ผยอง (2000)

เพื่อพ่อ...เพื่อฝัน...เพื่อวันเกียรติยศ
ในปี พ.ศ. 2543

สถานีโทรทัศน์ช่อง 3

ร่วมกับบริษัทเมจิค

เเอ็ดเวอร์เทนเมนท์

เสนอละครโทรทัศน์

แนว ชีวิต / วัยรุ่น

เรื่อง ผยอง

โดยเป็นการสร้าง

เป็นละครโทรทัศน์

จากบทประพันธ์

โดย ดวงดาว

นำมาดัดแปลง

เป็นบทโทรทัศน์

จำนวน 16 ตอน

โดย มารยาท ไทยนิวัฒน์วิไล

กำกับการแสดง

โดย อดุลย์ ดุลยรัตน์

ควบคุมการผลิต

โดย สาลินี ภักดีผล

เพลงประกอบละครโทรทัศน์

เพลง สู้ด้วยหัวใจ

ขับร้องโดย ธนา สุทธิกมล

ละครโทรทัศน์

เรื่อง ผยอง

ออกอากาศ

เป็นประจำ

ในทุกวันเสาร์

และวันอาทิตย์

เวลา 10.45 - 11.30 น.

ทางสถานีโทรทัศน์ช่อง 3

ในช่วงปี พ.ศ. 2543


ละครโทรทัศน์

เรื่อง ผยอง

ฉบับการสร้าง

ในปี พ.ศ. 2543

นำแสดงโดย ธนา สุทธิกมล

รับบท ม.ร.ว.เหินฟ้า จตุรพล

เด็กหนุ่มหน้าตาดี

ผู้มีความศรัทธา

ในเกียรติยศ

และยึดมั่น

ในศักดิ์ศรี

ของตนเอง

ในฐานะทายาท

เพียงคนเดียว

ของหม่อมเจ้าจอมเทพ จตุรพล

นายทหารผู้ทรงเกียรติ

แห่งกองทัพอากาศไทย

ซึ่งเกิดกับนางกาหลง

หญิงสาวชาวบ้าน

ในดินแดนห่างไกล

ก็ทำให้เหินฟ้า

ซึ่งถูกทางครอบครัว

ได้ปิดบังฐานะ

ที่แท้จริง

ของตัวเขา

มาโดยตลอดนั้น

ไม่เคยได้ล่วงรู้

ถึงชาติกำเนิด

และตัวตน

ที่แท้จริง

ของผู้เป็นบิดา

แม้แต่น้อย


ปรารถนา องค์ชัยศักดิ์

รับบท สวย / นะสื่อ

เด็กสาวชาวบ้าน

ผู้มีความร่าเริง

สดใส จริงใจ

และเฉลียวฉลาด

ซึ่งเป็นเพื่อนแท้

เพียงคนเดียว

ของเหินฟ้า

มาตั้งแต่ในวัยเยาว์

ซึ่งจากการเติบโต

อยู่ใกล้ชิดกัน

และมีความคุ้นเคย

รวมถึงมีเข้าใจ

ในตัวตน

ของเหินฟ้า

ที่มีความหยิ่ง

และทระนงตน

ไม่เหมือนใคร

ก็ทำให้สวย

ที่มีความจริงใจ

ให้กับชายหนุ่ม

มาโดยตลอด

ถือเป็นหญิงสาว

เพียงคนเดียว

ที่เหินฟ้านั้น

มีความรัก

ให้อย่างจริงใจ

และมั่นคง

อยู่เสมอมา


ณรงค์ศักดิ์ ชัยเชียงเอม

รับบท ปิยะพันธ์

ชายหนุ่มรูปหล่อ

ซึ่งมีนิสัยเย่อหยิ่ง

เอาแต่ใจ ทระนงตน

รักความสบาย

ผู้เป็นบุตรชายคนโต

ของหม่อมเจ้าภิเษกศรี

โดยในฐานะ

ของลูกพี่ลูกน้อง

กับเหินฟ้า

ปิยะพันธ์นั้น

แสดงท่าที

ที่มีความรังเกียจ

ไม่อยากคบหา

และดูถูกดูแคลน

ในตัวญาติหนุ่ม

ที่มีวัยไล่เลี่ยกัน

อย่างเปิดเผย

โดยไม่เคยรู้เลย

ว่าเหินฟ้านั้น

คือทายาท

เพียงคนเดียว

ของตระกูลจตุรพล

และจะเป็นผู้รับมรดก

จำนวนมหาศาล

ที่หม่อมเจ้าภิเษกศรี

เคยเป็นผู้ดูแล

และนำมาใช้จ่าย

อย่างไม่ถูกต้อง


โดยนอกจากนักแสดง

ในบทบาท

ดังกล่าวแล้ว

ละครโทรทัศน์

เรื่อง ผยอง

ฉบับการสร้าง

ในปี พ.ศ. 2543

ยังมีนักแสดงชั้นนำ

อีกมากมาย

ที่มาร่วมแสดง

และสร้างสีสัน

ความสนุกสนาน

ให้กับละครโทรทัศน์

ในเรื่องนี้

เช่น พิศมัย วิไลศักดิ์

รับบท ท่านหญิงภิเษกศรี

นาถ ภูวนัย

รับบท ท่านชายจอมเทพ

ดวงใจ หทัยกาญจน์

รับบท กาหลง

นภัสกร มิตรเอม

รับบท บัลลังก์

ชุดาภา จันทเขตต์

รับบท มยุเรศลักษณา

เอกชัย บูรณะผาณิต

รับบท ธัญญวิทย์

มนัสวีร์ กฤตยานุกูล

รับบท ขนิษฐศรี

ปราบ ยุทธพิชัย

รับบท วีระ

สุรางคณา สุนทรพนาเวช

รับบท ธิดาศรี

ลิขิต บุญประกอบ

รับบท คุณอาชาย

ปริศนา กล่ำพินิจ

รับบท คุณอาหญิง

ไกรลาศ เกรียงไกร

รับบท นายกรี

นันทนา บุญบันเทิง

รับบท บุญสม

วสันต์ แสงอุไร

รับบท โกเมน

นานา ไรบีนา

รับบท กิ่งผกา

ชนกากาญจน์ ผิวงาม

รับบท กิ่งกาญจน์

สริญญา บาโรส

รับบท หมิว

สีเทา เพ็ชรเจริญ

รับบท ตาสุด

ศศิธร ปิยะกาญจน์

รับบท สมหมาย

ตูมตาม เชิญยิ้ม

รับบท นพ

แวว ม๊กจ๊ก

รับบท ลดา


ละครโทรทัศน์

เรื่อง ผยอง

จากบทประพันธ์

โดย ดวงดาว

เป็นเรื่องราวชีวิต

ที่เต็มไปด้วยการต่อสู้

