ประเภทนิตยสาร
ที่ออกวางจำหน่าย
ในประเทศไทย
ในทุกยุคสมัยนั้น
มีนิตยสารมากมาย
ที่มีความหลากหลาย
ทั้งในรูปแบบ
ประเภทรายสัปดาห์
รายปักษ์ รายเดือน
ที่เริ่มต้นการก่อตั้ง
และออกวางจำหน่าย
สู่สายตาผู้อ่าน
ให้ได้ติดตาม
และซื้อหา
ตามแต่รสนิยม
และความชื่นชอบ
ของผู้อ่านท่านนั้นๆ
ซึ่งในจำนวน
ของนิตยสารต่างๆ
ที่มีการสร้างสรรค์
ออกมาวางจำหน่าย
ในแต่ละยุคสมัยนั้น
ก็มีนิตยสารมากมาย
ที่มีการยุติการผลิต
และห่างหายไป
จากแผงหนังสือ
ด้วยเหตุผล
และปัจจัยต่างๆ
ที่มีความหลากหลาย
และแตกต่างกันไป
โดยนิตยสาร
แนวบันเทิง
ที่นำเสนอ
ข่าสารและเรื่องราว
ของวงการภาพยนตร์
จากฝั่งตะวันตก
ในชื่อว่า มูฟวี่ไทม์
ที่ผู้เขียนบลอก
นำมาบันทึก
ไว้ในบทความ
ของบลอก
ในครั้งนี้นั้น
ถือเป็นนิตยสาร
เกี่ยวกับภาพยนตร์
อีกหนึ่งฉบับ
ที่เปิดตัวขึ้น
ในช่วงยุค 90
ที่ได้ห่างหายไป
และยังคงเป็นที่จดจำ
ของผู้อ่านทางบ้าน
หลาย-หลายท่าน
มาจนถึงในทุกวันนี้
โดยในการบันทึก
บทความของบลอก
ในครั้งนี้นั้น
หากมีข้อผิดพลาด
ในด้านรายละเอียด
หรือมีข้อมูลต่างๆ
ที่ไม่ครบถ้วน
ผู้เขียนบลอก
ต้องขออภัย
ผู้ที่เกี่ยวข้อง
กับการสร้างสรรค์
นิตยสารฉบับนี้
ทุก-ทุกท่าน
ไว้ ณ ที่นี้
(โดยในการบันทึก
บทความของบลอก
ในครั้งนี้นั้น
เนื่องจากนิตยสาร
Movie-Time
เป็นนิตยสาร
ที่มีระยะเวลา
ในการสร้างสรรค์
และวางจำหน่าย
เป็นระยะเวลานาน
รวมถึงมีการปรับเปลี่ยน
ในด้านหัวนิตยสาร
หลาย-หลายครั้ง
ทำให้เพื่อความสวยงาม
และความกลมกลืน
ของหน้าบลอก
ผู้เขียนจึงตัดสินใจ
ที่จะบันทึก
บทความครั้งนี้
โดยมีการแบ่ง
เป็น 3 บทความ
โดยแต่ละบทความนั้น
ก็จะเป็นการจำแนก
ไปตามหัวนิตยสาร
ในรูปภาพปก
ของแต่ละช่วงเวลา
ของนิตยสารฉบับนี้
เพื่อให้มีความกลมกลืน
ในแต่ละบทความ)
สำหรับผู้อ่านบลอก
ที่ไม่ได้เติบโต
มาในช่วงยุค 90
หรือไม่ได้ติดตาม
นิตยสารบันเทิง
สำหรับผู้อ่าน
ที่มีความสนใจ
ในด้านภาพยนตร์
จากต่างประเทศ
ในฉบับนี้
นิตยสารมูฟวี่ไทม์
(Movie-Time Magazine)
เป็นนิตยสาร
แนวบันเทิง
