สิงห์สาวนักสืบปี 2 (1985-1986)

 Sukeban Deka 2 : Shojo Tekkamen Densetsu
ในปี พ.ศ. 2528

สถานีโทรทัศน์

ช่อง Fuji TV

ร่วมกับบริษัท

Toei Studio

เสนอละครโทรทัศน์

แนวชีวิต / วัยรุ่น

สืบสวน / แอ็กชั่น

เรื่อง Sukeban Deka 2

Shojo Tekkamen Densetsu

โดยเป็นการสร้าง

เป็นละครโทรทัศน์

ความยาว 30 นาที

จำนวน 42 ตอน

จากบทโทรทัศน์

โดย Tokio Tsuchiya

Izo Hashimoto

Noburo Sugimura

Hiroshi Toda

Ichiro Yamanaka

ซึ่งเป็นการดัดแปลง

มาจากคาแรคเตอร์

Saki Asamiya

ในผลงานการ์ตูน

ชุด Sukeban Deka

โดย Shinji Wada

ละครโทรทัศน์

ชุด Sukeban Deka 2

กำกับการแสดง

โดย Hideo Tanaka

Toshio Oi

Taro Sakamoto

Morio Maejima

เพลงประกอบละครโทรทัศน์

เพลง Sayonara no Memai

โดย Yoko Minamino

เพลง Virgin Heart

โดย Haruko Sagara

เพลง Kisetsu Hazure no Koi

โดย Akie Yoshizawa

ละครโทรทัศน์

Sukeban Deka 2

มีการเปิดตัว

ต่อสื่อมวลชน

และออกอากาศ

ตอนที่ 1

เป็นครั้งแรก

ที่ประเทศญี่ปุ่น

ทางสถานีโทรทัศน์

ช่อง Fuji TV

ในวันที่ 7 พฤศจิกายน พ.ศ. 2528

ซึ่งหลังจากการแพร่ภาพ

ในทุกวันพฤหัสบดี

เวลา 19:30 - 20:00 น.

ละครโทรทัศน์ชุดนี้

มีการแพร่ภาพ

ตอนที่ 42

ซึ่งเป็นตอนสุดท้าย

ในวันที่ 23 ตุลาคม พ.ศ. 2529

(จากนั้นจึงมีละครโทรทัศน์

ชุด Sukeban Deka 3

Shojo Ninpojo Denki

ซึ่งมีนักแสดงกลุ่มใหม่

มารับบทบาทนำ

มาออกอากาศ

ในช่วงเวลาเดิม

เป็นการทดแทน

ละครโทรทัศน์ชุดนี้

ที่ได้จบชุดลงไป)


ละครโทรทัศน์

ชุด Sukeban Deka 2

Shojo Tekkamen Densetsu

ซึ่งมีการแพร่ภาพ

เป็นครั้งแรก

ที่ประเทศญี่ปุ่น

ในช่วงปี พ.ศ. 2528

ถึงในปี พ.ศ. 2529

นำแสดงโดย Yoko Minamino

รับบท Shiori Saotome

(Saki Asamiya)

Akie Yoshizawa

รับบท Yukino Yajima

Haruko Sagara

รับบท Okyo

(Kyoko Nakamura)

ร่วมด้วย Keizo Kanie

Naoto Nagashima

Hiroyuki Nagato

Jo Onodera

Norihiko Naito

Hiroshi Miyauchi

Akiko Izumi

Goro Matsumi

Eichi Kikuchi

Kanako Maeda

Hiroyuki Watanabe

Tokie Shibata


ละครโทรทัศน์

ชุด Sukeban Deka 2

Shojo Tekkamen Densetsu

ซึ่งเป็นการดัดแปลง

มาจากผลงานการ์ตูน

ชุด Sukeban Deka

ของ Shinji Wada

นักเขียนชื่อดัง

(ได้รับการแปล

และนำมาจัดพิมพ์

ในประเทศไทย

ในชื่อ ยอดนักโทษสาว

โดยบริษัทวิบูลย์กิจ

ในช่วงยุค 80)

เป็นเรื่องราวชีวิต

ที่พลิกผัน

ของชิโอริ

เด็กสาวชั้นมัธยม

ผู้เติบโตขึ้นมา

จากการถูกปิดบัง

ใบหน้าของเธอ

ด้วยหน้ากากเหล็ก

ที่ประวัติความเป็นมา

ยังคงเป็นปริศนา

ซึ่งจากความสามารถ

ในการต่อสู้

กับเหล่าอันธพาล

ซึ่งทำให้เธอนั้น

ได้รับการขนานนาม

ในฐานะผู้คุมอำนาจ

ของโรงเรียนอาโอยางิ

แห่งเกาะชิโกะกุ

ก็ทำให้ซาโอริ

ได้รับข้อเสนอ

จากนิชิวากิ

นายตำรวจหนุ่มใหญ่

สังกัดกองบัญชาการ

กิจการพิเศษ

ให้เข้ามารับหน้าที่

เป็นตำรวจลับ

ในคราบนักเรียน

โดยใช้ชื่อใหม่

ว่า ซากิ อาซามิยะ

เพื่อเป็นการทำหน้าที่

แทนซากิ

เด็กสาวคนเเรก

ที่ทำหน้าที่นี้

ซึ่งได้ลาออก

จากตำแหน่งไป

ซึ่งเมื่อชิโอริ

ได้เข้ามาทำหน้าที่

เป็นตำรวจลับ

จากการแฝงตัว

เข้าไปสืบสวน

ในคดีพิเศษ

ที่เกิดขึ้น

ในโรงเรียน

หลายแห่ง

จนพบสาเหตุ

ว่าแก็งค์โคริวไก

ซึ่งมีอิทธิพล

เป็นผู้อยู่เบื้องหลัง

และคอยชักใย

เหล่านักเรียน

ให้ผันตัว

มาเป็นอาชญากร

ซึ่งจากการต่อสู้

กับเหล่าวายร้าย

ในต่ละครั้ง

ก็ทำให้ชิโอริ

ในชื่อใหม่

ว่าซากินั้น

ได้พบกับมิตรภาพ

และความช่วยเหลือ

จากเพื่อนใหม่

ที่มีความจริงใจ

อย่างยูกิโนะ

และโอเคียว

ที่ถือเป็นเพื่อน

ผู้ร่วมการต่อสู้

ในปฎิบัติการต่างๆ

ที่ได้เกิดขึ้น

ในการสืบสวน

แต่ละครั้ง

(ขอขอบคุณวีดีโอ

โดยคุณ Kumatotd

www.youtube.com)



สำหรับผู้ชม

ในประเทศไทย

จากความทรงจำ

ของผู้เขียนบลอก

ในช่วงยุค 80

ที่ผ่านมานั้น

ละครโทรทัศน์

ชุด Sukeban Deka 2

Shojo Tekkamen Densetsu

ได้รับการติดต่อ

ในด้านลิขสิทธิ์

เพื่อนำมาแพร่ภาพ

ในประเทศไทย

เป็นครั้งแรก

โดยการติดต่อ

ของบริษัทรัชฟิลม์ทีวี

ซึ่งนำละครโทรทัศน์

ในซีรีย์ชุดนี้

ซึ่งมีการตั้งชื่อ

ในภาษาไทย

ว่า สิงห์สาวนักสืบ

นำมาแพร่ภาพ

ทางสถานีโทรทัศน์ช่อง 5

ในช่วงเวลาดึก

ของทุกคืนวันจันทร์

ในช่วงปี พ.ศ. 2530

(โดยละครโทรทัศน์

ชุด สิงห์สาวนักสืบ

ในปีที่ 2

ที่นำมาบันทึก

ในบทความ

ครั้งนี้นั้น

มีการเริ่มต้น

ออกอากาศ

ในตอนแรก

ในช่วงเดือนสิงหาคม

ของปี พ.ศ. 2530

โดยออกอากาศ

แทนละครโทรทัศน์

ชุด สิงห์สาวนักสืบ

ในปีที่ 1

ซึ่งมี Yuki Saito

เป็นนักแสดงนำ

ที่ได้จบชุดลงไป)

