ประเภทนิตยสาร
ของประเทศไทย
ในทุกยุคสมัยนั้น
มีนิตยสารชั้นนำ
หลาย-หลายฉบับ
ที่มีการก่อตั้ง
และมีการสร้างสรรค์
เพื่อออกวางจำหน่าย
สำหรับผู้อ่าน
ตามความต้องการ
และความสนใจ
รวมถึงรสนิยม
ที่มีความหลากหลาย
โดยจากความทรงจำ
ของผู้เขียนบลอก
นอกจากนิตยสาร
อย่างเปรียว
ดิฉัน ผู้หญิง
แพรว สุดสัปดาห์
เพื่อนเดินทาง
พลอยแกมเพชร
บ้านและสวน
สตาร์พิคส์
และ เอนเตอร์เทน
ที่มีการเปิดตัว
และวางจำหน่าย
ผ่านช่วงระยะเวลา
มาอย่างยาวนานแล้ว
นิตยสารขวัญเรือน
ที่นำมาเรื่องราว
มาบันทึกไว้
ในบทความ
ครั้งนี้นั้น
ก็เป็นนิตยสารชั้นนำ
อีกฉบับหนึ่ง
ที่หลังจากการเปิดตัว
ก็ได้รับความนิยม
และมีการวางจำหน่าย
มาอย่างยาวนาน
โดยในการบันทึก
บทความของบลอก
ในครั้งนี้นั้น
จะเป็นการย้อนวันเวลา
กลับไปในช่วงแรกเริ่ม
ของการเปิดตัว
นิตยสารฉบับนี้
ในช่วงปี พ.ศ. 2511
ซึ่งถือเป็นยุคเเรกเริ่ม
ของการสร้างสรรค์
นิตยสารผู้หญิง
และครอบครัว
ที่ได้รับความนิยม
จากผู้อ่านทางบ้าน
ในทุกยุค-สมัย
ในฉบับนี้
สำหรับผู้อ่านบลอก
ที่ไม่ได้เติบโต
มาในช่วงยุคสมัย
ที่นิตยสารฉบับนี้
มีการเปิดตัว
นิตยสารขวัญเรือน
เป็นนิตยสาร
สำหรับครอบครัว
ที่มีสโลแกน
ในช่วงยุคแรก
ว่า มิตรในเรือน
เพื่อนคู่คิด
จรรโลงจิต
ให้แจ่มใส
และมีสโลแกน
ในช่วงยุคต่อมา
ว่า ขวัญเรือน
นิตยสารสำหรับครอบครัว
เป็นนิตยสาร
ที่มีการวางจำหน่าย
ในรูปแบบรายปักษ์
โดยเป็นนิตยสาร
ของบริษัท ศรีสยาม
การพิมพ์ จำกัด
(ซึ่งนอกจากขวัญเรือน
บริษัทศรีสยาม
ยังมีนิตยสารอื่นๆ
ที่อยู่ในเครือเดียวกัน
อย่าง รุ้ง ตลาดตลก
แฟชั่นรีวิว การฝีมือ
โลกทิพย์ โลกลี้ลับ
I-SPY J-SPY
I-LIKE J-NET
SINCERE ฯลฯ)
โดยนิตยสารฉบับนี้
เป็นที่จดจำ
ของผู้อ่านทางบ้าน
จากการมีคุณพนิดา ชอบวณิชชา
เป็นเจ้าของ บรรณาธิการ
ผู้พิมพ์ผู้โฆษณา
ซึ่งเป็นที่คุ้นเคย
ของผู้อ่านทางบ้าน
มาตั้งแต่ในปี พ.ศ. 2511
โดยชื่อนิตยสาร
ว่า ขวัญเรือน
ที่ใช้ตั้งแต่ช่วงแรก
ของการเปิดตัว
และออกวางจำหน่าย
ในช่วงปี พ.ศ. 2511
จนถึงในทุกวันนี้นั้น
เป็นชื่อนิตยสาร
ที่มีการตั้งขึ้น
