ซึ่งระบบการแพร่ภาพ
ของสถานีโทรทัศน์
ในช่องต่างๆนั้น
ยังไม่ครอบคลุม
ไปสู่ทุกพื้นที่
ของผู้ชมทางบ้าน
ในทั่วประเทศ
รวมถึงกระแสความนิยม
ที่นักแสดง
และรายการโทรทัศน์ต่างๆ
จากวงการโทรทัศน์
ยังถือเป็นสื่อบันเทิง
ที่ถือว่าเป็นรอง
วงการภาพยนตร์
ในด้านกระแสความนิยม
ซึ่งทำในช่วงเวลานั้น
นิตยสารบันเทิง
ที่ได้รับความนิยม
ในช่วงเวลานั้น
หลาย-หลายฉบับ
มักจะนำเสนอ
เฉพาะในด้านข่าวสาร
และเรื่องราวต่างๆ
ของเหล่านักแสดง
และบริษัทผู้ผลิต
จากวงการภาพยนตร์
ซึ่งในขณะนั้น
ถือเป็นช่วงยุคเฟื่องฟู
ของวงการภาพยนตร์ไทย
ก็ทำให้ในช่วงยุค 70
ที่ผ่านมานั้น
สถานีโทรทัศน์ช่อง 3
ได้ถือเป็นผู้ริเริ่ม
ในการสร้างสรรค์
นิตยสารรายการโทรทัศน์
ที่นำเสนอข่าวสาร
และเรื่องราวต่างๆ
ของทางสถานี
เพื่อเป็นการประชาสัมพันธ์
ทั้งในด้านการปรับแต่ง
เสาอากาศโทรทัศน์
และเครื่องรับโทรทัศน์
รวมถึงนำเสนอ
ผังรายการโทรทัศน์
ที่มีความน่าสนใจ
รวมถึงเป็นการประชาสัมพันธ์
นักแสดง พิธีกร
บุคคลากรต่างๆ
ในวงการโทรทัศน์
ให้เป็นที่รู้จัก
และได้รับความนิยม
สำหรับผู้ชมทางบ้าน
ตั้งแต่ในช่วงปี พ.ศ. 2514
ซึ่งจากความสำเร็จ
ในการสร้างสรรค์
นิตยสารรายการโทรทัศน์
ที่เป็นการสร้างสรรค์
เพื่อเป็นการประชาสัมพันธ์
ไปสู่ผู้ชมทางบ้าน
ที่ได้รับความสนใจ
อย่างมากนี้เอง
ก็ทำให้สถานีโทรทัศน์
ในช่องต่างๆ
ของประเทศไทย
ในช่วงเวลานั้น
ต่างก็มีการผลิต
นิตยสารายการโทรทัศน์
ออกมาเผยแพร่
ในระยะเวลาต่อมา
เช่นเดียวกัน
โดยในการบันทึก
บทความของบลอก
ในครั้งนี้นั้น
จะเป็นการบันทึก
ช่วงเวลา
ในการสร้างสรรค์
นิตยสารรายการโทรทัศน์
ของทางสถานีโทรทัศน์ช่อง 3
ในช่วงยุคที่สอง
ที่มีการจัดพิมพ์
ออกมาเผยแพร่
อย่างกว้างขวาง
ระหว่างปี พ.ศ. 2518
ถึงในช่วงปี พ.ศ. 2528
หลังจากเคยมีการริเริ่ม
ในการสร้างสรรค์
นิตยสารายการโทรทัศน์
ออกมาในช่วงแรก
ในระยะเวลาสั้นๆ
ของปี พ.ศ. 2514
ถึงในปี พ.ศ. 2515
ซึ่งในช่วงเวลานั้น
ยังไม่แพร่หลาย
ไปทั่วประเทศ
และไม่เป็นที่จดจำ
ของผู้ชมทางบ้าน
เท่ากับในยุคที่สอง
ซึ่งมีการจัดพิมพ์
ในรุปแบบรายเดือน
ออกมาเผยแพร่
เป็นระยะเวลา
ถึง 10 ปีเต็ม
โดยในการบันทึก
ข้อมูลของบลอก
ในครั้งนี้นั้น
เป็นการค้นคว้า
ของผู้เขียนบลอก
ในฐานะผู้ชมทางบ้าน
เพียงเท่านั้น
ซึ่งอาจจะมีข้อมูล
ที่ไม่ครบถ้วน