จากนั้นในภายหลัง

ได้มีการปรับเปลี่ยน

เวลาการออกอากาศ

มาเป็นช่วงบ่าย

ของวันอาทิตย์

ซึ่งจากการปรับเปลี่ยน

ในด้านเวลา

ของการออกอากาศ

มาเป็นช่วงบ่าย

ของสุดสัปดาห์

ซึ่งเป็นวันหยุด

รวมถึงการมีโฆษณา

ขนมช๊อกโกแลต

Glico Almond

ซึ่งมี Yoko Minamino

ซึ่งเป็นนักแสดงนำ

ของละครโทรทัศน์

ชุด สิงห์สาวนักสืบ

ในปีที่สอง

ที่ได้รับความนิยม

จากผู้ชมชาวไทย

เป็นอย่างมาก

เข้ามาแพร่ภาพ

ในประเทศไทย

ทางสถานีโทรทัศน์

ช่องต่างๆ

ในช่วงเวลาเดียวกัน

กับที่ละครโทรทัศน์

ในเรื่องนี้

กำลังแพร่ภาพ

ก็ทำให้ละครโทรทัศน์

ชุด สิงห์สาวนักสืบ

ในปีที่สองนี้

ถือเป็นละครโทรทัศน์

จากประเทศญี่ปุ่น

ที่ได้รับความนิยม

อย่างมาก

ในกลุ่มผู้ชม

ที่มีความชื่นชอบ

ในละครโทรทัศน์

จากประเทศญี่ปุ่น

นอกจากนี้

จากการมีผู้แสดงนำ

ที่เป็นดาราวัยรุ่น

ที่มีหน้าตาน่ารัก

และมีเนื้อเรื่อง

ที่มีความแปลกใหม่

(จากการต่อสู้

โดยใช้โยโย่

หรือลูกดิ่ง

ของตำรวจลับ

ในชุดนักเรียน)

ก็ทำให้ละครโทรทัศน์

ชุด สิงห์สาวนักสืบ

ในชุดนี้นั้น

ถือเป็นละครโทรทัศน์

ที่กลายเป็นภาพจดจำ

ในแง่ของการเป็นสื่อบันเทิง

จากต่างประเทศ

ที่มีความสนุกสนาน

และมีความโดดเด่น

จนกลายเป็นที่จดจำ

ของผู้ชมชาวไทย

หลาย-หลายท่าน

มาจนถึงในทุกวันนี้

YAWARA! (1989)

ในปี พ.ศ. 2532

บริษัท Toho

ร่วมกับผู้อำนวยการสร้าง

Yukio Sakamoto

Hiroshi Ogura

Toshimine Kobayashi

และ Hiro Oda

เสนอผลงานภาพยนตร์

แนว กีฬา / ชีวิต

รัก / ตลก

เรื่อง YAWARA!

โดยเป็นการสร้าง

ในรูปแบบภาพยนตร์

จากผลงานการ์ตูน

ของ Naoki Urasawa

นำมาดัดแปลง

เป็นบทภาพยนตร์

โดย Ikuo Sekimoto

กำกับภาพยนตร์

โดย Kazuo Yoshida

ดนตรีประกอบภาพยนตร์

โดย Ken Yajima

และ Kaname Kato

เพลงประกอบภาพยนตร์

เพลง True Love

และ Neverland

ขับร้องโดย Yui Asaka

ผลงานภาพยนตร์

เรื่อง YAWARA!

มีความยาว 97 นาที

โดยมีการเปิดตัว

ต่อสื่อมวลชน

และเข้าฉาย

ในโรงภาพยนตร์

ทั่วประเทศญี่ปุ่น

เป็นครั้งแรก

ในวันที่ 15 เมษายน พ.ศ. 2532


ผลงานภาพยนตร์

เรื่อง YAWARA!

ฉบับการสร้าง

ในปี พ.ศ. 2532

นำแสดงโดย Yui Asaka

รับบท Yawara Inokuma

Keiju Kobayashi

รับบท Jigoro Inokuma

Bunta Sugawara

รับบท Kojiro Inokuma

Hiroshi Abe

รับบท Kosaku Matsuda

Yorie Yamashita

รับบท Sayaka Honami

Riki Takeuchi

รับบท Shinnosuke Kazamatsuri

Reiko Hirayama

รับบท Fujiko Ito


ผลงานภาพยนตร์

เรื่อง YAWARA!

ซึ่งเป็นการดัดแปลง

มาจากผลงานการ์ตูน

ของ Naoki Urasawa

นักเขียนการ์ตูนชื่อดัง

เป็นเรื่องราวชีวิต

และการต่อสู้

ของ Yawara

เด็กสาวน่ารัก

ที่มีความใฝ่ฝัน

อยากจะใช้ชีวิต

ในแบบเด็กสาว

ที่ธรรมดาๆ

แต่จากชีวิต

ในช่วงวัยรุ่น

ของ Yawara

ซึ่งมีคุณปู่

ที่มีความมุ่งมั่น

ในการที่จะฝึกฝน

ผู้เป็นหลานสาว

ให้เป็นยอดฝีมือ

ในด้านกีฬายูโด

และสนับสนุน

ให้เธอนั้น

กลายเป็นนักกีฬา

ที่จะคว้าเหรียญทอง

ในกีฬาโอลิมปิค

ที่จะมีการจัดขึ้น

ที่บาร์เซโลน่า

ประเทศสเปน

ในปี พ.ศ. 2535

ก็ทำให้เธอนั้น

ไม่มีเวลา

ที่จะเที่ยวเตร่

หรือมีความรัก

และใช้ชีวิต

ในแบบวัยรุ่น

อย่างที่เธอต้องการ

ซึ่งจากพรสวรรค์

ในด้านกีฬายูโด

ของทางครอบครัว

และการฝึกฝน

อย่างหนัก

จากผู้เป็นคุณปู่

ก็ทำให้ความสามารถ

ในด้านกีฬา

ของ Yawara

เริ่มที่จะโดดเด่น

และเปล่งประกาย

จนเป็นที่จับตามอง

ของ Kosaku

นักข่าวกีฬาหนุ่ม

ที่ให้ความสนใจ

ในความสามารถ

ของ Yawara

และเข้ามาติดตาม

คอยทำข่าว

จนทั้งสองนั้น

เริ่มที่จะมีความรู้สึก

ที่มีความผูกพัน

ให้แก่กันและกัน



จากความทรงจำ

ของผู้เขียนบลอก

ผลงานภาพยนตร์

เรื่อง YAWARA!

ฉบับปี พ.ศ. 2532

มีความโดดเด่น

จากการเป็นผลงาน

ในด้านภาพยนตร์

ซึ่งเป็นการดัดแปลง

มาจากผลงานการ์ตูน

ของ Naoki Urasawa

ซึ่งใด้รับความนิยม

อย่างมาก

ในประเทศญี่ปุ่น

(นอกจากการ์ตูน

ในแบบ Manga

และภาพยนตร์

ในรูปแบบคนแสดง

ที่นำมาบันทึก

ไว้ในบทความครั้งนี้

ผลงานการ์ตูนเรื่องนี้

ยังได้รับการสร้าง

ในรูปแบบการ์ตูน

ที่ออกอากาศ

ทางโทรทัศน์

ภาพยนตร์

และวีดีโอ

รวมถึงนำไปสร้าง

ในรูปแบบเกม

และมีของที่ระลึก

จากการ์ตูน

ออกมาวางจำหน่าย

อย่างมากมาย)

นอกจากนี้

ผลงานภาพยนตร์

ในเรื่องนี้

ยังเป็นที่น่าจดจำ

จากการมีนักแสดงนำ

อย่าง Yui Asaka

ดาราวัยรุ่นชื่อดัง

ในช่วงยุค 80

ซึ่งมาสวมบทบาท

เป็น Yawara

นางเอกของเรื่องนี้

ซึ่งหากมอง

และย้อนกลับไป

ในช่วงปลายยุค 80

(ประมาณปี พ.ศ. 2530

ถึงปี พ.ศ. 2533)

ในช่วงเวลานั้น

ดูจะเป็นช่วงเวลา

ที่ Yui Asaka

ถือเป็นนักแสดง

และนักร้อง

ขวัญใจวัยรุ่น

ที่ได้รับความนิยม

อย่างสูง

จากการที่เธอนั้น

ถือเป็นไอดอล

ที่กำลังโด่งดัง

และประสบความสำเร็จ

ทั้งในด้านการแสดง

จากผลงาน

ละครโทรทัศน์

และภาพยนตร์

ชุด Sukeban Deka

(สิงห์สาวนักสืบ)

และผลงานเพลง

อย่าง C-GIRL

Believe Again

Remember

Niji no Dreamer

Hitomi ni Strom

True Love Star

Cecile Chance

Neverland Melody

Dream Power

Koi no Rock n Roll Circus

ก็ล้วนแต่ได้รับความนิยม

จากผู้ฟังทางบ้าน

จนติดอันดับต้นๆ

ของชาร์ตเพลง

นอกจากนี้

การที่ในช่วงปี พ.ศ. 2531

Yui Asaka

ได้รับคัดเลือก

เป็นพรีเซ็นเตอร์

ในแคมเปญฤดูร้อน

ของเครื่องสำอาง

ยี่ห้อ Kanebo

ซึ่งโฆษณาชุดนี้

ได้สร้างภาพลักษณ์

ในรูปแบบใหม่

ให้กับตัวเธอ

(มาพร้อมผิวสีแทน

และความสวย

ในแบบธรรมชาติ

ที่ทำให้เธอ

ที่ดูเป็นเด็กๆ

มาตลอดนั้น

ดูดีและมีเสน่ห์

ในแบบสาวเต็มตัว

ได้อย่างไม่น่าเชื่อ)

ก็ถือเป็นผลงาน

ในด้านโฆษณา

ที่สร้างความโด่งดัง

และเป็นที่ฮือฮา

ของสื่อมวลชน

ทำให้ในช่วงปลายยุค 80

ที่ผ่านมานั้น

ผลงานภาพยนตร์

เรื่อง YAWARA!

