นิตยสารลลนา (1973-1995)

ในวงการสื่อสิ่งพิมพ์

ประเภทนิตยสาร

ที่ออกวางจำหน่าย

ในประเทศไทย

ในทุกยุคสมัยนั้น

มีนิตยสารมากมาย

ที่มีความหลากหลาย

ทั้งในรูปแบบ

ของการวางจำหน่าย

ในประเภทรายสัปดาห์

รายปักษ์ รายเดือน

ที่เริ่มต้นการก่อตั้ง

และออกวางจำหน่าย

สู่สายตาผู้อ่าน

ให้ได้ติดตามซื้อหา

ตามแต่รสนิยม

และความชื่นชอบ

ของผู้อ่าน

ท่านนั้นๆ

ซึ่งในจำนวน

ของนิตยสารต่างๆ

ที่มีการสร้างสรรค์

ออกมาวางจำหน่าย

ในแต่ละยุคสมัยนั้น

ก็มีนิตยสารมากมาย

ที่มีการยุติ

ในด้านการผลิต

และห่างหายไป

จากแผงหนังสือ

ด้วยเหตุผล

และปัจจัยต่างๆ

ที่มีความหลากหลาย

และแตกต่างกันไป

โดยนิตยสารแฟชั่น

ในชื่อว่า ลลนา

ที่ผู้เขียนบลอก

นำมาบันทึก

ไว้ในบทความ

ของบลอก

ในครั้งนี้นั้น

ถือเป็นนิตยสาร

แนวแฟชั่น

สาระ-บันเทิง

ที่ประสบความสำเร็จ

และได้รับความนิยม

จากผู้อ่านมากมาย

จากการวางจำหน่าย

ในช่วงยุค 70

ถึงช่วงต้นยุค 90

ที่ได้ห่างหายไป

และยังคงเป็นที่จดจำ

ของผู้อ่านทางบ้าน

หลาย-หลายท่าน

มาจนถึงในทุกวันนี้

ซึ่งจากการที่นิตยสาร

ในฉบับนี้นั้น

มีการวางจำหน่าย

ในรูปแบบรายปักษ์

ในระยะเวลา

ที่ยาวนาน

ทำให้ในการบันทึก

บทความของบลอก

ในครั้งนี้นั้น

จะเป็นการบันทึก

โดยเน้นในเรื่องราว

ของนิตยสารลลนา

ในช่วงยุคเฟื่องฟู

ที่มีคุณสุวรรณี สุคนธา

และ คุณนันทวัน หยุ่น

รับตำแหน่ง

เป็นบรรณาธิการ

คุณศิริสวัสดิ์ พันธุมสุต

รับตำแหน่ง

เป็นอาร์ตไดเรคเตอร์

คุณนภดล โชตะสิริ

รับตำแหน่ง

เป็นช่างภาพ

คุณดวงตา นันทขว้าง

(คุณเมนาท นันทขว้าง)

เป็นผู้ดูแลฝ่ายแฟชั่น

ซึ่งเป็นช่วงเวลา

ของการผลิต

นิตยสารฉบับนี้

ก่อนช่วงปี พ.ศ. 2534

เพื่อความเหมาะสม

ในการเขียน

เพียงสั้น-สั้น

จากขีดจำกัด

ในการบันทึกข้อมูล

ของการจัดทำบลอก

เพียงเท่านั้น

โดยในการบันทึก

บทความของบลอก

ในครั้งนี้นั้น

หากมีข้อผิดพลาด

ในด้านรายละเอียด

หรือมีข้อมูลต่างๆ

ที่ไม่ครบถ้วน

ผู้เขียนบลอก

ต้องขออภัย

ผู้ที่เกี่ยวข้อง

กับการสร้างสรรค์

นิตยสารฉบับนี้

ทุก-ทุกท่าน

ไว้ ณ ที่นี้


สำหรับผู้อ่านบลอก

ที่ไม่ได้เติบโต

มาในช่วงเวลา

ที่มีการสร้างสรรค์

นิตยสารฉบับนี้

ออกมาวางจำหน่าย

ในช่วงปี พ.ศ. 2516

ถึงในปี พ.ศ. 2538

นิตยสารลลนา

เป็นนิตยสาร

แนวแฟชั่น

และสาระ-บันเทิง

ที่ออกวางจำหน่าย

ในรูปแบบรายปักษ์

ซึ่งมีคุณสุวรรณี สุคนธา

(คุณสุวรรณี สุคนธ์เที่ยง)

เป็นผู้ริเริ่มก่อตั้ง

และรับตำแหน่ง

เป็นบรรณาธิการ

เป็นคนแรก

ของทางนิตยสาร

โดยในช่วงแรก

ของการผลิต

นิตยสารฉบับนี้

ออกมาวางจำหน่าย

นิตยสารลลนา

มีคุณบุรินทร์ วงศ์สงวน

ที่ในช่วงยุค 70

ที่ผ่านมานั้น

เป็นเจ้าของ

นิตยสารหลายฉบับ

ทั้ง บีอาร์ พีจี

และ ทีวีรีวิว

เป็นเจ้าของทุน

ในการผลิต

และจัดพิมพ์

โดยนิตยสารลลนา

ในฉบับแรกนั้น

มีการเปิดตัว

และออกวางจำหน่าย

ในวันที่ 10 มกราคม พ.ศ. 2516

โดยมีคุณอารีจิต ศิวะบุตร

หนึ่งในสิบยอดนางแบบ

ประจำปี พ.ศ. 2516

มาเป็นผู้แสดงแบบ

บนแผ่นปก

ของทางนิตยสาร

ในฉบับแรก

ที่มีราคาต่อปก

คือ 7.50 บาท

(โดยในภายหลัง

มีการเปลี่ยนแปลง

ในด้านราคา

เป็น 9 / 10 / 15

20 / 35 / 45 / 50

และ 60 บาท

ในระยะเวลาต่อมา)

โดยรูปแบบ

ของหัวหนังสือ

ที่เป็นที่คุ้นเคย

ของผุ้อ่าน

อย่างยาวนานนั้น

เป็นผลงาน

ในการออกแบบ

โดยคุณรุ่งทิพย์ เตียวสุวรรณ

ซึ่งเป็นหนึ่งในทีมงาน

ฝ่ายจัดรูปเล่ม

ของทางนิตยสาร

(ในด้านของชื่อ

ของทางนิตยสารนั้น

ในบทบรรณาธิการ

ของนิตยสาร

ในฉบับแรกนี้

ไม่ได้กล่าวไว้

แต่คุณสุวรรณี

ท่านเคยตอบจดหมาย

ของผู้อ่านทางบ้าน

ว่าชื่อนิตยสาร

มาจากชื่อ

ของคุณลลนา วงศ์สงวน

ซึ่งเป็นชื่อบุตรสาว

ของคุณบุรินทร์ วงศ์สงวน

ซึ่งเป็นเจ้าของทุน

ให้กับนิตยสารฉบับนี้

ในช่วงแรก-แรก

ของการจัดพิมพ์)





































สำหรับรายชื่อ

ของทีมงาน

ของทางนิตยสาร

ในชื่อ ลลนา

จากหน้าสารบัญ

ของนิตยสาร

ในฉบับที่ 1

ของปี พ.ศ. 2516

นิตยสารฉบับนี้

มีรายชื่อทีมงาน

ในกองบรรณาธิการ

และผู้เกี่ยวข้อง

กับการผลิต

นิตยสารฉบับนี้

ในช่วงยุคก่อตั้ง

ดังนี้ คุณบุรินทร์ วงศ์สงวน

คุณพิชัย วาศนาส่ง

คุณวัฒนศักดิ์ สนิทวงศ์

เป็นคณะผู้อำนวยการ

คุณเรณู โรจนสเถียร

คุณแพทซี วงศ์สงวน

คุณศศิมา ศรีวิกรม์

เป็นที่ปรึกษา

คุณสุวรรณี สุคนธ์เที่ยง

เป็นบรรณาธิการ

คุณจิราพร วัชรเสถียร

คุณจันทนา ศิริวัลลภ

คุณสมบูรณ์ ศุภรสิงห์

เป็นกองบรรณาธิการ

คุณศิริสวัสดิ์ พันธุมสุต

คุณรุ่งทิพย์ เตียวตระกูล

คุณนภดล โชตะสิริ

คุณสัมฤทธิ์ ใจเที่ยง

คุณเตือนจิต ทรงรอด

คุณนพดล ศิลปบรรเลง

เป็นฝ่ายจัดทำรูปเล่ม

คุณทำเนียบ เชื้อวิวัฒน์

ดูแลฝ่ายภาพ

คุณวินัย สุริยศรีวรรณ

ดุแลฝ่ายธุรกิจ

คุณบุรินทร์ บุรีวรรษ

ดุแลฝ่ายจัดจำหน่าย

คุณพิชัย คุณาพงศ์ศิริ

เป็นฝ่ายจัดพิมพ์

(เป็นรายชื่อทีมงาน

ในช่วงยุคก่อตั้ง

เพียงเท่านั้น

โดยในช่วงยุคเฟื่องฟู

ของนิตยสารลลนา

ในช่วงระยะเวลา

ต่อมานั้น

นิตยสารฉบับนี้

เป็นที่จดจำ

ของผู้อ่านทางบ้าน

จากการมีทีมงาน

ที่แข็งแกร่ง

อย่างคุณนันทวัน หยุ่น

ที่เป็นกองบรรณาธิการ

บรรณาธิการผู้ช่วย

และบรรณาธิการ

คุณศิริสวัสดิ์ พันธุมสุต

เป็นอาร์ตไดเรคเตอร์

คุณนภดล โชตะสิริ

เป็นช่างภาพ

ประจำนิตยสาร

คุณดวงตา นันทขว้าง

ดุแลฝ่ายแฟชั่น

รวมถึงยังมีผู้ใกล้ชิด

ที่มีความสนิทสนม

กับคุณสุวรรณี สุคนธา

อย่างคุณจักรพันธุ์ โปษยกฤต

คุณกฤษณา อโศกสิน

คุณชาญณรงค์ ดิฐานนท์

คุณวาณิช จรุงกิจอนันต์

คุณนน รัตน์คุปต์ ฯลฯ

มาร่วมการสร้างสรรค์

ทั้งในด้านงานเขียน

คอลัมภ์ บทความ

เรื่องสั้น นวนิยาย

ภาพประกอบ ฯลฯ

ให้กับนิตยสาร

ในแต่ละช่วงเวลา)





