เพื่อคงไว้ซึ่งเกียรติ

และศักดิ์ศรี

ของเหินฟ้า

เด็กหนุ่มรักดี

ผู้มีความทรนง

และมีความเข้มแข็ง

ซึ่งเป็นทายาท

เพียงคนเดียว

ของท่านชายจอมเทพ

ผู้ปลีกตัวเอง

ออกจากครอบครัว

อันสูงส่ง

และวงสังคม

ของเมืองไทย

จากความเสียใจ

ในเหตุการณ์

การเสียชีวิต

ของนายทหาร

ผู้มีความใกล้ชิด

ในการทำงาน

กับตัวเขา

มาใช้ชีวิต

อยู่ในดินแดน

ที่ห่างไกล

ร่วมกับนางกาหลง

หญิงสาวชาวบ้าน

ผู้มีความอ่อนน้อมถ่อมตน

และมีความประพฤติดี

โดยในฐานะ

ของทายาท

ผู้รับมรดกทั้งหมด

ของตระกูลจตุรพล

เหินฟ้าได้ตัดสินใจ

ที่จะเดินทาง

เพื่อไปศึกษาต่อ

ในเมืองหลวง

และจะพักอาศัย

อยู่ที่วังเพลินจิต

ของผู้เป็นบิดา

ซึ่งท่านหญิงภิเษกศรี

ผู้เป็นขนิษฐา

ของท่านชายจอมเทพ

ได้มาเข้าครอบครอง

และใช้จ่ายเงินทอง

ซึ่งเป็นของท่านชาย

อย่างไร้ความละอาย

ก็ทำให้เด็กหนุ่ม

จากบ้านป่า

ผู้มีฐานะ

และชาติกำเนิด

ที่แท้จริง

ซึ่งมีความสูงส่ง

ต้องจากบ้านเกิด

และมารดา

รวมถึงสวย

เด็กสาวผู้ร่าเริง

และฉลาดเฉลียว

ผู้เป็นมิตรแท้

ของตัวเขา

มาตั้งแต่วัยเยาว์

โดยเพื่อเป็นการยืนยัน

ถึงความรู้สึก

ภายในใจลึกๆ

ที่มีแต่ความรัก

และความผูกพัน

ที่ตัวเขานั้น

มีให้กับสวย

อย่างไม่มีวัน

ที่จะเปลี่ยนแปลง

เหินฟ้าได้ตัดสินใจ

ที่จะมอบแหวน

ซึ่งเป็นมรดก

ของท่านพ่อ

ที่เคยมอบไว้

ให้กับนางกาหลง

มารดาของเขา

มอบให้กับสวย

เพื่อเป็นสื่อ

ไปถึงความรู้สึก

ซึ่งอยู่ภายในใจ

ของตัวเขา

ให้เธอได้รับรู้

และเป็นการสัญญา

สื่อไปถึงอนาคต

และการใช้ชีวิตคู่

ของทั้งสอง

ในวันที่ทั้งสวย

และตัวเขานั้น

ได้สำเร็จการศึกษา

และเป็นผู้ใหญ่

อย่างเต็มตัว

ในสักวันหนึ่ง











วีคเอ็นด์เมน (1989-2000)

ในช่วงปลายยุค 80

ถึงช่วงยุค 90

ที่ผ่านมานั้น

นอกจากนิตยสาร

ประเภทรายเดือน

ในชื่อ มิถุนา

นีออน มรกต

และ มิดเวย์

ซึ่งได้รับความนิยม

จากผู้อ่านทางบ้าน

ที่เป็นชาวเกย์แล้ว

นิตยสารรายเดือน

ในชื่อ วีคเอนด์เมน

ก็ถือเป็นนิตยสาร

สำหรับผู้อ่าน

ที่เป็นชาวเกย์

ที่มีรูปเล่ม

ในรูปแบบ

ขนาดพ๊อกเก็ตบุ๊ต

เช่นเดียวกัน

กับอีกทั้งสี่เล่ม

ซึ่งถือเป็นรุ่นพี่

ในวงการสื่อสิ่งพิมพ์

ที่มีการสร้างสรรค์

และมีการจัดพิมพ์

เพื่อออกวางจำหน่าย

มาก่อนหน้านี้

โดยในการบันทึก

บทความของบลอก

ในครั้งนี้นั้น

จะเป็นการบันทึก

ข้อมูลต่างๆ

เกี่ยวกับนิตยสาร

ที่มีความน่าสนใจ

ในฉบับนี้

ซึ่งในการบันทึก

ในด้านข้อมูล

เพื่อไม่ให้เป็นการล่วงล้ำ

ความเป็นส่วนตัว

ของนายแบบ

ในแต่ละฉบับ

รวมถึงทีมงาน

ผู้สร้างสรรค์

ในกองบรรณาธิการ

ของนิตยสารฉบับนี้

ในการบันทึก

ข้อมูลของบลอก

ในครั้งนี้นั้น

จะไม่มีการลง

ในด้านรูปภาพ

ของปกนิตยสาร

ในแบบขนาดใหญ่

รวมถึงไม่บันทึก

ในด้านข้อมูล

เกี่ยวกับรายชื่อ

ของทางทีมงาน

ซึ่งต้องขออภัย

ในความไม่สะดวก

และไม่ครบถ้วน

ของเนื้อหา

ภายในบทความ

ไว้ ณ ที่นี้














สำหรับข้อมูล

ของนิตยสาร

ในชื่อ วีคเอนด์เมน

(WEEKEND-MEN)

ที่นำมาบันทึก

ไว้ในบทความ

ในครั้งนี้นั้น

นิตยสารเกย์

ในชื่อ วีคเอนด์เมน

ถือเป็นนิตยสาร

ที่มีการสร้างสรรค์

และจัดพิมพ์

เพื่อการวางจำหน่าย

ไปสู่กลุ่มผู้อ่าน

ที่เป็นชาวเกย์

ในประเทศไทย

โดยการจัดทำ

ของกลุ่มทีมงาน

ในชื่อ เมน'ส คลับ

ที่มีกำหนดการ

ในการวางจำหน่าย

ของทางนิตยสาร

ในรูปแบบรายเดือน

โดยทางนิตยสาร

ซึ่งมีรูปเล่ม

ขนาดพ๊อกเก็ตบุ๊ค

ตามความนิยม

ของการจัดทำ

นิตยสารเกย์

ในขณะนั้น

(เช่นเดียวกัน

กับนิตยสารเกย์

ในฉบับอื่นๆ

อย่าง นีออน

นีออน วีคเอ็นด์

มิถุนา มิถุนาจูเนียร์

มรกต มิดเวย์ เกสร

ห้องห้าเหลี่ยม ฯลฯ)