ที่ถือเป็นภาพยนตร์

ฟอร์มใหญ่

จากการที่ทางทีมงาน

ได้ยกกองถ่ายทำ

ไปถึงประเทศสเปน

เพื่อเก็บความสวยงาม

มาฝากผู้ชม

ก็ถือเป็นภาพยนตร์

อีกเรื่องหนึ่ง

ในกลุ่มผลงาน

ที่มีความโดดเด่น

ของนักแสดงท่านนี้

ที่ได้ฝากไว้

ในช่วงปลายยุค 80

ซึ่งยังคงเป็นที่จดจำ

ของเหล่าแฟนๆ

ที่ยังคงจดจำ

มาจนถึงในทุกวันนี้












นางบาป (2005)

ตำนาน...วิญญาณ...ความแค้น
ในปี พ.ศ. 2548

สถานีโทรทัศน์ช่อง 3

ร่วมกับบริษัท

ทีวีซีน จำกัด

เสนอละครโทรทัศน์

แนว ชีวิต / ลึกลับ

เหนือธรรมชาติ

เรื่อง นางบาป

โดยเป็นการสร้าง

เป็นละครโทรทัศน์

จากบทประพันธ์

โดย กิ่งฉัตร

นำมาดัดแปลง

เป็นบทโทรทัศน์

โดย เอกลิขิต

และกำกับการแสดง

โดย อดุลย์ บุญบุตร

ละครโทรทัศน์

เรื่อง นางบาป

ออกอากาศ

เป็นประจำ

ทุกวันจันทร์

และวันอังคาร

เวลา 20.30 น.

ทางสถานีโทรทัศน์ช่อง 3

ในปี พ.ศ. 2548



ละครโทรทัศน์

เรื่อง นางบาป

ฉบับการสร้าง

ในปี พ.ศ. 2548

นำแสดงโดย วัชระ ตังคะประเสริฐ

รับบท วิษณุ / คุณพระวนาเทพ

พรชิตา ณ สงขลา

รับบท หยด

อธิชาติ ชุมนานนท์

รับบท ปาล

อิศริยา สายสนั่น

รับบท หยาด

เพ็ญเพ็ชร เพ็ญกุล

รับบท ธนัตถ์

รุจิรา ช่วยเกื้อ

รับบท เรืองริน

กิตติศักดิ์ ชีวาสัจจากุล

รับบท นพชาติ

เพชรลดา เทียมเพ็ชร

รับบท วิสาข์

และ สโรชา วาทิตตพันธ์

รับบท ภาพิมล / คุณกำไล

ร่วมด้วย อติเทพ ชดช้อย

รับบท ชด

อชิตพล หงส์ขจร

รับบท บัลลพ

เบญจสิริ วัฒนา

รับบท พักตรา

เกรียงศักดิ์ เรืองไรรัตน์

รับบท ชิตวัน

อำภา ภูษิต

รับบท ยุพดี / เยื้อน

ชุมพร เทพพิทักษ์

รับบท หลวงตา

นุศรา ประวันณา

รับบท อ๋อย

สุชาดา พูนพัฒนสุข

รับบท พาไล

สินีนาถ บัวมาศ

รับบท เปลวกนก

กรุณา มอริส

รับบท แป๋วแหวว






ละครโทรทัศน์

เรื่อง นางบาป

จากบทประพันธ์

โดย กิ่งฉัตร

เป็นเรื่องราว

ในแบบละคร

ที่ซ้อนละคร

โดยมีเนื้อหาหลัก

เป็นเรื่องราว

เกี่ยวกับทีมงาน

ในการผลิต

ละครโทรทัศน์

ที่มีวิษณุ

ชายหนุ่มรูปหล่อ

บุคลิกสง่างาม

และมีความสามารถ

เป็นเจ้าของบริษัท

ซึ่งจากความสนใจ

ของชายหนุ่ม

ที่มีความต้องการ

ที่จะนำตำนาน

ซึ่งเป็นเรื่องเล่า

ที่มีความเก่าแก่

ของหมู่บ้าน

ที่มีเรื่องราว

ของนางบาป

ซึ่งเป็นเรื่องราว

เกี่ยวกับนางหยาด

ทาสสาวสวย

ที่มีจิตใจ

ซึ่งมีความร้ายกาจ

นำมาสร้าง

เป็นละครโทรทัศน์

เพื่อนำเสนอ

ไปสู่ผู้ชม

ซึ่งจากการเลือก

ที่จะใช้สถานที่

ซึ่งมีอยู่จริง

มาเป็นโลเกชั่น

ในการถ่ายทำ

ก็ทำให้ทีมงาน

ในกองถ่าย

ของละครโทรทัศน์

ในเรื่องนี้

ของวิษณุ

ที่ยกกองถ่าย

ไปที่บ้านเรือนไทย

ที่น่ากลัวหลังนี้

ได้พบกับเหตุการณ์

ที่ลึกลับ น่ากลัว

และเหนือธรรมชาติ

เกิดขึ้นหลายครั้ง

ซึ่งจากการเล่นสนุก

ของทางทีมงาน

จากการรวมกลุ่ม

เล่นผีถ้วยแก้ว

รวมถึงความผูกพัน

ของเหล่าผู้คน

ทั้งในปัจจุบัน

และอดีตชาติ

ที่มีความเกี่ยวพัน

มาแต่ก่อนเก่า

ก็ทำให้วิญญาณ

ของนางหยด

และนางหยาด

สองทาสสาว

ที่มีนิสัย

ที่แตกต่างกัน

ซึ่งถูกจองจำ

และยังคงยึดติด

อยู่กับบาปกรรม

อยู่ในเรือนไทย

ออกมาสิงร่าง

ของเรืองริน

วิสาข์ พักตรา

ซึ่งเป็นทีมงาน

ประจำกองถ่าย

จนเกิดเป็นเรื่องราว

ที่สับสน วุ่นวาย











ซิโก้ เกียรติศักดิ์ เสนาเมือง

นักฟุตบอลหนุ่มหล่อจากวงการกีฬาไทย
ในแต่ละยุคสมัย

ของวงการกีฬา

ในประเทศไทย

ย่อมจะมีนักกีฬา

หลาย-หลายท่าน

ที่มีความสามารถ

เป็นที่จดจำ

และเป็นที่ชื่นชอบ

ของผู้ชมทางบ้าน

ในแต่ละช่วงเวลา

ในแต่ละยุคสมัย

โดยจากความทรงจำ

ของผู้เขียนบลอก

คุณโก้ เกียรติศักดิ์ เสนาเมือง

ที่นำเรื่องราว

มาบันทึกไว้

ในบทความครั้งนี้

ถือเป็นนักฟุตบอล

ของทีมชาติไทย

อีกท่านหนึ่ง

ในประวัติศาสตร์

ของวงการกีฬา

ในประเทศไทย

ที่เป็นที่จดจำ

และเป็นที่ชื่นชอบ

ของผู้ชมชาวไทย

จากทั้งความสามารถ

และการวางตัวที่ดี

ตลอดอาชีพ

ของการเป็นนักกีฬา

โดยในการบันทึก

บทความของบลอก

ในครั้งนี้นั้น

จะเป็นการบันทึก

เส้นทางอาชีพ

ในฐานะนักฟุตบอล

ของนักกีฬาหนุ่มหล่อ

ที่เป็นขวัญใจ

ของผู้ชมชาวไทย

โดยเน้นในช่วงเวลา

ของช่วงยุค 90

ซึ่งเป็นช่วงเวลา

ที่เขาเริ่มต้น

เป็นที่รู้จัก

ของผู้ชมชาวไทย

ที่มีความชื่นชอบ

ในกีฬาฟุตบอล

(ในการบันทึก

บทความครั้งนี้

เป็นการบันทึก

ข้อมูลด้านกีฬา

จะเป็นการบันทึก

ในแบบกว้างๆ

และเป็นการบันทึก

เฉพาะข้อมูล

จากหนังสือ

ตีลังกาเสนาเมือง

ซึ่งเป็นหนังสือ

อัตชีวประวัติ

ของคุณโก้

เพียงเท่านั้น

ทำให้หากมีข้อมูล

ที่มีความผิดพลาด

หรือมีรายละเอียด

ที่ไม่ครบถ้วน

ผู้เขียนบลอก

ต้องขออภัย

ไว้ ณ ที่นี้)


