กิฟท์ แมกกาซีน (1981-1992)

ในช่วงยุค 70

ถึงช่วงยุค 80

ที่ผ่านมานั้น

สื่อสิ่งพิมพ์

ประเภทการ์ตูน

ที่วางจำหน่าย

ในประเทศไทยนั้น

ยังไม่ได้เข้าสู่การเปลี่ยนแปลง

ในด้านกฎหมายลิขสิทธิ์

ที่เริ่มมีการบังคับใช้

อย่างเด็ดขาด

ในประเทศไทย

ในช่วงปี พ.ศ. 2535

ทำให้ในช่วงก่อนหน้านี้

ถือเป็นช่วงเวลา

ที่สำนักพิมพ์ต่างๆ

จะแข่งขันกัน

ในด้านการจัดพิมพ์

การ์ตูนฮิตเรื่องต่างๆ

ออกมาวางขาย

ถึงแม้จะเป็นการ์ตูน

ที่เป็นเรื่องเดียวกันก็ตาม

นิตยสารการ์ตูน

จึงถือเป็นอีกหนึ่งช่องทาง

ในการนำต้นฉบับ

ของนิตยสารการ์ตูน

จากประเทศญี่ปุ่น

ทั้งรายสัปดาห์

และรายเดือน

มาแปลและจัดพิมพ์

รวมถึงออกวางจำหน่าย

ในประเทศไทย

ให้เร็วที่สุด

ก่อนจะมีการรวมเล่ม

และออกวางขายอีกครั้ง

กิฟท์ แมกกาซีน

ถือเป็นอีกหนึ่งนิตยสาร

ที่ตีพิมพ์การ์ตูนเรื่องต่างๆ

ซึ่งก็ได้รับความนิยมอย่างสูง

จากผู้อ่านทางบ้าน

บทความของบลอกในครั้งนี้

ผู้เขียนจึงขอย้อนวัน-เวลา

นำพาผู้อ่านทุกๆท่าน

กลับไปในช่วงยุค 80 อีกครั้ง

เพื่อจะบอกเล่าถึงเรื่องราว

ของนิตยสารการ์ตูนฉบับนี้

โดยในการจัดทำ

บทความครั้งนี้

ผู้เขียนขอความกรุณา

ผู้อ่านทุกๆท่าน

ในแง่ของการย้ำเตือน

ว่านิตยสารฉบับนี้

ได้รับการจัดพิมพ์

ในช่วงที่กฎหมายลิขสิทธิ์

ยังไม่แพร่หลาย

ในประเทศไทย

โดยในการจัดทำ

ภาพประกอบ

สำหรับบทความ

ของบลอกในครั้งนี้

เป็นการสแกนภาพต่างๆ

จากหนังสือการ์ตูน

ที่มีขนาดเล็ก

ซึ่งนั่นทำให้ยากมาก

แก่การสแกน

ภาพต่างๆในบทความนี้

บางภาพจึงขาดความสมดุล

และมีตัวอักษรที่ขาดหาย

จากลักษณะการกางหนังสือ

เพื่อการสแกนนั่นเอง

จึงขอเรียนชี้แจง

ไว้ ณ ที่นี้












สำหรับผู้อ่านบลอก

ที่ไม่ได้ติดตาม

นิตยสารการ์ตูนฉบับนี้

กิฟท์ แมกกาซีน

เป็นนิตยสารการ์ตูน

สำหรับผู้หญิงรายเดือน

จัดทำโดยทีมงาน

กลุ่มไลน์อาร์ทแพลนนิ่ง

และมีการจัดจำหน่าย

โดย วิบูลย์กิจ

นิตยสารการ์ตูน

กิฟท์ แมกกาซีน

มีการเปิดตัว

และวางจำหน่าย

ทั่วประเทศ

เป็นฉบับแรก

ในเดือนธันวาคม

ปี พ.ศ. 2524

โดยมีราคาปก

ในแต่ละฉบับ

คือ 15 บาท

(ก่อนจะขยับราคา

เป็น 18 และ 20 บาท

ในภายหลัง

โดยในบางฉบับ

จะมีการวางจำหน่าย

ในราคาพิเศษ

เช่น 20 / 25

หรือ 35 บาท

ในฉบับพิเศษของปี

อย่างเดือนธันวาคม

หรือ มกราคม

ที่มีการเพิ่มภาพสี

และมีของแถมพิเศา

ให้กับผู้อ่านทางบ้าน)