หรือมีรายละเอียด
ที่ไม่ถุกต้อง
ผู้เขียนบลอก
ต้องขออภัย
ทีมงานผู้ผลิต
และผู้เกี่ยวข้อง
กับนิตยสารรายการโทรทัศน์
ของทางสถานีโทรทัศน์ช่อง 3
ไว้ ณ ที่นี้
สำหรับผู้อ่านบลอก
ที่ไม่ได้เติบโต
มาในช่วงก่อนปี พ.ศ. 2528
ซึ่งมีการสร้างสรรค์
นิตยสารฉบับนี้
ออกมาเผยแพร่
นิตยสารรายการโทรทัศน์
ของทางสถานีโทรทัศน์ช่อง 3
เป็นนิตยสารรายเดือน
ในรูปเล่มปกอ่อน
ขนาดกะทัดรัด
ประมาณ 120 หน้า
ที่มีการผลิตขึ้น
โดยแผนกประชาสัมพันธ์
ของทางสถานีโทรทัศน์ช่อง 3
ที่มีการจัดพพิมพ์
เพื่อเป็นการประชาสัมพันธ์
ผังรายการโทรทัศน์
รวมถึงนำเสนอ
ในด้านข้อมูล
ของการปรับแต่ง
เครื่องรับโทรทัศน์
และเสาอากาศโทรทัศน์
(ในช่วงก่อนปี พ.ศ. 2530
ที่ผ่านมานั้น
ระบบการออกอากาศ
ของทางสถานีโทรทัศน์ช่อง 5
และสถานีโทรทัศน์ช่อง 7
มีความคมชัด
และครอบคลุม
ไปทั่วประเทศ
มากกว่าสถานีโทรทัศน์ช่อง 3
และสถานีโทรทัศน์ช่อง 9)
โดยมีระยะเวลา
ในการจัดพิมพ์
ในช่วงยุคแรก
คือปี พ.ศ. 2514
ถึงในปี พ.ศ. 2515
จากนั้นจึงมีการจัดพิมพ์
ขึ้นมาเผยแพร่
อีกครั้งหนึ่ง
ในช่วงปี พ.ศ. 2518
ถึงในช่วงปี พ.ศ. 2528
ที่นำมาบันทึก
ไว้ในบทความครั้งนี้
โดยในฐานะนิตยสาร
นิตยสารรายการโทรทัศน์
ของทางสถานีโทรทัศน์ช่อง 3
เริ่มมีการสร้างสรรค์ขึ้น
เพื่อเป็นการแจกฟรี
ไปสู่ผู้ชมทางบ้าน
ที่มารับนิตยสาร
ที่แผนกประชาสัมพันธ์
ที่ทางสถานีฯ
ที่ถนนเพชรบุรีตัดใหม่
(เปิดให้รับนิตยสาร
ในทุกวันที่ 1
ถึงวันที่ 15
ของแต่ละเดือน)
จากนั้นจึงมีการรับสมัคร
สมาชิกทั่วประเทศ
ที่จะได้รับนิตยสาร
ผ่านทางไปรษณีย์
ในทุกช่วงต้นเดือน
โดยไม่เสียค่าใช้จ่าย
หลังจากได้สมัครสมาชิก
ตามระยะเวลา
ที่ทางทีมงาน
ได้กำหนดขึ้น
ในแต่ละช่วงปี
(โดยในภายหลัง
เมื่อมีสมาชิก
ในระดับหลักหมื่น
ก็ได้มีการเสียค่าธรรมเนียม
เป็นค่าไปรษณีย์
จำนวน 30 บาท
ต่อการรับนิตยสาร
ในระยะเวลา 1 ปี)
ในฐานะนิตยสาร
ที่มีการเผยแพร่
ในรูปแบบวงกว้าง
และมีช่วงเวลา
ของการจัดพิมพ์
ถึง 10 ปีเต็มนี้
นิตยสารายการโทรทัศน์
ของสถานีโทรทัศน์ช่อง 3
ในช่วงยุคที่ 2 นี้
มีการจัดพิมพ์
นิตยสารฉบับแรก
ออกมาเผยแพร่
ในเดือนมิถุนายน
ของปี พ.ศ. 2518
ซึ่งนอกจากนิตยสาร
ที่นำเสนอผังรายการ
ของทางช่อง
ในรูปแบบปกติแล้ว
ทางแผนกประชาสัมพันธ์
ของสถานีโทรทัศน์ช่อง 3
ยังมีการจัดพิมพ์
