สถานีโทรทัศน์ช่อง 3
ได้มีการซื้อลิขสิทธิ์
ละครโทรทัศน์ชุดยาว
จำนวน 24 ตอน
เรื่อง 還珠格格
ที่เป็นผลงาน
ละครโทรทัศน์
เรื่องยิ่งใหญ่
ที่เป็นการร่วมทุนสร้าง
ระหว่างบริษัท
ผลิตสื่อบันเทิง
ของทางไต้หวัน
และจีนแผ่นดินใหญ่
ที่โด่งดังอย่างมาก
จากการแพร่ภาพ
และได้รับความนิยม
ทั้งในไต้หวัน ฮ่องกง
และจีนแผ่นดินใหญ่
โดยมีการซื้อลิขสิทธิ์
นำมาแพร่ภาพ
ในประเทศไทย
ในช่วงเวลาเย็น
ทุกวันจันทร์-ศุกร์
โดยใช้ชื่อภาษาไทย
ในการแพร่ภาพ
เป็นครั้งแรก
ในช่วงปลายปี พ.ศ. 2542
ว่า องค์หญิงกำมะลอ
(แพร่ภาพครั้งแรก
ที่เกาะไต้หวัน
และจีนแผ่นดินใหญ่
ในช่วงปี พ.ศ. 2541)
ซึ่งจากความนิยมอย่างสูง
ของผู้ชมชาวไทย
เช่นเดียวกับผู้ชม
ในชาติอื่นๆ
ในแถบเอเชีย
ทำให้ทางสถานีโทรทัศน์ช่อง 3
ได้มีการซื้อลิขสิทธิ์
ละครโทรทัศน์
ชุด 還珠格格
หรือ องค์หญิงกำมะลอ
ในภาคที่ 2
ที่มีจำนวน 48 ตอน
นำมาแพร่ภาพ
ให้ได้ติดตามรับชม
อย่างต่อเนื่องกันไป
ถึงในปี พ.ศ. 2543
ละครโทรทัศน์
เรื่อง องค์หญิงกำมะลอ
จากบทประพันธ์
ของ ฉวนเหยา
ฉบับการสร้างครั้งแรก
ในปี พ.ศ. 2541
นำแสดงโดย เจ้าเหวย
รับบท เสี่ยวเยี่ยนจื่อ
ซูโหย่วเผิง รับบท หย่งฉี
หรือ องค์ชายห้า
หลินซินหยู รับบท จื่อเว่ย
โจวเจี๋ย รับบท เอ่อคัง
ฟั่นปิงปิง รับบท จินสั่ว
จางเถี่ยหลิน รับบท เฉียนหลงฮ่องเต้
ไต้ชุนหยง รับบท ฮองเฮา
จูหงเจีย รับบท เซียวเจี้ยน
หลิวตัน รับบท สนมหานเซียง
โหม่วฟ่งหลิน รับบท หมงตัน
หวังเอี้ยน รับบท องค์หญิงฉิงเอ๋อ
เรื่อง องค์หญิงกำมะลอ
เป็นเรื่องราวชีวิต
และความรัก
ของสองสาว
เสี่ยวเยี่ยนจื่อ
และจื่อเว่ย
โดยเรื่องราวเริ่มขึ้น
จากการที่จื่อเว่ย
ซึ่งเป็นหญิงสาวแสนสวย
ที่มีจิตใจงดงาม
ได้ทราบถึงชาติกำเนิด
ที่แท้จริงของตน
จากการมีฐานะ
เป็นพระธิดา
ของเฉียนหลงฮ่องเต้
ที่เกิดกับสตรีสามัญชน
หลังการเสียชีวิต
ของผู้เป็นมารดา
จื่อเว่ยตัดสินใจ
ที่จะออกเดินทาง
ไปยังเมืองหลวง
เพื่อหาทางเข้าเฝ้า
เฉียนหลงฮ่องเต้
โดยในการเดินทาง
จื่อเว่ยมีจินสั่ว
ผู้เป็นสาวใช้
ที่มีความซื่อสัตย์
เป็นเพื่อนร่วมทาง
โดยในระหว่างทาง
ไปยังเมืองหลวงนั้น
จื่อเว่ยได้พบ
กับเสี่ยวเยี่ยนจื่อ
หญิงสาวผู้ร่าเริง
และสนุกสนาน
ซึ่งทั้งสองนั้น
ต่างก็รู้สึกถุกชะตา
และมีความสนิทสนม
เข้าใจกันและกัน
ได้อย่างรวดเร็ว
ซึ่งจากเหตุการณ์
ที่ไม่คาดคิด
ทำให้เสี่ยวเยี่ยนจื่อนั้น
ได้มีโอกาส
เข้าวังหลวง
ในฐานะพระธิดา
แทนที่จื่อเว่ย
ซึ่งเป็นองค์หญิงตัวจริง
ซึ่งจากอุปนิสัย
ที่ร่าเริง กล้าหาญ
ก็ทำให้เธอนั้น
