ประเภทนิตยสาร
ที่ออกวางจำหน่าย
ในประเทศไทย
ในทุกยุคสมัยนั้น
มีนิตยสารมากมาย
ที่มีความหลากหลาย
ทั้งในรูปแบบ
ประเภทรายสัปดาห์
รายปักษ์ รายเดือน
ที่เริ่มต้นการก่อตั้ง
และออกวางจำหน่าย
สู่สายตาผู้อ่าน
ให้ได้ติดตาม
และซื้อหา
ตามแต่รสนิยม
และความชื่นชอบ
ของผู้อ่านท่านนั้นๆ
ซึ่งในจำนวน
ของนิตยสารต่างๆ
ที่มีการสร้างสรรค์
ออกมาวางจำหน่าย
ในแต่ละยุคสมัยนั้น
ก็มีนิตยสารมากมาย
ที่มีการยุติการผลิต
และห่างหายไป
จากแผงหนังสือ
ด้วยเหตุผล
และปัจจัยต่างๆ
ที่มีความหลากหลาย
และแตกต่างกันไป
โดยนิตยสาร
แนวบันเทิง
ที่นำเสนอ
ข่าสารและเรื่องราว
ของวงการบันเทิง
จากประเทศญี่ปุ่น
ในชื่อว่า เจสปาย
ที่ผู้เขียนบลอก
นำมาบันทึก
ไว้ในบทความ
ของบลอก
ในครั้งนี้นั้น
ถือเป็นนิตยสาร
แนวบันเทิง
อีกหนึ่งฉบับ
ที่เปิดตัวขึ้น
ตั้งแต่ในช่วงปี พ.ศ. 2543
ที่ได้ห่างหายไป
จากแผงนิตยสาร
และยังคงเป็นที่จดจำ
ของผู้อ่านทางบ้าน
หลาย-หลายท่าน
มาจนถึงในทุกวันนี้
โดยในการบันทึก
บทความของบลอก
ในครั้งนี้นั้น
หากมีข้อผิดพลาด
ในด้านรายละเอียด
หรือมีข้อมูลต่างๆ
ที่ไม่ครบถ้วน
ผู้เขียนบลอก
ต้องขออภัย
ผู้ที่เกี่ยวข้อง
กับการสร้างสรรค์
นิตยสารฉบับนี้
ทุก-ทุกท่าน
ไว้ ณ ที่นี้
สำหรับผู้อ่านบลอก
ที่ไม่ได้ติดตาม
นิตยสารฉบับนี้
นิตยสาร J-SPY
เป็นนิตยสารบันเทิง
ที่นำเสนอรูปภาพ
ข่าวสารและเรื่องราว
ของนักแสดง นักร้อง
นักดนตรี วงดนตรี
จากประเทศญี่ปุ่น
โดยการสร้างสรรค์
ของบริษัท
ศรีสยามการพิมพ์
ที่ออกวางจำหน่าย
ในรุปแบบรายเดือน
ในช่วงปี พ.ศ. 2543
ถึงในช่วงปี พ.ศ. 2553
โดยนิตยสารฉบับนี้
มีการเปิดตัว
และออกวางจำหน่าย
ไปสู่ผู้อ่าน
เป็นครั้งแรก
ในช่วงเดือนมกราคม
ของปี พ.ศ. 2543
โดยนิตยสาร
ในชื่อ J-SPY
ในฉบับแรกนั้น
มีราคา 60 บาท
ต่อหนึ่งฉบับ
และมีภาพสวยๆ
ของ Hideaki Takizawa
ดาราวัยรุ่นชื่อดัง
ของประเทศญี่ปุ่น
ที่กำลังเป็นที่ชื่นชอบ
ทั้งในประเทศญี่ปุ่น
และในประเทศไทย
มาเป็นแบบปก
ในฉบับแรก
ของการวางจำหน่าย
สำหรับรายชื่อ
ของทีมงาน
ของทางนิตยสาร
ในชื่อ J-SPY
จากหน้าสารบัญ
ของนิตยสาร
ในฉบับที่ 1
ของปีที่ 1
ซึ่งเป็นช่วงปีแรก
ของการก่อตั้ง
ในช่วงปี พ.ศ. 2543
นิตยสารบันเทิง
ที่นำเสนอข่าวสาร
ของวงการบันเทิง
จากประเทศญี่ปุ่น
ในฉบับนี้นั้น
มีรายชื่อทีมงาน
ในกองบรรณาธิการ
และผู้เกี่ยวข้อง
กับการผลิต
ในช่วงยุคแรก
ดังนี้ คุณสาธิต คล่องเวสสะ
บริษัทศรีสยามการพิมพ์
เป็นเจ้าของ
บรรณาธิการ
ผู้พิมพ์ ผู้โฆษณา
คุณปราถนา อุทัยพันธ์
เป็นบรรณาธิการบริหาร
คุณอิงค์ ปรนัย
เป็นบรรณาธิการ
คุณสกุล ศักดิ์กำจร
คุณจุพามณี มาดี