นิตยสารการ์ตูน

กิฟท์ แมกกาซีน

เริ่มได้รับความนิยม

จากผู้อ่านทางบ้าน

จากการเป็นนิตยสาร

ในแวดวงการ์ตูน

ที่มีภาพสีสวยงาม

แทรกมาในเล่ม

ซึ่งในช่วงต้นยุค 80 นั้น

ถือเป็นสิ่งแปลกใหม่

ในวงการการ์ตูนบ้านเรา

โดยหลังจากการปรับปรุง

ในฉบับที่ 40

ที่เป็นเล่มพิเศษ

หนากว่า 350 หน้า

และมาพร้อมภาพสีมากมาย

รวมถึงมีการแจกแถม

สมุดโน๊ตที่น่ารัก

ให้กับผู้อ่าน

โดยกิฟท์ แมกกาซีน

ฉบับพิเศษ

ออกวางจำหน่าย

ในราคา 35 บาทนี้

แม้จะมีราคาจะสูง

(ในปี พ.ศ. 2529)

แต่ก็เป็นที่ต้อนรับ

ของผู้อ่านเป็นอย่างดี

ทำให้ ไลน์อาร์ทแพลนนิ่ง

ค้นพบแนวทางของตนเอง

ในการจัดวางรูปแบบ

ของนิตยสารฉบับนี้

ให้กลายเป็นนิตยสาร

ที่มีภาพสี

และเรื่องราวมากมาย

ในด้านบันเทิง

ที่มีความหลากหลาย

มอบให้กับผู้อ่าน

นอกเหนือจากการ์ตูน

ที่ลงประจำในเล่ม

ซึ่งรูปแบบใหม่นี้เอง

ถือเป็นลักษณะเฉพาะ

ที่ทำให้ กิฟท์ แมกกาซีน

ได้รับความนิยม

จากผู้อ่านอย่างมาก

ในช่วงปี พ.ศ. 2529

ถึงช่วงปี พ.ศ. 2535

ก่อนที่ทางวิบูลย์กิจ

จะตัดสินใจยุติ

การออกวางจำหน่าย

เมื่อเข้าสู่การเปลี่ยนแปลง

ในด้านกฎหมายลิขสิทธิ์

ซึ่งทางบริษัทวิบูลย์กิจเอง

ก็เป็นบริษัทใหญ่

ที่ให้การตอบรับ

กฎหมายลิขสิทธิ์

และทำให้เกิดความถูกต้อง

เป็นบริษัทแรกๆ

ของประเทศไทย

ในช่วงยุค 90

ที่ผ่านมา












สำหรับในการบันทึก

บทความของบลอก

ในครั้งนี้

ผู้เขียนก็จะขอเสนอ

ในส่วนต่างๆ

ของนิตยสาร

กิฟท์ แมกกาซีน

ที่มีส่วนสำคัญ

ที่ทำให้นิตยสารฉบับนี้

ได้รับความนิยม

ในกลุ่มผู้อ่าน

โดยส่วนแรกที่จะกล่าวถึง

แน่นอนว่าต้องเป็น

ส่วนของการ์ตูน

ที่ลงติดต่อกันเป็นประจำ

โดย กิฟท์ แมกกาซีน

ในช่วงแรกๆนั้น

ดึงดูดใจผู้อ่าน

ด้วยผลงานการ์ตูน

ของ อ. ยูมิโกะ อิการาชิ

ผู้วาด แคนดี้

ที่โด่งดังมากๆ

ก่อนจะเข้าสู่ช่วงยุคทอง

ของกิฟท์ แมกกาซีน

ที่ลงผลงานเรื่อง ไซเฟอร์

ของ อ. นาริตะ มินาโกะ

อสูรน้อยกระซิบรัก

ของ อ.อิเคโนะ โคอิ

เลขรักพิสดาร ไอบอย

ของ อ.อาซางิริ ยู

ซึ่งผลงานการ์ตูน

ของนักเขียนชื่อดัง

ทั้งสามท่านนี้

ถือเป็นการ์ตูนเรื่องหลัก

ที่ผู้อ่านทางบ้าน

รอคอยและตามอ่านกัน

นอกจากนี้

การลงภาพเปิดเรื่อง

โดยลงเป็นภาพสี

แบบเดียวกัน

กับนิตยสารการ์ตูน

จากประเทศญี่ปุ่น

ก็ทำให้นิตยสารฉบับนี้

เป็นที่ชื่นชอบ

ของผู้อ่านทางบ้าน

