นิตยสารเกย์
ในชื่อ เชิงชาย
ซึ่งมีการสร้างสรรค์
ออกมาวางจำหน่าย
ในระยะสั้นๆ
เพียง 2 ฉบับ
ในช่วงปี พ.ศ. 2525
รวมถึงความฮือฮา
จากการที่นิตยสาร
ในชื่อ หนุ่มสาว
มีการตีพิมพ์
ภาพนู๊ดชาย
ควบคู่กันไป
เป็นการเพิ่มเติม
จากที่เดิมนั้น
เคยมีการตีพิมพ์
เฉพาะภาพนู๊ด
ของเหล่านางแบบ
ซึ่งจากกระแสตอบรับที่ดี
ของกลุ่มผู้อ่านทางบ้าน
ทำให้ในช่วงต้นยุค 80
ที่ผ่านมานั้น
วงการสื่อสิ่งพิมพ์
ประเภทนิตยสาร
ในประเทศไทย
ได้มองเห็น
ถึงตลาดใหม่
ของนิตยสาร
ที่มีกลุ่มผู้อ่าน
ซึ่งเป็นชาวเกย์
ซึ่งจากเสียงตอบรับ
ทั้งจากการเปิดตัว
นิตยสารเชิงชาย
การตีพิมพ์
ภาพเซ็กซี่
ของเหล่าดาราชาย
ในนิตยสารแฟชั่น
ในชื่อ พีจี
รวมถึงการตีพิมพ์
ภาพนู๊ดนายแบบ
ในนิตยสารหนุ่มสาว
ก็ทำให้ในปี พ.ศ. 2526
เป็นต้นมานั้น
วงการสื่อสิ่งพิมพ์
ของประเทศไทย
ก็ได้มีโอกาส
ในการต้อนรับ
นิตยสารรายเดือน
หลาย-หลายฉบับ
ที่มีการสร้างสรรค์ขึ้น
สำหรับผู้อ่าน
ที่เป็นชาวเกย์
โดยจากความทรงจำ
ของผู้เขียนบลอก
ในช่วงยุค 80
ซึ่งถือเป็นยุคก่อตั้ง
ของนิตยสารเกย์
ในประเทศไทย
นิตยสารมิถุนา
และ มิถุนา จูเนียร์
ที่นำเรื่องราว
มาบันทึกไว้
ในบทความ
ของบลอก
ในครั้งนี้นั้น
ถือเป็นนิตยสาร
จำนวน 2 ฉบับ
ซึ่งอยู่ในเครือเดียวกัน
ที่เป็นที่นิยม
และถือเป็นที่จดจำ
ของผุ้อ่านมากมาย
จากการเป็นนิตยสาร
ที่มีการเปิดตัว
ในฐานะนิตยสาร
สำหรับผู้อ่าน
ที่เป็นเกย์
อย่างเต็มตัว
เป็นฉบับแรก
จากความแตกต่าง
ในการตีพิมพ์
ภาพนู๊ดชาย
เพียงอย่างเดียว
โดยไม่มีการลงภาพ
และการตีพิมพ์
ภาพนู๊ดนางแบบ
เหมือนนิตยสาร
อย่าง เชิงชาย
และ หนุ่มสาว
ซึ่งจากความโดดเด่น
ในการประกาศตัว
ในฐานะนิตยสาร
สำหรับผู้อ่าน
ที่เป็นเกย์
รวมถึงมีเนื้อหา
และรูปแบบ
ที่มีคุณภาพ
สามารถตอบสนอง
ความต้องการ
ของกลุ่มผู้อ่าน
ที่เป็นชาวเกย์
ในช่วงเวลานั้น
ได้เป็นอย่างดี
ก็ทำให้นิตยสาร
สำหรับเกย์
ในฉบับนี้
ถือเป็นนิตยสาร
ที่เป็นการวางรูปแบบ