คุณศุภฤกษ์ พูนศิริ
คุณปณยา วัฒนกุล
คุณสิตานัน วุตติเวช
คุณวรรณชนก วรุณันต์
คุณแพรวา เพชรเชิดชู
คุณจักรพันธ์ บุพพารัมรีย์
คุณธีรธร เขมธร
คุณวีณา จงพาณิชย์กุลธร
คุณปัทมา เกียรติบุญญาฤทธิ์
เป็นกองบรรณาธิการ
คุณนันทน์พร กลิ่นสุวรรณ
เป็นผู้สื่อข่าวประจำญี่ปุ่น
ดีเจเอ็ดดี้
คุณสรรเสริญ ปัญญาธิวงศ์
เป็นนักเขียนรับเชิญ
คุณเกียรติศักดิ์ เพชรรุ่ง
คุณพิรุฬห์ บุญประเสริฐ
เป็นฝ่ายศิลปกรรม
คุณพุทธิศักดิ์ สายจันทร์ดี
คุณต้นวงศ์ ทรัพย์สมบูรณ์
เป็นฝ่ายภาพ
คุณนิตยาวรรณ โออิด
เป็นเลขานุการ
และฝ่ายสมาชิก
คุณจารุวรรณ ดวงสว่าง
เป็นฝ่ายเรียงคอมพิวท์
คุณบัญชา จั่นประดับ
เป็นฝ่ายพิสูจน์อักษร
คุณเสาวณีย์ พรหมประสิทธิ์
เป็นผู้จัดการฝ่ายโฆษณา
คุณวรนุช ผาเลิศ
คุณสุปัญญา พลารักษ์
คุณสำราญ นฤสิทธิ์
เป็นฝ่ายโฆษณา
(เป็นรายชื่อ
กองบรรณาธิการ
และผู้เกี่ยวข้อง
ในช่วงยุคก่อตั้ง
ของนิตยสาร
ในช่วงปี พ.ศ. 2543
เพียงเท่านั้น
โดยในช่วงปี พ.ศ. 2548
ได้มีการปรับเปลี่ยน
ในด้านตำแหน่ง
บรรณาธิการ
โดยจากตำแหน่ง
บรรณาธิการ
คุณอิงค์ ปรนัย
เลื่อนขึ้นเป็นตำแหน่ง
บรรณาธิการบริหาร
และมีคุณณัฎฐรี คุกเรจา
มาเป็นผู้รับตำแหน่ง
บรรณาธิการ
เป็นการทดแทน)
สำหรับรุปแบบ
และภาพรวม
ของนิตยสาร
ในชื่อ J-SPY
ที่มีการสร้างสรรค์
ออกมาวางจำหน่าย
ในช่วงปี พ.ศ. 2543
ถึงในช่วงปี พ.ศ. 2553
ที่ผ่านมานั้น
จากความทรงจำ
ของผู้เขียนบลอก
นิตยสารฉบับนี้
เป็นนิตยสาร
แนวบันเทิง
ที่นำเสนอ
ข่าวสาร เรื่องราว
บทความ บทสัมภาษณ์
รูปภาพและคอลัมภ์
ที่มีความน่าสนใจ
เกี่ยวกับนักแสดง
นักร้อง นักดนตรี
และวงดนตรี
โดยเน้นการนำเสนอ
เรื่องราวและข่าวสาร
จากวงการบันเทิง
ของประเทศญี่ปุ่น
จากกระแสความนิยม
ของผู้ชมชาวไทย
ที่ในขณะนั้น
กำลังชื่นชอบ
ในผลงานเพลง
รวมถึงละครโทรทัศน์
จากประเทศญี่ปุ่น
หลาย-หลายเรื่อง
ที่เข้ามาแพร่ภาพ
ในประเทศไทย
ทางสถานีโทรทัศน์ช่อง ITV
อยู่ในขณะนั้น
โดยรูปแบบหลัก
ของนิตยสาร
ในชื่อ J-SPY
ในช่วงยุคก่อตั้ง
ที่เป็นการแยกตัว
ออกมาส่วนหนึ่ง
ของนิตยสาร
ในเครือเดียวกัน
อย่าง I-SPY นั้น
มีการแบ่งเนื้อหา
ของนิตยสาร
ออกเป็น 4 ส่วน
คือ J-POP
(นักแสดง นักร้อง
ขวัญใจวัยรุ่น)
J-ROCK
(นักร้อง นักดนตรี
และวงดนตรี
ประเภทเพลงร๊อค)
J-FASHION
(การแต่งตัว
ทรงผม เสื้อผ้า
การแต่งหน้า ฯลฯ)
และ ETC
(สถานที่ท่องเที่ยว
ร้านอาหาร ตำราอาหาร
การตกแต่งบ้าน
การประกวดวาดภาพ
บทสัมภาษณ์ ฯลฯ)
นอกจากนี้
ในช่วงหลังปี พ.ศ. 2545
จากกระแสความนิยม
ของสื่อบันเทิง
ทั้งจากไต้หวัน
และเกาหลี
ที่เข้ามาแพร่ภาพ
และเป็นที่นิยม
ในประเทศไทย