ในช่วงยุค 80 อย่างมาก











ส่วนสำคัญ

อีกด้านหนึ่ง

ในช่วงยุค 80

ที่ทำให้นิตยสาร

กิฟท์ แมกกาซีน

ได้รับความนิยม

จากผู้อ่านทางบ้าน

คือการที่ทางนิตยสาร

ลงข่าวบันเทิง

ของดาราวัยรุ่น

จากประเทศญี่ปุ่น

ซึ่งในช่วงยุค 80 นั้น

ได้รับความนิยม

จากผู้ชมชาวไทยอย่างสูง

อีกทั้งการลงภาพต่างๆนั้น

มีความคมชัด สวยงาม

ในรูปแบบของการจัดวางหน้า

ที่เป็นเอกลักษณ์

ที่มีความน่ารัก

ของ กิฟท์ แมกกาซีน

ทำให้แม้จะมีนิตยสารบันเทิง

ที่นำเสนอข่าวคราว

ของดาราญี่ปุ่น

อย่าง ทีวีรีวิว อยู่แล้ว

แต่ กิฟท์ แมกกาซีน

ก็เป็นอีกทางเลือกหนึ่ง

ของผู้ที่ชื่นชอบ

ดาราจากประเทศญี่ปุ่น

ให้ได้เลือกติดตามข่าวกัน


















โดยนอกเหนือ

จากการ์ตูน

ที่ลงประจำ

ในแต่ละฉบับ

และข่าวบันเทิง

จากประเทศญี่ปุ่นแล้ว

นิตยสารการ์ตูน

กิฟท์ แมกกาซีน

ยังมีความโดดเด่น

ด้วยการมีคอลัมภ์

ในนิตยสารมากมาย

ซึ่งคอมลัมภ์ประจำเหล่านั้น

ต่างก็มีความหลากหลาย

รวมถึงมีการจัดวางรูปแบบ

ของหน้าต่างๆ

ที่มีรูปสีสวยงาม

ในบทความครั้งนี้

ผู้เขียนบลอก

จึงจะขอแนะนำ

คอลัมภ์ที่น่าสนใจ

ของนิตยสาร

การ์ตูนฉบับนี้

โดยแบ่งการบันทึก

เป็นแต่ละหัวข้อกันไป




















สำหรับคอลัมภ์ประจำ

ที่ผู้อ่านจะพบ

เป็นอันดับแรกๆ

ของนิตยสารเล่มนี้

คือ เปิดเล่ม สารบัญ

ที่อยู่ในช่วงต้นๆ

รวมถึง ปิดเล่ม

และ วรรณกรรมคำตอบ

ที่อยู่ในช่วงท้ายเล่ม

ซึ่งเป็นการพูดคุยทางจดหมาย

เพื่อตอบคำถามของผู้อ่าน

ในแง่ของการ์ตูน

และการวางจำหน่าย

ของนิตยสารอื่นๆ

ในเครือของวิบูลย์กิจ

โดยผู้รับหน้าที่พูดคุย

กับน้องๆทางบ้าน

ใช้ชื่อว่า พี่กิฟท์

ซึ่งในช่วงยุค 80 ที่ผ่านมานั้น

สายสัมพันธ์ระหว่างผู้อ่าน

กับทีมงานของนิตยสารนั้น

ค่อนข้างจะใกล้ชิดกันมาก

ทำให้ในเทศกาลต่างๆ

รวมถึงวันเสาร์ อาทิตย์

บางครั้งทีมงานของกิฟท์

ก็จะมีโอกาสได้ต้อนรับ

น้องๆที่ไปเยี่ยมเยียน

ที่ออฟฟิศ

รวมถึงมีโทรศัพธ์

เข้าไปพูดคุย ถามไถ่

กับพี่ๆทีมงานอยู่เสมอ




สำหรับคอลัมภ์

อีกกลุ่มหนึ่ง

ที่นิตยสาร

กิฟท์ แมกกาซีน

ให้ความสำคัญเสมอ

คือ เรื่องราวของดนตรี

จากการมีหลายคอมลัมภ์

ที่นำเสนอในด้านนี้

ไม่ว่าจะเป็น Gift New Music

ที่นำเสนออัลบั้มต่างๆ

จากประเทศญี่ปุ่น

ซึ่งบริษัท CBS

นำมาวางจำหน่าย

ในประเทศไทย

โดยการวิจารณ์