สำหรับประวัติส่วนตัว

ของนักฟุตบอล

หนุ่มหล่อท่านนี้

คุณเกียรติศักดิ์ เสนาเมือง

มีชื่อเล่นว่า โก้

เกิดวันที่ 11 สิงหาคม พ.ศ. 2516

ที่อำเภอกุมภวาปี

จังหวัดอุดรธานี

(ก่อนที่ทางครอบครัว

จะย้ายถิ่นฐาน

มาอยู่ที่อำเภอน้ำพอง

จังหวัดขอนแก่น)

โดยในฐานะสมาชิก

ของครอบครัว

คุณโก้เป็นบุตรคนที่สาม

ของคุณสุริยา เสนาเมือง

และคุณริสม เสนาเมือง

ซึ่งทั้งสองท่าน

ประกอบอาชีพ

เป็นคุณครู

(โดยมีธุรกิจส่วนตัว

ในด้านฟาร์มเลี้ยงไก่)

โดยจากบทสัมภาษณ์

ในปี พ.ศ. 2535

คุณโก้มีพี่สาว

อีกสองท่าน

ชื่อว่า คุณเก๋

และ คุณหมอ

โดยสำหรับข้อมูล

ในด้านชีวิตส่วนตัว

และครอบครัวนั้น

จากข้อมูล

ในปี พ.ศ. 2545

คุณโก้มีพิธีสมรส

กับคุณเปิ้ล

อัสราภา วุฒิเวทย์

โดยปัจจุบัน

ทั้งสองท่านนั้น

มีบุตรสาวสามคน

คือ คุณเพิร์ธ

กฤตยา เสนาเมือง

คุณพราวด์

อริชา เสนาเมือง

และคุณเพิร์ล

มุกตาภา เสนาเมือง

(ข้อมูลมีการบันทึก

ถึงในช่วงต้นปี พ.ศ. 2558)


สำหรับประวัติส่วนตัว

ในด้านการศึกษา

คุณโก้ เกียรติศักดิ์ เสนาเมือง

เริ่มต้นการศึกษา

ในระดับชั้นประถมปีที่ 1

จนถึงชั้นประถมปีที่ 3

ที่โรงเรียนบ้านหนองแดง

อำเภอกุมภวาปี

จังหวัดอุดรธานี

จากนั้นเมื่อคุณพ่อ

และคุณแม่

ได้ย้ายครอบครัว

มาอยู่ที่อำเภอน้ำพอง

จังหวัดขอนแก่น

คุณโก้จึงเข้าศึกษาต่อ

ในระดับชั้นประถมปีที่ 4

จนสำเร็จการศึกษา

ในระดับชั้นมัธยมปลาย

ที่โรงเรียนน้ำพองศึกษา

โดยเมื่อสำเร็จการศึกษา

ในระดับชั้นมัธยมปลาย

และเข้าสู่กรุงเทพ

เพื่อตามล่าความฝัน

ในการเป็นนักฟุตบอล

ในทีมชาติไทย

คุณโก้ได้รับการสนับสนุน

ในฐานะนักกีฬา

ให้เข้าศึกษาต่อ

ในระดับอนุปริญญา

สาขาการบัญชี

ที่โรงเรียนพณิชยการกรุงเทพ

จากนั้นจึงสำเร็จการศึกษา

ในระดับปริญญาตรี

จากคณะบริหารธุรกิจ

สาขาการจัดการ

มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิต

โดยจากข้อมูล

ในช่วงยุคหลัง

ปัจจุบันนี้

คุณโก้กำลังศึกษา

ในระดับปริญญาโท

หลักสูตรบริหารธุรกิจ

สาขาวิชาการจัดการกีฬา

มหาวิทยาลัยราชภัฎจันทรเกษม

(ข้อมูลมีการบันทึก

จากบทสัมภาษณ์

ถึงในปี พ.ศ. 2555

เพียงเท่านั้น

โดยหากไม่ครบถ้วน

หรือมีรายละเอียด

ที่ไม่ถูกต้อง

ผู้เขียนบลอก

ต้องขออภัย

ไว้ ณ ที่นี้)



สำหรับเส้นทาง

ในฐานะนักฟุตบอล

ของคุณโก้

เกียรติศักดิ์ เสนาเมือง

จากบทความ

ในหนังสือ

ประวัติส่วนตัว

ตีลังกาเสนาเมือง

ในปี พ.ศ. 2549

คุณโก้มีความสนใจ

และมีความชื่นชอบ

ในกีฬาฟุตบอล

มาตั้งแต่ในช่วงวัยเด็ก

ซึ่งจากความสนใจ

ในช่วงแรกเริ่มนั้น

ก็มาจากการจุดประกาย

ของคุณพ่อ

ที่ซื้อลูกฟุตบอล

ให้กับตัวเขา

ซึ่งจากความชื่นชอบ

และการฝึกฝน

รวมถึงความสามารถ

ที่มีความโดดเด่น

ตั้งแต่การเล่น

ในฐานะนักกีฬา

ของทีมโรงเรียน

ในช่วงชั้นมัธยม

จนได้รับฉายา

ว่า ซิโก้

(จากกระแส

ของฟุตบอลโลก

ในปี พ.ศ. 2525)

ก็ทำให้เขานั้น

มีความใฝ่ฝัน

ในการเป็นนักกีฬา

ที่เป็นมืออาชีพ

รวมถึงมีความต้องการ

ที่จะได้รับคัดเลือก

ให้เป็นนักฟุตบอล

ในทีมชาติไทย

ในสักวันหนึ่ง



หลังจากสำเร็จการศึกษา

ในระดับชั้นมัธยมปลาย

และได้รับการสนับสนุน

จากคุณยุทธนา ทวีสรรพสุข

ทำให้ในฐานะนักกีฬา

คุณโก้เข้ามาศึกษาต่อ

ที่โรงเรียนพณิชยการกรุงเทพ

ในช่วงปี พ.ศ. 2535

ซึ่งจากความมุ่งหวัง

ในการเป็นนักฟุตบอล

ในทีมชาติไทย

ทำให้ในปีต่อมานั้น

คุณโก้เข้าร่วม

ในการคัดตัว

นักเตะเยาวชนทีมชาติ

แห่งเอเชีย

ซึ่งจากนักกีฬา

กว่า 400 คน

เขาได้รับคัดเลือก

ให้เป็น 1 ใน 20

คนสุดท้าย

ที่ได้รับคัดเลือก

ซึ่งในฐานะตัวแทน

ของประเทศไทย

ไปแข่งขันฟุตบอล

ในประเภทเยาวชน

ชิงแชมป์เอชีย

ในฐานะนักกีฬา

ที่ได้รับการจับตามอง

จากสื่อมวลชน

และผู้ชม

ที่ติดตาม

การแข่งขันครั้งนี้

ในฐานะนักฟุตบอล

ที่มีอนาคตไกล

คุณโก้เป้นที่จดจำ

จากการเป็นนักเตะ

ที่สามารถยิงประตู

ไปได้ถึง 9 ครั้ง

ทำให้ได้รับถ้วย

และตำแหน่ง

เป็นดาวซัลโว

ในการแข่งขันครั้งนี้

ซึ่งทำให้ในฐานะ

ของการเป็นนักกีฬา

ถือเป็นการเริ่มต้น

เส้นทางอาชีพ

ในฐานะนักฟุตบอล

ได้อย่างงดงาม










ในฐานะนักฟุตบอล

ที่ได้รับคัดเลือก

เป็นทีมชาติไทย

(รวมถึงเป็นผู้เล่น

ให้กับสโมสร

ธนาคารกรุงไทย

ตำรวจ ราชประชา)