มีกำหนดการ

ที่แน่นอน

ในการวางจำหน่าย

คือทุกวันที่ 15

ของในแต่ละเดือน

(โดยในปี พ.ศ. 2537

ทางกองบรรณาธิการ

ได้มีการปรับเปลี่ยน

ในด้านการวางจำหน่าย

มาเป็นทุกวันที่ 25

ของแต่ละเดือน

เป็นการทดแทน)

โดยจากความทรงจำ

ของผู้เขียนบลอก

นิตยสารเกย์

ในชื่อ วีคเอ็นด์เมน

ในฉบับนี้

มีระยะเวลา

ของการวางจำหน่าย

ในประเทศไทย

ตั้งแต่ในช่วงปี พ.ศ. 2532

และมีการตีพิมพ์

เพื่อวางจำหน่าย

อย่างต่อเนื่อง

ไปจนถึงปี พ.ศ. 2543

ก่อนจะปิดตัวลง

และห่างหายไป

จากวงการนิตยสาร

และความคุ้นเคย

ของผู้อ่านทางบ้าน

(เป็นการบันทึก

จากนิตยสาร

ในฉบับสุดท้าย

ที่ผู้เขียนบลอก

ยังคงมีเก็บไว้

เพียงเท่านั้น

จึงยังไม่ยืนยัน

ในด้านข้อมูล

เกี่ยวกับการปิดตัว

ของทางนิตยสาร

ในส่วนนี้)














สำหรับจุดเริ่มต้น

ของนิตยสาร

ในชื่อ วีคเอนด์เมน

จากความทรงจำ

ของผู้เขียนบลอก

ในช่วงปลายยุค 80

ที่ผ่านมานั้น

ทางทีมงาน

ในการผลิต

นิตยสารนีออน

ในยุคที่ 2

(ซึ่งแยกตัวออกมา

จากสำนักพิมพ์เดิม

ในช่วงยุคก่อตั้ง)

ได้มีความตั้งใจ

ที่จะมีการผลิต

นิตยสารเกย์

ออกมาวางจำหน่าย

อีกหนึ่งฉบับ

ในแต่ละรอบเดือน

เพื่อเป็นการตอบสนอง

ความต้องการ

และความนิยม

ของกลุ่มผู้อ่าน

ที่มีให้กับนิตยสาร

ในชื่อ นีออน

ที่กำลังได้รับความนิยม

จากทางผู้อ่าน

อย่างมากมาย

ในช่วงเวลานั้น

ซึ่งจากความตั้งใจ

ที่จะมีการผลิต

นิตยสารฉบับใหม่

ในรูปแบบนี้เอง

ของทางทีมงาน

นิตยสารนีออน

ก็ทำให้นิตยสาร

ในชื่อ วีคเอ็นด์เมน

ได้มีการเปิดตัว

นิตยสารฉบับแรก

ออกมาวางจำหน่าย

ในช่วงปี พ.ศ. 2532

โดยทางนิตยสาร

ในชื่อ วีคเอ็นด์เมน

ฉบับที่ 1

ประจำปีที่ 1

ได้มีการสร้างสรรค์

ออกมาวางจำหน่าย

เป็นครั้งแรก

ในวันที่ 15

ของเดือนพฤศจิกายน

ในปี พ.ศ. 2532

โดยนิตยสาร

ในฉบับแรก

ซึ่งมีคำโปรย

บนแผ่นปก

ว่า ลูกหลาน

ของนีออน

อยากซุกซ่อน

ไว้ในใจคุณนั้น

มีนายแบบ

ประจำฉบับ

ซึ่งใช้นามแฝง

ว่า คุณไชยทัศน์ นันทดี

มาเป็นนายแบบ

บนแผ่นปก

ในฉบับแรก

โดยจากข้อมูล

จากหน้าสารบัญ

และรายชื่อ

ของทีมงาน

จากนิตยสาร

ในฉบับแรกนี้

นิตยสารวีคเอ็นด์เมน

ในฉบับที่ 1

มีคุณพิริยะ เมฆฉาย

ซึ่งเป็นบรรณาธิการ

ของนิตยสารนีออน

มารับหน้าที่

เป็นผู้ดูแล

ในด้านการผลิต

ของทางนิตยสาร

ในช่วงแรก

(โดยนิตยสาร

ในฉบับต่อมา

รวมถึงในปีอื่นๆนั้น

ก็ได้มีการปรับเปลี่ยน

ในด้านบรรณาธิการ

โดยมีคุณชามน จักรพันธ์

คุณวิษุวัต โรจน์รณชัย

มารับหน้าที่

เป็นบรรณาธิการ

เป็นการทดแทน

ในเวลาต่อมา)

โดยสำหรับรูปเล่ม

ของนิตยสาร

ในฉบับแรกนั้น

ฉบับเปิดตัว

เพื่อการโปรโมท

ไปสู่ผู้อ่าน

ของทางนิตยสาร

เป็นการจัดพิมพ์

ในรูปเล่มบาง

กว่าปกติ

ซึ่งเป็นการพิมพ์

โดยใช้กระดาษ

สีน้ำตาล

และมีการเย็บ

ในช่วงสันปก

แบบมุงหลังคา

(มีการปรับเปลี่ยน

มาเป็นกระดาษปอนด์

สีขาวสะอาดตา

และมีการจัดพิมพ์

ในแบบมีสันปก

ที่เรียบร้อย

และสวยงาม

มากยิ่งขึ้น

ในฉบับที่ 2

ของเดือนต่อมา)

โดยนิตยสาร

ในฉบับแรก

ที่มีการจัดทำ

ออกมาวางจำหน่าย

เป็นครั้งแรกนี้

มีราคาปก

จำนวน 40 บาท

(โดยมีการปรับเปลี่ยน

ในด้านราคาปก

เป็น 50 / 60 / 80

100 / 120 บาท

ในระยะเวลาต่อมา)














สำหรับข้อมูล

ในด้านของเนื้อหา

และรูปแบบ

ของนิตยสารนั้น

นิตยสารวีคเอ็นด์เมน

ถือเป็นนิตยสาร

สำหรับผู้อ่าน

ที่เป็นชาวเกย์

ที่มีความคล้ายคลึง

กับรูปแบบ

ของนิตยสาร

ในชื่อ นีออน

ในช่วงเวลาเดียวกัน

จากการมีภาพนู๊ด

ของนายแบบ

ประจำฉบับ

มาเป็นหลัก

และมีเนื้อหา

ที่มีความหลากหลาย

และน่าสนใจ

ให้ได้ติดตามอ่าน

ในแต่ละฉบับ

นอกเหนือจากภาพนู๊ด

(รวมถึงการสั่งภาพลับ

ซึ่งถือเป็นสิ่งพิเศษ

ที่เป็นรูปแบบเฉพาะ

ของนิตยสารเกย์

ในช่วงยุค 80

ถึงช่วงกลางยุค 90)