ของคุณแซงแซว

และคุณกาจ๊วป

นอกจากนี้

ยังมีอีกหลายคอลัมภ์

ที่เกี่ยวข้องกับดนตรี

ไม่ว่าจะเป็น Bus Stop

ที่ในระยะหลังๆ

นำเสนอข่าวศิลปินเพลง

ในฝั่งอาร์ททิสมากขึ้น

Voice From The Heart

ที่เป็นการลงเนื้อเพลง

ทั้งฝั่งอังกฤษ อเมริกา

และประเทศญี่ปุ่น

88 Hit Line

อันดับเพลงฮิต

จากคลื่นวิทยุยอดนิยม

ในช่วงยุค 80

Fm 88 Smile Radio ฯลฯ









จากการที่คอลัมภ์ต่างๆ

ในด้านดนตรี

ของนิตยสารการ์ตูน

กิฟท์ แมกกาซีน

มักจะมีการนำเสนอ

ข่าวด้านดนตรี

จากคลื่น Fm 88

ที่ในช่วงยุค 80 นั้น

มีดีเจรุ่นใหม่

ที่มีความโดดเด่น

ในการนำเสนอเพลง

จากต่างประเทศ

และมักจะเป็นผู้จัดงาน

ในคอนเสริต์ต่างๆเสมอ

ซึ่งจากสายสัมพันธ์

และเหตุผลในจุดนี้

ทำให้ กิฟท์ แมกกาซีน

เป็นนิตยสารอีกฉบับหนึ่ง

ที่มีการลงข้อมูล ภาพข่าว

ของการจัดงานคอนเสริต์

ที่น่าสนใจอยู่เสมอ

โดยนำเสนอภาพข่าว

ทั้งศิลปินจากประเทศญี่ปุุ่น

และฝั่งอังกฤษ อเมริกา

รวมถึงของไทยเราเอง

สลับกันไปอยู่เสมอ

โดยนอกจากภาพคอนเสริต์

กิฟท์ แมกกาซีน

ยังได้เป็นหนึ่งในนิตยสาร

ที่ได้เข้าสัมภาษณ์

ศิลปินจากต่างประเทศ

ที่เข้ามาแสดงคอนเสริต์

ในประเทศไทยเสมอ

รวมถึงมีบทสัมภาษณ์

ดีเจชื่อดังท่านต่างๆ

จาก Smile Radio

ที่กำลังเป็นที่ชื่นชอบ

ของกลุ่มวัยรุ่น

ในขณะนั้น






สำหรับคอลัมภ์

อีกส่วนหนึ่ง

ที่มีความสำคัญ

ของนิตยสาร

กิฟท์ แมกกาซีน

คือส่วนบทความ

และภาพ

ในด้านไลฟ์สไตล์

ที่นิตยสารการ์ตูนฉบับนี้

ได้มีการจัดสรร

ในส่วนหน้าสี

ได้อย่างคุ้มค่า

โดยในแต่ละแบับนั้น

ก็จะมีการลง

ทั้งในด้านเสื้อผ้า

การแต่งตัว

การแต่งบ้าน

การท่องเที่ยว

ไว้อย่างครบถ้วน

โดยในการบันทึก

บทความครั้งนี้

ผู้เขียนขอนำเสนอ

ภาพตัวอย่าง

เล็กๆน้อยๆ

ที่แสดงถึงการจัดวาง

ในด้านรุปแบบ

ของหน้านิตยสาร

ที่มีความสวยงาม

เป็นเอกลักษณ์

ของกิฟท์ แมกกาซีน

มาลงเป็นตัวอย่าง

ในทุกๆหัวข้อ

รวมกันไป

เพื่อประกอบไว้

ในบทความครั้งนี้






โดยจากความทรงจำ

ของผุ้เขียนบลอก

สำหรับส่วนที่สาม

คือ การท่องเที่ยว

โดยในการนำเสนอ

ภาพและข้อมูล

ที่มีการตีพิมพ์

ลงในกิฟท์นี้

มีความโดดเด่น

จากการมีทั้งสกุ๊ป

ที่เป็นการถ่ายภาพ

ในประเทศไทย

ที่ทางทีมงานนั้น

ได้ไปทำสกู๊ปมาฝาก

ในช่วงแรก-แรก

ของทางนิตยสาร

(เช่น ร้านกิฟท์ชีอปต่างๆ)