รวมถึงรุปเล่ม
ในแบบพ็อกเก็ตบุ๊ค
ที่กลายเป็นมาตรฐาน
ของรูปแบบ
นิตยสารเกย์
ในช่วงยุค 80
ที่เป็นที่จดจำ
จากลักษณะเฉพาะ
ของนิตยสาร
ที่มีรูปเล่ม
ในแบบขนาดเล็ก
ภาพสีสวยงาม
และมีเนื้อหา
ที่ไม่หยาบโลน
จากการมีเนื้อหา
ในแบบนิตยสาร
ในรูปแบบปกติ
แม้จะมีการตีพิมพ์
ภาพนู๊ดนายแบบ
ในนิตยสาร
ก็ตามที
(โดยในการบันทึก
บทความของบลอก
ในครั้งนี้นั้น
จะเป็นการบันทึก
โดยในช่วงเวลา
ปี พ.ศ. 2526
ถึงประมาณปี พ.ศ. 2531
ซึ่งนิตยสารมิถุนา
และมิถุนาจูเนียร์
มีรุปแบบนิตยสาร
ในแบบคลาสสิค
ที่ยังไม่ปรับเปลี่ยน
ไปเน้นเนื้อหา
และภาพประกอบ
เกี่ยวกับทางเพศ
เพื่อเป็นการจูงใจ
กลุ่มผู้อ่าน
มากขึ้นกว่าเดิม
และเพื่อไม่ให้บทความ
กลายเป็นการรุกล้ำ
ความเป็นส่วนตัว
ของทีมงาน
และกองบรรณาธิการ
รวมถึงนายแบบ
ในเซทภาพนู๊ด
ทำให้ในการบันทึก
บทความครั้งนี้
จะไม่มีการบันทึก
ในด้านข้อมูล
เกี่ยวกับรายชื่อ
ของทีมงาน
กองบรรณาธิการ
และผู้เกี่ยวข้อง
รวมถึงจะไม่ลงภาพ
ของปกนิตยสาร
ในฉบับต่างๆ
ที่เป็นภาพ
ของนายแบบ
ในการถ่ายภาพนู๊ด
ของแต่ละฉบับ
เพื่อรักษา
ความเป็นส่วนตัว
ของแต่ละท่านไว้
โดยในการบันทึก
ของบลอก
ในครั้งนี้นั้น
จะมีภาพประกอบ
ที่มาจากภาพ
ของการถ่ายแฟชั่น
เสื้อผ้าบูติก
ที่ใช้นายแบบ
หรือนักแสดง
มาเป็นแบบ
รวมถึงมีภาพ
จากคอลัมภ์ต่างๆ
ของทางนิตยสาร
เพียงเท่านั้น
โดยมีการละเว้น
ในส่วนของภาพนู๊ด
ในแบบเห็นหน้า
ของนายแบบ
ประจำฉบับ
ซึ่งต้องขออภัย
ผู้อ่านทุกท่าน
ไว้ ณ ที่นี้)
สำหรับผู้อ่าน
ที่ไม่ได้เติบโต
มาในช่วงยุค 80
หรือไม่ได้ติดตาม
นิตยสารฉบับนี้
นิตยสารมิถุนา
เป็นนิตยสาร
สำหรับผู้อ่าน
ที่เป็นชาวเกย์
ที่มีการสร้างสรรค์
ออกมาวางจำหน่าย
ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2526
ถึงในปี พ.ศ. 2540
โดยนิตยสาร
ในช่วงแรกนั้น
มีการจัดรูปเล่ม
และความหนา
ประมาณ 134 หน้า
ซึ่งเป็นขนาด
ของนิตยสาร
ในรูปแบบปกติ
ที่มีกำหนดการ
การวางจำหน่าย