ที่เป็นความโดดเด่น

โดยในช่วงระยะเวลา

ระหว่างปี พ.ศ. 2532

ถึงปี พ.ศ. 2543

ที่ผ่านมานั้น

ทางทีมงาน

ของนิตยสาร

ก็ได้มีการสร้างสรรค์

คอลัมภ์และเนื้อหาต่างๆ

ไปสู่ผู้อ่านทางบ้าน

เท่าที่ทางผู้เขียน

ได้มีการรวบรวมไว้

ดังนี้ คุยกันวันหยุด

เดือนละหน้า

ท้าให้คุณอ่าน

(บทบรรณาธิการ)

จดหมายจากเพื่อน

(การตอบจดหมาย

ของผู้อ่านทางบ้าน

โดยบรรณาธิการ)

ดวงดาว-ดวงเดือน

(ทำนายดวงชะตา)

หนุ่มต่างชาติ ของแถม

(ภาพนู๊ดนายแบบ

จากนิตยสาร

จากต่างประเทศ)

สัมภาษณ์พิเศษ

(บทสัมภาษณ์บุคคล

ที่มีความหลากหลาย)

แฟ้มคนหนุ่ม ปกิณกะ

สุขภาพ รู้รอบโรค

โรงซ่อมสุขเพศ

แนะกันฉันน้องพี่

เก็บมาฝาก

TALK ABOUT GAY

(บทความสุขภาพ

การพัฒนาบุคลิกภาพ

จิตวิทยา ความรู้

ข่าวสารแวดวงเกย์)

บทกวี / ชมกวี

คำกรองครรลองคำ

วิถีกวี / นานาทัศนะ

วีคเอ็นด์ชวนอ่าน

หนังวิดีโอเด็ด

แนะนำวิดีโอ

รายงานพิเศษ

เรื่องสั้น นิยาย

บทความพิเศษ

เที่ยวสุดสัปดาห์

มองอย่างมีศิลป์

ENTERTAIN

EXERCISE STYLE

MUSIC AVENUE

EATING & DRINKING

(บทกวี / เรื่องสั้น

นิยาย / เรื่องแปล

บทความสารคดี

บทวิจารณ์หนังสือ

เพลง ศิลปะ

ภาพยนต์

ละครโทรทัศน์

ละครเวที คอนเสิรต์

แนะนำผับ บาร์

สถานบันเทิง

ร้านอาหาร ฯลฯ

ประจำฉบับ)

หนุ่มวีคเอ็นด์

บันทึกเบื้องหลัง

นายแบบประจำฉบับ

บันทึกเบื้องหลังเลนส์

(แนะนำนายแบบ

และเบื้องหลัง

การถ่ายทำ

ภาพเซ็ทปก

ประจำฉบับ)

เพื่อนสุดสัปดาห์

ที่นี่มีเพื่อน

(การประกาศ

เพื่อหาเพื่อน

ทางจดหมาย)

ช๊อปปิ้งสุดฮอต

(แนะนำสินค้า

ที่มีความน่าสนใจ)

ประสบการณ์ประทับใจ

(ประสบการณ์ทางเพศ

จากผู้อ่านทางบ้าน)

ชิงโชค ฟรีสไตล์

(การตอบปัญหา

เพื่อชิงรางวัล

จากทีมงาน

ของนิตยสาร)

เฮฮาประสาเกย์

(เรื่องขำขัน

ประจำฉบับ)

หนึ่งในหลาย

(การตอบปัญหา

ในด้านชีวิต

โดยจิตแพทย์)

นินทากาเล ซุบซิบ

ซุบซิบฮอลลีวู๊ด

(คอลัมภ์ข่าวสังคม

และวงการบันเทิง)














จากความทรงจำ

ของผู้เขียนบลอก

ในช่วงยุค 90

ที่ผ่านมานั้น

นอกเหนือจากภาพจำ

ของนายแบบ

ในแต่ละฉบับ

ที่มักเป็นชายหนุ่ม

รูปร่างกำยำ

ผิวเข้ม หน้าคม

มีความหล่อเหลา

ในแบบไทยแท้

ที่นิตยสารเกย์

ในฉบับนี้

มักเลือกหา

มาเป็นแบบปก

และภาพแฟชั่น

ประจำฉบับ

(ซึ่งมีความแตกต่าง

จากนิตยสารเกย์

ในฉบับอื่นๆ

ที่นายแบบ

มักมีรูปลักษณ์

ที่หลากหลาย)

นิตยสารวีคเอ็นด์เมน

ก็ถือเป็นนิตยสาร

ประเภทรายเดือน

สำหรับผู้อ่าน

ที่เป็นชาวเกย์

ที่เป็นที่นิยม

ของผู้อ่าน

ในช่วงปี พ.ศ. 2532

ถึงปี พ.ศ. 2543

ที่ผ่านมา

จากการวางจำหน่าย

อย่างสม่ำเสมอ

และต่อเนื่อง

อีกฉบับหนึ่ง

เช่นเดียวกัน

กับนิตยสาร

ในช่วงเดียวกัน

อย่าง นีออน

มิถุนา มรกต

และ มิดเวย์

ซึ่งจากรูปเล่ม

ที่มีรูปแบบเฉพาะ

จากการมีรูปเล่ม

แบบพ๊อกเก็ตบุ๊ค

ขนาดกะทัดรัด

และไม่ได้ปรับเปลี่ยน

ในด้านหัวหนังสือ

รวมถึงรูปแบบ

ของนิตยสารเลย

ตลอดระเวลา

ในการจัดพิมพ์

เพราะมีรูปเล่ม

ที่มีความลงตัว

มาตั้งแต่ฉบับที่ 2

ก็ทำให้นิตยสาร

ในฉบับนี้

เป็นที่คุ้นเคย

และเป็นที่ชื่นชอบ

สำหรับผู้อ่าน

ซึ่งเป็นชาวเกย์

ในช่วงยุค 90

ซึ่งเป็นช่วงเวลา

ที่มีการผลิต

นิตยสารเกย์

และอัลบั้มภาพนู๊ด

ออกมาวางจำหน่าย

อย่างมากมาย

จากกระแสความนิยม

ของผู้อ่านทางบ้าน

ในช่วงเวลานั้น

(และหากนับรวม

ถึงในปัจจุบัน

ในช่วงยุค 90

ที่ผ่านมานั้น

ก็ยังถือเป็นช่วงเวลา

ที่มีการผลิตนิตยสาร

และอัลบั้มภาพนู๊ด

สำหรับผู้อ่าน

ที่เป็นชาวเกย์

ออกมามากที่สุด

จากการเปิดกว้าง

ของสังคมไทย

จากการเริ่มต้น

จากในช่วงยุค 80)