นิตยสารายการโทรทัศน์
ในรูปแบบสถานีโทรทัศน์
ส่วนภูมิภาค
ออกมาเผยแพร่
สำหรับผู้ชม
ในต่างจังหวัด
เพื่อเป็นการจูงใจ
ผู้ชมทั่วประเทศ
อีกทางหนึ่งด้วย
(ในช่วงก่อนปี พ.ศ. 2530
ที่ผ่านมานั้น
ผู้ชมต่างจังหวัด
แบบผู้เขียนนั้น
ไม่สามารถรับชม
รายการต่างๆ
ของทางช่อง 3
ในรูปแบบคมชัด
จากระบบ
การออกอากาศ
ที่ยังไม่ครอบคลุม
โดยในช่วงเวลานั้น
ทางสถานีโทรทัศน์ช่อง 3
ก็ได้มีการแก้ไข
โดยมีการออกอากาศ
รายการโทรทัศน์ต่างๆ
ของทางช่อง
ผ่านสถานีโทรทัศน์
ส่วนภูมิภาค
ซึ่งมีเลขช่อง
ที่แตกต่างกันไป
ในแต่ละภูมิภาค
โดยทางจังหวัด
นครราชสีมา
ที่ผู้เขียนบลอก
และครอบครัว
พักอาศัยนั้น
ก็จะรับชม
รายการต่างๆ
ของทางช่อง 3
ผ่านทางช่อง 4
ของส่วนภูมิภาค)
โดยนอกจากนิตยสาร
รายการโทรทัศน์
ของสถานีโทรทัศน์ช่อง 3
ในรูปแบบปกติ
และนิตยสาร
รายการโทรทัศน์
ในส่วนภูมิภาค
เพื่อชมทางบ้าน
ที่อยู่ต่างจังหวัด
ตั้งแต่ในช่วงปี พ.ศ. 2522
ที่ผ่านมานั้น
แผนกประชาสัมพันธ์
ของสถานีโทรทัศน์ช่อง 3
ก็ได้เป็นผู้ริเริ่ม
ในการผลิต
นิตยสารรายการโทรทัศน์
ของทางช่อง
ในรูปแบบภาษาอังกฤษ
เพื่อผู้ชมทางบ้าน
ที่เป็นชาวต่างชาติ
อีกรูปแบบหนึ่งด้วย
(ในช่วงก่อนปี พ.ศ. 2528
นอกจากรายการโทรทัศน์
และละครโทรทัศน์
ที่เป็นการผลิต
โดยทางช่องเองนั้น
(โดยเป็นที่ชื่นชอบ
ของผู้ชมทางบ้าน
จากการนำเสนอ
ละครโทรทัศน์
ที่มีเนื้อหาทันสมัย
และแปลกใหม่
นอกจากนี้
ยังเป็นที่จดจำ
ในประวัติศาสตร์
ของวงการโทรทัศน์
ที่เป็นสถานีโทรทัศน์
ที่เป็นช่องแรก
ของประเทศไทย
ที่มีการยกเลิก
รูปแบบการแสดง
ในแบบบอกบท
ในละครโทรทัศน์
เพื่อความสมจริง
โดยคุณภัทราวดี มีชูธน
ซึ่งในช่วงเวลานั้น
เป้นผู้จัดละครโทรทัศน์
ของทางช่อง
ในช่วงเวลานั้น)
สถานีโทรทัศน์ช่อง 3
ยังเป็นที่จดจำ
ของผู้ชมรุ่นใหม่
ในช่วงเวลานั้น
จากการที่ทางช่อง
ได้มีการซื้อลิขสิทธิ์
ภาพยนตร์เรื่องดัง
รายการโทรทัศน์
ประเภทดนตรี
การประกาศรางวัล
ทางการแสดง ดนตรี
การแสดงคอนเสริต์
และละครโทรทัศน์
แบบซีรีย์ชุดยาว
จากประเทศสหรัฐอเมริกา
(Knots Landing
The Hardy Boys
Nancy Drew
Hart to Hart
Code Red
Columbo
Wonder Woman
Remington Steele
Chips Magnum P.I
Vegas Dallas ฯลฯ)
รวมถึงละครจีนชุด
จากสถานีโทรทัศน์
ช่องทีวีบี-เอทีวี
ของทางฮ่องกง
(มังกรหยก ฝันสลาย