ในรูปแบบรายเดือน
โดยนิตยสารมิถุนา
ในฉบับ 1
ของปีที่ 1
มีการวางจำหน่าย
ไปสู่ผู้อ่าน
เป็นครั้งแรก
ในเดือนพฤศจิกายน
ของปี พ.ศ. 2526
โดยนิตยสาร
ในฉบับแรก
มีราคา 30 บาท
ต่อหนึ่งฉบับ
ก่อนจะมีการปรับเปลี่ยน
ในด้านของราคา
มาเป็น 35 / 40
45 / 50 / 70
ในแต่ละช่วงเวลา
ของการจัดพิมพ์
(ข้อมูลด้านราคา
เป็นการนับรวม
ถึงในช่วงเวลา
ของมิถุนา
และมิถุนาจูเนียร์
รวมถึงช่วงเวลา
ที่นิตยสาร
ทั้งสองฉบับ
ปรับมารวมกัน
เป็นฉบับเดียว
และใช้ชื่อ
ของนิตยสาร
ว่า มิถุนาจูเนียร์
ซึ่งมีทั้งรูปเล่ม
ในแบบปกติ
และขนาดเล็ก
แบบพ้อกเก็ตบุ๊ค
ก่อนจะมีการปรับ
ในด้านรูปแบบ
ของนิตยสาร
และใช้ชื่อสุดท้าย
ว่านิตยสารมิถุนา
ซึ่งถือเป็นการกลับมา
ใช้ชื่อเเรกสุด
ของทางนิตยสาร
อีกครั้งหนึ่ง)
หลังจากการเปิดตัว
นิตยสารมิถุนา
ในฉบับแรก
ในช่วงปลายปี
ของ พ.ศ. 2526
ซึ่งเป็นนิตยสาร
ที่มีการตีพิมพ์
ทั้งภาพนุ๊ด
ของนายแบบ
และนางแบบ
รวมถึงมีรูปเล่ม
ในแบบนิตยสาร
ขนาดปกติ
นิตยสารมิถุนา
ที่ถือเป็นความแปลกใหม่
ของวงการสื่อสิ่งพิมพ์
ประเภทนิตยสาร
ในประเทศไทย
ก็ได้รับความนิยม
จากกลุ่มผู้อ่าน
ที่เป็นชาวเกย์
อย่างรวดเร็ว
ซึ่งจากกระแสตอบรับ
จากกลุ่มผู้อ่าน
และการมียอดขาย
ที่สูงมาก
ของนิตยสาร
ก็ทำให้ในต้นปี
ของ พ.ศ. 2527
ทางทีมงาน
กองบรรณาธิการ
ของนิตยสาร
ในชื่อ มิถุนา
ตัดสินใจ
ที่จะสร้างสรรค์
นิตยสารอีกฉบับ
ในชื่อ มิถุนาจูเนียร์
ที่มีการตีพิมพ์
เฉพาะภาพนู๊ด
ของนายแบบ
และมีการสร้างสรรค์
ในด้านของเนื้อหา
เพื่อผุ้อ่าน
ที่เป็นชาวเกย์
อย่างเต็มตัว
ทั้งฉบับ
ควบคู่กันไป
กับนิตยสาร
ในฉบับเดิม
โดยจากความทรงจำ
ของผู้เขียนบลอก
นิตยสารมิถุนาจูเนียร์
ในฉบับที่ 1
ของปีที่ 1
ซึ่งมีรูปเล่ม
ในแบบขนาดเล็ก
แบบพ็อกเก็ตบุ๊ค
ออกวางจำหน่าย
ไปสู่ผู้อ่าน
เป็นครั้งแรก
ในเดือนกุมภาพันธ์
ของปี พ.ศ. 2527
โดยมีราคาปก
คือ 30 บาท
ต่อหนึ่งฉบับ
และออกวางจำหน่าย
ในระยะเวลา
ที่ไล่เลี่ยกัน