สำหรับรุปแบบ

และเนื้อหา

ของนิตยสาร

ในชื่อ ลลนา

ที่มีการวางจำหน่าย

ในรูปแบบรายปักษ์

ในช่วงปี พ.ศ. 2516

ถึงปี พ.ศ. 2538

ในฉบับนี้นั้น

จากความทรงจำ

ของผู้เขียนบลอก

นิตยสารลลนา

เป็นนิตยสาร

แนวแฟชั่น

สาระ-บันเทิง

ทีมีการนำเสนอ

ทั้งในด้านแฟชั่น

นิยาย เรื่องสั้น

บทความ สารคดี

บทวิจารณ์

ทั้งในด้านดนตรี

และภาพยนตร์

บทความการท่องเที่ยว

นิทานสำหรับเด็ก

ตำราการทำอาหาร

ตำรางานฝีมือ

เคล็ดลับงานบ้าน

การเสริมความงาม

การตบแต่งบ้าน

เกร็ดความรู้ บทกวี

คอลัมภ์ดวงชะตา

คอลัมภ์ตอบปัญหาชีวิต

คอลัมภ์ตอบจดหมาย

จากผู้อ่านทางบ้าน

การร่วมสนุกชิงรางวัล

ผ่านการส่งงาน

ในด้านข้อเขียน ฯลฯ

โดยนิตยสารลลนา

เป็นที่ชื่นชอบ

ของผู้อ่านมากมาย

จากการนำเสนอ

เนื้อหาสาระต่างๆ

ที่มีความโดดเด่น

และมีความครอบคลุม

ในทุกความสนใจ

ของผู้อ่านทางบ้าน

ที่เป็นทั้งผู้ชาย

และผู้หญิง

(นอกจากนี้

ยังเป็นนิตยสาร

ที่เปิดกว้าง

และนำสมัยมาก

เกี่ยวกับเพศที่สาม

และมีแนวคิด

ในความเท่าเทียม

ระหว่างชาย-หญิง)

รวมถึงนำเสนอ

ในรูปแบบ

ที่มีความโดดเด่น

ทั้งในด้านคุณภาพ

ของการจัดทำ

ในด้านรูปเล่ม

รวมถึงภาพแฟชั่น

ที่ถือเป็นประตูบานแรก

ในการนำเนื้อหาต่างๆ

ไปสู่ผู้อ่าน

นอกจากนี้

นิตยสารลลนา

ยังเป็นนิตยสาร

ที่มีความโดดเด่น

และเป็นที่จดจำ

ของผุ้อ่านมากมาย

จากการเป็นนิตยสาร

ที่มีผลงาน

ที่มีคุณภาพ

ของนักเขียน

รวมถึงศิลปิน

ซึ่งมีความสามารถ

ในด้านการเขียน

ในระดับรางวัล

และมีชื่อเสียง

ในระดับสูง

ของประเทศไทย

หลาย-หลายท่าน

มาลงตีพิมพ์

ในนิตยสาร

อย่างต่อเนื่อง

จากความสามารถ

ของคุณสุวรรณี สุคนธา

และคุณนันทวัน หยุ่น

ที่รับหน้าที่

เป็นบรรณาธิการ

ในแต่ละช่วงเวลา

ของการสร้างสรรค์

นิตยสารฉบับนี้

(ผลงานนวนิยาย

และเรื่องสั้นต่างๆ

ที่สร้างความฮือฮา

ให้กับแวดวง

วรรณกรรมไทย

อย่างนวนิยาย

เรื่อง ล่า

ของคุณทมยันตี

ปีศาจสันนิวาส

ของคุณประมูล อุณหธุป

คือรักและหวัง

ของคุณวัฒน์ วรรลยางกูร

หลงไฟ น้ำท่วมเมฆ

ของคุณกฤษณา อโศกสิน

พันธุ์หมาบ้า

ของคุณชาติ กอบจิตติ

แม่เบี้ย จดหมายถึงเพื่อน

ของคุณวาณิช จรุงกิจอนันต์

ปลาหนีน้ำ กุหลาบสีแดง

ของคุณสิริมา อภิจาริน

สวนสัตว์ เก้าอี้ขาวในห้องแดง

ของคุณสุวรรณี สุคนธา

คือหัตถาครองภิภพ

ของคุณน้ำอบ

นางมาร

ของคุณเพไนย เพียงศูนย์

ที่ถือว่าล้ำสมัย

แม้จะเปรียบเทียบ

กับสังคมยุคใหม่นี้

ล้วนแต่มีการตีพิมพ์

เป็นครั้งแรก

ในนิตยสารลลนา

มาแล้วทั้งสิ้น)




































โดยจากความทรงจำ

ของผู้เขียนบลอก

ในช่วงปี พ.ศ. 2516

ถึงในช่วงปี พ.ศ. 2534

ซึ่งเป็นช่วงเวลา

ที่ผู้เขียนบลอก

เน้นในการนำเรื่องราว

มาบันทึกไว้

ในบทความ

ครั้งนี้นั้น

นิตยสารลลนา

มีผลงาน

นวนิยาย เรื่องสั้น

สารคดี บทวิจารณ์

รวมถึงบทกวี

จากนามปากกา

ของนักเขียนชื่อดัง

หลาย-หลายท่าน

ที่มีการตีพิมพ์

ในนิตยสารฉบับนี้

ส่วนหนึ่ง

ดังนี้ อนุสร

(พระเจ้าวรวงศ์เธอ

พระองค์เจ้าอนุสรมงคลการ

โดยหนึ่งในผลงาน

พระนิพนธ์ของท่าน

คือสารคดีกึ่งนวนิยาย

ชุด ไปเมืองนอก

ที่มีการตีพิมพ์

เป็นครั้งแรก

ในนิตยสารลลนา

ถือเป็นผลงาน

ที่มีความโดดเด่น

จนได้รับรางวัล

ยอดเยี่ยม

ประเภทสารคดี

จากคณะกรรมการแห่งชาติ

ว่าด้วยการศึกษาฯ

สหประชาชาติ)

ชาตรีเฉลิม

(หม่อมเจ้าชาตรีเฉลิม ยุคล)

ประมูล อุณหธูป

(ผลงานเรื่องแปล

ชุด ปีศาจสันนิวาส

ในนิตยสารลลนา

ได้รับความสนใจ

อย่างมาก

จากผู้อ่านทางบ้าน

จากลีลาการเขียน

ที่มีลักษณะเฉพาะ)

อังคาร กัลยาณพงศ์

'รงค์ วงษ์สวรรค์

(ผลงานเรื่องชุด

เมนูบ้านท้ายวัง

ของท่าน

เป็นผลงาน

ที่อยู่ในความทรงจำ

ของผู้เขียนบลอก

มาโดยตลอด)

อาจินต์ ปัญจพรรค์

ฮิวเมอริสต์ นิดา

(นอกจากผลงานแปล

ท่านยังมีผลงาน

ในด้านนวนิยาย

อิงประวัติชีวิต

ในช่วงวัยเยาว์

อย่าง ครั้งหนึ่งยังจำได้

ลงตีพิมพ์ครั้งแรก

ในนิตยสารฉบับนี้)

กาญจนา นาคนันท์

พจนาถ เกสจินดา

ณรงค์ จันทร์เรือง

จันทรำไพ อมราวดี

ทศ พันทุมเสน

สุวรรณี สุคนธา

(ถึงแม้ในยุคหลัง

จะมีนักเขียนหญิง

ที่เขียนเรื่องราว

ในแบบห้วงอารมณ์

ของความเป็นหญิง

อีกหลายท่าน

แต่คุณสุวรรณี

ถือเป็นต้นแบบ

ของงานเขียน

ในรูปแบบนี้

เรื่องสั้นและนวนิยาย

ของคุณสุวรรณีนั้น

มักให้ความรู้สึก

ในแบบการเขียนภาพ

ที่เป็นการแต่งแต้ม

สีสันสวยงามต่างๆ

จนกลายเป็นภาพ

ทีมีความงดงาม

เมื่อมองในภาพรวม

จากลีลาการประพันธ์

ที่สวยงาม ชวนฝัน

ที่เป็นการบอกเล่า

ความรู้สึกและอารมณ์

ในแต่ละช่วงเวลา

ในขณะที่เขียน

โดยผลงานเรื่องสั้น

ของคุณสุวรรณี

ที่ผู้เขียนบลอก

จดจำมาตลอด

คือ ปะทุอารมณ์

ของผู้หญิงรักงู

ที่สะเทือนอารมณ์

และน่าหวาดกลัว

ในอารมณ์

และความแค้น

ของผู้หญิง

โดยเรื่องสั้น

ของคุณสุวรรณี

อีกเรื่องหนึ่ง

ที่ผู้เขียนชอบมาก

คือ คืนหนาว...