ก็ทำให้นิตยสาร
ที่เน้นในการนำเสนอ
ข่าวสารและเรื่องราว
ของนักแสดง นักร้อง
และวงดนตรี
จากประเทศญี่ปุ่น
ในฉบับนี้นั้น
ได้มีการปรับเปลี่ยน
จากการเพิ่มเติม
ในด้านข้อมูล
และข่าวสารต่างๆ
ที่เป็นเรื่องราว
ของนักแสดง
และนักร้อง
จากไต้หวัน
และเกาหลีใต้
จากกระแสความนิยม
ที่ผู้ชมชาวไทย
มีต่อละครโทรทัศน์
และภาพยนตร์
จากทั้งไต้หวัน
และเกาหลี
หลาย-หลายเรื่อง
ที่เข้ามาแพร่ภาพ
และได้รับความนิยม
ในประเทศไทย
ในช่วงเวลานั้น
โดยจากความทรงจำ
ของผู้เขียนบลอก
นอกจากรูปภาพ
บทความ ข่าวสาร
และบทสัมภาษณ์
ของนักแสดง
นักร้อง นักดนตรี
วงดนตรี ฯลฯ
จากประเทศญี่ปุ่น
ที่ถือเป็นเนื้อหาส่วนใหญ่
ของนิตยสารฉบับนี้
ในช่วงปี พ.ศ. 2543
ถึงในช่วงปี พ.ศ. 2553
นิตยสารฉบับนี้
ยังมีคอลัมภ์
ที่มีความน่าสนใจ
สำหรับผู้อ่าน
ของทางนิตยสาร
ดังนี้ 2-1-0 Konnichiwa
Letter To Your Editor
(บทบรรณาธิการ
และการตอบจดหมาย
ของผู้อ่านทางบ้าน)
ต้มยำป๊อป-ร๊อก
สายด่วนเจสปาย
Gossip Yum-Sab
(ข่าวสารและเรื่องราว
ของวงการบันเทิง
จากประเทศญี่ปุ่น
ในแบบสั้นๆ)
Gift Update
Shop Update
(แนะนำสินค้าใหม่)
Believe In Song
(เนื้อเพลงฮิต
และความหมาย
ในภาษาไทย
ของเพลงญี่ปุ่น)
Future Sound From Japan
(แนะนำงานเพลง
ที่น่าสนใจ
จากนักร้อง
และนักดนตรี
ทางฝั่งอาร์ทติส)
Interview
(บทสัมภาษณ์
กับผู้เกี่ยวข้อง
กับสื่อบันเทิง
จากประเทศญี่ปุ่น
ที่เข้ามาแพร่ภาพ
ในประเทศไทย)
Nippon Food
J-Kitchen
(ตำราอาหาร
และการแนะนำ
ร้านอาหาร)
Fashion Shoe
Star & Style
Siam Point
J-Point Make Up
(คอลัมภ์การแต่งตัว
ความงาม สุขภาพ)
สัพเพเจสปาย
(บทความประจำฉบับ
โดยบรรณาธิการ)
Look East
(บทความประจำฉบับ
โดยคุณตุลย์
สรรเสริญ ปัญญาธิวงศ์
ดีเจและพิธีกรชื่อดัง)
J-Talk
(บทความประจำฉบับ
โดย ดีเจเอ็ดดี้
ดีเจชื่อดัง)
คืนวันแห่งความหมาย
(บทความประจำฉบับ
เกี่ยวกับประสบการณ์
ในการไปศึกษาต่อ
ที่ประเทศญี่ปุ่น
โดยคุณตา
สุรางคนา สุนทรพนาเวส
นางงามและนักแสดง)
J-Artist Story
(ประวัติดารา
นักร้อง นักแสดง
จากวงการบันเทิง
ในช่วงยุค 70
ถึงช่วงยุค 90)
นิทานศิลปิน
(รุปภาพประกอบเรื่อง
ที่เน้นในอารมณ์ขัน)
Dream Hope
My Sticker
(การส่งภาพ
จากทางบ้าน
มาร่วมสนุก
กับทางนิตยสาร)
Artist Party
(การประกวดวาดภาพ)
จำหน่ายมิตรภาพ
(ข่าวฝากจากผู้อ่าน)
ห้องสวย
(การตกแต่งห้อง)
เก็บมาฝาก
(บทความสั้นๆ
เกี่ยวกับร้านอาหาร
การแต่งตัว สินค้า)
TV REPORT
(ข่าวละครโทรทัศน์
ที่กำลังแพร่ภาพ
ในประเทศญี่ปุ่น)
J-SPY VOTE
(อันดับดารา นักร้อง
ที่ได้รับความนิยม)
HOT D.J.