โดยคุณสาธิต คล่องเวสสะ
ซึ่งเป็นน้องชาย
ของคุณพนิดา
(โดยจากข้อมูล
ในปี พ.ศ. 2551
ในปัจจุบันนี้
คุณสาธิต คล่องเวสสะ
ท่านเป็นที่รู้จัก
ในตำแหน่ง
ผู้อำนวยการฝ่ายบริหาร
ของบริษัทศรีสยาม
การพิมพ์ จำกัด)
ของนิตยสาร
ในชื่อ ขวัญเรือน
นิตยสารฉบับนี้
มีการสร้างสรรค์
ออกมาแนะนำตัว
ไปสู่ผู้อ่าน
เป็นฉบับแรก
จำนวน 50,000 ฉบับ
ในช่วงเดือนธันวาคม
ของปี พ.ศ. 2511
โดยนิตยสารใหม่
ในชื่อ ขวัญเรือน
ในฉบับแรกนี้นั้น
เพื่อความเป็นสิริมงคล
แก่ทางทีมงาน
ของนิตยสาร
และบริษัทศรีสยาม
รวมถึงผู้อ่านทางบ้าน
ทางกองบรรณาธิการ
ของนิตยสาร
จึงได้ขอพระราชทาน
พระอนุญาตอัญเชิญ
พระบรมฉายาลักษณ์
สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์
พระบรมราชินีนาถ
เพื่อมาเป็นแบบปก
ของทางนิตยสาร
ในการเปิดตัว
เป็นฉบับแรก
เพื่อเป็นการอวยพร
ไปสู่ผู้อ่านทางบ้าน
โดยในฐานะนิตยสาร
ที่พึ่งมีการเปิดตัว
ทำให้ในฉบับที่ 1
ของทางนิตยสารนั้น
บริษัทศรีสยาม
การพิมพ์ จำกัด
ได้มีการจัดพิมพ์
นิตยสารขวัญเรือน
เพื่อเป็นการแจกฟรี
ไปพร้อมกับนิตยสาร
ศรีสยาม รายสัปดาห์
ซึ่งเป็นนิตยสาร
ในเครือเดียวกัน
เพื่อเป็นการโปรโมท
และแนะนำตัว
ไปสู่ผู้อ่านทางบ้าน
(โดยหลังจากโปรโมท
ด้วยการแจกฟรี
ในการเปิดตัว
ของฉบับแรก
นิตยสารขวัญเรือน
ในฉบับที่ 2
ก็มีการวางจำหน่าย
ในราคา 5 บาท
โดยในฐานะนิตยสาร
ที่มีการวางจำหน่าย
มาอย่างยาวนาน
นิตยสารฉบับนี้
มีการปรับราคา
มาเป็น 6 / 7 / 10
15 / 20 / 25 / 30
35 / 40 / 45 / 50
60 / 70 บาท
ในแต่ละช่วงเวลา
ของแต่ละยุคสมัย)
โดยจากข้อมูล
ของทางนิตยสาร
ในช่วงแรก
ของการวางจำหน่าย
นิตยสารฉบับนี้
มีการออกวางจำหน่าย
ในรูปแบบรายเดือน
ก่อนจะมีการปรับเปลี่ยน
มาเป็นการวางจำหน่าย
ในรูปแบบรายปักษ์
จากความนิยม
ของผู้อ่านทางบ้าน
(ในช่วงแรกนั้น
ออกวางจำหน่าย
ในทุกวันที่ 5 และ 20
ก่อนจะมีการปรับเปลี่ยน
มาเป็นวันที่ 1 และ 16
ในแต่ละเดือนแทน)
นอกจากนี้
ในช่วงแรก
ของการวางจำหน่ายนั้น
นิตยสารฉบับนี้
มีการใช้หัวหนังสือเก่า
ของทางวารสารยูโด
ทำให้ในช่วงเริ่มต้น
ของการจัดพิมพ์