ที่เหลือแต่ดาว

เป็นเพื่อน...

ที่แสดงถึงความเหงา

และเปล่าวเปลี่ยว

ของผู้หญิง

ที่แม้จะอยู่รายล้อม

ท่ามกลางผู้คน

ได้เป็นอย่างดี)

กฤษณา อโศกสิน

(นอกจากนวนิยาย

หลาย-หลายเรื่อง

ท่านยังมีผลงาน

ในด้านการเขียน

ประเภทสารคดี

การท่องเที่ยว

รวมถึงผลงาน

ประเภทนวนิยาย

ที่อิงชีวิต

ในช่วงวัยเยาว์

ของท่านเอง

อย่างน้ำท่าวมเมฆ

ที่มีการตีพิมพ์

ลงในนิตยสารฉบับนี้

อีกแนวทางหนึ่งด้วย)

ว.วินิจฉัยกุล

ขรรค์ชัย บุนปาน

(ในทุกปีใหม่

คุณขรรค์ชัย

ในนามปากา

ขรรค์ชัยศรี บุนปาน

มักจะมีผลงาน

บทกลอนปีใหม่

มาฝากผู้อ่าน

ของนิตยสารลลนา

จากการที่คุณช้าง

เป็นนักเขียนชื่อดัง

อีกหนึ่งท่าน

ที่มีความสนิทสนม

กับคุณสุวรรณี

โดยงานเขียน

ที่บอกเล่าเรื่องราว

เกี่ยวกับตลาด

และการซื้อเห็ด

ซึ่งเป็นความทรงจำ

ที่น่ารัก อบอุ่น

เกี่ยวกับเพื่อน

อย่างคุณสุวรรณี

ก็เป็นงานเขียน

ของคุณขรรค์ชัย

ที่พบไม่บ่อยนัก

ในหนังสือพิมพ์มติชน)

ทมยันตี ดวงใจ

สุรชัย จันทิมาธร

ไมตรี ลิมปิชาติ

ศรีดาวเรือง

วัฒน์ วัลยางกูร

จำลอง ฝั่งชลจิตร

วาณิช จรุงกิจอนันต์

(นอกจากงานเขียน

ที่หลากหลาย

คุณวาณิชยังมีผลงาน

ในด้านนวนิยาย

อิงประวัติชีวิต

ในช่วงวัยเยาว์

อย่าง บ้านเกิดและเพื่อนเก่า

ที่มีการตีพิมพ์ครั้งแรก

ลงในนิตยสารลลนา)

ชาติ กอบจิตติ มนันยา

คำปัน สีเหนือ ศศิวิมล

ยี่สุ่นเทศ กรณ์ ไกรลาศ

เทพศิริ สุขโสภา

พจนา จันทรสันติ

สุชาติ สวัสดิ์ศรี

ศิเรมอร อุณหธูป

พิบูลศักดิ์ ละครพล

เรืองชัย ทรัพย์นิรันดร์

น้ำอบ ชลันธร แดง ดารา

สมพงษ์ ทวี ปินดา โพสยะ

วิเศษไชยศรี กาลโยค

ชลันธร วดีลดา เพียงศิริ

แพน พัชรินทร์

นน รัตนคุปต์

(นอกจากผลงาน

ในด้านงานเขียน

ที่มีความแปลก

และเป็นเอกลักษณ์

ซึ่งเป็นที่ชื่นชอบ

ของผู้อ่าน

คุณนนทิชัย

ยังเป็นที่จดจำ

ในฐานะคนคุ้นเคย

ของกองบรรณาธิการ

ของนิตยสารฉบับนี้

เช่นเดียวกัน

กับคุณวาณิช

นอกจากนี้

จากการเป็นผู้วาด

ภาพประกอบ

ในนิตยสารลลนา

ที่มีความสวยงาม

และมีเอกลักษณ์

จากที่ภาพนั้น

มักจะมีสีฟ้า

หรือสีน้ำเงิน

อยู่ในภาพเสมอนั้น

ก็ทำให้ศิลปินท่านนี้

เป็นอีกหนึ่ง

ของภาพจดจำ

ของนิตยสารลลนา

หากมองย้อนกลับไป)

ไพโรจน์ สารีรัตน์

(ลีลางานเขียน

ของคุณไพโรจน์

มักจะให้ความรู้สึก

ที่มีความวิจิตร

เหมือนกับการบรรยาย

ฉากการแสดง

ของละครเวที

ซึ่งจากความโดดเด่น

ที่เข้ากับรูปแบบ

ของนิตยสารลลนา

ทำให้ชายหนุ่ม

มากความสามารถ

จากวงการฑูตผู้นี้

เป็นนักเขียน

อีกท่านหนึ่ง

ที่มีภาพลักษณ์

แบบนักเขียน

ของลลนา

และถือเป็นคนโปรด

ของผู้อ่านพันธุ์แท้

ของนิตยสารฉบับนี้)

สิริมา อภิจาริน

(ผลงานเรื่องเด่น

ในฐานะนักเขียน

ของคุณสิริมา

เรื่อง กุหลาบสีแดง

และ ปลาหนีน้ำ

ที่ตีพิมพ์ครั้งแรก

ในนิตยสารฉบับนี้

ได้รับความสนใจ

อย่างมาก

จากผู้อ่าน

โดยเรื่องแรกนั้น

ได้รับเสียงชื่นชม

ในแง่ของวรรณศิลป์

ส่วนเรื่องหลังนั้น

ในแง่ของเรื่องราว

ที่ถือว่าล้ำสมัย

ในช่วงเวลานั้น

ก็ถือเป็นจุดสนใจ

อีกด้านหนึ่ง

ของผู้อ่านทางบ้าน)

มธุริน อาร์ม

มาลา แย้มเอิบสิน

เพไนย เพียงศุนย์

ปาน บุนนาค มิชิมา

นันทวัน หยุ่น อัญชัน

เลอสรร ธนสุกาญจน์

อัญมณี สีม่วง อริน

คนชื่อขลุ่ยเขียน

ดำรงค์ อารีกุล

หลานเสรีไทย

เตือนจิต นวลตรังค์

ประเสริฐ จันดำ

ดานนท์ ย่านตาขาว

พินทุ์อิ มุสิกทนต์

มติ จุลเจิม ฯลฯ

(รายชื่อส่วนหนึ่ง

จากความทรงจำ

และนิตยสารที่มี

ของผู้เขียนบลอก

เพียงเท่านั้น

และต้องขออภัย

ในการเรียงชื่อ

ลำดับก่อน-หลัง

โดยไม่ได้เรียงลำดับ

ตามความอาวุโส

ของแต่ละท่าน)






































สำหรับข้อมูล

ในด้านคอลัมภ์

ซึ่งถือเป็นอีกส่วน

ที่มีความสำคัญ

ของนิตยสาร

ในฉบับนี้นั้น

ในช่วงปี พ.ศ. 2516

ถึงในปี พ.ศ. 2534

ที่นำเรื่องราว

ส่วนหนึ่ง

มาบันทึกไว้

ในบทความ

ของบลอก

ในครั้งนี้

นิตยสารลลนา

เป็นที่จดจำ

จากการมีคอลัมภ์

ที่มีเนื้อหา

ที่มีความหลากหลาย

สำหรับผู้อ่าน

ทุกเพศ-ทุกวัย

โดยจากความทรงจำ

ของผู้เขียนบลอก

นิตยสารลลนา

มีคอลัมภ์ส่วนหนึ่ง

ที่มีความโดดเด่น

และเป็นที่นิยม

ในหมู่ผู้อ่าน

ดังนี้ ริมสวน

โดย คนเดิม

(คุณอุดร ฐาปโนสถ)

บทความด้านภาษา

โดย ฮิวเมอริสต์

(คุณอบ ไชยวสุ)

ของสวยของดี

ครั้งแผ่นดิน

พระพุทธเจ้าหลวง

โดย คุณธงทอง จันทรางศุ

บ.ก.แถลง

โดย คุณสุวรรณี สุคนธา

และ คุณนันทวัน หยุ่น

ลลนานัดพบ

โดย แทนเงา

(คุณนันทวัน หยุ่น)

ดวงตามดาว

ตอบตามดวง

โดย ชลันธร

และ กาลโยค

(นามปากกาหลัง

คือคุณชาญณรงค์ ดิฐานนท์

ซึ่งถ้าผู้เขียนบลอก

จำไม่ผิดพลาด

ท่านยังมีนามปากกกา

ในชื่อ วิเศษไชยศรี

ที่ใช้ในการเขียน

บทความและสารคดี

ในด้านประวัติศาสตร์

นอกจากนี้

ท่านยังเป็นที่จดจำ

ของผู้อ่านลลนา

ในฐานะผู้วาด

ภาพประกอบ

ให้กับนวนิยาย

และเรื่องสั้น

ในนิตยสารฉบับนี้

ตั้งแต่ในฉบับแรก

ไปจนถึงยุคสุดท้าย)

ศศิวิมลตอบปัญหา

ศศิวิมลท่องเที่ยว

(คุณจักรพันธุ์ โปษยกฤต)