หลังจากการเปิดตัว

นิตยสารรายเดือน

สำหรับผู้อ่าน

ที่เป็นชาวเกย์

ในชื่อ วีคเอ็นด์เมน

ในฉบับที่ 1

ประจำปีที่ 1

ตั้งแต่ในปี พ.ศ. 2532

ทางทีมงาน

กองบรรณาธิการ

ของทางนิตยสาร

ก็ได้มีการสร้างสรรค์

นิตยสารฉบับนี้

ออกวางจำหน่าย

ไปสู่ผู้อ่าน

ควบคู่กันไป

กับนิตยสาร

ประเภทรายเดือน

ในชื่อ นีออน

จากการมีทีมงาน

และกองบรรรณาธิการ

กลุ่มเดียวกัน

อย่างต่อเนื่อง

ในทุกเดือนๆ

จนถึงช่วงเวลา

ในช่วงปี พ.ศ. 2543

นิตยสารเกย์

ขนาดกะทัดรัด

ในฉบับนี้

ก็ได้ห่างหาย

ไปจากแวดวง

ของนิตยสาร

และสื่อสิ่งพิมพ์

ในประเทศไทย

โดยนิตยสารเกย์

ในชื่อ วีคเอ็นด์เมน

ในฉบับสุดท้าย

ที่ผู้เขียนบลอก

ยังคงมีเก็บไว้

คือ วีคเอ็นด์เมน

ในฉบับที่ 92

ประจำปี พ.ศ. 2543

ซึ่งจากข้อมูล

ในหน้าปก

และสารบัญ

ของนิตยสาร

ชื่อ วีคเอ็นด์เมน

ในฉบับสุดท้าย

ในครั้งนี้นั้น

มีราคาต่อปก

จำนวน 120 บาท

และมีเจ้าของ

และกลุ่มทีมงาน

โดยมีผู้นำทีม

คือ คุณชามน จักรพันธ์

ซึ่งเป็นบรรณาธิการ

มาตั้งแต่ในยุคแรก

ยังคงเป็นเจ้าของ

และมีตำแหน่งหลัก

เป็นบรรณาธิการบริหาร

ให้กับทางนิตยสาร

เช่นเดียวกัน

กับในช่วงยุคแรก

ของการก่อตั้ง

ของทางนิตยสาร

(เป็นการบันทึก

ในด้านข้อมูล

จากนิตยสาร

ในฉบับสุดท้าย

ที่ผู้เขียนบลอก

ยังคงมีเก็บไว้

เพียงเท่านั้น

โดยหากข้อมูล

ในฉบับสุดท้าย

ไม่ถูกต้อง

จากการมีนิตยสาร

วีคเอ็นด์เมน

ในฉบับอื่นๆ

ที่มีการจัดทำ

ออกมาวางจำหน่าย

ในภายหลัง

เป็นการเพิ่มเติม

ทางผู้เขียนบลอก

ต้องขออภัย

ในความผิดพลาด

ของข้อมูล

ในส่วนนี้

ไว้ ณ ที่นี้)













นิตยสารเก่าในความทรงจำ

นิตยสารเก่าในความทรงจำ
นิตยสารลลนา (1973-1995)

สโมสรผึ้งน้อย (1984)

บทความเก่าของบลอก

บทความเก่าของบลอก
แหม่ม พัชริดา วัฒนา

นิตยสารเก่าในความทรงจำ

นิตยสารเก่าในความทรงจำ
นิตยสารทีวีรีวิว (1972-1992)

SAN MIGUEL BEER (1989)

บทความเก่าของบลอก

บทความเก่าของบลอก
เมย์ ศศลักษณ์ พันธุ์หาญ

SVESVESB / YASUO MIYATA (1982)

การ์ตูนเก่าในความทรงจำ

การ์ตูนเก่าในความทรงจำ
เอล (1992-1995)

SEVENTH HEAVEN (1996-2007)

เสือ 11 ตัว (2001)

เสือ 11 ตัว (2001)

NIVEA SKIN LOTION (1988)

บทความเก่าของบลอก

บทความเก่าของบลอก
เจี๊ยบ ศักราช ฤกษ์ธำรงค์

BALENO / DAVID WU (1989)

นิตยสารเก่าในความทรงจำ

นิตยสารเก่าในความทรงจำ
นิตยสารแพรวสุดสัปดาห์ (1983)

สิงห์โกลด์ไลท์เบียร์ (1989)