ชอลิ้วเฮียงถล่มวังค้างคาว
คมเฉือนคม เลือดต่างสี
สายเลือดเดียวกัน ฯลฯ)
ซึ่งนิตยสารายการโทรทัศน์
ของสถานีโทรทัศน์ช่อง 3
ในแบบภาคภาษาอังกฤษนี้
ไม่ได้มีการเปิดรับ
ในด้านสมาชิก
เช่นเดียวกับนิตยสาร
ในรูปแบบปกติ
ที่เป็นภาคภาษาไทย
แต่เป็นการจัดพิมพ์
และเผยแพร่
โดยเป็นการแจก
ไปสู่ผู้อ่าน
ชาวต่างชาติ
ในทุกต้นเดือน
โดยเป็นการแถม
ไปพร้อมกับการขาย
ของหนังสือพิมพ์
ภาคภาษาอังกฤษ
อย่าง เดอะ เนชั่น
บางกอก โพสต์
บางกอก เวิลด์
และ บิซสิเนส ไทม์
ที่ได้รับความนิยม
ในหมู่ชาวต่างชาติ
ในประเทศไทย
ในช่วงเวลานั้น
สำหรับข้อมูล
ในด้านรายชื่อ
ของทีมงาน
และกองบรรณาธิการ
รวมถึงผู้เกี่ยวข้อง
กับทางนิตยสาร
รายการโทรทัศน์
ของสถานีโทรทัศน์ช่อง 3
จากหน้าสารบัญ
ของนิตยสาร
ในปี พ.ศ. 2520
ซึ่งเป็นฉบับเก่าสุด
ที่ผู้เขียนบลอก
ยังคงมีเก็บไว้นั้น
นิตยสารฉบับนี้
มีรายชื่อทีมงาน
และผู้เกี่ยวข้อง
กับการสร้างสรรค์
ดังนี้ คุณประสาน มาลีนนท์
คุณประวิทย์ มาลีนนท์
คุณประชา มาลีนนท์
เป็นที่ปรึกษา
คุณบริสุทธิ์ บูรณะสัมฤทธิ
คุณรัชวุฒิ รัชตะนาวิน
คุณอัมพร มาลีนนท์
คุณนิมะ ราชิดี
คุณสุกัญญา ชูพินิจ
คุณเตือนใจ ดิลกวิลาศ
คุณสถาพร คล่องวิทยา
คุณสมศักดิ์ วงศ์รัฐปัญญา
คุณอัญญวดี อ่อนปาน
แผนกประชาสัมพันธ์
ของสถานีโทรทัศน์ช่อง 3
เป็นกองบรรณาธิการ
โดยนิตยสารายการโทรทัศน์
ของสถานีโทรทัศน์ช่อง 3
มีการจัดพิมพ์
ที่สหมิตรการพิมพ์
โดยมีคุณชำนิ รัตนวราหะ
เป็นผู้พิมพ์ ผู้โฆษณา
(เป็นรายชื่อทีมงาน
จากหน้าสารบัญ
ของนิตยสาร
ในช่วงปี พ.ศ. 2520
เพียงเท่านั้น
โดยในช่วงปีต่อมา
ของทางนิตยสาร
ก็จะมีทีมงาน
ท่านอื่นๆ
อีกหลายท่าน
เข้ามาสร้างสรรค์
นิตยสารฉบับนี้
ในแต่ละช่วงเวลา
ซึ่งผู้เขียนบลอก
ต้องขออภัย
ที่ไม่อาจบันทึก
ในทุกช่วงเวลา
ของการจัดพิมพ์)
สำหรับข้อมูล
ในด้านรุปแบบ
และส่วนประกอบ
ของนิตยสาร
รายการโทรทัศน์
ของสถานีโทรทัศน์ช่อง 3
ที่มีการสร้างสรรค์
ออกมาเผยแพร่
ในช่วงปี พ.ศ. 2518
ถึงในช่วงปี พ.ศ. 2528
จากความทรงจำ
ของผุ้เขียนบลอก
นอกจากภาพปก
และภาพประกอบ
ที่มักเป็นภาพ
ในการประชาสัมพันธ์
รายการโทรทัศน์
ละครโทรทัศน์
เรื่องต่าง-ต่างแล้ว
นิตยสารฉบับนี้
ยังมีคอลัมภ์
ที่มีความโดดเด่น
ในแต่ละช่วงเวลา
ของการจัดพิมพ์
ดังนี้ แถลง
(บทบรรณาธิการ)
จดหมายถึงบก.