คอลัมภ์ตกแต่ง

โดย คุณไชยรัตน์ ณ บางช้าง

คอลัมภ์บทวิจารณ์

ในด้านภาพยนตร์

ในชื่อ หลังจอ

โดย ลำเนาว์

กระแสเสียง / แถบเสียง

โดย กิตติศักดิ์

(คุณกิตติศักดิ์ สุวรรณโภคิน)

หน้าต่างกรุงเทพ

โดย นภดล

(คุณนภดล โชตะสิริ)

จดหมายถึงสุริยฉาย

โดย สุริยฉาย

(คุณวาณิช จรุงกิจอนันต์)

คอลัมภ์ความงาม

ในชื่อ วันสวย

โดย ขนมถ้วยฟู

(ถ้าผู้เขียนบลอก

จำไม่ผิดพลาด

ขนมถ้วยฟู

คือนามปากกา

ของคุณโหน่ง

วสันต์ อุตตมะโยธิน)

นอกจากนี้

ยังมีคอลัมภ์อื่นๆ

ที่น่าสนใจ

อย่าง มองปั๊ปจับใจ

สิ่งที่แม่บ้านควรทราบ

ข่าวคราวความงามข้ามทวีป

(โดยคุณนันทวัน หยุ่น)

นักล่าวีดีโอ เรียงร้อยถ้อยคำ

นิทานสำหรับเด็ก ตำราอาหาร

(เชื่อว่าผู้อ่านบางท่าน

ของนิตยสารลลนา

ในช่วงระยะเวลานั้น

คงจะไม่ทราบกันมากนัก

ว่านามปากา ยี่สุ่นเทศ

ผู้เขียนตำราอาหาร

ลงในนิตยสารลลนา

คือนามปากกาอีกชื่อหนึ่ง

ของคุณจักรพันธุ์ โปษยกฤต)

ทำเองก็ได้ง่ายจัง หนูทำเอง

แกล้ง-แกล้งแต่งให้เหมือน ฯลฯ




































โดยนอกจากคอลัมภ์

ที่เป็นงานเขียน

จากคอลัมนิสต์

ที่มีชื่อเสียง

และมีความโดดเด่น

ในด้านสำนวน

ที่มีเอกลักษณ์

ตามแบบนิตยสาร

ในชื่อลลนาแล้ว

นิตยสารลลนา

ยังมีคอลัมภ์อื่นๆ

ที่ถือเป็นการติดต่อ

และการร่วมสนุก

กับผู้อ่านทางบ้าน

ซึ่งจากการเปิดรับ

ในด้านข้อเขียน

และจดหมาย

จากผู้อ่านทางบ้าน

ในหลายคอลัมภ์นั้น

ก็ถือเป็นส่วนหนึ่ง

ที่สร้างความคุ้นเคย

และความผูกพัน

ให้กับผู้อ่าน

และทางทีมงาน

(ซึ่งในช่วงก่อนปี พ.ศ. 2534

ทีมงานและผู้เกี่ยวข้อง

ผู้มีความสนทสนม

กับคุณสุวรรณี

และนิตยสารฉบับนี้

เสมือนเป็นที่คุ้นเคย

กับผุ้อ่านทางบ้าน

ผ่านจากงานเขียน

นวนิยาย เรื่องสั้น

รวมถึงคอลัมภ์ต่างๆ

ของทางนิตยสาร

ที่มักจะมีชื่อ

ของคุณป้า

น้าแพ๊ท น้าเซียน

หรือ น้าผอม

น้าจักร น้าเต๋อ

หรือ น้าโยค

ของผุ้อ่าน

น้านน พี่น้อย น้าออด

คุณสาโรช คุณอุดร

คุณช้าง คุณวาณิช

คุณติ๋ม จิราพร

คุณกฤษณา อโศกสิน

คุณเจี๊ยบ พิจิตรา

คุณโหน่ง วสันต์

คุณโหน่ง ปริญญา

คุณป๋อง องอาจ

น้ำพุ หนูกบ

หนูนา หนูแดง ฯลฯ

อยู่ในความคุ้นเคย

และเป็นความทรงจำ

ของผู้อ่านเสมอ)

โดยจากความทรงจำ

ของผู้เขียนบลอก

นิตยสารลลนา

มีคอลัมภ์ส่วนหนึ่ง

ทีมีความน่าสนใจ

ในแง่ของการติดต่อ

และการรับงาน

ในด้านข้อเขียน

จากผู้อ่านทางบ้าน

ดังนี้ จดหมายถึงลลนา

(เป็นที่นิยมของผู้อ่าน

จากสำนวนงานเขียน

และแนวคิด

ในการตอบ

ที่มีเอกลักษณ์

ของบรรณาธิการ

ทั้งสองท่าน

โดยคุณสุวรรณี

สามารถพุดคุย

ได้ทุกเรื่อง

ทั้งอาหาร การเมือง

สังคม สุขภาพ

และท่านยังเข้าใจ

ความรู้สึก

ของคนอ่าน

ทุก-ทุกวัยได้

โดยในส่วนการตอบ

ของคุณนันทวันนั้น

ก็มีความโดดเด่น

จากการตอบ

ที่ให้ความรู้สึก

ในแบบพี่สาวใจดี

ที่ฉลาด ทันสมัย

และมีอารมณ์ขัน

ซึ่งในช่วงยุค

ของคุณนันทวัน

ก็มีผู้อ่านทางบ้าน

หลาย-หลายท่าน

อย่าง คุณเม็ดละมัย

คุณถั่ว คุณตรัย

คุณสาวคลั่งตี๋

(ที่เขียนมาขอปก

ที่เป็นนายแบบ

หน้าตาตี๋ๆ

หลาย-หลายครั้ง

แต่ยังไม่ได้ซักที

จนผู้อ่านทางบ้าน

หลาย-หลายท่าน

เขียนมาเชียร์

ให้เธอสมหวัง)

คุณสาวน้อยร้อยชั่ง

คุณมาลอน แบนดั้ง

(ชายหนุ่มอารมณ์ดี

จากนครราชสีมา

ที่ไปอยู่ออสเตรเลีย)

คุณดอกไม้น้ำ

คุณอมตะ ฯลฯ

รวมถึงคนคุ้นเคย

อย่าง คุณอุดร

จากคอลัมภ์ริมสวน

คุณชาติ กอบจิตติ

คุณไพโรจน์ สาลีรัตน์

คุณมาลา แย้มเอิบสิน ฯลฯ

ที่มักจะเขียนจดหมาย

มาพูดคุย ทักทาย

อย่างสนุกสนาน)

ท่อไอเสีย เรื่องผี

(เป็นการรับข้อเขียน

ในด้านประสบการณ์

จากผู้อ่านทางบ้าน)

ตอบตามดวง

โดย กาลโยค

(เป็นการรับดุดวง

ในแบบรายบุคคล

ผ่านการตอบจดหมาย

โดยนอกจากตอบ

ไปตามดวงแล้ว

ยังให้คำแนะนำ

ในการแก้ปัญหา

โดยได้รับความนิยม

จากผู้อ่านอย่างมาก

จากสำนวนการเขียน

ที่มีเอกลักษณ์

และมีความเข้าใจ

ในผู้อ่านทางบ้าน

ที่กำลังมีปัญหา

ซึ่งจากสำนวน

ในด้านการเขียน

ที่ให้ความรู้สึกสบายๆ

แฝงไว้ด้วยอารมณ์ขัน

ของผู้เขียน

อย่างคุณกาลโยค

หรือในช่วงยุคหลัง

ถุกแฟน-แฟน

เรียกแบบสั้น-สั้น

แบบน่ารัก

ว่าน้าโยคนี้เอง

ทำให้ผู้อ่านทั่วไป

ก็สามารถอ่าน

คอลัมภ์นี้ได้

แม้จะไม่ใช่ผู้เขียน

ที่เขียนจดหมาย

ไปถามดวงชะตา)

ศศิวิมลตอบปัญหา

และ จดหมายถึงสุริยฉาย

(คอลัมภ์ตอบปัญหาชีวิต

ที่เป็นที่นิยมอย่างมาก

จากสำนวนการตอบ

ที่มีเอกลักษณ์

ในด้านสำนวน

ที่เป็นแบบไทย-ไทย

และแฝงไว้ด้วยอารมณ์ขัน

ซึ่งทำให้ไม่เหมือน

คอลัมภ์ตอบปัญหาชีวิต

ของนิตยสาร

ในฉบับอื่น-อื่น)

เรียงร้อยถ้อยคำ

(รับงานข้อเขียน

ในด้านบทกวี

จากทางบ้าน)

คุณหนูเขียนเรื่อง

คุณหนูเขียนรูป

(รับงานเขียน

ในด้านข้อเขียนสั้นๆ

รวมถึงประกวด

การวาดภาพ

ตามหัวข้อต่างๆ

จากเหล่าเด็กๆ

โดยเป็นอีกสองคอลัมภ์

ของทางนิตยสาร

ที่ได้รับความนิยม

จากผู้อ่านอย่างมาก

ทำให้เป็นคอลัมภ์

ที่อยู่คู่นิตยสาร

มาโดยตลอด

โดยภาพประกอบ

ในคอลัมภ์

คุณหนูเขียนเรื่อง

โดย คุณปู่

ที่มีความน่ารัก

และอารมณ์ขัน

ก็เป็นอีกหนึ่ง

ภาพจดจำ

ของคอลัมภ์นี้)







