ซึ่งมีความสามารถ

ที่มีความโดดเด่น

และพัฒนาตนเอง

ได้อย่างรวดเร็ว

ในช่วงกลางยุค 90

ที่ผ่านมานั้น

คุณโก้ เกียรติศักดิ์ เสนาเมือง

ในฐานะกัปตัน

กองหน้า ดาวซัลโว

ที่ถือเป็นผู้เล่น

ที่มีความโดดเด่น

ในทีมฟุตบอล

ทีมชาติไทย

ในยุคดรีมทีม

(ในช่วงเวลา

ที่ทีมชาติไทย

มีคุณธวัชชัย สัจจกุล

มาเป็นผู้จัดการทีม)

ก็ทำให้คุณโก้

และนักกีฬา

ท่านอื่นๆ

ในทีมชาติไทย

ถือเป็นที่จดจำ

จากการนักกีฬา

ที่ทำให้ยุคสมัย

ที่กีฬาฟุตบอล

และนักฟุตบอล

กลับมาได้รับความนิยม

ในความรู้สึก

ของสื่อมวลชน

และผู้ชมชาวไทย

อีกครั้งหนึ่ง

(เหมือนในช่วงเวลา

ที่คุณปิยะพงษ์ ผิวอ่อน

เป็นซูเปอร์สตาร์

ในวงการฟุตบอล)

ซึ่งจากความโดดเด่น

ในการแข่งขัน

กีฬาซีเกมส์

และเอเชียนเกมส์

ตลอดระยะเวลา

ในช่วงปี พ.ศ. 2538

ถึงปี พ.ศ. 2541

ก็ทำให้ในฐานะนักกีฬา

คุณโก้ถือเป็นนักฟุตบอล

ที่ได้รับการยอมรับ

ในด้านความสามารถ

รวมถึงเป็นที่ชื่นชอบ

ของผู้ชมชาวไทย

มากที่สุด

อีกท่านหนึ่ง

ของประวัติศาสตร์

วงการกีฬา

ในประเทศไทย




ซึ่งจากความนิยม

ในกลุ่มผู้ชมทางบ้าน

จากความสามารถ

ในด้านฟุตบอล

รวมถึงได้รับเสียงชื่นชม

จากสื่อมวลชน

ในการเป็นนักกีฬา

ที่วางตัวได้ดี

ทั้งในการทำงาน

และการปรากฎตัว

ต่อหน้าสื่อมวลชน

(มีความมั่นใจ

ในตัวเอง

แต่สุภาพ อ่อนน้อม

ให้เกียรติผู้อื่น

เก็บอารมณ์ได้ดี

และมีรอยยิ้มเสมอ)

ทำให้ในฐานะนักกีฬา

ที่เป็นที่ชื่นชอบ

ของผู้ชมชาวไทย

ซึ่งมาพร้อมหน้าตา

ที่มี่ความหล่อเหลา

และมีบุคลิกส่วนตัว

ที่มีเสน่ห์ ดูดี

ทำให้ในช่วงยุค 90

ที่ผ่านมานั้น

นอกจากการทำงาน

ในฐานะนักฟุตบอล

คุณโก้ยังเป็นที่จดจำ

ในฐานะนักกีฬา

ระดับซูเปอร์สตาร์

ที่มีผลงาน

ในด้านโฆษณา

ผลงานการถ่ายแบบ

การให้สัมภาษณ์

ในรายการโทรทัศน์

และนิตยสารแฟชั่น

และนิตยสารบันเทิง

งานด้านการกุศล

งานอีเวนต์ต่างๆ

นอกเหนือจากการทำงาน

และการให้สัมภาษณ์

รวมถึงการปรากฎตัว

ในรายการโทรทัศน์

และนิตยสาร

ประเภทกีฬา

ซึ่งจากสามารถ

ในด้านฟุตบอล

และหน้าตา

ที่หล่อเหลา

รวมถึงความนิยม

ที่ผู้ชมทางบ้าน

มีให้กับเขา

ในรูปแบบนี้เอง

ทำให้ในช่วงยุค 90

ที่ผ่านมานั้น

คุณโก้ถือเป็นนักกีฬา

ประเภทฟุตบอล

ที่ได้รับความนิยม

จนเป็นที่จดจำ

ของผู้ชม

ในวงกว้าง

และเป็นที่จดจำ

ในฐานะนักกีฬา

ที่มีความโดดเด่น

ในความทรงจำ

ของผู้ชมชาวไทย

มาจนถึงในทุกวันนี้



โดยในฐานะ

ของการเป็นนักกีฬา

และผู้ฝึกสอน

ที่มีความสามารถ

ทำให้ตลอดระยะเวลา

ในการทำงาน

คุณโก้ เกียรติศักดิ์ เสนาเมือง

ถือเป็นนักกีฬา

อีกท่านหนึ่ง

ของวงการกีฬา

ในประเทศไทย

ที่ได้รับรางวัล

และได้รับ

การเชิดชูเกียรติ

ในหลาย-หลายด้าน

โดยจากข้อมูล

ใน th.wikipedia

ในฐานะนักฟุตบอล

และผู้ฝึกสอน

เขาได้รับรางวัล

เป็นการเชิดชู

ความสามารถ

ส่วนหนึ่ง

ในประวัติการทำงาน

ดังนี้  รางวัลคนต้นแบบ

ผู้เป็นตัวอย่างที่ดี

ต่อสังคมไทย

โดยการมอบรางวัล

จากคณะกรรมการ

ประถมศึกษาแห่งชาติ

ในปี พ.ศ. 2543

รางวัลนักฟุตบอลทรงคุณค่า

ในการแข่งขันฟุตบอล

ไทเกอร์คัพ

ประจำครั้งที่ 3

ในปี พ.ศ. 2543

รางวัลนักกีฬายอดเยี่ยม

และนักฟุตบอลยอดเยี่ยม

โดย อีเอสพีเอ็น

ในปี พ.ศ. 2543

รางวัลดาราเอเชีย

ในปี พ.ศ. 2544

รางวัลนักฟุตบอลยอดเยี่ยม

จากการประกาศรางวัล

คม ชัด ลึก อวอร์ด

ในปี พ.ศ. 2544

รางวัลนักฟุตบอลดีเด่น

จากบริษัทซันโย

ในปี พ.ศ. 2544

รางวัลนักฟุตบอล

ต่างชาติยอดเยี่ยม

จากประเทศเวียดนาม

ในปี พ.ศ. 2546

และปี พ.ศ. 2547

ได้รับรางวัล

เข็มเกียรติยศ

ผู้ทำคุณประโยชน์

แก่วงการฟุตบอล

ประเทศเวียดนาม

จากรัญมนตรีกีฬา

ประเทศเวียดนาม

ในปี พ.ศ. 2548

ได้รับรางวัล

โล่ประกาศเกียรติคุณ

ชมรมเชียร์ไทย

ในปี พ.ศ. 2550

ได้รับรางวัล

สุดยอดคนต้นแบบ

จากการประกาศรางวัล

โดยจังหวัดขอนแก่น

ในปี พ.ศ. 2551

ได้รับรางวัล

ผู้ฝึกสอนยอดเยี่ยม

จากการประกาศรางวัล

สยามกีฬา อวอร์ด

ในครั้งที่ 8

ประจำปี พ.ศ. 2557

ได้รับรางวัล

ผู้ฝึกสอนนักกีฬา

สมัครเล่นดีเด่น

ในการประกาศรางวัล

เนื่องในงานกีฬาแห่งชาติ

ประจำปี พ.ศ. 2557

ได้รับรางวัล

ผู้ฝึกสอนยอดเยี่ยม

จากการประกาศรางวัล

โดยสยามโกลเดนอวอร์ด

ในปี พ.ศ. 2557

ได้รับปริญญา

ศึกษาศาสตร

มหาบัณฑิต

กิตติมศักดิ์

สาขาวิชาพลศึกษา

จากมหาวิทยาลัยรามคำแหง

ในปี พ.ศ. 2558

(ขอขอบคุณข้อมูล

รายชื่อรางวัล

ส่วนหนึ่ง

ถึงในปี พ.ศ. 2558

โดย th.wikipedia)


ในฐานะนักกีฬา

และผู้ฝึกสอน

กีฬาฟุตบอล

ขณะที่บันทึก

บทความของบลอก

ในขณะนี้นั้น

(ต้นปี พ.ศ. 2558)