กับนิตยสารมิถุนา
ในฉบับที่ 3
ของเดือนกุมภาพันธ์
ปี พ.ศ. 2527
ซึ่งนิตยสารมิถุนา
ในฉบับที่ 3
ซึ่งเป็นฉบับปกติ
ก็ประกาศตัวตน
ในฐานะนิตยสาร
ที่เป็นของผู้อ่าน
ที่เป็นชาวเกย์
มากยิ่งขึ้น
จากการมีภาพปก
เป็นนายแบบชาย
ในชุดชั้นใน
ซึ่งมีความแตกต่าง
จากนิตยสาร
สองฉบับแรก
ที่มีภาพปก
เป็นนางแบบนู๊ด
ซึ่งการมีภาพปก
ที่มีผู้แสดงแบบ
เป็นนายแบบนู๊ด
ของมิถุนา
และมิถุนา จูเนียร์
ในครั้งนี้
ก็ถือเป็นครั้งแรก
ของนิตยสาร
ในประเทศไทย
ก็ว่าได้
(โดยก่อนหน้านี้
แม้ว่านิตยสาร
ในชื่อ เชิงชาย
และ หนุ่มสาว
จะมีการตีพิมพ์
ภาพนุ๊ดชาย
แทรกอยุ่ในเล่ม
แต่ไม่เคยตีพิมพ์
ภาพนายแบบนู๊ด
ในแบบเดี่ยว
บนแผ่นปก
เลยสักครั้ง)
โดยในฐานะ
นิตยสารเกย์
ที่ถือเป็นผู้บุกเบิก
วงการสื่อสิ่งพิมพ์
ประเภทนิตยสาร
ในประเทศไทย
ที่เป็นการประกาศตัว
และทำให้สำนักพิมพ์ต่างๆ
หันมาให้ความสำคัญ
กับกลุ่มผุ้อ่าน
ที่เป็นชาวไทย
ในฐานะนิตยสาร
ที่มีความแปลกใหม่
นิตยสารมิถุนา
และ มิถุนาจูเนียร์
ก็ถือเป็นนิตยสาร
สำหรับเกย์
ที่มีการปรับเปลี่ยน
ในด้านรุปแบบ
รวมถึงมีอุปสรรค
ในการดำเนินงาน
และนำไปสู่การเปลี่ยนแปลง
ของเจ้าของ ทีมงาน
และกองบรรณาธิการ
ในหลาย-หลายครั้ง
โดยจากความทรงจำ
ของผุ้เขียนบลอก
หลังจากเปิดตัว
นิตยสารมิถุนา
ในฉบับปกติ
ซึ่งออกวางจำหน่าย
จำนวน 11 ฉบับ
ควบคู่กันไป
กับนิตยสาร
มิถุนาจุเนียร์
นิตยสารมิถุนา
ในรุปแบบปกติ
ก็มีการปรับ
มารวมกัน
กับนิตยสาร
มิถุนาจูเนียร์
ซึ่งเป็นที่นิยม
ของผู้อ่าน
ที่เป็นชาวเกย์
มากกว่าฉบับปกติ
ที่มีภาพนู๊ด
ของเหล่านางแบบ
มารวมอยู่ด้วยกัน
โดยหลังจากการปรับ
และรวมเล่มกัน
โดยใช้ขนาด
และรูปเล่ม
ของมิถนาจูเนียร์
ในช่วงปี พ.ศ. 2529
นิตยสารมิถุนา
และมิถุนาจูเนียร์
ที่รวมเล่มกัน
และมีรุปเล่ม
ในแบบเล่มเล็ก
ก็มีการปรับเปลี่ยน
ในด้านไซส์ขนาด
เป็นครั้งแรก
ในช่วงปี พ.ศ. 2529
ซึ่งจากรูปแบบใหม่
ในแบบนิตยสาร
ขนาดปกติ
ที่มีการนำมาใช้