(คอลัมภ์ตอบจดหมาย
ของผู้อ่านทางบ้าน)
จดหมายฝ่ายช่าง
โดย อุดร จะโนภาษ
(ตอบปัญหา
เกี่ยวกับข้อมูล
ในการปรับ
เครื่องรับโทรทัศน์
และเสาอากาศ
ในแต่ละพื้นที่)
บทความความรู้
เกี่ยวกับละคร
โดย อ.สดใส พันธุโกมล
คุยกับเด็ก
(บทสัมภาษณ์เด็กๆ
ในสังคมไทย)
บทความและข่าวสาร
ในวงการโทรทัศน์
โดย นคร วีระประวัติ
ภาษาไทยวันละคำ
(บทความความรู้
ด้านภาษาไทย
จากรายการ
ของทางช่อง 3)
เลียนแบบดารา
(เคล็ดลับความงาม
และการดุแลรุปร่าง)
บทความความรู้
และข่าวสาร
จากต่างประเทศ
โดย มล.ตวง สนิทวงศ์
ข่าวประชาสัมพันธ์
การประกวดร้องเพลง
(การประกวดร้องเพลง
ที่ถือเป็นรายการใหญ่
ของทางช่อง 3
ในทุก-ทุกปี
โดยผู้ชนะเลิส
จะเป็นตัวแทน
ไปประกวด
ในระดับเอเชีย
ที่ฮ่องกง)
อเมริกันฟุตบอล
(ข่าวนักกีฬา
อเมริกันฟุตบอล
จากสหรัฐอเมริกา)
คลีนิคช่อง 3
โดย นพ.มนตรี ประเสริฐวิทยาการ
บทความท่องเที่ยว
โดย สมศักดิ์ วงศ์รัฐฯ
บทความสุขภาพ
โดย พญ.ปรียา ทัศนประศาท
ผังรายการโทรทัศน์
ประจำเดือน
(ลงข้อมูล
ทั้งของช่อง 3
รวมถึงช่องอื่นๆ
ทั้ง 5 / 7 / 9)
การเปลี่ยนแปลงในเดือน
(ข้อมูลรายการใหม่
ประจำเดือนนั้นๆ)
แนะนำรายการ
สำหรับคุณแม่บ้าน
รายการสำหรับคุณหนู
รายการสำหรับครอบครัว
รายการประจำเดือน
รายการพิเศษวันหยุด
รายการประจำวัน
รายการภาคกลางวัน
ของวันเสาร์ อาทิตย์
(ในช่วงยุค 70
ถึงช่วงยุค 80
ที่ผ่านมานั้น
ในวันธรรมดานั้น
สถานีโทรทัศน์
ในทุก-ทุกช่อง
จะเริ่มมีการออกอากาศ
ตั้งแต่ในช่วงเย็น
ไปจนถึงเที่ยงคืน
เพียงเท่านั้น)
ทีวี เธียเตอร์
หนังดีวันเสาร์
หนังใหม่ที่กำลังจะมา
หนังใหญ่อมตะ
ยอดภาพยนตร์เงินล้าน
(แนะนำภาพยนตร์
ที่กำลังจะแพร่ภาพ
ทางสถานีโทรทัศน์ช่อง 3)
แบบสอบถามความคิดเห็น
เกี่ยวกับรายการโทรทัศน์
ทัศนะดารา
(บทสัมภาษณ์
นักแสดงไทย)
มายาดาราเทศ
(ข่าวซุบซิบ
ดาราฮอลลีวู๊ด)
สิ่งละอันพันละน้อย
(เคล็ดลับงานครัว)
เด่นดวงดาริกา
ประกายดารา
(แนะนำหนุ่มสาวหน้าใหม่
ในวงการบันเทิง)
บทความของบลอก
ในครั้งนี้นั้น
ก็ถือเป็นการย้อน
และการรื้อฟื้น