กลายเป็นที่โปรดปราน
ของเฉียนหลงฮ่องเต้
ซึ่งถูกชะตา
ในนิสัยร่าเริง
และกล้าหาญของเธอ
ซึ่งจากการหลอกลวง
เฉียนหลงฮ่องเต้
ของเสี่ยวเยี่ยนจื่อนี้เอง
ทำให้จื่อเว่ย
ผู้เป็นองค์หญิง
ที่แท้จริงนั้น
ต้องปกปิดฐานะ
ที่แท้จริงของตน
เมื่อมีโอกาส
ได้เข้าไปในวัง
ในระยะเวลาต่อมา
ที่มีความสะดวกสบาย
และมีความหรูหรานั้น
เต็มไปด้วยความเข้มงวด
จากกฎระเบียบมากมาย
ทำให้เสี่ยวเยี่ยนจื่อ
จื่อเว่ย จินสั่ว
องค์ชายหย่งฉี
เอ่อคัง เอ่อไท้
ที่ล้วนแต่เป็นหนุ่มสาว
ที่อยู่ในวัยเดียวกันนั้น
ต่างก็มีความสนิทสนม
และมีความผูกพันต่อกัน
แม้ว่าพวกเขานั้น
จะมีฐานะ ชาติตระกูล
ที่แตกต่างกันออกไป
ซึ่งความสนิทสนม
ของพวกเขานั้น
อยู่ภายใต้สายตา
ที่จับจ้อง
ด้วยความความไม่พอใจ
ของฮองเฮา ไทเฮา
และแม่นมหยง
ที่นึกรังเกียจ
และไม่พอใจ
ในตัวเสี่ยวเยี่ยนจื่อ
ในแง่ของชาติกำเนิด
และอากัปกิริยา
ที่มีความเปิดเผย
ผิดแผกจากสาวชาววัง
ที่ล้วนแต่เป็นกุลสตรี
ซึ่งจากความไม่พอใจ
ทำให้พวกนางทั้งสาม
คอยหาวิธี
ที่จะกลั่นแกล้ง
เสี่ยวเยี่ยนจื่อ จื่อเว่ย
และจินสั่วอยู่เสมอ
ซึ่งในขณะเดียวกัน
ตัวจื่อเว่ยเองนั้น
ก็ได้พยายาม
ที่จะหาวิธี
ในการที่จะเปิดเผย
ฐานะและชาติกำเนิด
ที่แท้จริงของเธอ
โดยไม่ให้กระทบ
กับเสี่ยวเยี่ยนจื่อ
ที่อาจจะต้องถูกลงโทษ
จากการหลอกลวงเบื้องสูง
จากการเข้ามาในวัง
ในฐานะองค์หญิงตัวปลอม
และละครโทรทัศน์
เรื่อง องค์หญิงกำมะลอ
หรือ 還珠格格
ที่เป็นที่ทราบกันดี
ว่าเป็นผลงาน
ในการประพันธ์
ของ ฉวนเหยา
นักเขียนชื่อดัง
ของเกาะไต้หวัน
ในเรื่องนี้นั้น
จากบทความ
เกี่ยวกับเบื้องหลัง
งานการสร้าง
ละครโทรทัศน์เรื่องนี้
ได้มีการบอกเล่า
ถึงแรงบันดาลใจ
ในการประพันธ์
นวนิยายเรื่องนี้
โดยฉวนเหยานั้น
เริ่มความคิด
ในการประพันธืขึ้น
จากการที่เธอนั้น
ได้ไปท่องเที่ยว
ทางตะวันตก
ของแถบปักกิ่ง
ในช่วงปี พ.ศ. 2540
โดยได้ไปท่องเที่ยว
ยังสถานที่แห่งหนึ่ง
ซึ่งกล่าวกันว่า
ที่แห่งนี้คือสุสาน
ขององค์หญิงท่านหนึ่ง
ในสมัยราชวงศ์ชิง
ที่มีประวัติความเป็นมา
ไม่ปรากฎแน่ชัด
ในประวัติศาสตร์จีน
โดยหนึ่งในตำนาน
หลาย-หลายเรื่อง
ของสุสานโบราณแห่งนี้
กล่าวกันว่าสุสานแห่งนี้
เป็นขององค์หญิง
ที่เดิมทีนั้น
เป็นสตรีสามัญชน
และได้รับการอุปการะ
จากเฉียนหลงฮ่องเต้
เข้าไปใช้ชีวิตในวัง
ในฐานะของพระธิดา
ซึ่งจากความประทับใจ
ในเรื่องเล่า
หรือตำนานเรื่องนี้
ฉวนเหยาจึงนำมาเขียน
และแต่งเติมขึ้นใหม่
ให้กลายเป็นนวนิยาย
เรื่อง 還珠格格
(หวนจูเก๋อเก๋อ)