ตั้งแต่ฉบับที่ 36
ถึงฉบับที่ 42
ซึ่งในช่วงเวลานั้น
มีการปรับเปลี่ยน
ในด้านของชื่อ
มาเป็นมิถุนา
เพียงสั้นๆ
ในฉบับที่ 38
ไม่เป็นที่นิยม
เท่ากับรุปเล่ม
ในแบบขนาดเล็ก
ที่ผู้อ่านทางบ้าน
สามารถซื้อหา
และพกพาง่าย
ก็ทำให้นิตยสาร
กลับมาใช้รูปเล่ม
ในแบบเดิม
ที่เป็นขนาดเล็ก
และมีการใช้ชื่อ
ว่า มิถุนา
เพียงอย่างเดียว
จนถึงช่วงปี พ.ศ. 2540
ที่ได้ยุติการสร้างสรรค์
และการวางจำหน่ายไป
สำหรับรุปแบบ
และภาพลักษณ์
ของนิตยสาร
สำหรับผู้อ่าน
ที่เป็นเกย์
ในชื่อ มิถุนา
และ มิถุนาจูเนียร์
จากความทรงจำ
ของผู้เขียนบลอก
นิตยสารมิถุนา
และมิถุนาจูเนียร์
ในช่วงแรกนั้น
เป็นนิตยสาร
ที่มีเนื้อหา
ประกอบด้วยแฟชั่น
เสื้อผ้าบูติก
จากสปอนเซอร์
ภาพนู๊ดนายแบบ
เรื่องสั้น นิยาย
นิยายแปล
บทกวี บทความ
บทสัมภาษณ์
บทวิจารณ์
ภาพยนตร์ เพลง
และ หนังสือ
รวมถึงมีบทความ
แนะนำสถานที่ท่องเที่ยว
ทั้งแบบธรรมชาติ
และสถานบันเทิง
สำหรับชาวเกย์
นอกจากนี้
ยังมีคอลัมภ์ต่างๆ
ที่มีการนำเสนอ
ทั้งในด้านสุขภาพ
บุคลิกภาพ สุขภาพจิต
โชคชะตาราศี
ตอบปัญหาชีวิต ฯลฯ
โดยนิตยสาร
ทั้งสองฉบับนี้
ในช่วงแรกๆ
ของการจัดพิมพ์
ก่อนปี พ.ศ. 2531
นิตยสารมิถุนา
และมิถุนาจูเนีย์
ทั้งสองฉบับนี้
มีรูปแบบนิตยสาร
ที่แม้จะมีจุดเด่น
ในการนำเสนอ
ภาพนู๊ดชาย
แต่ก็เน้น
ในการนำเสนอ
ภาพรวมต่างๆ
ของนิตยสาร
ในรูปแบบ
ของนิตยสารปกติ
ที่มีคอลัมภ์ต่างๆ
อย่างบทวิจารณ์
ภาพยนตร์ เพลง
แนะนำหนังสือ
แนะนำที่ท่องเที่ยว
ตอบปัญหาชีวิต
และสุขภาพ ฯลฯ
ซึ่งรูปแบบเฉพาะ
ของนิตยสารเกย์
ในรุปแบบนี้
ที่ต่างจากปัจจุบัน
ที่มักนำเสนอ
ในด้านภาพนู๊ด
และเรื่องราว
ประสบการณ์ทางเพศ
ซึ่งจากลักษณะเฉพาะ
ของนิตยสาร
ที่มีการสร้างสรรค์
ในรูปแบบนี้นั้น
ก็มาจากการที่นิตยสาร
มิถุนา มิถุนาจูเนียร์
ถือเป็นนิตยสาร
สำหรับเกย์
ที่มีการเปิดตัว
เป็นยุคแรกๆ
ของประเทศไทย
ซึ่งการเป็นผู้บุกเบิก
รุปแบบใหม่ๆ
ก็นำมาสู่การจับจ้อง