ในด้านความทรงจำ
เกี่ยวกับการรับชม
รายการโทรทัศน์ต่างๆ
ของทางสถานีโทรทัศน์ช่อง 3
ในช่วงยุค 80
ซึ่งเป็นช่วงเวลา
ที่ผู้เขียนบลอกนั้น
กำลังอยู่ในช่วงชั้นประถม
โดยหากมองย้อนกลับไป
ในช่วงวัยเด็กนั้น
ละครโทรทัศน์เรื่องแรก
ที่ผู้เขียนบลอก
มีโอกาสรับชม
พร้อมกับครอบครัว
อย่างเต็มเวลานั้น
คือละครโทรทัศน์
เรื่อง ทะเลเลือด
ของทางช่อง 3
ซึ่งเป็นผลงาน
ละครโทรทัศน์
แนวสืบสวน-ฆาตกรรม
ชีวิต-โรแมนติก
ที่เป็นการดัดแปลง
มาจากนวนิยายฮิต
เรื่อง Death on The Nile
ของ อกาธา คริสตี้
ที่เป็นผลงาน
ในฐานะผุ้จัด
อย่างเต็มตัว
เป็นครั้งแรก
ของคุณไก่
วรายุฑ มิลินทจินดา
ที่ทุ่มทุนสร้าง
อย่างเต็มที่
เพื่อเป็นการประกาศ
ความสามารถ
ในการผลิต
ละครโทรทัศน์
โดยในฐานะ
ละครโทรทัศน์เรื่องแรก
ที่ผู้เขียนบลอก
มีโอกาสรับชม
ละครโทรทัศน์
ของทางช่อง 3
ในเรื่องนี้นั้น
ก็ถือเป็นละครโทรทัศน์
ที่ผู้เขียนบลอก
มีความชื่นชอบ
และประทับใจ
มากที่สุด
มาจนถึงในปัจจุบัน
(ละครโทรทัศน์
เรื่อง ทะเลเลือด
เป็นเรื่องราวดราม่า
ซับซ้อน ซ่อนเงื่อน
แนวสืบสวน
พิศสวาท-ฆาตกรรม
ที่เหตุการณ์เกิดขึ้น
ในเรือสำราญสุดหรู
ที่มีการถ่ายทำ
ในเรือสำราญจริงๆ
โดยในความทรงจำ
ของผุ้เขียนบลอก
เหล่านำแสดงนำ
ที่มีการคัดเลือก
ออกมาได้เหมาะ
กับบทบาท
ตามนวนิยาย
อย่างคุณกำธร สุวรรณปิยะศิริ
ที่รับบทบาท
เป็นนักสืบปัวโรต์
ฉบับประเทศไทย
รวมถึงนักแสดงนำ
อย่างคุณฉัตรชัย เปล่งพานิช
ที่รับบทหนุ่มหล่อ-ร้าย
ที่อยู่ระหว่างสองสาวสวย
คุณกาญจนา จินดาวัฒน์
คุณดวงตา ตุงคะมณี
และนักแสดงท่านอื่นๆ
คุณเผ่าทอง ทองเจือ
คุณวิวัฒน์ ผสมทรัพย์
คุณพรพรรณ เกษมมัสสุ
ที่ต่างก็อยู่ในช่วงวัย
ที่กำลังมีหน้าตา
ที่งดงามที่สุดนั้น
ล้วนอยู่ในชุดสวย
ที่ดุหรุหรา งดงาม
สมกับเนื้อเรื่อง
ที่เป็นคดีฆาตกรรม
ที่เกิดเหตุขึ้น
ในสังคมผู้ดี
ที่มีฐานะร่ำรวย)
นอกจากนี้
จากความทรงจำ
ของผู้เขียนบลอก
ในช่วงเวลานั้น
อีกเหตุผลหนึ่ง
ในการบันทึก
บทความของบลอก
ในครั้งนี้นั้น
คือในช่วงยุค 70
และช่วงยุค 80