เกี่ยวกับภาพยนตร์
ของบริษัท
อนิเมท กรุ๊ป จำกัด
ที่ในช่วงปี พ.ศ. 2540
ซึ่งเป็นช่วงยุคแรก
ของการเปิดตัวนั้น
นิตยสารฉบับนี้
มีการวางจำหน่าย
ในรูปแบบรายปักษ์
ที่ออกวางจำหน่าย
ไปสู่ผู้อ่าน
ในทุกวันที่ 5
และวันที่ 20
ของแต่ละเดือน
(โดยมีการปรับ
ในด้านรูปแบบ
เป็นรายสัปดาห์
คือ 4 ฉบับ
ต่อ 1 เดือน
ในช่วงปี พ.ศ. 2546
และมีการปรับ
เป็นราย 10 วัน
คือ 3 ฉบับ
ต่อ 1 เดือน
ในช่วงปี พ.ศ. 2549)
โดยนิตยสาร
Movie-Time
ในฉบับแรกนั้น
มีการเปิดตัว
และวางจำหน่าย
เป็นครั้งแรก
ในช่วงปักษ์หลัง
ของเดือนมีนาคม
ปี พ.ศ. 2540
โดยในการเปิดตัว
และวางจำหน่าย
ในฉบับแรก
ของปีที่ 1 ฉบับที่ 1
นิตยสารภาพยนตร์
ในฉบับนี้
มี Claire Danes
และ Leonado DiCaprio
สองนักแสดงนำ
จากภาพยนตร์ฮิต
Romeo + Juliet
ฉบับการสร้าง
ในปี พ.ศ. 2539
(แต่มาเข้าฉาย
ในประเทศไทย
ในช่วงปี พ.ศ. 2540)
มาเป็นแบบปกแรก
ของนิตยสารฉบับนี้
โดยในฐานะ
นิตยสารฉบับแรก
Movie-Time
เปิดตัวครั้งแรก
ด้วยราคาปก
คือ 40 บาท
ต่อหนึ่งฉบับ
(โดยในช่วงปี พ.ศ. 2540
ถึงในช่วงปี พ.ศ. 2552
ที่มีการสร้างสรรค์
นิตยสารฉบับนี้
ออกมาวางจำหน่าย
ไปสู่ผู้อ่านนั้น
นิตยสารฉบับนี้
เป็นที่จดจำ
ของผู้อ่าน
จากการเป็นนิตยสาร
ที่ไม่ได้ปรับราคาขึ้น
แต่กลับปรับราคาลง
โดยในช่วงยุคปรับปรุง
ที่เปลี่ยนจากรายปักษ์
มาเป็นรายสัปดาห์
ในปี พ.ศ. 2546 นั้น
มีการปรับราคา
ลงมาเป็น 30 บาท
ก่อนจะปรับราคา
กลับมาเป็น 40 บาท
ในแบบแรก
อีกครั้งหนึ่ง
จากการปรับเปลี่ยน
มาวางจำหน่าย
ในแบบทุก 10 วัน
ในช่วงปี พ.ศ. 2549)
สำหรับรายชื่อ
ของทีมงาน
ของทางนิตยสาร
ในชื่อ Movie-Time
จากหน้าสารบัญ
ของนิตยสาร
ในช่วงปีแรก
ซึ่งเป็นช่วงยุคก่อตั้ง
ในช่วงปี พ.ศ. 2540
นิตยสารบันเทิง
เกี่ยวกับภาพยนตร์
ในฉบับนี้
มีรายชื่อทีมงาน
ในกองบรรณาธิการ
และผู้เกี่ยวข้อง
กับการผลิต
ในช่วงยุคแรก
ดังนี้ อนิเมทกรุ๊ป จำกัด
เป็นเจ้าของ
คุณสมชาย อนันต์ปัญญาวงศ์
เป็นบรรณาธิการผู้พิมพ์ผู้โฆษณา
คุณภาคภูมิ วิสุทธิสิน
เป็นบรรณาธิการ