ของสังคมไทย
และสื่อมวลชน
ในขณะนั้นนั่นเอง
(เป็นที่น่าเสียดาย
ที่ตั้งแต่ในปี พ.ศ. 2532
เป็นต้นมานั้น
นิตยสารมิถุนา
และนิตยสารเกย์
ฉบับต่างๆ
ในประเทศไทย
ที่มักมีปัญหา
ในด้านการถูกปฎิเสธ
จากทางสายส่ง
ซึ่งยากต่อการขาย
ตามแผงนิตยสาร
จากการถูกเหมารวม
ไปกับนิตยสาร
ที่เน้นภาพโป๊
ของการร่วมเพศ
ในแบบเห็นหมดจด
ซึ่งจากปัญหา
ในการวางแผง
ก็ทำให้นิตยสาร
ของชาวเกย์
ที่มีรูปแบบดีๆ
และมีรูปเล่ม
ที่มีความสวยงาม
ในช่วงยุคก่อตั้ง
มียอดจำหน่าย
ลดลงอย่างมาก
จากการกวาดล้าง
สื่อลามกต่างๆนั้น
ได้มีการปรับเปลี่ยน
ในด้านราคา
ให้สูงมากขึ้น
เพื่อให้พอเพียง
กับยอดพิมพ์
ที่ลดน้อยลง
รวมถึงมีการเน้น
ในด้านการนำเสนอ
ภาพนู๊ดชาย
ที่มีความโจ่งแจ้ง
และมีการตีพิมพ์
ประสบการณ์ทางเพศ
ที่หวือหวา
ให้มากยิ่งขึ้น
เพื่อเป็นการจูงใจ
กลุ่มผู้อ่าน
ให้มีความต้องการ
ในนิตยสาร
ที่มียอดพิมพ์
ที่ลดลงไป)
ซึ่งจากรูปแบบ
ของนิตยสารเกย์
ในช่วงยุคก่อตั้ง
ของการสร้างสรรค์
ซึ่งนอกจากภาพนู๊ด
ของนายแบบ
ที่มีการถ่ายทำ
ในแบบมีรสนิยม
ไม่เน้นความหวือหวา
โดยช่างภาพอาชีพ
และภาพแฟชั่น
ของเซทเสื้อผ้า
จากสปอนเซอร์
โดยผู้แสดงแบบ
ที่เป็นนายแบบ
ในวงการแฟชั่น
ที่ถือเป็นจุดเด่น
ของนิตยสารเกย์
ในช่วงยุคก่อตั้ง
ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2526
เป็นต้นมานั้น
นิตยสารมิถุนา
และ มิถุนาจูเนียร์
ยังมีบทความ
และคอลัมภ์ต่างๆ
ที่เป็นงานข้อเขียน
ที่อ่านสนุก
และเพลิดเพลิน
ไม่มีความหยาบโลน
โดยจากความทรงจำ
ของผู้เขียนบลอก
นิตยสารมิถุนา
และ มิถุนาจูเนียร์
ในช่วงยุคแรกเริ่ม
คือ พ.ศ. 2526
ถึงในช่วงปี พ.ศ. 2530
นิตยสารเกย์
ทั้งสองฉบับนี้
มีคอลัมภ์ต่างๆ
ที่มีความน่าสนใจ
สำหรับผู้อ่าน
ดังนี้ เปิดฉาก
เบิกร่อง ยกเข็ม
ที่นี่หน้าสุดท้าย
ล้อมวงคุยกัน
หมายเหตุมิถุนา
(บทบรรณาธิการ
และคอลัมภ์
ตอบจดหมาย
ของผุ้อ่านทางบ้าน
โดยบรรณาธิการ)
เสี้ยวนาที
กับนายแบบ