ที่ผ่านมานั้น
การจะรับชม
รายการโทรทัศน์
และละครโทรทัศน์
เรื่องต่างๆ
ของทางช่อง 3
ในรูปแบบ
ภาพคมชัดนั้น
สำหรับผุ้ชม
ที่อยู่ต่างจังหวัด
อย่างผู้เขียนนั้น
ถือว่าเป็นไปได้ยาก
(หากจะรับชม
ต้องมีการปรับ
ในด้านสัญญาณ
ของเครื่องรับโทรทัศน์
อยู่ตลอดเวลา)
แต่ถึงจะเป็นอย่างนั้น
จากการรับชม
ได้ยากลำบาก
จากระบบการแพร่ภาพ
ที่ยังไม่ครอบคลุม
ไปทั่วประเทศ
ที่มีความแตกต่าง
จากผู้ชมยุคนี้
ที่มีแต่ความสะดวกสบาย
ในการรับชม
ทั้งในแง่ความคมชัด
การชมย้อนหลัง
การรับชมผ่านเน็ท
ในรูปแบบนี้เอง
ที่ทำให้รายการโทรทัศน์
และละครโทรทัศน์
ในเรื่องต่างๆ
ในช่วงอดีต
ของทางช่อง 3
ที่มีการออกอากาศ
ผ่านสถานีโทรทัศน์
ในส่วนภุมิภาค
กลายเป็นรายการ
และละครโทรทัศน์
ที่ต้องติดตาม
กำหนดการ
และวันเวลา
ในการแพร่ภาพ
ที่ไม่ตรงกัน
กับการแพร่ภาพ
ในรุปแบบปกติ
จนกลายเป็นสื่อบันเทิง
ที่ถือเป็นสิ่งมีค่า
ไม่ได้รับชม
ได้แบบง่ายๆ
สำหรับผุ้ชม
ในต่างจังหวัด
จนกลายเป็นบทบันทึก
และกลายเป็นหน้าหนึ่ง
ที่อยู่ในความทรงจำ
ในช่วงวันวาร
ของผุ้ชมต่างจังหวัด
หลาย-หลายท่าน
มาจนถึงในทุกวันนี้
(ในช่วงวัยเด็ก
ทุก-ทุกบ้าน
ในแถบบ้าน
ของผุ้เขียนบลอก
ติดละครโทรทัศน์
เรื่อง ปริศนา
ที่มีคุณหมิว
ลลิตา ศศิประภา
และคุณนก
ฉัตรชัย เปล่งพานิช
เป็นผู้แสดงนำ
กันแถบทั้งนั้น
ซึ่งหากจะรับชม
ผ่านการแพร่ภาพ
ทางช่อง 3
โดยตรงแล้ว
ภาพที่เห็นนั้น
ก็จะไม่คมชัด
ทำให้ผู้ชมต่างจังหวัด
อย่างผู้เขียนบลอก
ต้องติดตามรับชม
ผ่านการแพร่ภาพ
ในช่วงเวลาเย็น
ของสถานีโทรทัศน์ช่อง 4
ซึ่งเป็นการแพร่ภาพ
ของสถานีโทรทัศน์
ส่วนภูมิภาคแทน
โดยหนึ่งในความทรงจำ
ที่ยังคงย้อนนึกถึง
มาจนถึงในทุกวันนี้
คือขณะที่ติดตาม
ละครโทรทัศน์
สุดฮิตเรื่องนี้
มาถึงทุกอาทิตย์
ปรากฎว่าสุดท้าย
ในการแพร่ภาพ
ช่วงตอนจบ
ของละครเรื่องนี้
ที่ช่อง 4 นั้น
ไฟฟ้าเกิดดับ
ในแถบนั้น
ตลอดช่วงเย็น
ก็ทำให้ไม่ได้รับชม
ตอนสุดท้าย
ของละครโทรทัศน์เรื่องนี้
เมื่อมีการออกอากาศ
ในครั้งแรก)
ในฐานะนิตยสาร
ที่มีการจัดพิมพ์