สำหรับในส่วน

ของรูปเล่ม

และในด้านแฟชั่น

รวมถึงภาพปก

ของนิตยสารลลนา

ซึ่งเป็นที่จดจำ

ของผู้อ่านมากมาย

จากความสวยงาม

ในภาพแฟชั่น

และภาพปก

ในแบบปกพับ

ที่มีภาพต่อเนื่อง

ที่ดูสวยแปลกตา

และมีเอกลักษณ์นั้น

ในช่วงยุคเฟื่องฟู

ของนิตยสารฉบับนี้

ภาพปกและแฟชั่น

ของนิตยสารฉบับนี้

เป็นผลงาน

จากการถ่ายภาพ

ที่มีความโดดเด่น

โดยคุณนภดล โชตะสิริ

ซึ่งในช่วงเวลา

ดังกล่าวนั้น

ภาพถ่ายสวยๆ

จากฝีมือ

ช่างภาพท่านนี้

ถือเป็นความโดดเด่น

ของทางนิตยสาร

ที่ผู้อ่านมากมาย

ให้การชื่นชอบ

และให้ความสำคัญ

(ภาพถ่ายแฟชั่น

ของคุณเซียน

มักจะให้ความรู้สึก

ที่ดูแปลกตา

จากลักษณะ

ของการวางท่าทาง

และแสดงอารมณ์

ของตัวแบบ

นอกจากนี้

ในด้านสถานที่

ของการถ่ายทำ

ที่มักจะสถานที่

ที่ดูธรรมดา

แต่จากฝีมือ

ของช่างภาพท่านนี้

ก็ทำให้ไร่นา โกดังเก่าๆ

บ้านไม้โทรมๆ

ในการถ่ายภาพ

ในช่วงเวลานั้นๆ

กลายเป็นภาพแฟชั่น

ที่ดูงดงาม

และแปลกตาเสมอ)

นอกจากนี้

ในช่วงยุคเฟื่องฟู

ของนิตยสารฉบับนี้

นิตยสารลลนา

ยังเป็นที่จดจำ

ของผู้อ่านมากมาย

จากการมักจะนำเสนอ

ผลงานเสื้อผ้า

ของเหล่าดีไซเนอร์

ที่กำลังโด่งดัง

ในวงการแฟชั่น

อย่างคุณธีระพันธ์ วรรณรัตน์

คุณพิจิตรา บุณยรัตพันธุ์

คุณองอาจ นิรมล

(โดยนอกจากผลงาน

ในด้านการออกแบบ

คุณป๋องยังเป็นที่จดจำ

ของผู้อ่านลลนา

ในฐานะนายแบบ

ซึ่งเป็นผู้ชายคนแรก

ที่ได้รับเลือก

ให้ขึ้นปกนิตยสาร

โดยก่อนปี พ.ศ. 2522

นิตยสารฉบับนี้

มีแต่นางแบบ

ที่ได้รับเลือก

ให้ขึ้นปกเท่านั้น)

คุณกีรติ ชลสิทธิ์

คุณดวงตา นันทขว้าง

คุณศิริชัย ทหรานนท์

และ คุณปริญญา มุสิกมาศ

ซึ่งจากความทรงจำ

ของผุ้เขียนบลอก

แม้ว่าดีไซเนอร์

หลาย-หลายท่าน

เหล่านี้นั้น

แม้จะมีแนวทาง

ในการสร้างสรรค์

ที่แตกต่างกันไป

แต่ในการนำเสนอ

ผลงานต่างๆ

ที่มีการตีพิมพ์

ลงในนิตยสารฉบับนี้

ในแต่ละครั้งนั้น

ภาพแฟชั่น

ที่ปรากฎ

สู่สายตาผู้อ่าน

ที่มักจะมาพร้อม

ผู้แสดงแบบ

ที่มีความโดดเด่น

เสื้อผ้าสวย

การโพสท่า

ที่ดูแปลกตา

ดูจะเข้ากันได้ดี

กับภาพลักษณ์

ของทางนิตยสาร

ที่มีความแปลกใหม่

อยู่เสมอนี้

ก็ทำให้แฟชั่น

ของนิตยสารลลนา

ในช่วงปลายยุค 70

ถึงช่วงปลายยุค 80

ที่ผ่านมานั้น

กลายเป็นที่ชื่นชอบ

ของผู้อ่านทางบ้าน

และถือเป็นเอกลักษณ์

ที่มีความโดดเด่น

อีกด้านหนึ่ง

ของนิตยสารฉบับนี้

ในความทรงจำ

ของผู้อ่านมากมาย

(เกร็ดเล็กๆน้อยๆ

เกี่ยวกับภาพแฟชั่น

ของนิตยสารลลนา

ที่เป็นที่จดจำ

มาจนถึงในทุกวันนี้

คือในภาพแฟชั่น

ของนิตยสารนั้น

มักจะมีบทกลอน

เกี่ยวกับแฟชั่น

นายแบบ นางแบบ

ในแบบยั่วล้อ

สังคมและการเมือง

แทรกไว้อยู่เสมอ

โดยบทกลอน

ที่เป็นที่จดจำ

ของผู้อ่านมากมาย

มาจนถึงในทุกวันนี้

ในช่วงแรก-แรกนั้น

เป็นผลงานการเขียน

ที่แฝงด้วยอารมณ์ขัน

ของคุณสุวรรณี สุคนธา

คุณนันทวัน หยุ่น

และคุณวาณิช จรุงกิจอนันต์)






































โดยนอกจากผลงาน

ในด้านการถ่ายภาพ

ของคุณนภดล โชตะสิริ

และผลงานเสื้อผ้า

ของเหล่าดีไซเนอร์

ที่กำลังโด่งดัง

หลาย-หลายท่าน

ในช่วงเวลานั้น

เหล่านายแบบ

และนางแบบ

ของนิตยสารลลนา

ยังถือเป็นอีกส่วนหนึ่ง

ที่มีความสำคัญ

กับการถ่ายทำ

ภาพแฟชั่นต่างๆ

ของนิตยสารฉบับนี้

โดยจากความทรงจำ

ของผู้เขียนบลอก

ในช่วงยุค 80

ที่ผ่านมานั้น

ขณะที่นิตยสารแพรว

และแพรวสุดสัปดาห์

ในช่วงเวลาเดียวกัน

มักจะมีความนิยม

ในการใช้นายแบบ

และนางแบบ

ที่มีความน่ารัก

ร่าเริง สดใส

ตามรูปแบบ

และภาพลักษณ์

ของทางนิตยสาร

นิตยสารลลนา

รวมถึงเปรียว

ซึ่งมีความโดดเด่น

ในแง่ของแฟชั่น

ที่มีความแปลกใหม่

ก็มักจะมีความนิยม

ในการใช้นายแบบ

และนางแบบประจำ

ที่มีภาพลักษณ์

แบบหนุ่มสาวรุ่นใหม่

ที่มีความเก๋ ดูดี

รวมถึงมีหน้าตา

ที่มีความโดดเด่น

และมีเอกลักษณ์

(นางแบบมักจะสวย

ในแบบแปลกตา

และมีภาพลักษณ์

ในเวลาถ่ายภาพ

ที่ดูเป็นศิลปะ

สำหรับนายแบบนั้น

มักจะหล่อเหลา

ในแบบไทยแท้

และมีเสน่ห์

แบบนักกีฬา)

