ในปี พ.ศ. 2537
สถานีโทรทัศน์ช่อง 7
ร่วมกับบริษัท
ดาราวิดีโอ จำกัด
เสนอละครโทรทัศน์
แนว ชีวิต / ตลก
เหนือธรรมชาติ
เรื่อง วิมานมะพร้าว
โดยเป็นการสร้าง
เป็นละครโทรทัศน์
จากบทประพันธ์
โดย แก้วเก้า
และกำกับการแสดง
โดย จรูญ ธรรมศิลป์
เพลงประกอบละครโทรทัศน์
เพลง วิมานมะพร้าว
ขับร้องโดย ศิริศักดิ์ นันทเสน
ละครโทรทัศน์
เรื่อง วิมานมะพร้าว
ออกอากาศ
เป็นครั้งแรก
ในเวลา 20.30 น.
ทางสถานีโทรทัศน์ช่อง 7
ในช่วงปี พ.ศ. 2537
เรื่อง วิมานมะพร้าว
ฉบับการสร้าง
ในปี พ.ศ. 2537
นำแสดงโดย ศตวรรษ ดุลยวิจิตร
รับบท สืบสาย
ชฎาพร รัตนากร
รับบท จุลลา
ปัญญา นิรันดร์กุล
รับบท ก๋ง
นฤเบศร์ จินปิ่นเพ็ชร
รับบท ทรงเดช
ศิริศักดิ์ นันทเสน
รับบท แสบ
กำธร ทัพคัลไล
รับบท อาตง
ปิยะมาศ โมนยะกุล
รับบท อาเง็ก
สวง ทรัพย์สำรวย
รับบท อาจารย์เฟื่อง
ร่วมด้วย ทองขาว ภัทรโชคชัย
อินทิรา ศิริมุขอาคม
ชลประคัลภ์ จันทร์เรือง
จันทนา ศิริผล ฯลฯ
เรื่อง วิมานมะพร้าว
จากบทประพันธ์
โดย แก้วเก้า
เป็นเรื่องราว
การทำงาน
และความรัก
ของจุลลา
หญิงสาวรุ่นใหม่
ที่มีความฉลาดเฉลียว
และมีความมั่นใจในตัวเอง
ซึ่งหลังจากที่จุลลานั้น
ได้สำเร็จการศึกษา
จากคณะวิศกรรมศาสตร์
เส้นทางในการทำงาน
ในบริษัทต่างๆ
ของวิศกรหญิง
ซึ่งยังไม่มีประสบการณ์
อย่างจุลลานั้น
ดูจะไม่ราบรื่น
และง่ายดาย
สักเท่าไหร่นัก
โดยหลังจากบริษัทเก่า
ที่เธอทำงานอยู่
ได้ปิดตัวลงไป
จุลลาที่ตัดสินใจ
ไปสมัครงาน
ในบริษัทต่างๆ
ก็ได้รับการติดต่อ
ให้เข้าทำงาน
ในบริษัทปาล์มโปรดักส์
ด้วยเหตุผลแปลกๆ
ที่ไม่เหมือนใคร
จากการที่คุณนาย
ผู้เป็นภรรยา
ของเจ้าของโรงงาน
ได้มีความต้องการ
ที่จะรับหญิงสาว
ให้เข้าทำงาน
จากการมีความเชื่อถือ
ในเรื่องของโชคลาง
จากการที่ได้ค้นพบ
ว่าจุลลานั้น
เป็นหญิงสาว
ที่ดวงแข็ง
ไม่เหมือนกับคนอื่นๆ
ซึ่งจากการที่จุลลานั้น
ถือเป็นผู้หญิงคนแรก
ในบริษัทแห่งนี้
ที่เข้ารับตำแหน่ง
เป็นหัวหน้า
ฝ่ายซ่อมบำรุงเครื่องจักร
ที่มีลูกน้องคนงาน
เป็นผู้ชายมากมาย
ก็ทำให้จุลลานั้น
กลายเป็นจุดสนใจ
ของผู้ร่วมงาน
ในทุกๆฝ่าย
รวมถึงสืบสาย
หนุ่มหล่อนิสัยดี
ผู้เป็นทายาท
คนสำคัญ
ของโรงงาน
ซึ่งจากการที่เธอนั้น
สามารถมองเห็น
และพูดคุย
ติดต่อกับก๋ง
หรือเถ้าแก่ใหญ่
ผู้เป็นปู่แท้ๆ
ของสืบสาย
ที่ได้ล่วงลับไปแล้ว
อย่างน่าอัศจรรย์
ก็ทำให้ชีวิต
และการทำงาน
ของจุลลานั้น
ต้องพบเจอ
กับความวุ่นวาย
อย่างมากมาย