ในช่วงปี พ.ศ. 2511
ที่ผ่านมานั้น
หน้าปกของนิตยสาร
จะมีการใช้ชื่อ
ของนิตยสาร
ว่า วารสารยูโด
ฉบับ ขวัญเรือนรายเดือน
(Sweet Home Magazine)
ซึ่งหลังจากการเปิดตัว
และได้รับความนิยม
ทางบริษัท
และกองบรรณาธิการ
ก็ได้มีการจดทะเบียน
หัวหนังสือใหม่
มาเป็นขวัญเรือน
อย่างที่ใช้
บนปกนิตยสาร
อย่างต่อเนื่อง
มาจนถึงในทุกวันนี้
(ข้อมูลมีการบันทึก
ในด้านราคานิตยสาร
ถึงในช่วงปลายปี
ของ พ.ศ. 2557
เพียงเท่านั้น)
ของทีมงาน
และกองบรรณาธิการ
ของนิตยสารขวัญเรือน
ในช่วงยุคแรกเริ่มนั้น
จากหนังสือ 40 ปี
ชีวิตในขวัญเรือน
ที่เป็นบทความ
จากความทรงจำ
ของคุณพนิดา ชอบวณิชชา
และมีการเรียบเรียง
โดยคุณชุติมา ศรีทอง
จากการจัดพิมพ์
ของสำนักพิมพ์
A BOOK
นิตยสารขวัญเรือน
ในช่วงยุคแรกเริ่ม
ของการทำงานนั้น
มีบุคลากร
ในกองบรรณาธิการ
เพียง 6 ท่าน
โดยนอกจากเจ้าของ
บรรณาธิการ
ผู้พิมพ์ ผู้โฆษณา
อย่างคุณพนิดา ชอบวณิชชา
ที่ยังคงรับหน้าที่
มาถึงในปัจจุบันนี้
และคุณสนิท โกศะรถ
(นักเขียนชื่อดัง
เจ้าของนามปากกา
ว่า ส.เนาวราช)
ที่รับตำแหน่ง
เป็นหัวหน้า
กองบรรณาธิการ
ในกองบรรณาธิการ
ของนิตยสารขวัญเรือน
ยังมีทีมงาน
ของบริษัท
ศรีสยาม การพิมพ์
เป็นกองบรรณาธิการ
อีก 2 ท่าน
และมีทีมงาน
รับตำแหน่ง
เป็นฝ่ายศิลป์
และฝ่ายปรู๊ฟ
ฝ่ายละ1 ท่าน
เพียงเท่านั้น
(โดยในการเปิดตัว
ของนิตยสาร
ในช่วงแรกนั้น
นิตยสารขวัญเรือน
ยังได้รับเกียรติ
จากคุณผกาวดี อุตตโมทย์
ซึ่งในปัจจุบันนี้
ท่านเป็นที่รู้จัก
ในฐานะบรรณาธิการ
อำนวยการ
ของสำนักพิมพ์ผีเสื้อ
มาเป็นที่ปรึกษา
และแนะนำ
รุปแบบคอลัมภ์
ของทางนิตยสาร
รวมถึงให้เกียรติ
ร่วมเขียนคอลัมภ์ต่างๆ
ลงในนิตยสารฉบับนี้
ในช่วงยุคแรกเริ่ม)
สำหรับรูปแบบ
และองค์ประกอบ
ของนิตยสาร
ในชื่อ ขวัญเรือน
นิตยสารรายปักษ์
สำหรับครอบครัว
ที่มีการเริ่มต้น
การวางจำหน่าย
ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2511
ในฉบับนี้นั้น
ประกอบด้วยแฟชั่น
บทความ เรื่องสั้น
นิยาย นิทาน สารคดี
และคอลัมภ์ประจำต่างๆ
ที่มีการสร้างสรรค์ขึ้น
เพื่อกลุ่มผู้อ่าน