(บทสัมภาษณ์
นักจัดรายการวิทยุ
ที่มีความน่าสนใจ)
ในฐานะนิตยสาร
ที่มีการเปิดตัว
และวางจำหน่าย
ตั้งแต่ในปี พ.ศ. 2543
และมีการปรับเปลี่ยน
ในด้านรูปแบบ
รุปเล่ม คอลัมภ์
หัวนิตยสาร
บรรณาธิการ
กองบรรณาธิการ
ในการจัดทำ
ในแต่ละช่วงเวลา
ของการสร้างสรรค์
เพื่อความแปลกใหม่
ไปสู่ผู้อ่าน
แต่เป็นที่น่าเสียดาย
ที่นิตยสารบันเทิง
ที่นำเสนอ
ข่าวสารและเรื่องราว
ของวงการบันเทิง
จากประเทศญี่ปุ่น
ในชื่อ J-SPY
ในฉบับนี้นั้น
ในท้ายที่สุดแล้ว
ก็ได้มีการยุติ
การสร้างสรรค์
และการวางจำหน่าย
จากแผงนิตยสาร
ไปในช่วงปี พ.ศ. 2553
โดยจากความทรงจำ
ของผู้เขียนบลอก
นิตยสาร
ฉบับสุดท้าย
ที่มีการวางจำหน่าย
ที่ผู้เขียนบลอก
ยังคงมีเก็บไว้
คือนิตยสาร
ฉบับที่ 132
ที่ออกวางจำหน่าย
ในช่วงเดือนกันยายน
ของปี พ.ศ. 2553
(เป็นนิตยสาร
ฉบับสุดท้าย
ที่ผู้เขียนบลอก
ยังคงมีเก็บไว้
จากช่วงท้ายๆ
ซึ่งอาจจะไม่ใช่
นิตยสารฉบับสุดท้าย
ของการจัดพิมพ์
โดยในการบันทึก
บทความของบลอก
ในครั้งนี้นั้น
หากมีข้อมูล
ที่ไม่ถูกต้อง
หรือมีรายละเอียด
ที่ไม่ครบถ้วน
ผู้เขียนบลอก
ต้องขออภัย
กองบรรณาธิการ
และผุ้เกี่ยวข้อง
กับการสร้างสรรค์
นิตยสารฉบับนี้
ทุก-ทุกท่าน
ไว้ ณ ที่นี้)
ของผู้เขียนบลอก
นิตยสาร
ฉบับสุดท้าย
ที่มีการวางจำหน่าย
ที่ผู้เขียนบลอก
ยังคงมีเก็บไว้
คือนิตยสาร
ฉบับที่ 132
ที่ออกวางจำหน่าย
ในช่วงเดือนกันยายน
ของปี พ.ศ. 2553
(เป็นนิตยสาร
ฉบับสุดท้าย
ที่ผู้เขียนบลอก
ยังคงมีเก็บไว้
จากช่วงท้ายๆ
ซึ่งอาจจะไม่ใช่
นิตยสารฉบับสุดท้าย
ของการจัดพิมพ์
โดยในการบันทึก
บทความของบลอก
ในครั้งนี้นั้น
หากมีข้อมูล
ที่ไม่ถูกต้อง
หรือมีรายละเอียด
ที่ไม่ครบถ้วน
ผู้เขียนบลอก
ต้องขออภัย
กองบรรณาธิการ
และผุ้เกี่ยวข้อง
กับการสร้างสรรค์
นิตยสารฉบับนี้
ทุก-ทุกท่าน
ไว้ ณ ที่นี้)