มุมที่มิใช่
บันทึกหน้ากระดาษ
ก่อนและหลัง
มาเป็นภาพชุด
บันทึกช่างภาพ
หล่อบุคลิก
หนุ่มต่างประเทศ
กระแทกไหล่หนุ่มหล่อ
ผู้ชายหน้า 69
บางบทเพลง
ของคนถ่ายภาพ
(บทสัมภาษณ์
นายแบบแฟชั่น
นายแบบนู๊ด
เบื้องหลังการถ่ายทำ
ภาพแฟชั่น
เบื้องหลังการถ่ายทำ
ภาพนู๊ดประจำฉบับ)
ความรู้สึกที่งดงาม
(บทกวีประจำฉบับ)
อารมณ์คัน
(รวมเรื่องขำขัน
จากทั่วโลก)
นอกกรอบ
จากแผ่นฟิลม์
ถึงอักษร
รถเข็นดนตรี
อาศรมหนังสือ
ดูหนังจากวีดีโอ
เปิดตำนานอินฟินิตี้
(แนะนำงานศิลปะ
หนังสือ เพลง
ภาพยนตร์
วีดีโอเช่า
เครื่องเสียง)
นักเขียนโฮโม
(ประวัติชีวิต
ของนักเขียน
ที่มีชื่อเสียง
ซึ่งเป็นเกย์)
เรื่องสั้นประจำฉบับ
(โดยนักเขียนชื่อดัง
อย่าง ชาติ กอบจิตติ
ลำเนาว์
แก้ว ลายทอง
โดม วุฒิชัย ฯลฯ)
กวาดมากองให้เก็บ
แมน ออน สตรีท
แหย่สุ่มหนุ่มสวย
(ทัศนคติหลากหลาย
ของบุคคลต่างๆ
ในสังคมไทย)
กำแพงข่าวย่อย
(ข่าวฝากประชาสัมพันธ์)
พจนานุกรมเกย์
(รวมศัพธ์การแพทย์
ในภาษาอังกฤษ
ที่เกี่ยวกับเกย์)
Gemini Club
(คอลัมภ์ประกาศ
เพื่อหาเพื่อนใหม่
ทางจดหมาย)
ย่องไปเฮที่เกย์บาร์
(แนะนำบาร์เกย์
ที่ได้รับความนิยม)
หล่อสะดุด
(บทความสุขภาพ
สุขภาพจิต กีฬา
การปรับปรุง
บุคลิกภาพ
และการแต่งกาย)
เลื่อนขยับปรับคลื่น
สัพเพเหระคดี
(บทความ
และข่าวสาร
เกี่ยวกับเกย์
จากต่างประเทศ)
หน้าต่างสังคม
(ข่าวซุบซิบ
วงสังคมไทย)
ขุดกรุหนุ่มหล่อ
(ประวัติชีวิต
และผลงาน
ของพระเอก
จากวงการภาพยนตร์
ของประเทศไทย
ในยุคเก่า)
โดยนอกจากนิตยสาร
ในชื่อ มิถุนา
และ มิถุนาจูเนียร์
ในช่วงยุคแรกเริ่ม
ของการก่อตั้ง
และการสร้างสรรค์
ทางทีมงาน
และกองบรรณาธิการ
ของนิตยสารเกย์
ทั้งสองฉบับนี้
ยังมีการสร้างสรรค์
นิตยสาร อัลบั้มภาพ
(ในแบบเล่มเล็ก
และเล่มใหญ่)
รวมถึงพ็อกเก็ตบุ๊ค
ที่มีเนื้อหา
และรุปภาพ
สำหรับผู้อ่าน
ที่เป็นชาวเกย์
โดยนอกจากผลงาน
หนังสือรวมเล่ม
นิยายแปล
เรื่อง Making Love
จากการแปล
โดย คุณ ม.บ.ช.