คุณรัตติวรรณ จันทร์กระจ่าง
เป็นรองบรรณาธิการ
คุณศมน จิตติบุญเรือน
คุณสุนิสา ไนสตอม
คุณวรรณภา จารุมัยพร
คุณภิรนันท์ ฟ้าร่มขาว
คุณศรัณยา ประเสริฐศรี
คุณพรเทพ สหชัยเสรี
เป็นกองบรรณาธิการ
คุณประเสริฐ สงวนธนเวทย์
เป็นฝ่ายโฆษณา
คุณสุจินต์ ขำจิตต์
เป็นบรรณาธิการฝ่ายศิลป์
คุณวิฑูรย์ แซ่ลิ้ม
เป็นผู้ช่วยฝ่ายศิลป์
(เป็นรายชื่อทีมงาน
และกองบรรณาธิการ
จากหน้าสารบัญ
ของนิตยสาร
Movie-Time
ในฉบับที่ 1
ของปีที่ 1
ซึ่งเป็นช่วงยุคก่อตั้ง
ของทางนิตยสาร
ในช่วงปี พ.ศ. 2540
เพียงเท่านั้น
โดยในแต่ละช่วงเวลา
ของการสร้างสรรค์
ก็จะมีการปรับเปลี่ยน
ในด้านทีมงาน
ที่แตกต่างกันไป
นอกจากนี้
ในส่วนของตำแหน่ง
บรรณาธิการ
ของทางนิตยสารนั้น
นอกจากคุณภาคภูมิ วิสุทธิสิน
ซึ่งเป็นบรรณาธิการคนแรก
ของทางนิตยสารแล้ว
นิตยสารฉบับนี้
ยังมีคุณรัตติวรรณ จันทร์กระจ่าง
และคุณบุญฤทธิ์ วิรุฬห์บรรเทิง
มารับตำแหน่ง
เป็นบรรณาธิการ
ในแต่ละช่วงเวลา
ของการสร้างสรรค์
นิตยสารฉบับนี้อีกด้วย)
สำหรับรุปแบบ
และภาพรวม
ของนิตยสาร
ในชื่อ Movie-Time
ซึ่งนอกจากนิตยสาร
ในแบบปกติ
ที่ออกวางจำหน่าย
ในรูปแบบรายปักษ์
(รวมถึงรายสัปดาห์
และราย 10 วัน
ที่มีการปรับเปลี่ยน
ในแต่ละช่วงเวลา
ของการสร้างสรรค์)
ยังมีนิตยสาร
ฉบับพิเศษ
ในชื่อ Movie-Time
ฉบับ Special
ที่เป็นเบื้องหลัง
งานสร้างภาพยนตร์
และสกุ๊ปพิเศษ
เกี่ยวกับภาพยนตร์
ที่มีการสร้างสรรค์
ออกมาวางจำหน่าย
ในช่วงปี พ.ศ. 2540
ถึงในช่วงปี พ.ศ. 2552
ที่ผ่านมานั้น
จากความทรงจำ
ของผู้เขียนบลอก
นิตยสารฉบับนี้
เป็นนิตยสาร
แนวบันเทิง
ที่นำเสนอ
ข่าวสาร เรื่องราว
บทความ บทสัมภาษณ์
รูปภาพและคอลัมภ์
ที่มีความน่าสนใจ
เกี่ยวกับนักแสดง
ผู้กำกับภาพยนตร์
ทีมผู้สร้าง ผู้เขียนบท
โดยเน้นการนำเสนอ
เรื่องราวและข่าวสาร
ในด้านภาพยนตร์
จากวงการภาพยนตร์
จากทางฝั่งตะวันตก
ที่กำลังเป็นที่สนใจ
ของผู้อ่านทางบ้าน
ในช่วงเวลานั้น
นอกจากนี้
ในช่วงหลังปี พ.ศ. 2545
ที่ผ่านมานั้น
นิตยสารฉบับนี้
ยังมีการปรับเปลี่ยน