ทุกเพศ-ทุกวัย
และทุกช่วงอายุ
โดยจากความทรงจำ
ของผู้เขียนบลอก
นิตยสารขวัญเรือน
ตั้งแต่ในช่วงปี พ.ศ. 2511
เป็นต้นมานั้น
มีคอลัมภ์ต่างๆ
ในแต่ละช่วงเวลา
ของการสร้างสรรค์
ที่น่าสนใจ
สำหรับผู้อ่าน
ดังนี้ บก.บอกกล่าว
ห้องรับแขก
(บทบรรณาธิการ
และการตอบจดหมาย
รวมถึงอีเมล์
จากผู้อ่านทางบ้าน)
ก้าวทันโลก
โดย พิชัย วาสนาส่ง
และ ร.ศ.ประทุมพร วัชรเสถียร
งามมารยาท สุ.จิ.ปุ.ลิ
โดย อ.สมศรี สุกุมลนันทน์
ศิราณีคลายปัญหารัก
โดย ศิราณี
(คุณถนอม อัครเศรณี)
ถักโครเชต์ เรียนตัดเสื้อ
แพทเทิร์นเสื้อผ้า
โดย อ.กาญจนา ภาณุโสภณ
เพื่อชีวิตและสุขภาพ
โดย พญ.ลลิตา ธีระสิริ
คุยกับจิตแพทย์
โดย นพ.วิทยา นาควัชระ
เงาอดีต
โดย มานพ ถนอมศรี
เรียนจัดดอกไม้
โดย กีรติ ชนา
ทนายคู่คิด
โดย ณรงค์ นิติจันทร์
สนธยากาล
โดย มายาวดี
ริมรั้วหัวใจ
โดย โดม วุฒิชัย
ทำเสริมเพิ่มสวย
โดย ป๊อก เชลซี
ท่องต่างแดน
โดย อัลฟาและโรมิโอ
บททดสอบ สวนเด็ก
โลกทิพย์ เปิดใจสนทนา
บุคคลน่ารู้จัก
นิทานด็ก / นิทานชาวบ้าน
ครองรัก-ครองเรือน
ไกลกังวล คลีนิคสุขภาพ
ปัญหาความงาม ไม้ประดับ
บ้านของเรา โชคชะตาราศี
เพียงเสี้ยวอารมณ์
ร่วมสนุกกับขวัญเรือน
ตลาดตลก รอบรั้วขวัญเรือน
อ่านดวงผ่านลายมือ
สัตว์เลี้ยงแสนรัก
มองผ่านเลนส์ ตำรับอาหาร
ในชั่วโมงว่าง
เสียงทิพย์จากมนต์จันทร์
แฟชั่นดีไซน์
ของรักของสะสม ฯลฯ
ที่มีการสร้างสรรค์
เพื่อการวางจำหน่าย
และได้รับความนิยม
จากผู้อ่านมากมาย
ในแต่ละยุคสมัย
ขณะที่บันทึก
บทความของบลอก
ในปัจจุบันนี้นั้น
(ปี พ.ศ. 2558)
นิตยสารขวัญเรือน
ในฉบับนี้นั้น
ยังคงครองใจผู้อ่าน
และมียอดจำหน่าย
ในระดับสูง
จากการเป็นนิตยสาร
ที่มีรูปแบบต่างๆ
ในนิตยสาร
ที่เน้นในการนำเสนอ
คอลัมภ์ประจำจำ
และงานเขียน
จากนักเขียนชื่อดัง
ที่คัดสรรมาอย่างดี
สำหรับกลุ่มผู้อ่าน
ที่มีความหลากหลาย
แต่มีความต้องการ
และรักในการอ่าน
ผลงานชั้นดี
อย่างแท้จริง
โดยแม้ว่าในช่วงระยะหลัง
ตั้งแต่ในปี พ.ศ. 2540
นิตยสารหลายฉบับ
ที่มีการสร้างสรรค์
ในประเทศไทยนั้น
จะมีการปรับเปลี่ยน
รูปแบบนิตยสาร