คุณโก้ เกียรติศักดิ์ เสนาเมือง

เป็นที่รู้จักและเป็นที่ชื่นชอบ

ของผู้ชมชาวไทย

ในฐานะหัวหน้า

ผู้ฝึกสอน

ทีมฟุตบอลชาย

ของทีมชาติไทย

รุ่นอายุ

ไม่เกิน 23 ปี

ที่เขาเริ่มต้น

การทำงาน

ในตำแหน่งนี้

ตั้งแต่ในปี พ.ศ. 2556

โดยในฐานะ

ของผู้นำ

ทีมฟุตบอลชาติไทย

จากการเข้าร่วม

ในการแข่งขัน

เอเชียนเกมส์

ครั้งที่ 17

ที่เกาหลีใต้

และการเข้าร่วม

ในการแข่งขัน

เอเอฟเอฟ

ซูซูกิ คัฟ

ในปี พ.ศ. 2557

ซึ่งนักกีฬา

ทีมชาติไทย

ทำผลงาน

ได้อย่างยอดเยี่ยม

ก็ทำให้วงการกีฬา

ประเภทฟุตบอล

ในประเทศไทย

กลับมาคึกคัก

และได้รับความสนใจ

จากประชาชน

ในวงกว้าง

อีกครั้งหนึ่ง

(ข้อมูลต่างๆ

ในบทความนี้

มีการบันทึก

ถึงในช่วงต้นปี

ของ พ.ศ. 2558

เพียงเท่านั้น

โดยหากมีข้อมูล

ที่ไม่ถูกต้อง

หรือมีรายละเอียด

ที่ไม่ครบถ้วน

ผู้เขียนบลอก

ต้องขออภัย

คุณเกียรติศักดิ์ เสนาเมือง

และทางครอบครัว

รวมถึงผู้อ่าน

ทุก-ทุกท่าน

ไว้ ณ ที่นี้)


























นิตยสารเก่าในความทรงจำ

นิตยสารเก่าในความทรงจำ
นิตยสารลลนา (1973-1995)

สโมสรผึ้งน้อย (1984)

บทความเก่าของบลอก

บทความเก่าของบลอก
แหม่ม พัชริดา วัฒนา

นิตยสารเก่าในความทรงจำ

นิตยสารเก่าในความทรงจำ
นิตยสารทีวีรีวิว (1972-1992)

SAN MIGUEL BEER (1989)

บทความเก่าของบลอก

บทความเก่าของบลอก
เมย์ ศศลักษณ์ พันธุ์หาญ

SVESVESB / YASUO MIYATA (1982)

การ์ตูนเก่าในความทรงจำ

การ์ตูนเก่าในความทรงจำ
เอล (1992-1995)

SEVENTH HEAVEN (1996-2007)

เสือ 11 ตัว (2001)

เสือ 11 ตัว (2001)

NIVEA SKIN LOTION (1988)

บทความเก่าของบลอก

บทความเก่าของบลอก
เจี๊ยบ ศักราช ฤกษ์ธำรงค์

BALENO / DAVID WU (1989)

นิตยสารเก่าในความทรงจำ

นิตยสารเก่าในความทรงจำ
นิตยสารแพรวสุดสัปดาห์ (1983)

สิงห์โกลด์ไลท์เบียร์ (1989)

From Me To You


การจัดทำบลอกนี้

เกิดจากความรู้สึก

ที่ผู้เขียนบลอก

อยากจะบันทึก

ความทรงจำ

ในช่วงเวลา

ของวันเก่าๆ

ผ่านเส้นทาง

จากเรื่องราว

และผลงานต่างๆ

ของเหล่าดารา

นักร้อง นักแสดง

นายแบบ นางแบบ

นักเขียน ฯลฯ

ซึ่งมีความเกี่ยวข้อง

กับศิลปะบันเทิง

ในช่วงยุคสมัย

ก่อนการมาถึง

ของอินเทอร์เน็ต

ที่แพร่หลาย

ในสังคมไทย

อย่างในทุกวันนี้

ซึ่งในการจัดทำ

ผู้เขียนบลอก

ได้รวบรวม

เรื่องราวต่างๆ

จากความทรงจำ

และค้นข้อมูล

โดยนำรูปภาพ

จากนิตยสารต่างๆ

ในช่วงเวลาอดีต

นำมารวบรวม

และเรียบเรียง

ให้เป็นภาพชัดเจน

ขึ้นมาอีกครั้ง

ด้วยสิ่งที่ตนเองนั้น

ยังคงเก็บไว้

ด้วยความมุ่งหวัง

ในการนำเสนอ

ด้วยความให้เกียรติ

ผ่านการนำเสนอ

ในด้านที่สวยงาม

ซึ่งในการจัดทำ

บทความต่างๆ

ซึ่งต้องใช้ภาพ

จากนิตยสารแฟชั่น

และนิตยสารบันเทิง

ในฉบับต่างๆ

จากช่วงยุค 70

ถึงช่วงปลายยุค 90

ซึ่งภาพทั้งหมดนั้น

ถือเป็นลิขสิทธิ์

ของนิตยสาร

และช่างภาพ

ท่านต่างๆ

ทำให้ผู้เขียนบลอก

มีความตั้งใจ

ที่จะจัดทำบลอกนี้

โดยไม่แสวงผลกำไร

และไม่เปิดรับโฆษณา

เพื่อเป็นการยุติธรรม

ต่อเจ้าของภาพ

ในนิตยสาร หนังสือ

และวีดีโอต่างๆ

ที่ผู้เขียนบลอก

นำมาเรียบเรียงไว้

ในบทความ

โดยในการจัดทำ

ผู้เขียนบลอก

อยากจะขอขอบคุณ

นิตยสารและช่างภาพ

ซึ่งเป็นเจ้าของภาพ

สำหรับภาพสวยๆ

ในทุก-ทุกรูป

และอยากจะขอ

ความกรุณา

จากผู้อ่านทุกท่าน

ที่จะนำข้อมูล

และภาพต่างๆ

ในบลอกนี้

ซึ่งผู้เขียนบลอก

ไม่ใช่เจ้าของ

ในด้านลิขสิทธิ์

นำไปเผยแพร่

ขอให้ทุกท่าน

ที่จะนำภาพไปใช้

ขอให้นำไปใช้

โดยมิใช่เพื่อการค้า

หรือนำไปรวบรวมใว้

ในเวบไซต์ เพจ

หรือบลอกต่างๆ

ที่มีการลงโฆษณา

หรือนำไปประกอบ

ในข้อความ บทความ

ที่จะเป็นการล่วงเกิน

ผู้ที่เป็นแบบ

ในภาพนั้นๆ

จากการนำไปใช้

ร่วมกับข้อความ

ที่มีข้อมูล

ในด้านลบ

หรือใช้ถ้อยคำ

ที่มีความหยาบคาย

ซึ่งจะสร้างความเสียหาย

ให้กับผู้เป็นแบบ

ซึ่งอยู่ในภาพ

ท่านนั้นๆ

SUMMER CONCERT / JIMMY LIN (1992)

นิตยสารเก่าในความทรงจำ

นิตยสารเก่าในความทรงจำ
นิตยสารซินีแม๊ก (1994-2002)

SUCCESS / EISAKU YOSHIDA (1989)

บทความเก่าของบลอก

บทความเก่าของบลอก
Eisaku Yoshida

DIG MEN / TAKAHASHI BROTHERS (1989)

DAWSON'S CREEK (1998-2003)

บทความเก่าของบลอก

บทความเก่าของบลอก
นุ๊ก สุทธิดา เกษมสันต์ ณ อยุธยา

ชาวเวอร์ทูชาวเวอร์ / จอนนี่ แอนโฟเน่ (1989)

บทความเก่าของบลอก

บทความเก่าของบลอก
ลางลิขิต (2001)

โฆษณาเครื่องดื่มเป็ปซี่ / พีท ทองเจือ (1992)

นิตยสารเก่าในความทรงจำ

นิตยสารเก่าในความทรงจำ
Movie Time Magazine (1997-2009)

บทความเก่าของบลอก

บทความเก่าของบลอก
แพท พัสสน ศรินทุ

MELROSE PLACE (1992-1999)