ให้เน้นในข่าวสาร
และบทความต่างๆ
ที่เป็นเรื่องราว
เกี่ยวกับทีมงาน
และการสร้าง
ผลงานภาพยนตร์
ที่มีความน่าสนใจ
จากวงการบันเทิง
ของประเทศไทย
และประเทศเกาหลีใต้
ให้ได้ติดตาม
มากยิ่งขึ้น
จากกระแสความนิยม
ที่ผู้ชมภาพยนตร์
มีต่อภาพยนตร์
หลาย-หลายเรื่อง
ที่มีความน่าสนใจ
ในช่วงเวลานั้น
โดยจากความทรงจำ
ของผู้เขียนบลอก
นิตยสารบันเทิง
Movie-Time
ที่นำเสนอ
ข่าวสารต่างๆ
ทางด้านภาพยนตร์
จากฝั่งตะวันตก
ที่มีการสร้างสรรค์
ออกมาวางจำหน่าย
ในช่วงปี พ.ศ. 2540
ถึงในปี พ.ศ. 2552
มีคอลัมภ์ต่างๆ
ในช่วงยุคแรก
ของการก่อตั้ง
ที่มีความน่าสนใจ
สำหรับผู้อ่าน
ของทางนิตยสาร
ดังนี้ บ.ก.แถลง
Screamer
Letter You Shout
(บทบรรณาธิการ
และการตอบจดหมาย
ของผู้อ่านทางบ้าน)
Party Time
สังสรรค์บันเทิง
(ข่าวดาราฮอลลีวู๊ด)
Box Office
(อันดับหนังทำเงิน)
Film Review
Be Here Soon
Sneak Review
เตรียมตัวดุหนัง
(แนะนำภาพยนตร์ใหม่)
Actor Time Actress Time
(บทสัมภาษณ์นักแสดง)
Art of Cinema
ศิลปะบนแผ่นศิลป์
(เบื้องหลังการสร้าง)
ชนโรง
(บทวิจารณ์ภาพยนตร์)
Soundtrax
(บทวิจารณ์และการแนะนำ
อัลบั้มเพลงประกอบภาพยนตร์)
ความหมายในบทเพลง
Meaning Between The Lines
โดย ลั่นทมริมทะเล
(ความหมายของเพลง
ที่ใช้ประกอบภาพยนตร์)
Free Time / 5 หนังโปรด
(บทสัมภาษณ์คนดัง
เกี่ยวกับภาพยนตร์)
วิถีหนังไทย
(เบื้องหลังงานสร้าง
ผลงานภาพยนตร์ไทย)
เฉพาะกิจ
(ประวัตินักแสดง)
Hot Frame
(ภาพเซ็กซี่ดารา)
What's In
(ข่าวฝากประชาสัมพันธ์)
What's They Say
(บทวิจารณ์แบบสั้นๆ
จากนักวิจารณ์ต่างชาติ)
Poster Files
(บทวิจารณ์และแนะนำ
ใบปิดภาพยนตร์
ที่มีความน่าสนใจ)
สำหรับในช่วงยุคหลัง
ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2546
ซึ่งมีการปรับเปลี่ยน
มาออกวางจำหน่าย
ในรูปแบบรายสัปดาห์
และใช้ชื่อนิตยสาร
Movie-Time Weekly
นิตยสารฉบับนี้
มีคอลัมภ์ใหม่ๆ
ที่มีความน่าสนใจ
ในช่วงยุคที่สอง
ของการสร้างสรรค์
นิตยสารฉบับนี้
ดังนี้ Time 2 Talk