เพื่อปรับปรุง
ในด้านธุรกิจ
จนทำให้นิตยสาร
หลาย-หลายฉบับ
ในทุกวันนี้
เน้นในการผลิต
นิตยสารต่างๆ
ที่มีรูปแบบ
ที่เข้ากับโฆษณา
จากการปรับ
ในด้านเนื้อหา
ให้เข้ากับสินค้า
เพื่อเป็นการดึงดูด
บริษัทเอเจนซี่
และเจ้าของสินค้า
นอกเหนือการตีพิมพ์
ภาพโฆษณาต่างๆ
ในรูปแบบปกติ
มากกว่าการเน้น
ในด้านเนื้อหา
ซึ่งเคยเป็นส่วนหลัก
ที่เป็นส่วนจูงใจ
กลุ่มผู้อ่านมากมาย
ให้ผูกพันกับนิตยสาร
เหมือนในอดีต
(ในสมัยก่อนนั้น
นิตยสารฉบับไหน
ที่มียอดจำหน่าย
และมีผู้อ่าน
ติดตามมาก
ก็จะมีโฆษณา
เข้ามามาก
แต่ในปัจจุบันนี้
นิตยสารหลายฉบับ
ที่เน้นในการปรับ
ในด้านรุปลักษณ์
ของนิตยสาร
ให้ทันสมัย หรุหรา
เข้ากับสินค้า
จะทำให้มีโฆษณา
เข้ามามากขึ้น
แม้จะมีเนื้อหา
สำหรับการอ่าน
อย่างแท้จริง
ไม่มากนัก
หรือมีจัดพิมพ์
ในจำนวนจำกัด
ไม่แพร่หลาย
ไปทั่วประเทศ)
โดยในฐานะนิตยสาร
ที่ยังคงประสบความสำเร็จ
ในด้านยอดขาย
และยังคงภาคภูมิ
จากการเป็นนิตยสาร
ที่มีการสร้างสรรค์ขึ้น
สำหรับผู้อ่าน
ที่รักการอ่าน
ผลงานชั้นดี
ในฐานะนิตยสาร
ที่มีนักเขียนชั้นนำ
อย่างมากมายนั้น
นิตยสารขวัญเรือน
ตั้งแต่ในช่วงปี พ.ศ. 2511
เป็นต้นมานั้น
ถือเป็นที่จดจำ
ของกลุ่มผุ้อ่าน
ในทุกยุคสมัย
จากการมีนักเขียนชื่อดัง
ในระดับชั้นนำ
ของประเทศ
หมุนเวียนผลัดเปลี่ยน
มานำเสนองานเขียน
ที่มีความหลากหลาย
กลับไปสู่ผู้อ่าน
ของนิตยสารฉบับนี้
โดยจากความทรงจำ
ของผู้เขียนบลอก
นิตยสารขวัญเรือน
มีนักเขียนชื่อดัง
ที่เป็นที่ชื่นชอบ
ของผู้อ่านทางบ้าน
ซึ่งมีผลงานการเขียน
ลงตีพิมพ์ในนิตยสาร
ในแต่ละช่วงเวลา
ดังนี้ สุภาว์ เทวกุล
นราวดี จันทรำไพ
นิดา ม.มธุการี
กฤษณา อโศกสิน
โบตั๋น ทมยันตี
โสภาค สุวรรณ
นันทนา วีระชน
ช่อลัดา วราภา
ภุเตศวร ลักษณวดี
ว.วินิจฉัยกุล แก้วเก้า
ประภัสสร เสวิกุล
มาลา คำจันทร์
จำลอง ฝั่งชลจิตร
พิบูลย์ศักดิ์ ละครพล
วัฒนา บุญยัง
กีรติ ชนา อาริตา
ปิยะพร ศักดิ์เกษม
กิ่งฉัตร ดวงตะวัน
กนกวลี พจนปกรณ์
นิเวศน์ กันไทยราษฎร์
ดำรงค์ อารีกุล
ชมัยภร แสงกระจ่าง
วีรวัฒน์ กนกนุเคราะห์
วิศวนาถ โดม วุฒิชัย