From Me To You


การจัดทำบลอกนี้

เกิดจากความรู้สึก

ที่ผู้เขียนบลอก

อยากจะบันทึก

ความทรงจำ

ในช่วงเวลา

ของวันเก่าๆ

ผ่านเส้นทาง

จากเรื่องราว

และผลงานต่างๆ

ของเหล่าดารา

นักร้อง นักแสดง

นายแบบ นางแบบ

นักเขียน ฯลฯ

ซึ่งมีความเกี่ยวข้อง

กับศิลปะบันเทิง

ในช่วงยุคสมัย

ก่อนการมาถึง

ของอินเทอร์เน็ต

ที่แพร่หลาย

ในสังคมไทย

อย่างในทุกวันนี้

ซึ่งในการจัดทำ

ผู้เขียนบลอก

ได้รวบรวม

เรื่องราวต่างๆ

จากความทรงจำ

และค้นข้อมูล

โดยนำรูปภาพ

จากนิตยสารต่างๆ

ในช่วงเวลาอดีต

นำมารวบรวม

และเรียบเรียง

ให้เป็นภาพชัดเจน

ขึ้นมาอีกครั้ง

ด้วยสิ่งที่ตนเองนั้น

ยังคงเก็บไว้

ด้วยความมุ่งหวัง

ในการนำเสนอ

ด้วยความให้เกียรติ

ผ่านการนำเสนอ

ในด้านที่สวยงาม

ซึ่งในการจัดทำ

บทความต่างๆ

ซึ่งต้องใช้ภาพ

จากนิตยสารแฟชั่น

และนิตยสารบันเทิง

ในฉบับต่างๆ

จากช่วงยุค 70

ถึงช่วงปลายยุค 90

ซึ่งภาพทั้งหมดนั้น

ถือเป็นลิขสิทธิ์

ของนิตยสาร

และช่างภาพ

ท่านต่างๆ

ทำให้ผู้เขียนบลอก

มีความตั้งใจ

ที่จะจัดทำบลอกนี้

โดยไม่แสวงผลกำไร

และไม่เปิดรับโฆษณา

เพื่อเป็นการยุติธรรม

ต่อเจ้าของภาพ

ในนิตยสาร หนังสือ

และวีดีโอต่างๆ

ที่ผู้เขียนบลอก

นำมาเรียบเรียงไว้

ในบทความ

โดยในการจัดทำ

ผู้เขียนบลอก

อยากจะขอขอบคุณ

นิตยสารและช่างภาพ

ซึ่งเป็นเจ้าของภาพ

สำหรับภาพสวยๆ

ในทุก-ทุกรูป

และอยากจะขอ

ความกรุณา

จากผู้อ่านทุกท่าน

ที่จะนำข้อมูล

และภาพต่างๆ

ในบลอกนี้

ซึ่งผู้เขียนบลอก

ไม่ใช่เจ้าของ

ในด้านลิขสิทธิ์

นำไปเผยแพร่

ขอให้ทุกท่าน

ที่จะนำภาพไปใช้

ขอให้นำไปใช้

โดยมิใช่เพื่อการค้า

หรือนำไปรวบรวมใว้

ในเวบไซต์ เพจ

หรือบลอกต่างๆ

ที่มีการลงโฆษณา

หรือนำไปประกอบ

ในข้อความ บทความ

ที่จะเป็นการล่วงเกิน

ผู้ที่เป็นแบบ

ในภาพนั้นๆ

จากการนำไปใช้

ร่วมกับข้อความ

ที่มีข้อมูล

ในด้านลบ

หรือใช้ถ้อยคำ

ที่มีความหยาบคาย

ซึ่งจะสร้างความเสียหาย

ให้กับผู้เป็นแบบ

ซึ่งอยู่ในภาพ

ท่านนั้นๆ

SUMMER CONCERT / JIMMY LIN (1992)

นิตยสารเก่าในความทรงจำ

นิตยสารเก่าในความทรงจำ
นิตยสารซินีแม๊ก (1994-2002)

SUCCESS / EISAKU YOSHIDA (1989)

บทความเก่าของบลอก

บทความเก่าของบลอก
Eisaku Yoshida

DIG MEN / TAKAHASHI BROTHERS (1989)

DAWSON'S CREEK (1998-2003)

บทความเก่าของบลอก

บทความเก่าของบลอก
นุ๊ก สุทธิดา เกษมสันต์ ณ อยุธยา

ชาวเวอร์ทูชาวเวอร์ / จอนนี่ แอนโฟเน่ (1989)

บทความเก่าของบลอก

บทความเก่าของบลอก
ลางลิขิต (2001)

โฆษณาเครื่องดื่มเป็ปซี่ / พีท ทองเจือ (1992)

นิตยสารเก่าในความทรงจำ

นิตยสารเก่าในความทรงจำ
Movie Time Magazine (1997-2009)

บทความเก่าของบลอก

บทความเก่าของบลอก
แพท พัสสน ศรินทุ

MELROSE PLACE (1992-1999)

นิตยสารเก่าในความทรงจำ

นิตยสารเก่าในความทรงจำ
Gift Magazine (1981-1992)
ในช่วงยุค 70-90 นั้น

สื่อสิ่งพิมพ์ประเภทการ์ตูน

ที่เข้ามาแพร่หลาย

ในประเทศไทยนั้น

ยังไม่ได้อยู่ภายใต้การบังคับ

ของกฎหมายลิขสิทธิ์

อย่างที่เกิดขึ้น

ในประเทศไทย

ในช่วงปี พ.ศ. 2535

ทำให้วงการการ์ตูน

ในประเทศไทย

ในขณะนั้น

มีการแข่งขันกัน

ระหว่างสำนักพิมพ์ต่างๆ

ในการตีพิมพ์และวางจำหน่าย

ผลงานการ์ตูนเรื่องดังๆ

จากประเทศญี่ปุ่น

จากเหตุผลในข้อนี้เอง

ทำให้เกิดนิตยสารการ์ตูน

เพื่อที่จะได้มีการแปล

และวางจำหน่าย

ให้ทันกับต้นฉบับ

ของนิตยสารการ์ตูน

ที่วางขายในประเทศญี่ปุ่น

และ กิฟท์ แม็กกาซีน

ของ ไลน์อาร์ทแพลนนิ่ง

ถือเป็นหนึ่งในนิตยสารการ์ตูน

สำหรับเด็กผู้หญิง

ที่โด่งดังมากที่สุด

ในช่วงยุค 80

ที่ผ่านมา

จากการมีการ์ตูนเรื่องดังๆ

อย่าง ไซเฟอร์ ไอบอย

เลขรักพิสดาร

อสูรน้อยกระซิบรัก

ตีพิมพ์เป็นประจำ

โดยนอกจากการ์ตูนฮิตเหล่านี้

กิฟท์ แม็กกาซีน

ยังมีลักษณะเฉพาะ

ที่มีความพิเศษ

ที่เป็นที่ชื่นชอบ

ของผู้อ่านมากมาย

จนกลายเป็นนิตยสารการ์ตูน

สำหรับเด็กผู้หญิง

ที่ยังคงอยู่ในความทรงจำ

ของผู้อ่านทุก-ทุกคน

มาจนถึงในทุกวันนี้

โดยผู้อ่านบลอก

ที่สนใจและชื่นชอบ

ในนิตยสารเล่มนี้

สามารถอ่านบทความ

และชมภาพทั้งหมด

ได้ในหัวข้อ 80 thai magazine

และ 90 thai magazinr

บทความเก่าของบลอก

บทความเก่าของบลอก
มารยาริษยา (1998)

SUNTORY NCAA / KOJI KIKKAWA (1985)

บทความเก่าของบลอก

บทความเก่าของบลอก
ต่อ กันติ ธรรมาณิชานนท์

MR PRIVATE EYE / CITY HUNTER (1987)

คิขุอาโนเนะ / วงบอยสเก๊าท์ (1993)

บทความเก่าของบลอก

บทความเก่าของบลอก
ธรรม์ โทณะวณิก

THE DREW CAREY SHOW (1995-2004)

นิตยสารเก่าในความทรงจำ

นิตยสารเก่าในความทรงจำ
นิตยสารอานนท์ (1993-1995)

SUNTORY / KAORU KOBAYASHI (1987)

การ์ตูนเก่าในความทรงจำ

การ์ตูนเก่าในความทรงจำ
รักทระนง (1987)

JAL OKINAWA / TORU KAZAMA (1989)

บทความเก่าของบลอก

บทความเก่าของบลอก
Taishu Kase

BEVERLY HILLS 90210 (1990-2000)

นิตยสารเก่าในความทรงจำ

นิตยสารเก่าในความทรงจำ
HELLO MAGAZINE (1985-1989)

LOVE LIGHT / YU HAYAMI (1982)