และ คุณเบญจกายจน์
ที่ได้รับความนิยม
จากผู้อ่านทางบ้าน
เมื่อมีการตีพิมพ์
เป็นครั้งแรก
แบบเป็นตอนๆ
ในนิตยสารมิถุนา
ทางทีมงาน
ของนิตยสาร
ทั้งสองฉบับนี้
ยังมีการผลิต
นิตยสารรายเดือน
ในชื่อ เกสร
ที่มีรูปเล่ม
ขนาดเล่มเล็ก
และมีรูปแบบ
และเนื้อหา
ในแบบนิตยสาร
ที่ลงข้อเขียน
ในด้านนิยาย
และเรื่องสั้น
ที่เกี่ยวกับเกย์
โดยเป็นการแปล
มาจากผลงาน
ของนักเขียน
จากต่างประเทศ
(มีความแตกต่าง
จากนิตยสาร
ห้องห้าเหลี่ยม
ที่มักเป็นเรื่องราว
ประสบการณ์ทางเพศ
ที่ออกวางจำหน่าย
ในช่วงยุค 90)
โดยจากความทรงจำ
ของผู้เขียนบลอก
นิตยสารเกสร
ออกวางจำหน่าย
อย่างต่อเนื่อง
จำนวน 10 ฉบับ
ในช่วงปี พ.ศ. 2528
ซึ่งนอกจากนิตยสาร
ในแบบรวมข้อเขียน
งานนวนิยาย
และเรื่องสั้น
ในฉบับนี้แล้ว
ในช่วงปี พ.ศ. 2526
ถึงช่วงปี พ.ศ. 2530
ที่ผ่านมานั้น
ทางทีมงาน
ในยุคก่อตั้ง
ยังมีการสร้างสรรค์
ผลงานอัลบั้มภาพ
จูเนียร์อัลบั้ม
ฉบับที่ 1-6
ผลงานอัลบั้มภาพ
10 ยอดนายแบบ
นิตยสารมิถุนา
ผลงานอัลบั้มภาพ
ชุด Eromantic
และ Dreamy Boy
ซึ่งล้วนมีรูปเล่ม
และมีการถ่ายภาพ
ที่มีความสวยงาม
มากกว่านิตยสาร
สำหรับผู้อ่าน
ที่เป็นชาวเกย์
ซึ่งออกวางจำหน่าย
ในช่วงหลังปี พ.ศ. 2531
ที่ผ่านมา
ในฐานะนิตยสาร
สำหรับผู้อ่าน
ที่เป็นชาวเกย์
นิตยสารมิถุนา
ที่มีการเปิดตัว
เป็นครั้งแรก
ในปี พ.ศ. 2526
และมีการสร้างสรรค์
ไปสู่ผู้อ่านทางบ้าน
รวมถึงมีการปรับเปลี่ยน
ในด้านของรูปแบบ
ของทางนิตยสาร
ในแต่ละช่วงเวลา
จากการเปลี่ยนแปลง
ในด้านทีมงาน
และกองบรรณาธิการ
เพื่อความเหมาะสม
ในการสร้างสรรค์
และผลิตนิตยสาร
ในแต่ละช่วงเวลา
ไปสู่ผู้อ่านนั้น
ก็ได้ห่างหายไป
จากแผงนิตยสาร
ในช่วงปี พ.ศ 2540
โดยนิตยสารมิถุนา
ในฉบับสุดท้าย
ที่ผู้เขียนบลอก
ยังคงมีเก็บไว้
คือนิตยสารมิถุนา
ในฉบับที่ 96
ของเดือนมกราคม
ในปี พ.ศ. 2540
(เป็นนิตยสาร
ในฉบับสุดท้าย
ที่ผู้เขียนบลอก
ยังคงมีเก็บไว้
เพียงเท่านั้น
ซึ่งอาจจะใม่ใช่
นิตยสารมิถุนา
ฉบับสุดท้าย
ที่ทางทีมงาน
มีการสร้างสรรค์
และวางจำหน่าย
ไปสู่ผู้อ่าน
โดยในการบันทึก
บทความของบลอก
ในครั้งนี้นั้น
หากมีข้อมูล
ที่ไม่ครบถ้วน
หรือมีรายละเอียด
ที่ไม่ถุกต้อง
ผู้เขียนบลอก
ต้องขออภัย
ทางทีมงาน
ของนิตยสาร
ในช่วงยุคก่อตั้ง
ไว้ ณ ที่นี้)