นิตยสารเก่าในความทรงจำ

นิตยสารเก่าในความทรงจำ
Gift Magazine (1981-1992)
ในช่วงยุค 70-90 นั้น

สื่อสิ่งพิมพ์ประเภทการ์ตูน

ที่เข้ามาแพร่หลาย

ในประเทศไทยนั้น

ยังไม่ได้อยู่ภายใต้การบังคับ

ของกฎหมายลิขสิทธิ์

อย่างที่เกิดขึ้น

ในประเทศไทย

ในช่วงปี พ.ศ. 2535

ทำให้วงการการ์ตูน

ในประเทศไทย

ในขณะนั้น

มีการแข่งขันกัน

ระหว่างสำนักพิมพ์ต่างๆ

ในการตีพิมพ์และวางจำหน่าย

ผลงานการ์ตูนเรื่องดังๆ

จากประเทศญี่ปุ่น

จากเหตุผลในข้อนี้เอง

ทำให้เกิดนิตยสารการ์ตูน

เพื่อที่จะได้มีการแปล

และวางจำหน่าย

ให้ทันกับต้นฉบับ

ของนิตยสารการ์ตูน

ที่วางขายในประเทศญี่ปุ่น

และ กิฟท์ แม็กกาซีน

ของ ไลน์อาร์ทแพลนนิ่ง

ถือเป็นหนึ่งในนิตยสารการ์ตูน

สำหรับเด็กผู้หญิง

ที่โด่งดังมากที่สุด

ในช่วงยุค 80

ที่ผ่านมา

จากการมีการ์ตูนเรื่องดังๆ

อย่าง ไซเฟอร์ ไอบอย

เลขรักพิสดาร

อสูรน้อยกระซิบรัก

ตีพิมพ์เป็นประจำ

โดยนอกจากการ์ตูนฮิตเหล่านี้

กิฟท์ แม็กกาซีน

ยังมีลักษณะเฉพาะ

ที่มีความพิเศษ

ที่เป็นที่ชื่นชอบ

ของผู้อ่านมากมาย

จนกลายเป็นนิตยสารการ์ตูน

สำหรับเด็กผู้หญิง

ที่ยังคงอยู่ในความทรงจำ

ของผู้อ่านทุก-ทุกคน

มาจนถึงในทุกวันนี้

โดยผู้อ่านบลอก

ที่สนใจและชื่นชอบ

ในนิตยสารเล่มนี้

สามารถอ่านบทความ

และชมภาพทั้งหมด

ได้ในหัวข้อ 80 thai magazine

และ 90 thai magazinr

บทความเก่าของบลอก

บทความเก่าของบลอก
มารยาริษยา (1998)

SUNTORY NCAA / KOJI KIKKAWA (1985)

บทความเก่าของบลอก

บทความเก่าของบลอก
ต่อ กันติ ธรรมาณิชานนท์

MR PRIVATE EYE / CITY HUNTER (1987)

คิขุอาโนเนะ / วงบอยสเก๊าท์ (1993)

บทความเก่าของบลอก

บทความเก่าของบลอก
ธรรม์ โทณะวณิก

THE DREW CAREY SHOW (1995-2004)

นิตยสารเก่าในความทรงจำ

นิตยสารเก่าในความทรงจำ
นิตยสารอานนท์ (1993-1995)

SUNTORY / KAORU KOBAYASHI (1987)

การ์ตูนเก่าในความทรงจำ

การ์ตูนเก่าในความทรงจำ
รักทระนง (1987)

JAL OKINAWA / TORU KAZAMA (1989)

บทความเก่าของบลอก

บทความเก่าของบลอก
Taishu Kase

BEVERLY HILLS 90210 (1990-2000)

นิตยสารเก่าในความทรงจำ

นิตยสารเก่าในความทรงจำ
HELLO MAGAZINE (1985-1989)

LOVE LIGHT / YU HAYAMI (1982)

นิตยสารเก่าในความทรงจำ

นิตยสารเก่าในความทรงจำ
นิตยสารบงกช (1981-1989)

PRIVATE LIFE / SHONENTAI (1987)

Shonentai / 少年隊

ในช่วงยุค 80

ที่ผ่านมานั้น

ถือเป็นช่วงยุคเฟื่องฟู

ของเหล่านักแสดง

นักร้องวัยรุ่น

ขวัญใจวัยรุ่น

จากประเทศญี่ปุ่น

ที่เริ่มเป็นที่รู้จัก

และมีชื่อเสียง

ในประเทศไทย

โดยหลังจากความสำเร็จ

ของละครโทรทัศน์

เรื่อง เคนโด้

ข้าคือลุกผู้ชาย

รวมถึงละครโทรทัศน์

แนวกีฬา

จากประเทศญี่ปุ่น

อีกหลายๆเรื่อง

ที่เข้ามาแพร่ภาพ

และได้รับความนิยม

ในประเทศไทย

ในช่วงยุค 70

ผู้ชมชาวไทย

ก็เริ่มจะเปิดรับ

ผลงานเพลง

ละครโทรทัศน์

และภาพยนตร์เรื่องต่างๆ

จากประเทศญี่ปุ่น

โดยในฐานะ

กลุ่มนักร้อง

ขวัญใจวัยรุ่น

สามนักร้องหนุ่มหล่อ

วง Shonentai

ถือเป็นกลุ่มนักร้อง

จากประเทศญี่ปุ่น

ที่ได้รับความนิยม

จากสาวๆชาวไทย

มากที่สุด

ในช่วงยุค 80

ซึ่งความโด่งดัง

ของพวกเขา

ทำให้ผู้ชม

ในประเทศไทยเอง

ได้มีโอกาสต้อนรับ

และเข้าชมคอนเสริต์

ของพวกเขา

ที่มีการจัดขึ้น

ในประเทศไทย

ซึ่งถือเป็นความยิ่งใหญ่

ในยุคสมัย

ที่ยังไม่มี Internet

และสื่อบันเทิงต่างๆ

ให้ได้ติดตามรับชม

กันอย่างมากมาย

เหมือนในทุกวันนี้

โดยผู้อ่านของบลอก

ที่คิดถึงผลงาน

และเรื่องราวเก่าๆ

ในช่วงแรก

ของอาชีพนักร้อง

ของทั้งสามหนุ่มหล่อนี้

สามารถติดตามเรื่องราว

และรับชมรูปภาพ

ของพวกเขาได้

ในหัวข้อ 80 Japan Male Idol

บทความเก่าของบลอก

บทความเก่าของบลอก
โด่ง สิทธิพร นิยม

แกล้งโง่ / ฝันดี ฝันเด่น จรรยาธนากร (1994)

ละครเก่าในความทรงจำ

ละครเก่าในความทรงจำ
ดั่งดวงหฤทัย (1996)

นิตยสารเก่าในความทรงจำ

นิตยสารเก่าในความทรงจำ
นิตยสารด้วยรัก (1983-1985)

ขอคืน / บอยสเก๊าท์ (1993)

นิตยสารเก่าในความทรงจำ

นิตยสารเก่าในความทรงจำ
Starpics Magazine (1965)

EARLY EDITION (1996-2000)

การ์ตูนเก่าในความทรงจำ

การ์ตูนเก่าในความทรงจำ
บันทึกรักโพนีเทล (1985-1987)

นิตยสารฉบับเก่าในความทรงจำ

นิตยสารฉบับเก่าในความทรงจำ
นิตยสารแพรว (1979)

STILL LOVE HER / TM NETWORK

บทความเก่าของบลอก

บทความเก่าของบลอก
Kazukiyo Nishikiori (Shonentai)

ปราสาทมืด (1994)

บทความเก่าของบลอก

บทความเก่าของบลอก
ม.6/2 ห้องครูวารี (1994)

MEIJI CHOCOLAT (1993)

บทความเก่าของบลอก

บทความเก่าของบลอก
อัลเฟรด เนติพงษ์ ศรีทองอินทร์

TOKI WO KAKERU SHOUJO (1983)

AGAINST ALL ODDS (1984)

นิตยสารเก่าในความทรงจำ

นิตยสารเก่าในความทรงจำ
Starpics Magazine (1965)

GLICO ALMOND / RYUJI HARADA (1992)

บทความเก่าของบลอก

บทความเก่าของบลอก
โจ ธเนศ ฉิมท้วม

โปลิศจับขโมย (1996)

ปุกปุย (1990)