วิรัตน์ โตอารีย์มิตร
ญามิลา ดวงดาว
สิทธา เชตวัน
ณารา ภาณุ มณีวัฒนกุล
อัลฟ่าและโรมิโอ
จันทร์ ศรีจรูญ แอนเดอร์สัน
ลั่นทมริมทะเล ฯลฯ
(รายชื่อนักเขียน
เพียงส่วนหนึ่ง
จากความทรงจำ
และความคุ้นเคย
ของผู้เขียนบลอก
ที่มีต่อนิตยสาร
ในแต่ละช่วงเวลา
ที่ผ่านมา
เพียงเท่านั้น
และต้องขออภัย
เป็นอย่างสูง
ที่ไม่ได้ลงรายชื่อ
ตามลำดับ
ความอาวุโส
ของแต่ละท่าน)
ที่เปี่ยมด้วยคุณภาพ
สำหรับนักอ่าน
ในแต่ละยุคสมัย
ในฐานะนิตยสาร
ที่มีคุณค่า
และสร้างสรรค์
เพื่อสังคม
นิตยสารขวัญเรือน
เคยได้รับรางวัล
และการประกาศ
เกียรติคุณต่างๆ
ตั้งแต่การเปิดตัว
ของทางนิตยสาร
ดังนี้ โล่เกียรติคุณ
ในฐานะผู้ช่วยเหลือ
กิจกรรมผู้ป่วย
และพัฒนาการแพทย์
จากคณะเเพทย์ศาสตร์
โรงพยาบาลศิริราช
ปี พ.ศ. 2538
ได้รับโล่เกียรติคุณ
ในโครงการรณรงค์
เพื่อการไม่สูบบุหรี่
ในฐานะผู้สร้างสรรค์
สังคมปลอดบุหรี่
ปี พ.ศ. 2538
ได้รับโล่เกียรติคุณ
ในฐานะผู้รับรางวัล
ประเภทดีเด่น
จากการพิจารณา
ผลงานสื่อสารมวลชนดีเด่น
ในสาขา วารสาร
ที่มีเนื้อหาเหมาะสม
กับเยาวชน
ด้านบันเทิงคดี
จากคณะกรรมการ
ส่งเสริมและประสานงาน
เยาวชนแห่งชาติ
ปี พ.ศ. 2541-2542
ได้รับโล่เกียรติคุณ
ในฐานะผู้ทำประโยชน์
และมีอุปการคุณ
ต่อกระทรวงแรงงาน
และสวัสดิการสังคม
จากรัฐมนตรีว่าการ
กระทรวงแรงงาน
และสวัสดิการสังคม
ปี พ.ศ. 2542
ได้รับโล่เกียรติคุณ
ในฐานะผู้เผยแพร่
และส่งเสริม
ภาวะโภชนาการที่ดี
ให้แก่คนไทย
จากรองนายกรัฐมนตรี
และรัฐมนตรีว่าการ
กระทรวงสาธารณสุข
ปี พ.ศ. 2542
ได้รับโล่พระราชทาน
สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ
สยามบรมราชกุมารี
ในฐานะผู้มีผลงานดีเด่น
เป็นตัวอย่าง
ในการใช้
วัฒนธรรมไทย
สู้ภัยเศรษฐกิจ
จากการประกาศ
ของสำนักงาน
คณะกรรมการ
วัฒนธรรมแห่งชาติ
ปี พ.ศ. 2543
ได้รับวุฒิบัตร
รางวัลชมเชย
จากการพิจารณา
ผลงานสื่อมวลชนดีเด่น
เพื่อเยาวชน
ประเภทวารสาร
สำหรับเยาวชน
ประเภทบันเทิงคดี
จากการประกาศรางวัล
ของสำนักงาน
ส่งเสริมสวัสดิภาพ
และพิทักษ์เด็ก
เยาวชน ผู้ด้อยโอกาส