โดยจากความทรงจำ

ของผู้เขียนบลอก

นายแบบ นางแบบ

ส่วนหนึ่ง

ที่มักจะมีผลงาน

ในด้านการถ่ายภาพ

และมักจะได้รับเลือก

ให้ขึ้นปกนิตยสาร

รวมถึงเป็นนายแบบ

และนางแบบ

ที่ได้รับความนิยม

จากกลุ่มผุ้อ่าน

ที่เป็นแฟน-แฟน

ของนิตยสารฉบับนี้

มีดังนี้ คุณพูลลาภ เรืองศุข

คุณอาภาพันธุ์ ฮันเตอร์

คุณภัทราวดี มีชูธน

คุณเพ็ญพร ไพฑูรย์

คุณพิจิตรา บุณยรัตพันธุ์

คุณดวงตา ตุงคะมณี

คุณวันทิพย์ ภวภูตานนท์

คุณช่อทิพย์ จงคดีกิจ

คุณเผ่าทอง ทองเจือ

คุณอิสรีย์ พินิจภุวดล

คุณสหัสชัย ชุมรุม

คุณรุ่งนภา กิตติวัฒน์

คุณณัฐกานต์ เศรษฐบุตร

คุณนวลปรางค์ ตรีชิต

คุณภาวดี พยุงเวช

คุณมาริสา เชื้อวิวัฒน์

คุณจันทรา นภาพร

คุณมาริษา จุลเสวก

คุณศิริขวัญ นันทศิริ

คุณศิริภรณ์ ปีเตอร์ส

คุณกุสุมา ปีเตอร์ส

คุณศศิวรรณ กุลเศรษฐศิริ

คุณอติชาต รักษะจิต

คุณนวลจรีย์ จำนงค์ไทย

คุณกาญจนา จินดาวัฒน์

คุณเพ็ญพักต์ ศิริกุล

คุณรัชนี ศิระเลิศ

คุณภคกุล สนิทวงศ์ ณ อยุธยา

คุณสุดารัตน์ อรุณวงษ์ ณ อยุธยา

คุณจิตติมา วรรธนะสิน

คุณอัญชลี จงคดีกิจ

ม.ร.ว.ปัทมนัดดา ยุคล

คุณสาริณีย์ เนื่องจำนงค์

คุณภัควดี ภัคเกษม

คุณสปัน เสลาคุณ

ม.ร.ว.เดชาเฉลิม ยุคล

คุณวันวิสาข์ ทรัพย์ประเสริฐ

คุณธาริณี ทิวารี

คุณจริยา อุตตระนาค

คุณณชนก รัตนทารส

คุณสุธิดา ทอมป์สัน

คุณมาช่า วัฒนพานิช

ม.ล.รุ่งคุณ กิติยากร

คุณคาร่า พลสิทธิ์

คุณยอด สุขวิวัฒน์

คุณเยอราดีน ริคอร์เดล

คุณณัฐพัชร์ อคอสต้า ฯลฯ

(โดยในช่วงต้นยุค 90

ซึ่งถือเป็นช่วงยุคต่อมา

ของทางนิตยสาร

นิตยสารลลนา

มีนายแบบ นางแบบ

ในรุ่นใหม่-ใหม่

ที่มีความโดดเด่น

และมักจะได้รับเลือก

ให้ขึ้นปกนิตยสาร

อย่าง คุณนวพร คชเสนี

คุณอาภาศิริ นิตพน

คุณวราลักษณ์ วาณิชย์กุล

คุณธรัญญา สัตตบุษย์

คุณนาตาชา เปลี่ยนวิถี

คุณชลิตา พานิชการ

คุณมาร์ติน มอรี่

คุณรัชนก พูนผลิน

คุณอลิสา อินทุสมิท ฯลฯ

ที่ถือเป็นนางแบบชั้นนำ

ของวงการแฟชั่น

ในช่วงยุค 90)






































ในฐานะนิตยสาร

ที่มีการวางจำหน่าย

ในรูปแบบรายปักษ์

ที่มีการเปิดตัว

และวางจำหน่าย

เป็นครั้งแรก

ในช่วงปี พ.ศ. 2516

นิตยสารลลนา

ถือได้ว่าเป็นนิตยสาร

ที่มีการเปลี่ยนแปลง

ในหลาย-หลายครั้ง

ทั้งในด้านรูปเล่ม

ราคา ทีมงาน

กระดาษ การจัดพิมพ์

ขนาดของนิตยสาร ฯลฯ

ตลอดระยะเวลา

ในการสร้างสรรค์

และออกวางจำหน่าย

ในช่วงปี พ.ศ. 2516

ถึงในช่วงปี พ.ศ. 2538

โดยในฐานะนิตยสาร

ที่มีการปิดตัวลง

นิตยสารลลนา

ในฉบับสุดท้าย

ที่มีราคาต่อปก

คือ 60 บาท

ในช่วงเวลานั้น

มีการสร้างสรรค์

เพื่อออกวางจำหน่าย

เป็นการร่ำลา

แก่ผู้อ่านทางบ้าน

ในช่วงเดือนกุมภาพันธ์

ของปี พ.ศ. 2538

โดยในการจัดทำ

ภาพแฟชั่น

ครั้งสุดท้าย

ของทางนิตยสาร

มีคุณพิทยา ณ ระนอง

นายแบบหนุ่มหล่อ

และนักแสดงชื่อดัง

มาเป็นผู้แสดงแบบ

บนปกนิตยสาร

และมีคุณราเมศ ตั้งใหม่

มาเป็นผู้แสดงแบบ

ในแฟชั่นเซทใน

เป็นนายแบบ

คนสุดท้าย

ของการจัดทำ

นิตยสารฉบับนี้

ซึ่งในฐานะนิตยสาร

ที่ได้รับความนิยม

จากความดีเด่น

และภาพลักษณ์

ที่มีความชัดเจน

ของนิตยสารฉบับนี้

ก็ทำให้นิตยสาร

ในชื่อ ลลนา

ในฉบับนี้นั้น

ไม่ว่าจะเวลา

จะผ่านพ้นไป

เนิ่นนานแค่ไหน

นิตยสารฉบับนี้

ก็ยังคงเป็นที่จดจำ

ของผุ้อ่านมากมาย

รวมถึงมีอิทธิพล

กับการสร้างสรรค์

และการผลิต

นิตยสารแนวแฟชั่น

ของประเทศไทย

อีกหลาย-หลายฉบับ

ในระยะเวลาต่อมา

โดยในการบันทึก

บทความของบลอก

ในครั้งนี้นั้น

เป็นเพียงการบันทึก

จากความทรงจำ

ของผุ้เขียนบลอก

ในช่วงเวลาหนึ่ง

ที่มีนิตยสารลลนา

ในความทรงจำ

ของผู้เขียน

เพียงเท่านั้น

โดยหากมีข้อผิดพลาด

หรือมีรายละเอียด

ในด้านข้อมูล

ที่ไม่ถุกต้อง

ผู้เขียนบลอก

ต้องขออภัย

ทางทีมงาน

กองบรรณาธิการ

และผู้เกี่ยวข้อง

ทุก-ทุกท่าน

ของทางนิตยสาร

ไว้ ณ ที่นี้
































































































































































































































































นิตยสารเก่าในความทรงจำ

นิตยสารเก่าในความทรงจำ
นิตยสารลลนา (1973-1995)

สโมสรผึ้งน้อย (1984)

บทความเก่าของบลอก

บทความเก่าของบลอก
แหม่ม พัชริดา วัฒนา

นิตยสารเก่าในความทรงจำ

นิตยสารเก่าในความทรงจำ
นิตยสารทีวีรีวิว (1972-1992)

SAN MIGUEL BEER (1989)

บทความเก่าของบลอก

บทความเก่าของบลอก
เมย์ ศศลักษณ์ พันธุ์หาญ

SVESVESB / YASUO MIYATA (1982)

การ์ตูนเก่าในความทรงจำ

การ์ตูนเก่าในความทรงจำ
เอล (1992-1995)

SEVENTH HEAVEN (1996-2007)

เสือ 11 ตัว (2001)

เสือ 11 ตัว (2001)

NIVEA SKIN LOTION (1988)

บทความเก่าของบลอก

บทความเก่าของบลอก
เจี๊ยบ ศักราช ฤกษ์ธำรงค์

BALENO / DAVID WU (1989)

นิตยสารเก่าในความทรงจำ

นิตยสารเก่าในความทรงจำ
นิตยสารแพรวสุดสัปดาห์ (1983)

สิงห์โกลด์ไลท์เบียร์ (1989)

From Me To You


การจัดทำบลอกนี้

เกิดจากความรู้สึก

ที่ผู้เขียนบลอก

อยากจะบันทึก

ความทรงจำ

ในช่วงเวลา

ของวันเก่าๆ

ผ่านเส้นทาง

จากเรื่องราว

และผลงานต่างๆ

ของเหล่าดารา

นักร้อง นักแสดง

นายแบบ นางแบบ

นักเขียน ฯลฯ

ซึ่งมีความเกี่ยวข้อง

กับศิลปะบันเทิง

ในช่วงยุคสมัย

ก่อนการมาถึง

ของอินเทอร์เน็ต

ที่แพร่หลาย

ในสังคมไทย

อย่างในทุกวันนี้

ซึ่งในการจัดทำ

ผู้เขียนบลอก

ได้รวบรวม

เรื่องราวต่างๆ

จากความทรงจำ

และค้นข้อมูล

โดยนำรูปภาพ

จากนิตยสารต่างๆ

ในช่วงเวลาอดีต

นำมารวบรวม

และเรียบเรียง

ให้เป็นภาพชัดเจน

ขึ้นมาอีกครั้ง

ด้วยสิ่งที่ตนเองนั้น

ยังคงเก็บไว้

ด้วยความมุ่งหวัง

ในการนำเสนอ

ด้วยความให้เกียรติ

ผ่านการนำเสนอ

ในด้านที่สวยงาม

ซึ่งในการจัดทำ

บทความต่างๆ

ซึ่งต้องใช้ภาพ

จากนิตยสารแฟชั่น

และนิตยสารบันเทิง

ในฉบับต่างๆ

จากช่วงยุค 70

ถึงช่วงปลายยุค 90

ซึ่งภาพทั้งหมดนั้น

ถือเป็นลิขสิทธิ์

ของนิตยสาร

และช่างภาพ

ท่านต่างๆ

ทำให้ผู้เขียนบลอก

มีความตั้งใจ

ที่จะจัดทำบลอกนี้

โดยไม่แสวงผลกำไร

และไม่เปิดรับโฆษณา

เพื่อเป็นการยุติธรรม

ต่อเจ้าของภาพ

ในนิตยสาร หนังสือ

และวีดีโอต่างๆ

ที่ผู้เขียนบลอก

นำมาเรียบเรียงไว้

ในบทความ

โดยในการจัดทำ

ผู้เขียนบลอก

อยากจะขอขอบคุณ

นิตยสารและช่างภาพ

ซึ่งเป็นเจ้าของภาพ

สำหรับภาพสวยๆ

ในทุก-ทุกรูป

และอยากจะขอ

ความกรุณา

จากผู้อ่านทุกท่าน

ที่จะนำข้อมูล

และภาพต่างๆ

ในบลอกนี้

ซึ่งผู้เขียนบลอก

ไม่ใช่เจ้าของ

ในด้านลิขสิทธิ์

นำไปเผยแพร่

ขอให้ทุกท่าน

ที่จะนำภาพไปใช้

ขอให้นำไปใช้

โดยมิใช่เพื่อการค้า

หรือนำไปรวบรวมใว้

ในเวบไซต์ เพจ

หรือบลอกต่างๆ

ที่มีการลงโฆษณา

หรือนำไปประกอบ

ในข้อความ บทความ

ที่จะเป็นการล่วงเกิน

ผู้ที่เป็นแบบ

ในภาพนั้นๆ

จากการนำไปใช้

ร่วมกับข้อความ

ที่มีข้อมูล

ในด้านลบ

หรือใช้ถ้อยคำ

ที่มีความหยาบคาย

ซึ่งจะสร้างความเสียหาย

ให้กับผู้เป็นแบบ

ซึ่งอยู่ในภาพ

ท่านนั้นๆ

SUMMER CONCERT / JIMMY LIN (1992)