(บทบรรณาธิการ
และการตอบจดหมาย
ของผู้อ่านทางบ้าน)
Fresh Up Your Feeling
สืบเนื่องจากหนัง
(บทวิเคราะห์ภาพยนตร์
โดยอิงจากรูปแบบ
ของแนวทางหนัง)
Film Retro
ตู้เก็บหนังประจำบ้าน
(แนะนำภาพยนตร์เก่า
ที่มีความน่าสนใจ)
Asian News
รอบรั้วเอเชีย
(ข่าวบันเทิง
จากฝั่งเอเชีย)
Charismatic Character
โดย อุทิศ เหมะมูล
(บทวิเคราะห์
ผลงานภาพยนตร์
โดยอิงบุคลิก
จากตัวละคร)
เกร็ดหนังหลังจอ
(เกร็ดสนุกๆจากหนัง)
Game of The Week
(การร่วมสนุก
เพื่อชิงรางวัล
จากผุ้สนับสนุน
ของทางนิตยสาร)
Poster Files
Art of Design
โดย ธัญสก พันสิทธิวรกุล
(บทวิจารณ์และแนะนำ
ใบปิดภาพยนตร์
ที่มีความน่าสนใจ)
Music Time
Sound Tracking
(คอลัมภ์แนะนำ
และบทวิจารณ์
เพลงประกอบภาพยนตร์)
Book Time
(คอลัมภ์แนะนำ
หนังสือออกใหม่)
Watch Out! It's News
(ข่าวฝากประชาสัมพันธ์)
ดูหนังตามดวง
(แนะนำภาพยนตร์
โดยอิงจากชะตาราศี
และการทำนายดวง
ในแต่ละปักษ์)
New Face
(แนะนำนักแสดงใหม่)
Box Set Time
(แนะนำดีวีดี
ในแบบบ๊อกเซ็ท)
VCD CORNER
(แนะนำวีซีดีออกใหม่)
DVD TIME
(แนะนำดีวีดีออกใหม่)
โดยจากความทรงจำ
ของผู้เขียนบลอก
ในฐานะนิตยสาร
ที่เริ่มมีการเปิดตัว
และวางจำหน่าย
ตั้งแต่ในปี พ.ศ. 2540
นิตยสารบันเทิง
Movie-Time
ที่นำเสนอ
ข่าวสารและเรื่องราว
ของวงการภาพยนตร์
จากฝั่งตะวันตก
ก็ถือเป็นนิตยสาร
ข่าวภาพยนตร์
อีกฉบับหนึ่ง
ที่ผู้เขียนบลอก
มีความชื่นชอบ
โดยในช่วงเปิดตัว
ของนิตยสารฉบับนี้
Movie Time
มีการเปิดตัว
ในรุปแบบนิตยสาร
ที่มีขนาดกะทัดรัด
ซึ่งมีรูปภาพประกอบ
และการจัดหน้า
ที่ดูสวยงาม
เเละมีเอกลักษณ์
โดยในส่วนของเนื้อหา
และรูปแบบภาพรวม
ของนิตยสารฉบับนี้
ในช่วงแรกนั้น
ก็ดูจะมีความแตกต่าง
จากนิตยสารภาพยนตร์
ในฉบับอื่น-อื่น
ในช่วงเวลาเดียวกัน
จากการเน้น
ในการนำเสนอ
ข่าวสารและรุปภาพ
ที่ดูน่ารัก สดใส
ของเหล่านักแสดง
ที่มีภาพลักษณ์
ในแบบขวัญใจวัยรุ่น
(ในช่วงเวลานั้น)
อย่าง Leonardo DiCaprio
Liv Tyler Claire Danes
Freddie Prinze Jr.
