการ
ของนิตยสาร
ก็ได้ตัดสินใจ
ที่จะยุติ
การผลิตนิตยสาร
นีออน วีคเอนด์
และนำคอลัมภ์ต่างๆ
ที่มีความโดดเด่น
เป็นที่ชื่นชอบ
ของผู้อ่าน
รวมถึงนวนิยาย
และเรื่องแปล
ในแบบชุดยาว
ซึ่งยังไม่จบชุด
ไปรวมเพิ่มไว้
ในนิตยสารนีออน
ในฉบับปกติ
ซึ่งยังคงจัดทำ
อย่างต่อเนื่อง
ในช่วงเดียวกัน
(โดยนิตยสาร
ในฉบับปกติ
ก็ได้มีการปรับ
ในด้านกระดาษ
ที่หนาขึ้น
และเพิ่มราคา
ของนิตยสาร
เป็น 40 บาท
จากการเพิ่มเนื้อหา
และภาพสีต่างๆ
ซึ่งเป็นการนำเนื้อหา
มาจากนีออน วีคเอนด์
ในรูปแบบนี้)
โดยจากความทรงจำ
ของผู้เขียนบลอก
นิตยสารรายเดือน
สำหรับผู้อ่าน
ซึ่งเป็นชาวเกย์
ในชื่อ นีออน วีคเอนด์
ในฉบับสุดท้าย
คือ ฉบับที่ 9
มีการสร้างสรรค์
ออกมาวางจำหน่าย
ในช่วงเดือนกันยายน
ของปี พ.ศ. 2530
โดยนิตยสาร
ในฉบับสุดท้ายนั้น
ยังคงมีราคาปก
จำนวน 30 บาท
เช่นเดียวกัน
กับในช่วงยุคก่อตั้ง
แต่มีการปรับปรุง
ในด้านกระดาษ
ที่ใช้ในการจัดพิมพ์
จากการเปลี่ยนกระดาษ
ซึ่งเป็นสีน้ำตาล
ในรูปแบบเก่า
มาเป็นกระดาษปอนด์
ที่มีสีขาวสะอาดตา
ซึ่งดูสวยงาม
และอ่านง่ายขึ้น
(เช่นเดียวกัน
กับนิตยสารนีออน
ในฉบับที่ 27
ประจำเดือนกันยายน
ในปี พ.ศ. 2530
ซึ่งออกวางจำหน่าย
ในช่วงเดียวกัน
ซึ่งมีการปรับเปลี่ยน
ในด้านกระดาษ
ที่ใช้จัดพิมพ์
เช่นเดียวกัน)
ซึ่งหลังจากการยุติ
การผลิตนิตยสาร
นีออน วีคเอนด์
ซึ่งเป็นนิตยสาร
ซึ่งเป็นการแยกตัว
มาจากนิตยสาร
ในชื่อ นีออน
ในฉบับปกติ
เมื่อเข้าสู่ยุคที่ 2
ของนิตยสารนีออน
ที่มีการปรับเปลี่ยน
ในด้านเจ้าของ
และทีมงาน
ซึ่งเป็นการเปลี่ยนแปลง
ครั้งใหญ่ครั้งแรก
ในช่วงปลายยุค 80
นิตยสารนีออน วีคเอนด์
ในฉบับนี้นั้น
ก็ได้กลับมา
พบผู้อ่าน
อีกครั้งหนึ่ง
ในรูปแบบใหม่
ที่ใช้ชื่อนิตยสาร
ว่า วีคเอนด์เมน
ซึ่งถือเป็นนิตยสาร
ซึ่งทางทีมงาน
ของนิตยสารนีออน
ในช่วงยุคที่ 2
ได้มีการสร้างสรรค์
ออกมาวางจำหน่าย
ควบคู่กันไป
กับนิตยสารนีออน
ในฉบับปกติ
ซึ่งแม้ว่าทีมงาน
กองบรรณาธิการ
ของนิตยสาร
รวมถึงชื่อ
ของนิตยสาร
จะมีการปรับ
และเปลี่ยนไป
แต่รูปแบบ
ของนิตยสาร
ที่มีการผลิต
เพื่อเป็นการวางจำหน่าย
ในรูปแบบรายปักษ์
โดยไม่ให้กระทบ
กับระยะเวลา
ของการวางแผง
ในแต่ละเดือน
ทางทีมงาน
และผู้ผลิต
ก็ยังคงยึดถือ
การสร้างสรรค์
เพื่อวางจำหน่าย
ในรูปแบบนี้
เช่นเดียวกัน
กับนิตยสาร
ในยุคก่อตั้ง
แม้จะปรับเปลี่ยน
ทั้งในด้านเจ้าของ
และทีมงาน
ในกองบรรณาธิการ
โดยไม่ได้เป็นนิตยสาร
จากการผลิต
ของทางบริษัท
ในเครือเดียวกัน
กับนิตยสารหนุ่มสาว
และนิตยสารจีเอ็ม
เหมือนในยุคก่อตั้ง
ซึ่งมีความยิ่งใหญ่
จากการมีนักเขียน
และช่างภาพ
ที่มีชื่อเสียง
ซึ่งเป็นทีมงาน
ของทางบริษัทเดิม
มาเกี่ยวข้อง
และจัดทำ
อีกแล้วก็ตาม