เพื่อเป็นการเผยแพร่
ข้อมูลและข่าวสาร
ของรายการโทรทัศน์
มาเป็นระยะเวลา
ถึง 10 ปีเต็ม
และมีจำนวน
ของสมาชิก
ในอัตราที่สูง
ตลอดระยะเวลา
ของการสร้างสรรค์
(จากบทบรรณาธิการ
เฉพาะในปี พ.ศ. 2527
นิตยสารฉบับนี้
มียอดสมาชิก
ไม่รวมการพิมพ์
เป็นการเพิ่มเติม
สำหรับผู้อ่าน
ที่มารับนิตยสาร
ด้วยตนเอง
ที่ทางสถานีฯ
และการแจกจ่าย
ให้กับบริษัท
ห้างร้านต่างๆ
ที่เป็นผุ้สนับสนุน
ของทางสถานีโทรทัศน์
ถึง 30,694 ท่าน)
นิตยสารรายการโทรทัศน์
ของสถานีโทรทัศน์ช่อง 3
ได้มีการยุติการสร้างสรรค์
และการจัดพิมพ์
นิตยสารฉบับนี้
ไปในช่วงปี พ.ศ. 2528
โดยจากถ้อยแถลง
ของบรรณาธิการ
ในฉบับที่ 120
ของปีที่ 10
ประจำเดือนพฤษภาคม
ของปี พ.ศ. 2528
(ฉบับหน้าปก
ที่มีภาพถ่าย
ของหวงเย่อหัว
พระเอกหนุ่มหล่อ
จากสถานีโทรทัศน์
ทีวีบี-ฮ่องกง
ที่ในขณะนั้น
กำลังมีผลงาน
ในด้านการแสดง
ในละครโทรทัศน์
ชุด จอมยุทธเจ้าสำราญ
ที่กำลังแพร่ภาพ
ในทุกวันจันทร์
ถึงวันอาทิตย์
เวลา 22.30 น.
ทางสถานีโทรทัศน์ช่อง 3
มาเป็นแบบปก)
ก็ได้มีบทความ
เพื่อเป็นการแจ้ง
ในการยุติ
การผลิตนิตยสาร
อย่างเป็นทางการ
ไปสู่ผู้อ่านทางบ้าน
โดยในถ้อยแถลง
ในฉบับสุดท้าย
ของทางนิตยสารนั้น
นอกจากการร่ำลา
รวมถึงขอบคุณ
ผู้อ่านทุกท่าน
ที่ได้ติดตาม
นิตยสารฉบับนี้
มาตลอดระยะเวลา
ถึง 10 ปีเต็ม
ทางคณะผู้ทำงาน
ในฝ่ายต่างๆ
ของสถานีโทรทัศน์ช่อง 3
ก็ได้ให้คำมั่นสัญญา
ในความตั้งใจ
ของทางองค์กร
ในการที่จะทำงาน
ในการผลิต
รายการโทรทัศน์
ที่มีคุณภาพ
ไปสู่ผู้ชมทางบ้าน
อย่างสม่ำเสมอต่อไป
แม้ว่าจะยุติ
การสร้างสรรค์
นิตยสารรายการโทรทัศน์
ในรูปแบบนี้
ไปแล้วก็ตาม
(บทความในครั้งนี้
เป็นการบันทึกข้อมูล
จากนิตยสารรายการโทรทัศน์
ของสถานีโทรทัศน์ช่อง 3
ในช่วงปี พ.ศ. 2518
ถึงในช่วงปี พ.ศ. 2528
เพียงเท่านั้น
โดยหากมีข้อมูล
ที่ไม่ถูกต้อง
หรือมีรายละเอียด
ที่ไม่ครบถ้วน
ผู้เขียนบลอก
ต้องขออภัย
ทางทีมงาน
แผนกประชาสัมพันธ์
ของทางช่อง 3
และผุ้เกี่ยวข้อง
กับนิตยสารฉบับนี้
ไว้ ณ ที่นี้)