Alicia Silverstone
James Van Der Beek
Jennifer Love Hewitt
Ryan Phillippe
Sarah Michelle Gellar
Josh Hartnett ฯลฯ
ไปพร้อมกับการนำเสนอ
ข่าวสารต่างๆ
ของผลงาน
ภาพยนตร์ใหม่ๆ
ที่กำลังจะเข้าฉาย
ในโรงภาพยนตร์
ในประเทศไทย
ซึ่งแม้ว่าเนื้อหา
ของนิตยสารฉบับนี้
จะไม่ลงลึก
ในด้านรายละเอียด
ในด้านการสร้าง
ของภาพยนตร์
แต่รูปแบบ
ของนิตยสาร
ที่มีความสวยงาม
ในช่วงแรก
ของการวางจำหน่ายนั้น
ก็ดูจะเป็นที่ถุกใจ
กับกลุ่มผุ้อ่าน
ที่มีความชื่นชอบ
ในบทความ
บทสัมภาษณ์
รูปภาพน่ารักๆ
ของเหล่าดารา นักแสดง
ที่มีภาพลักษณ์
ในแบบขวัญใจวัยรุ่น
ที่ผลงานภาพยนตร์
อย่าง She's All That
Romeo + Juliet
Bring It On ! Urban Legend
10 Things I Hate About You
Cruel Intentions Scream
I Know What You Did Last Summer
Wild Things Halloween H2O
The Faculty Clueless
Can't Hardly Wait
American Pie ฯลฯ
รวมถึงละครโทรทัศน์
ชุด Dawson's Creek
Party of Five Felicity
Seventh Heaven
My So-Called Life
Gilmore Girl ฯลฯ
ที่กำลังเป็นที่ชื่นชอบ
ของผู้ชมวัยรุ่น
ในประเทศไทย
ซึ่งในช่วงยุคแรก
ของการสร้างสรรค์
นิตยสารฉบับนี้
ก็มีรูปภาพ
และข่าวสาร
ของนักแสดงวัยรุ่น
ที่กำลังโด่งดังเหล่านี้
ให้ได้ติดตามอ่าน
ซึ่งถือเป็นข้อแตกต่าง
จากนิตยสารภาพยนตร์
ในฉบับอื่น-อื่น
ในช่วงเวลาเดียวกัน
ในฐานะนิตยสาร
ที่มีการเปิดตัว
และวางจำหน่าย
ตั้งแต่ในปี พ.ศ. 2540
และมีการปรับเปลี่ยน
ในด้านรูปแบบ
รุปเล่ม หัวนิตยสาร
การวางจำหน่าย
ราคาปก ชื่อนิตยสาร
บรรณาธิการ
กองบรรณาธิการ
ในการจัดทำ
ในแต่ละช่วงเวลา
ของการสร้างสรรค์
นิตยสารบันเทิง
ที่นำเสนอ
ข่าวสารและเรื่องราว
ของวงการภาพยนตร์
จากฝั่งตะวันตก
ในชื่อ มูฟวี่ไทม์
ก็ได้มีการยุติ
การสร้างสรรค์
และการวางจำหน่าย
ไปในช่วงปี พ.ศ. 2552
โดยหลังจากการปรับเปลี่ยน
ในด้านหัวนิตยสาร
มาเป็นรูปแบบใหม่
ในฉบับที่ 400
นิตยสารฉบับนี้
ก็ได้ออกวางจำหน่าย
อีกเพียง 5 ฉบับ
ก่อนจะห่างหายไป
จากแผงนิตยสาร
โดยจากความทรงจำ
ของผู้เขียนบลอก
ฉบับสุดท้าย
ของนิตยสารฉบับนี้
ที่มีการวางจำหน่าย
คือฉบับที่ 405
ประจำวันที่ 10-19
ของเดือนพฤษภาคม
ปี พ.ศ. 2552
ที่มี Tom Hank
นักแสดงชื่อดัง
จากผลงานภาพยนตร์
เรื่อง Angels & Demons
ที่กำลังจะเข้าฉาย
ในโรงภาพยนตร์
ในประเทศไทย
ในช่วงเวลานั้น
มาเป็นแบบปก
ในฉบับสุดท้าย
ของการจัดพิมพ์
ไปสู่ผู้อ่านทางบ้าน
ที่มีความชื่นชอบ
ในนิตยสารฉบับนี้
(ข้อมูลในบทความนี้
มีการบันทึก
จากนิตยสาร
Movie Time
ถึงในช่วงปี พ.ศ. 2552
เพียงเท่านั้น
โดยหากมีข้อมูล
ที่มีความผิดพลาด
หรือมีรายละเอียด
ที่ไม่ครบถ้วน
ผู้เขียนบลอก
ต้องขออภัย
ทางทีมงาน
ในกองบรรณาธิการ
และผุ้เกี่ยวข้อง
กับนิตยสารฉบับนี้
ทุก-ทุกท่าน
ไว้ ณ ที่นี้)