ภาพยนตร์คุณภาพ

เรื่อง ปุกปุย

ที่ยังคงอยู่ในความทรงจำ

ของผู้ชมภาพยนตร์

หลาย-หลายท่าน

มาจนถึงในทุกวันนี้

เกิดจากแนวคิด

ในการเขียนบท

ของ คุณอุดม อุดมโรจน์

และ คุณทองขาว มะขาวป้อม

โดยภาพยนตร์เรื่องนี้

มีชื่อแรกในบทร่าง

ว่า ใครใครก็ไม่รัก

ซึ่งแนวคิดของเรื่อง

ได้รับแรงบันดาลใจ

มาจาก My Life As a Dog

จากการที่คุณอุดมนั้น

ต้องการสร้างภาพยนตร์

เกี่ยวกับเด็กเด็ก

ในแนวคิดที่อยากนำเสนอ

ให้สังคมและครอบครัว

หันมาใส่ใจ

และดูแลเด็กเด็ก

ในด้านความรู้สึก

ของพวกเขามากกว่านี้

โดยรายนามของผู้สร้างสรรค์

ภาพยนตร์คุณภาพเรื่องนี้

มีดังนี้ กำกับภาพยนตร์

โดย อุดม อุดมโรจน์

อำนวยการสร้าง

โดย จรัญ/วิสูตร พูลวรลักษณ์

ถ่ายภาพ

โดย ปัญญา นิ่มเจริญพงศ์

ดนตรีประกอบ

โดย จำรัส เศวตาภรณ์

ภาพยนตร์เรื่อง ปุกปุย

เปิดตัวต่อสื่อมวลชน

และออกฉายทั่วประเทศ

เมื่อวันที่ 19 พฤษภาคม พ.ศ. 2533

โดยแม้จะมาพร้อม

กับคุณภาพ

และงานการสร้าง

ที่มีความสมบูรณ์แบบ

แต่ภาพยนตร์เรื่องนี้

ไม่ได้ออกฉายทันที

ที่การถ่ายทำเสร็จสิ้นลง

เนื่องจากต้องรอคิว

และเวลาในการออกฉาย

ในโรงภาพยนตร์

ที่มีจังหวะเหมาะสม

ก่อนที่ภาพยนตร์เล็กๆเรื่องนี้

จะทำรายได้ในปีนั้น

ไปอย่างเหนือความคาดหมาย

และยังคงอยู่ในความทรงจำ

ของผู้ชมทุก-ทุกคน

มาจนถึงทุกในวันนี้

ภาพยนตร์เรื่อง ปุกปุย

นำแสดงโดย ด.ช. ณพัชร สุพัฒนกุล

ที่ให้การแสดงชั้นยอด

และเป็นทุกสิ่งทุกอย่าง

ที่บทภาพยนตร์ต้องการ

ร่วมด้วย ด.ญ. ปรางใส ณ นคร

ด.ช. ศุภชัย ชัยวัฒนเมธิน

เกรียงไกร อุณหนันท์

ธิติมา สังขพิทักษ์

และ ญาณี จงวิสุทธิ์

สบตา / แอนเดรีย สวอเรซ (1994)

นิตยสารเก่าในความทรงจำ

นิตยสารเก่าในความทรงจำ
นิตยสารมิถุนา (1983-1997)

อยากรู้ความจริง / ทัช ณ ตะกั่วทุ่ง (1992)

บทความเก่าของบลอก

บทความเก่าของบลอก
เจริญทอง เกียรติบ้านช่อง

ครีมอาบน้ำลักส์ / อัญชลี จงคดีกิจ (1985)

บทความเก่าของบลอก

บทความเก่าของบลอก
โป้ง วราวุธ บูรพาชยานนท์

MISSING YOU / TOMMY PAGE (1997)

ตามรักคืนใจ (1998)

ในปี พ.ศ. 2541

สถานีโทรทัศน์ช่อง 3

ร่วมกับบริษัท ยูมาร์ 99 จำกัด

ได้เสนอละครโทรทัศน์

เรื่อง ตามรักคืนใจ

แพร่ภาพเป็นประจำ

ทุกวันศุกร์และเสาร์

เวลา 20:30 น.

ทางสถานีโทรทัศน์ช่อง 3

โดยละครโทรทัศน์เรื่องนี้

สร้างจากบทประพันธ์

ของ กิ่งฉัตร

ดัดแปลงเป็นบทโทรทัศน์

โดย ทุ่งดอกไม้

กำกับการแสดง

โดย วิลักษณา

นำแสดงโดย ธนากร โปษยานนท์

รับบท สีหนาท หรือ นายสิงห์

รามาวดี สิริสุขะ

รับบท หนูนา หรือ นารา

พงษ์พัฒน์ วชิรบรรจง

รับบท ราม

นาถยา แดงบุหงา รับบท รัศมี

นพชัย มัททวีวงศ์ รับบท อดิศร

ชไมพร สิทธิวรนันท์

รับบท จุฑารัตน์ หรือ จุ๊

เมธี อมรวุฒิกุล รับบท สารวัตรกช

รุ้งทอง ร่วมทอง รับบท ขนิษฐา

สมบัติ เมทะนี รับบท วรรณ

ทนงศักดิ์ ศุภการ รับบท ศักดา

ดารณีนุช โพธิปิติ รับบท แป้น

พิมพกา เสียงสมบุญ รับบท พวง

ศักราช ฤกษ์ธำรงค์ รับบท เอกชาติ

วัชรเกียรติ บุญภักดี รับบท เรือง

เรือนมยุรา (1997)

เธอยังคงมีฉัน / ปัทมวรรณ เค้ามูลคดี (1994)

บทความเก่าของบลอก

บทความเก่าของบลอก
เจ มณฑล จิรา

NEVER SURRENDER / COREY HART (1985)

บทความเก่าของบลอก

บทความเก่าของบลอก
Paul Visut Carey

คลังบทความของบล็อก

TOKI / YUTAKA OZAKI (1988)

บทความพิเศษของบลอก

บทความพิเศษของบลอก
นิตยสารวัยรุ่นทศวรรษที่ 90

TRUE / SPANDAU BALLET (1983)

MY FAVORITE ALBUM / EISAKU YOSHIDA

MOU DAREMO AISANAI (1991)

ดอกแก้วการะบุหนิง (2000)

ในปี พ.ศ. 2543

สถานีโทรทัศน์ช่อง 3

ร่วมกับบริษัท ฮู แอนด์ ฮู

โดย วรายุฑ มิลินทจินดา

เสนอละครโทรทัศน์

เเนว โรแมนติก-แฟนตาซี

เรื่อง ดอกแก้วการะบุหนิง

โดยเป็นการสร้าง

จากบทประพันธ์

โดย แก้วเก้า

นำมาดัดแปลง

เป็นบทโทรทัศน์

โดย วรดา

กำกับการแสดง

โดย ชูศักดิ์ สุธีรธรรม

นำแสดงโดย ธนากร โปษยานนท์

รับบท ดนย์

คัทลียา แมคอินทอช

รับบท การะบุหนิง

ฉัตรชัย เปล่งพานิช

รับบท สุหราปาตี

จินตหรา สุขพัฒน์

รับบท กิรณา

เพลงประกอบละครโทรทัศน์

เพลง เธอ

โดย ศิริลักษณ์ ผ่องโชค

ภาพประกอบละครโทรทัศน์

ช่วง Opening Credits

โดย อ.สุรเดช แก้วท่าไม้

ละครโทรทัศน์

เรื่อง ดอกแก้วการะบุหนิง

ออกอากาศเป็นประจำ

ทุกวันจันทร์ อังคาร

เวลา 20.25 น.

ทางสถานีโทรทัศน์ช่อง 3

ในปี พ.ศ. 2543

นิตยสารเก่าในความทรงจำ

นิตยสารเก่าในความทรงจำ
นิตยสารกระดังงา (1984-1990)

VITASOY / SIMON LO (1992)

บทความเก่าของบลอก

บทความเก่าของบลอก
สามารถ พยัคฆ์อรุณ

ป้ายกำกับ

JAL / KAORU KOBAYASHI (1991)

MY FAVORITE ALBUM

MY FAVORITE ALBUM
CAPRICCIO / SHONENTAI (1988)

HI-C LEMON TEA / EKIN CHENG (1987)

นิตยสารเก่าในความทรงจำ

นิตยสารเก่าในความทรงจำ
นิตยสารเพื่อนเดินทาง (1980)

GILMORE GIRLS (2000-2007)

HOP-STEP-LOVE / JUNICHI NITTA (1982)

บทความเก่าของบลอก

บทความเก่าของบลอก
Shingo Kazami

JA KYOSAI / EISAKU YOSHIDA (1990)

บทความเก่าของบลอก

บทความเก่าของบลอก
Yuki Saito

วนิดา (1991)