นิตยสารเก่าในความทรงจำ

นิตยสารเก่าในความทรงจำ
นิตยสารซินีแม๊ก (1994-2002)

SUCCESS / EISAKU YOSHIDA (1989)

บทความเก่าของบลอก

บทความเก่าของบลอก
Eisaku Yoshida

DIG MEN / TAKAHASHI BROTHERS (1989)

DAWSON'S CREEK (1998-2003)

บทความเก่าของบลอก

บทความเก่าของบลอก
นุ๊ก สุทธิดา เกษมสันต์ ณ อยุธยา

ชาวเวอร์ทูชาวเวอร์ / จอนนี่ แอนโฟเน่ (1989)

บทความเก่าของบลอก

บทความเก่าของบลอก
ลางลิขิต (2001)

โฆษณาเครื่องดื่มเป็ปซี่ / พีท ทองเจือ (1992)

นิตยสารเก่าในความทรงจำ

นิตยสารเก่าในความทรงจำ
Movie Time Magazine (1997-2009)

บทความเก่าของบลอก

บทความเก่าของบลอก
แพท พัสสน ศรินทุ

MELROSE PLACE (1992-1999)

นิตยสารเก่าในความทรงจำ

นิตยสารเก่าในความทรงจำ
Gift Magazine (1981-1992)
ในช่วงยุค 70-90 นั้น

สื่อสิ่งพิมพ์ประเภทการ์ตูน

ที่เข้ามาแพร่หลาย

ในประเทศไทยนั้น

ยังไม่ได้อยู่ภายใต้การบังคับ

ของกฎหมายลิขสิทธิ์

อย่างที่เกิดขึ้น

ในประเทศไทย

ในช่วงปี พ.ศ. 2535

ทำให้วงการการ์ตูน

ในประเทศไทย

ในขณะนั้น

มีการแข่งขันกัน

ระหว่างสำนักพิมพ์ต่างๆ

ในการตีพิมพ์และวางจำหน่าย

ผลงานการ์ตูนเรื่องดังๆ

จากประเทศญี่ปุ่น

จากเหตุผลในข้อนี้เอง

ทำให้เกิดนิตยสารการ์ตูน

เพื่อที่จะได้มีการแปล

และวางจำหน่าย

ให้ทันกับต้นฉบับ

ของนิตยสารการ์ตูน

ที่วางขายในประเทศญี่ปุ่น

และ กิฟท์ แม็กกาซีน

ของ ไลน์อาร์ทแพลนนิ่ง

ถือเป็นหนึ่งในนิตยสารการ์ตูน

สำหรับเด็กผู้หญิง

ที่โด่งดังมากที่สุด

ในช่วงยุค 80

ที่ผ่านมา

จากการมีการ์ตูนเรื่องดังๆ

อย่าง ไซเฟอร์ ไอบอย

เลขรักพิสดาร

อสูรน้อยกระซิบรัก

ตีพิมพ์เป็นประจำ

โดยนอกจากการ์ตูนฮิตเหล่านี้

กิฟท์ แม็กกาซีน

ยังมีลักษณะเฉพาะ

ที่มีความพิเศษ

ที่เป็นที่ชื่นชอบ

ของผู้อ่านมากมาย

จนกลายเป็นนิตยสารการ์ตูน

สำหรับเด็กผู้หญิง

ที่ยังคงอยู่ในความทรงจำ

ของผู้อ่านทุก-ทุกคน

มาจนถึงในทุกวันนี้

โดยผู้อ่านบลอก

ที่สนใจและชื่นชอบ

ในนิตยสารเล่มนี้

สามารถอ่านบทความ

และชมภาพทั้งหมด

ได้ในหัวข้อ 80 thai magazine

และ 90 thai magazinr

บทความเก่าของบลอก

บทความเก่าของบลอก
มารยาริษยา (1998)

SUNTORY NCAA / KOJI KIKKAWA (1985)

บทความเก่าของบลอก

บทความเก่าของบลอก
ต่อ กันติ ธรรมาณิชานนท์

MR PRIVATE EYE / CITY HUNTER (1987)

คิขุอาโนเนะ / วงบอยสเก๊าท์ (1993)

บทความเก่าของบลอก

บทความเก่าของบลอก
ธรรม์ โทณะวณิก

THE DREW CAREY SHOW (1995-2004)

นิตยสารเก่าในความทรงจำ

นิตยสารเก่าในความทรงจำ
นิตยสารอานนท์ (1993-1995)

SUNTORY / KAORU KOBAYASHI (1987)

การ์ตูนเก่าในความทรงจำ

การ์ตูนเก่าในความทรงจำ
รักทระนง (1987)

JAL OKINAWA / TORU KAZAMA (1989)

บทความเก่าของบลอก

บทความเก่าของบลอก
Taishu Kase

BEVERLY HILLS 90210 (1990-2000)

นิตยสารเก่าในความทรงจำ

นิตยสารเก่าในความทรงจำ
HELLO MAGAZINE (1985-1989)

LOVE LIGHT / YU HAYAMI (1982)

นิตยสารเก่าในความทรงจำ

นิตยสารเก่าในความทรงจำ
นิตยสารบงกช (1981-1989)

PRIVATE LIFE / SHONENTAI (1987)

Shonentai / 少年隊

ในช่วงยุค 80

ที่ผ่านมานั้น

ถือเป็นช่วงยุคเฟื่องฟู

ของเหล่านักแสดง

นักร้องวัยรุ่น

ขวัญใจวัยรุ่น

จากประเทศญี่ปุ่น

ที่เริ่มเป็นที่รู้จัก

และมีชื่อเสียง

ในประเทศไทย

โดยหลังจากความสำเร็จ

ของละครโทรทัศน์

เรื่อง เคนโด้

ข้าคือลุกผู้ชาย

รวมถึงละครโทรทัศน์

แนวกีฬา

จากประเทศญี่ปุ่น

อีกหลายๆเรื่อง

ที่เข้ามาแพร่ภาพ

และได้รับความนิยม

ในประเทศไทย

ในช่วงยุค 70

ผู้ชมชาวไทย

ก็เริ่มจะเปิดรับ

ผลงานเพลง

ละครโทรทัศน์

และภาพยนตร์เรื่องต่างๆ

จากประเทศญี่ปุ่น

โดยในฐานะ

กลุ่มนักร้อง

ขวัญใจวัยรุ่น

สามนักร้องหนุ่มหล่อ

วง Shonentai

ถือเป็นกลุ่มนักร้อง

จากประเทศญี่ปุ่น

ที่ได้รับความนิยม

จากสาวๆชาวไทย

มากที่สุด

ในช่วงยุค 80

ซึ่งความโด่งดัง

ของพวกเขา

ทำให้ผู้ชม

ในประเทศไทยเอง

ได้มีโอกาสต้อนรับ

และเข้าชมคอนเสริต์

ของพวกเขา

ที่มีการจัดขึ้น

ในประเทศไทย

ซึ่งถือเป็นความยิ่งใหญ่

ในยุคสมัย

ที่ยังไม่มี Internet

และสื่อบันเทิงต่างๆ

ให้ได้ติดตามรับชม

กันอย่างมากมาย

เหมือนในทุกวันนี้

โดยผู้อ่านของบลอก

ที่คิดถึงผลงาน

และเรื่องราวเก่าๆ

ในช่วงแรก

ของอาชีพนักร้อง

ของทั้งสามหนุ่มหล่อนี้

สามารถติดตามเรื่องราว

และรับชมรูปภาพ

ของพวกเขาได้

ในหัวข้อ 80 Japan Male Idol

บทความเก่าของบลอก

บทความเก่าของบลอก
โด่ง สิทธิพร นิยม

แกล้งโง่ / ฝันดี ฝันเด่น จรรยาธนากร (1994)

ละครเก่าในความทรงจำ

ละครเก่าในความทรงจำ
ดั่งดวงหฤทัย (1996)

นิตยสารเก่าในความทรงจำ

นิตยสารเก่าในความทรงจำ
นิตยสารด้วยรัก (1983-1985)

ขอคืน / บอยสเก๊าท์ (1993)

นิตยสารเก่าในความทรงจำ

นิตยสารเก่าในความทรงจำ
Starpics Magazine (1965)

EARLY EDITION (1996-2000)

การ์ตูนเก่าในความทรงจำ

การ์ตูนเก่าในความทรงจำ
บันทึกรักโพนีเทล (1985-1987)

นิตยสารฉบับเก่าในความทรงจำ

นิตยสารฉบับเก่าในความทรงจำ
นิตยสารแพรว (1979)

STILL LOVE HER / TM NETWORK

บทความเก่าของบลอก

บทความเก่าของบลอก
Kazukiyo Nishikiori (Shonentai)

ปราสาทมืด (1994)

บทความเก่าของบลอก

บทความเก่าของบลอก
ม.6/2 ห้องครูวารี (1994)