นิตยสารเก่าในความทรงจำ

นิตยสารเก่าในความทรงจำ
นิตยสารบงกช (1981-1989)

PRIVATE LIFE / SHONENTAI (1987)

Shonentai / 少年隊

ในช่วงยุค 80

ที่ผ่านมานั้น

ถือเป็นช่วงยุคเฟื่องฟู

ของเหล่านักแสดง

นักร้องวัยรุ่น

ขวัญใจวัยรุ่น

จากประเทศญี่ปุ่น

ที่เริ่มเป็นที่รู้จัก

และมีชื่อเสียง

ในประเทศไทย

โดยหลังจากความสำเร็จ

ของละครโทรทัศน์

เรื่อง เคนโด้

ข้าคือลุกผู้ชาย

รวมถึงละครโทรทัศน์

แนวกีฬา

จากประเทศญี่ปุ่น

อีกหลายๆเรื่อง

ที่เข้ามาแพร่ภาพ

และได้รับความนิยม

ในประเทศไทย

ในช่วงยุค 70

ผู้ชมชาวไทย

ก็เริ่มจะเปิดรับ

ผลงานเพลง

ละครโทรทัศน์

และภาพยนตร์เรื่องต่างๆ

จากประเทศญี่ปุ่น

โดยในฐานะ

กลุ่มนักร้อง

ขวัญใจวัยรุ่น

สามนักร้องหนุ่มหล่อ

วง Shonentai

ถือเป็นกลุ่มนักร้อง

จากประเทศญี่ปุ่น

ที่ได้รับความนิยม

จากสาวๆชาวไทย

มากที่สุด

ในช่วงยุค 80

ซึ่งความโด่งดัง

ของพวกเขา

ทำให้ผู้ชม

ในประเทศไทยเอง

ได้มีโอกาสต้อนรับ

และเข้าชมคอนเสริต์

ของพวกเขา

ที่มีการจัดขึ้น

ในประเทศไทย

ซึ่งถือเป็นความยิ่งใหญ่

ในยุคสมัย

ที่ยังไม่มี Internet

และสื่อบันเทิงต่างๆ

ให้ได้ติดตามรับชม

กันอย่างมากมาย

เหมือนในทุกวันนี้

โดยผู้อ่านของบลอก

ที่คิดถึงผลงาน

และเรื่องราวเก่าๆ

ในช่วงแรก

ของอาชีพนักร้อง

ของทั้งสามหนุ่มหล่อนี้

สามารถติดตามเรื่องราว

และรับชมรูปภาพ

ของพวกเขาได้

ในหัวข้อ 80 Japan Male Idol

บทความเก่าของบลอก

บทความเก่าของบลอก
โด่ง สิทธิพร นิยม

แกล้งโง่ / ฝันดี ฝันเด่น จรรยาธนากร (1994)

ละครเก่าในความทรงจำ

ละครเก่าในความทรงจำ
ดั่งดวงหฤทัย (1996)

นิตยสารเก่าในความทรงจำ

นิตยสารเก่าในความทรงจำ
นิตยสารด้วยรัก (1983-1985)

ขอคืน / บอยสเก๊าท์ (1993)

นิตยสารเก่าในความทรงจำ

นิตยสารเก่าในความทรงจำ
Starpics Magazine (1965)

EARLY EDITION (1996-2000)

การ์ตูนเก่าในความทรงจำ

การ์ตูนเก่าในความทรงจำ
บันทึกรักโพนีเทล (1985-1987)

นิตยสารฉบับเก่าในความทรงจำ

นิตยสารฉบับเก่าในความทรงจำ
นิตยสารแพรว (1979)

STILL LOVE HER / TM NETWORK

บทความเก่าของบลอก

บทความเก่าของบลอก
Kazukiyo Nishikiori (Shonentai)

ปราสาทมืด (1994)

บทความเก่าของบลอก

บทความเก่าของบลอก
ม.6/2 ห้องครูวารี (1994)

MEIJI CHOCOLAT (1993)

บทความเก่าของบลอก

บทความเก่าของบลอก
อัลเฟรด เนติพงษ์ ศรีทองอินทร์

TOKI WO KAKERU SHOUJO (1983)

AGAINST ALL ODDS (1984)

นิตยสารเก่าในความทรงจำ

นิตยสารเก่าในความทรงจำ
Starpics Magazine (1965)

GLICO ALMOND / RYUJI HARADA (1992)

บทความเก่าของบลอก

บทความเก่าของบลอก
โจ ธเนศ ฉิมท้วม

โปลิศจับขโมย (1996)

ปุกปุย (1990)

ภาพยนตร์คุณภาพ

เรื่อง ปุกปุย

ที่ยังคงอยู่ในความทรงจำ

ของผู้ชมภาพยนตร์

หลาย-หลายท่าน

มาจนถึงในทุกวันนี้

เกิดจากแนวคิด

ในการเขียนบท

ของ คุณอุดม อุดมโรจน์

และ คุณทองขาว มะขาวป้อม

โดยภาพยนตร์เรื่องนี้

มีชื่อแรกในบทร่าง

ว่า ใครใครก็ไม่รัก

ซึ่งแนวคิดของเรื่อง

ได้รับแรงบันดาลใจ

มาจาก My Life As a Dog

จากการที่คุณอุดมนั้น

ต้องการสร้างภาพยนตร์

เกี่ยวกับเด็กเด็ก

ในแนวคิดที่อยากนำเสนอ

ให้สังคมและครอบครัว

หันมาใส่ใจ

และดูแลเด็กเด็ก

ในด้านความรู้สึก

ของพวกเขามากกว่านี้

โดยรายนามของผู้สร้างสรรค์

ภาพยนตร์คุณภาพเรื่องนี้

มีดังนี้ กำกับภาพยนตร์

โดย อุดม อุดมโรจน์

อำนวยการสร้าง

โดย จรัญ/วิสูตร พูลวรลักษณ์

ถ่ายภาพ

โดย ปัญญา นิ่มเจริญพงศ์

ดนตรีประกอบ

โดย จำรัส เศวตาภรณ์

ภาพยนตร์เรื่อง ปุกปุย

เปิดตัวต่อสื่อมวลชน

และออกฉายทั่วประเทศ

เมื่อวันที่ 19 พฤษภาคม พ.ศ. 2533

โดยแม้จะมาพร้อม

กับคุณภาพ

และงานการสร้าง

ที่มีความสมบูรณ์แบบ

แต่ภาพยนตร์เรื่องนี้

ไม่ได้ออกฉายทันที

ที่การถ่ายทำเสร็จสิ้นลง

เนื่องจากต้องรอคิว

และเวลาในการออกฉาย

ในโรงภาพยนตร์

ที่มีจังหวะเหมาะสม

ก่อนที่ภาพยนตร์เล็กๆเรื่องนี้

จะทำรายได้ในปีนั้น

ไปอย่างเหนือความคาดหมาย

และยังคงอยู่ในความทรงจำ

ของผู้ชมทุก-ทุกคน

มาจนถึงทุกในวันนี้

ภาพยนตร์เรื่อง ปุกปุย

นำแสดงโดย ด.ช. ณพัชร สุพัฒนกุล

ที่ให้การแสดงชั้นยอด

และเป็นทุกสิ่งทุกอย่าง

ที่บทภาพยนตร์ต้องการ

ร่วมด้วย ด.ญ. ปรางใส ณ นคร

ด.ช. ศุภชัย ชัยวัฒนเมธิน

เกรียงไกร อุณหนันท์

ธิติมา สังขพิทักษ์

และ ญาณี จงวิสุทธิ์

สบตา / แอนเดรีย สวอเรซ (1994)