ที่มีความสนุกสนาน
จากการผสมผสาน
ให้มีเรื่องราว
ในแบบเมโลดราม่า
รัก-โรแมนติก
พีเรียด-คอสตูม
อิงประวัติศาสตร์
ให้อยู่ในเรื่องราวเดียวกัน
จนกลายเป็นละครโทรทัสน์
ที่ประสบความสำเร็จอย่างสูง
จากการโด่งดังอย่างมาก
ในการนำไปแพร่ภาพ
ในประเทศต่างๆ
ในแถบเอเชีย
ในช่วงปลายยุค 90
ที่ผ่านมา
สำหรับผู้ชม
ในประเทศไทยนั้น
ก่อนการแพร่ภาพ
ละครโทรทัศน์
ชุด องค์หญิงกำมะลอ
ที่เป็นการสร้าง
จากบทประพันธ์
ของฉวนเหยา
แท้ที่จริงแล้ว
ผู้ชมชาวไทย
ถือว่าเป็นกลุ่มผู้ชม
ที่มีความคุ้นเคยกันดี
กับภาพยนตร์
และละครโทรทัศน์
ที่เป็นการสร้าง
จากบทประพันธ์ต่างๆ
ของฉวนเหยา
นักเขียนชื่อดัง
ของเกาะไต้หวันท่านนี้
ซึ่งจากการที่งานเขียน
ส่วนใหญ่ของเธอนั้น
มักเป็นเรื่องราว
ของความรักแท้
ที่เต็มไปด้วยน้ำตา
ของคู่หนุ่มสาว
ที่งดงาม บริสุทธิ์
ที่ต้องต่อสู้กับ
อุปสรรคต่างๆ
เช่น ฐานะที่แตกต่าง
จารีตประเพณี
รวมถึงความต้องการ
ของทางครอบครัว
ซึ่งเป็นที่นิยม
และมีความเหมาะสม
ในการนำมาสร้าง
เป็นละครโทรทัศน์
หรือภาพยนตร์
ทำให้ตั้งแต่ในช่วงยุค 70
ซึ่งเป็นช่วงยุคทอง
ของภาพยนตร์
แนว Taiwan Romance Movie
ที่ภาพยนตร์ในรูปแบบนี้
กลายเป็นที่นิยม
อย่างมาก
ของผู้ชมทั่วเอเชีย
ในช่วงยุค 70
ถึงช่วงต้นยุค 80
จากการมีนักแสดงนำ
ที่มาพร้อมความงดงาม
และพลังดาราระดับสูง
อย่าง หลินชิงเสีย
หลินฟ่งเจียว
ฉินฮั่น ฉินเสียงหลิน
ที่ล้วนแต่มีบุคลิกส่วนตัว
เหมือนกับก้าวออกมา
จากนวนิยายเรื่องต่างๆ
ของฉวนเหยาก็ว่าได้
ซึ่งหลังจากภาพยนตร์
ในรูปแบบนี้
เริ่มเสื่อมความนิยม
ผลงานของเธอนั้น
ก้ได้กลับมา
ได้รับความนิยม
ในกลุ่มผู้ชม
ที่เป็นชาวไทยอีกครั้ง
ในช่วงกลางยุค 90
จากการที่สถานีโทรทัศน์ช่อง 3
ได้มีการซื้อลิขสิทธิ์
ละครโทรทัศน์
ชุด ตำนานรักดอกเหมย
ที่ออกอากาศ
อย่างต่อเนื่อง
ติดต่อกันทั้ง 3 ภาค
และได้รับความนิยม
ในประเทศไทยอย่างสูง
แม้จะออกอากาศ
ในช่วงเวลาบ่าย
ของวันธรรมดา
ซึ่งจากความสำเร็จ
ของละครโทรทัศน์
ทั้งสามเรื่องนี้
ทำให้ทางสถานีโทรทัศน์ช่อง 3
ได้มีการซื่อลิขสิทธิ์
ละครโทรทัศน์เรื่องอื่นๆ
ในแนวรัก-โรแมนติก
แบบเมโลดราม่า
ที่สร้างจากบทประพันธ์
และเป็นผลงานการสร้าง
ของฉวนเหยาเอง
นำมาออกอากาศ
อย่างต่อเนื่อง
ในช่วงเวลายามบ่าย
ติดต่อกันอย่างยาวนาน
ในช่วงยุค 90 ที่ผ่านมา
จนเป็นความคุ้นเคย
ของผู้ชมชาวไทย
(โดยในภายหลัง
มีการนำละครโทรทัศน์
จากบริษัททีวีบี ฮ่องกง
มาออกอากาศแทน
แต่ยังคงใช้ชื่อเดิม
คือละครโทรทัศน์
ชุด ตำนานรักดอกเหมย)