คนพิการ ผู้สูงอายุ
ปี พ.ศ. 2546
ได้รับโล่เกียรติคุณ
ในฐานะองค์กร
ส่งเสริมกิจกรรมเยาวชน
กับการอนุรักษ์พลังงาน
จากรองนายกรัฐมนตรี
เนื่องในพิธีลงนาม
บันทึกข้อตกลงร่วมมือ
ระหว่างกระทรวงพลังงาน
และกระทรวงศึกษาธิการ
ในปี พ.ศ. 2548
(ข้อมูลมีการบันทึก
ถึงในปี พ.ศ. 2551
เพียงเท่านั้น)
สำหรับครอบครัว
ที่มีการเปิดตัว
ตั้งแต่ในปี พ.ศ. 2511
ในขณะที่บันทึก
บทความของบลอก
ในครั้งนี้นั้น
(ปี พ.ศ. 2558)
นิตยสารขวัญเรือน
ยังคงมีการสร้างสรรค์
และการจัดพิมพ์
เพื่อการวางจำหน่าย
ในรูปแบบรายปักษ์
ให้ได้ติดตามอ่าน
กันอย่างต่อเนื่อง
โดยในฐานะ
นิตยสารชั้นนำ
ที่ครองใจ
ผู้อ่านมากมาย
มาตลอดระยะเวลา
ของการวางจำหน่าย
ในช่วงปี พ.ศ. 2551
ที่ผ่านมานั้น
ทางสำนักพิมพ์
A BOOK
บริษัท เดย์ โพเอทส์ จำกัด
ก็ได้มีการเปิดตัว
ผลงานหนังสือ
40 ปี ชีวิตในขวัญเรือน
ซึ่งเป็นการรวบรวม
เส้นทางการทำงาน
ในฐานะบรรณาธิการ
นิตยสารขวัญเรือน
ของคุณพนิดา ชอบวณิชชา
ซึ่งมีคุณชุติมา ศรีทอง
เป็นผู้เรียบเรียง
โดยในหนังสือ
ฉบับพิเศษ
ในเล่มนี้
ซึ่งเกิดจากแนวคิด
ของคุณวงศ์ทนง ชัยณงค์สิงห์
บรรณาธิการอำนวยการ
ของนิตยสาร A DAY
คุณวิรัตน์ โตอารีย์มิตร
และ คุณชุติมา ศรีทอง
ก็ได้รวบรวม
เรื่องราวต่างๆ
ของเส้นทาง
ในการเส้นทาง
ของบรรณาธิการ
และกองบรรณาธิการ
ของนิตยสารฉบับนี้
ตลอดระยะเวลา
ในการสร้างสรรค์
นิตยสารขวัญเรือน
ซึ่งอยู่คู่กับคนไทย
มาอย่างยาวนาน
ได้อย่างครบถ้วน
และเปี่ยมด้วยคุณค่า
ซึ่งในการจัดพิมพ์
หนังสือฉบับพิเศษ
ในเล่มนี้
รายได้ส่วนหนึ่ง
ก็จะมอบให้
กับกองทุนขวัญเรือน
เพื่อใช้ในโครงการ
เพื่อการศึกษา
และส่งเสริมการอ่าน
เพื่อเป็นประโยชน์
แก่สังคมต่อไป
(ในการบันทึก
บทความของบลอก
ในครั้งนี้นั้น
เป็นการบันทึก
ข้อมูลต่างๆ
จากความทรงจำ
ของผู้เขียนบลอก
และข้อมูลต่างๆ
ถึงในช่วงปี พ.ศ. 2558
เพียงเท่านั้น
โดยหากมีข้อมูล
ที่ไม่ครบถ้วน
หรือไม่ถุกต้อง
ในด้านรายละเอียด
ผู้เขียนบลอก
ต้องขออภัย
ทางทีมงาน
กองบรรณาธิการ
ของนิตยสารขวัญเรือน
และผู้อ่านทางบ้าน
ทุก-ทุกท่าน
ไว้ ณ ที่นี้)