นิตยสารเก่าในความทรงจำ

นิตยสารเก่าในความทรงจำ
นิตยสารมิถุนา (1983-1997)

อยากรู้ความจริง / ทัช ณ ตะกั่วทุ่ง (1992)

บทความเก่าของบลอก

บทความเก่าของบลอก
เจริญทอง เกียรติบ้านช่อง

ครีมอาบน้ำลักส์ / อัญชลี จงคดีกิจ (1985)

บทความเก่าของบลอก

บทความเก่าของบลอก
โป้ง วราวุธ บูรพาชยานนท์

MISSING YOU / TOMMY PAGE (1997)

ตามรักคืนใจ (1998)

ในปี พ.ศ. 2541

สถานีโทรทัศน์ช่อง 3

ร่วมกับบริษัท ยูมาร์ 99 จำกัด

ได้เสนอละครโทรทัศน์

เรื่อง ตามรักคืนใจ

แพร่ภาพเป็นประจำ

ทุกวันศุกร์และเสาร์

เวลา 20:30 น.

ทางสถานีโทรทัศน์ช่อง 3

โดยละครโทรทัศน์เรื่องนี้

สร้างจากบทประพันธ์

ของ กิ่งฉัตร

ดัดแปลงเป็นบทโทรทัศน์

โดย ทุ่งดอกไม้

กำกับการแสดง

โดย วิลักษณา

นำแสดงโดย ธนากร โปษยานนท์

รับบท สีหนาท หรือ นายสิงห์

รามาวดี สิริสุขะ

รับบท หนูนา หรือ นารา

พงษ์พัฒน์ วชิรบรรจง

รับบท ราม

นาถยา แดงบุหงา รับบท รัศมี

นพชัย มัททวีวงศ์ รับบท อดิศร

ชไมพร สิทธิวรนันท์

รับบท จุฑารัตน์ หรือ จุ๊

เมธี อมรวุฒิกุล รับบท สารวัตรกช

รุ้งทอง ร่วมทอง รับบท ขนิษฐา

สมบัติ เมทะนี รับบท วรรณ

ทนงศักดิ์ ศุภการ รับบท ศักดา

ดารณีนุช โพธิปิติ รับบท แป้น

พิมพกา เสียงสมบุญ รับบท พวง

ศักราช ฤกษ์ธำรงค์ รับบท เอกชาติ

วัชรเกียรติ บุญภักดี รับบท เรือง

เรือนมยุรา (1997)

เธอยังคงมีฉัน / ปัทมวรรณ เค้ามูลคดี (1994)

บทความเก่าของบลอก

บทความเก่าของบลอก
เจ มณฑล จิรา

NEVER SURRENDER / COREY HART (1985)

บทความเก่าของบลอก

บทความเก่าของบลอก
Paul Visut Carey

คลังบทความของบล็อก

TOKI / YUTAKA OZAKI (1988)

บทความพิเศษของบลอก

บทความพิเศษของบลอก
นิตยสารวัยรุ่นทศวรรษที่ 90

TRUE / SPANDAU BALLET (1983)

MY FAVORITE ALBUM / EISAKU YOSHIDA

MOU DAREMO AISANAI (1991)

ดอกแก้วการะบุหนิง (2000)

ในปี พ.ศ. 2543

สถานีโทรทัศน์ช่อง 3

ร่วมกับบริษัท ฮู แอนด์ ฮู

โดย วรายุฑ มิลินทจินดา

เสนอละครโทรทัศน์

เเนว โรแมนติก-แฟนตาซี

เรื่อง ดอกแก้วการะบุหนิง

โดยเป็นการสร้าง

จากบทประพันธ์

โดย แก้วเก้า

นำมาดัดแปลง

เป็นบทโทรทัศน์

โดย วรดา

กำกับการแสดง

โดย ชูศักดิ์ สุธีรธรรม

นำแสดงโดย ธนากร โปษยานนท์

รับบท ดนย์

คัทลียา แมคอินทอช

รับบท การะบุหนิง

ฉัตรชัย เปล่งพานิช

รับบท สุหราปาตี

จินตหรา สุขพัฒน์

รับบท กิรณา

เพลงประกอบละครโทรทัศน์

เพลง เธอ

โดย ศิริลักษณ์ ผ่องโชค

ภาพประกอบละครโทรทัศน์

ช่วง Opening Credits

โดย อ.สุรเดช แก้วท่าไม้

ละครโทรทัศน์

เรื่อง ดอกแก้วการะบุหนิง

ออกอากาศเป็นประจำ

ทุกวันจันทร์ อังคาร

เวลา 20.25 น.

ทางสถานีโทรทัศน์ช่อง 3

ในปี พ.ศ. 2543

นิตยสารเก่าในความทรงจำ

นิตยสารเก่าในความทรงจำ
นิตยสารกระดังงา (1984-1990)

VITASOY / SIMON LO (1992)

บทความเก่าของบลอก

บทความเก่าของบลอก
สามารถ พยัคฆ์อรุณ

ป้ายกำกับ

JAL / KAORU KOBAYASHI (1991)

MY FAVORITE ALBUM

MY FAVORITE ALBUM
CAPRICCIO / SHONENTAI (1988)

HI-C LEMON TEA / EKIN CHENG (1987)

นิตยสารเก่าในความทรงจำ

นิตยสารเก่าในความทรงจำ
นิตยสารเพื่อนเดินทาง (1980)

GILMORE GIRLS (2000-2007)

HOP-STEP-LOVE / JUNICHI NITTA (1982)

บทความเก่าของบลอก

บทความเก่าของบลอก
Shingo Kazami

JA KYOSAI / EISAKU YOSHIDA (1990)

บทความเก่าของบลอก

บทความเก่าของบลอก
Yuki Saito

วนิดา (1991)