MEIJI CHOCOLAT (1993)

บทความเก่าของบลอก

บทความเก่าของบลอก
อัลเฟรด เนติพงษ์ ศรีทองอินทร์

TOKI WO KAKERU SHOUJO (1983)

AGAINST ALL ODDS (1984)

นิตยสารเก่าในความทรงจำ

นิตยสารเก่าในความทรงจำ
Starpics Magazine (1965)

GLICO ALMOND / RYUJI HARADA (1992)

บทความเก่าของบลอก

บทความเก่าของบลอก
โจ ธเนศ ฉิมท้วม

โปลิศจับขโมย (1996)

ปุกปุย (1990)

ภาพยนตร์คุณภาพ

เรื่อง ปุกปุย

ที่ยังคงอยู่ในความทรงจำ

ของผู้ชมภาพยนตร์

หลาย-หลายท่าน

มาจนถึงในทุกวันนี้

เกิดจากแนวคิด

ในการเขียนบท

ของ คุณอุดม อุดมโรจน์

และ คุณทองขาว มะขาวป้อม

โดยภาพยนตร์เรื่องนี้

มีชื่อแรกในบทร่าง

ว่า ใครใครก็ไม่รัก

ซึ่งแนวคิดของเรื่อง

ได้รับแรงบันดาลใจ

มาจาก My Life As a Dog

จากการที่คุณอุดมนั้น

ต้องการสร้างภาพยนตร์

เกี่ยวกับเด็กเด็ก

ในแนวคิดที่อยากนำเสนอ

ให้สังคมและครอบครัว

หันมาใส่ใจ

และดูแลเด็กเด็ก

ในด้านความรู้สึก

ของพวกเขามากกว่านี้

โดยรายนามของผู้สร้างสรรค์

ภาพยนตร์คุณภาพเรื่องนี้

มีดังนี้ กำกับภาพยนตร์

โดย อุดม อุดมโรจน์

อำนวยการสร้าง

โดย จรัญ/วิสูตร พูลวรลักษณ์

ถ่ายภาพ

โดย ปัญญา นิ่มเจริญพงศ์

ดนตรีประกอบ

โดย จำรัส เศวตาภรณ์

ภาพยนตร์เรื่อง ปุกปุย

เปิดตัวต่อสื่อมวลชน

และออกฉายทั่วประเทศ

เมื่อวันที่ 19 พฤษภาคม พ.ศ. 2533

โดยแม้จะมาพร้อม

กับคุณภาพ

และงานการสร้าง

ที่มีความสมบูรณ์แบบ

แต่ภาพยนตร์เรื่องนี้

ไม่ได้ออกฉายทันที

ที่การถ่ายทำเสร็จสิ้นลง

เนื่องจากต้องรอคิว

และเวลาในการออกฉาย

ในโรงภาพยนตร์

ที่มีจังหวะเหมาะสม

ก่อนที่ภาพยนตร์เล็กๆเรื่องนี้

จะทำรายได้ในปีนั้น

ไปอย่างเหนือความคาดหมาย

และยังคงอยู่ในความทรงจำ

ของผู้ชมทุก-ทุกคน

มาจนถึงทุกในวันนี้

ภาพยนตร์เรื่อง ปุกปุย

นำแสดงโดย ด.ช. ณพัชร สุพัฒนกุล

ที่ให้การแสดงชั้นยอด

และเป็นทุกสิ่งทุกอย่าง

ที่บทภาพยนตร์ต้องการ

ร่วมด้วย ด.ญ. ปรางใส ณ นคร

ด.ช. ศุภชัย ชัยวัฒนเมธิน

เกรียงไกร อุณหนันท์

ธิติมา สังขพิทักษ์

และ ญาณี จงวิสุทธิ์

สบตา / แอนเดรีย สวอเรซ (1994)

นิตยสารเก่าในความทรงจำ

นิตยสารเก่าในความทรงจำ
นิตยสารมิถุนา (1983-1997)

อยากรู้ความจริง / ทัช ณ ตะกั่วทุ่ง (1992)

บทความเก่าของบลอก

บทความเก่าของบลอก
เจริญทอง เกียรติบ้านช่อง

ครีมอาบน้ำลักส์ / อัญชลี จงคดีกิจ (1985)

บทความเก่าของบลอก

บทความเก่าของบลอก
โป้ง วราวุธ บูรพาชยานนท์

MISSING YOU / TOMMY PAGE (1997)

ตามรักคืนใจ (1998)

ในปี พ.ศ. 2541

สถานีโทรทัศน์ช่อง 3

ร่วมกับบริษัท ยูมาร์ 99 จำกัด

ได้เสนอละครโทรทัศน์

เรื่อง ตามรักคืนใจ

แพร่ภาพเป็นประจำ

ทุกวันศุกร์และเสาร์

เวลา 20:30 น.

ทางสถานีโทรทัศน์ช่อง 3

โดยละครโทรทัศน์เรื่องนี้

สร้างจากบทประพันธ์

ของ กิ่งฉัตร

ดัดแปลงเป็นบทโทรทัศน์

โดย ทุ่งดอกไม้

กำกับการแสดง

โดย วิลักษณา

นำแสดงโดย ธนากร โปษยานนท์

รับบท สีหนาท หรือ นายสิงห์

รามาวดี สิริสุขะ

รับบท หนูนา หรือ นารา

พงษ์พัฒน์ วชิรบรรจง

รับบท ราม

นาถยา แดงบุหงา รับบท รัศมี

นพชัย มัททวีวงศ์ รับบท อดิศร

ชไมพร สิทธิวรนันท์

รับบท จุฑารัตน์ หรือ จุ๊

เมธี อมรวุฒิกุล รับบท สารวัตรกช

รุ้งทอง ร่วมทอง รับบท ขนิษฐา

สมบัติ เมทะนี รับบท วรรณ

ทนงศักดิ์ ศุภการ รับบท ศักดา

ดารณีนุช โพธิปิติ รับบท แป้น

พิมพกา เสียงสมบุญ รับบท พวง

ศักราช ฤกษ์ธำรงค์ รับบท เอกชาติ

วัชรเกียรติ บุญภักดี รับบท เรือง

เรือนมยุรา (1997)

เธอยังคงมีฉัน / ปัทมวรรณ เค้ามูลคดี (1994)

บทความเก่าของบลอก

บทความเก่าของบลอก
เจ มณฑล จิรา

NEVER SURRENDER / COREY HART (1985)

บทความเก่าของบลอก

บทความเก่าของบลอก
Paul Visut Carey

คลังบทความของบล็อก

TOKI / YUTAKA OZAKI (1988)

บทความพิเศษของบลอก

บทความพิเศษของบลอก
นิตยสารวัยรุ่นทศวรรษที่ 90

TRUE / SPANDAU BALLET (1983)

MY FAVORITE ALBUM / EISAKU YOSHIDA

MOU DAREMO AISANAI (1991)

ดอกแก้วการะบุหนิง (2000)

ในปี พ.ศ. 2543

สถานีโทรทัศน์ช่อง 3

ร่วมกับบริษัท ฮู แอนด์ ฮู

โดย วรายุฑ มิลินทจินดา

เสนอละครโทรทัศน์

เเนว โรแมนติก-แฟนตาซี

เรื่อง ดอกแก้วการะบุหนิง

โดยเป็นการสร้าง

จากบทประพันธ์

โดย แก้วเก้า

นำมาดัดแปลง

เป็นบทโทรทัศน์

โดย วรดา

กำกับการแสดง

โดย ชูศักดิ์ สุธีรธรรม

นำแสดงโดย ธนากร โปษยานนท์

รับบท ดนย์

คัทลียา แมคอินทอช

รับบท การะบุหนิง

ฉัตรชัย เปล่งพานิช

รับบท สุหราปาตี

จินตหรา สุขพัฒน์

รับบท กิรณา

เพลงประกอบละครโทรทัศน์

เพลง เธอ

โดย ศิริลักษณ์ ผ่องโชค

ภาพประกอบละครโทรทัศน์

ช่วง Opening Credits

โดย อ.สุรเดช แก้วท่าไม้

ละครโทรทัศน์

เรื่อง ดอกแก้วการะบุหนิง

ออกอากาศเป็นประจำ

ทุกวันจันทร์ อังคาร

เวลา 20.25 น.

ทางสถานีโทรทัศน์ช่อง 3

ในปี พ.ศ. 2543

นิตยสารเก่าในความทรงจำ

นิตยสารเก่าในความทรงจำ
นิตยสารกระดังงา (1984-1990)

VITASOY / SIMON LO (1992)

บทความเก่าของบลอก

บทความเก่าของบลอก
สามารถ พยัคฆ์อรุณ

ป้ายกำกับ

JAL / KAORU KOBAYASHI (1991)

MY FAVORITE ALBUM

MY FAVORITE ALBUM
CAPRICCIO / SHONENTAI (1988)

HI-C LEMON TEA / EKIN CHENG (1987)

นิตยสารเก่าในความทรงจำ

นิตยสารเก่าในความทรงจำ
นิตยสารเพื่อนเดินทาง (1980)

GILMORE GIRLS (2000-2007)

HOP-STEP-LOVE / JUNICHI NITTA (1982)

บทความเก่าของบลอก

บทความเก่าของบลอก
Shingo Kazami

JA KYOSAI / EISAKU YOSHIDA (1990)

บทความเก่าของบลอก

บทความเก่าของบลอก
Yuki Saito

วนิดา (1991)