จากนั้นในช่วงระยะหลัง

จึงมีการปรับเปลี่ยน

เป็นการมีข้อมูลต่างๆ

เกี่ยวกับสถานที่ท่องเที่ยว

ในต่างประเทศ

ซึ่งในช่วงยุค 80

ที่ผ่านมานั้น

ประเทศญี่ปุ่น

และสหรัฐอเมริกานั้น

ก็ดูจะเป็นประเทศในฝัน

ของวัยรุ่นชาวไทย

ทำให้ทางนิตยสาร

กิฟท์ แมกกาซีน

ในช่วงยุค 80

ที่ผ่านมานั้น

มักจะลงข้อมูล

ในด้านการท่องเที่ยว

จากประเทศญี่ปุ่น

และสหรัฐอเมริกา

มาฝากกันอยู่เสมอ






สำหรับคอลัมภ์อื่นๆ

ที่มีความน่าสนใจ

ที่มีความเกี่ยวข้อง

ในด้านการ์ตูนนั้น

กิฟท์ แมกกาซีน

ที่เป็นนิตยสารการ์ตูน

ก็มีหลายคอลัมภ์

ที่ให้ความรู้

และคำแนะนำ

เกี่ยวกับการจัดทำ

และการวาดภาพการ์ตูน

ไม่ว่าจะเป็น กระจุย

ที่ตอบปัญหาการวาดภาพ

และข้อมูลต่างๆ

ของนักเขียนการ์ตูน

คอลัมภ์ซุ้มศิลป์

คอลัมภ์ประกวดวาดภาพ

ที่ให้ผู้อ่านทางบ้าน

ได้แสดงฝีมือ

เพื่อชิงเงินรางวัล

ภาพน้อยชวนถนอม

ส่วนของภาพสวยๆ

จากนักเขียนการ์ตูนชื่อดัง

Lound Speaker

ข่าวคราวอัพเดท

ของการ์ตูนใหม่ๆ

Magazine of The Month

รายละเอียดต่างๆ

ของนิตยสารการ์ตูน

จากประเทศญี่ปุ่น

พบนักเขียน

ที่พาไปทำความรู้จัก

กับนักเขียนชื่อดัง

ท่านต่างๆ

คอลัมภ์กระซิบบอก

เป็นการนำเสนอสินค้า

ที่มีรูปการ์ตูนน่ารักๆ

ซึ่งเป็นสินค้าของแถม

และของชิงโชค

ซึ่งทางนิตยสารญี่ปุ่น

เป็นผู้จัดทำขึ้น













สำหรับคอลัมภ์

อีกส่วนหนึ่ง

ที่มีความน่าสนใจ

ของ กิฟท์ แมกกาซีน

คือคอลัมภ์ต่างๆ

ที่ให้ผู้อ่านทางบ้าน

ได้ร่วมสนุก

ในการส่งจดหมาย

หรืองานเขียน

มาพุดคุย แสดงฝีมือกัน

โดยคอลัมภ์ส่วนใหญ่

อยู่ในความดูแล

ของคุณแซงแซว

ไม่ว่าจะเป็น จั๊กกะจี้วัยรุ่น

ที่เป็นการตอบจดหมายสั้นๆ

ของคุณแซงแซว

ที่มีความโดดเด่น

ในการใช้ลายมือ

ที่น่ารัก

มาจัดทำคอลัมภ์

เพื่อให้เกิดความสนิทสนม

กับผู้อ่านทางบ้าน

นอกจากนี้

ในคอลัมภ์นี้

ยังมีการเปิดหน้า

ในการฝากแซว

และประกาศหาเพื่อน

สำหรับผู้อ่านทางบ้าน

ให้ส่งมาร่วมสนุกกัน

โดยในแต่ละเดือน

ก็จะมีรายการอวยพร

ในวันเกิดผู้อ่าน

ที่เป็นสมาชิก

ของไลน์อาร์ทแพลนนิ่ง

ให้เป็นพิเศษเสมอ

อีกทั้งหากผู้อ่านท่านไหน

มีฝีไม้ลายมือ

ในการแต่งบทกลอน

ก็สามารถส่งงานเขียน

มาร่วมสนุกได้

ในคอลัมภ์

ชื่อ รอยเล็บเจ็บรัก

จากใจที่มีให้

จินตกวีที่ขอบฟ้า

ความจริงจากใจ

และ กันเอง

ได้อีกทางหนึ่งด้วย













โดยในแง่ของการติดต่อ

กับผู้อ่านทางบ้าน

ที่เป็นสมาชิก

ของไลน์อาร์ทแพลนนิ่ง

โดยนอกจากจะได้รับ

บัตรสมาชิก

ในการเป็นส่วนลด

ในการซื้อหนังสือ

และสินค้าต่างๆ

ของทางบริษัท

สมาชิกทุกท่าน

ยังได้รับนิตยสาร

ที่ชื่อว่า New Type

ส่งให้ถึงบ้าน

ในทุกๆเดือนอีกด้วย

สำหรับคอลัมภ์

ในนิตยสารกิฟท์

ก็ได้มีคอลัมภ์พิเศษ

ที่มีขึ้นเพื่อติดต่อ พุดคุย

และแนะนำสมาชิก

โดยในส่วนนี้

ของนิตยสาร

ก็ได้มีการใช้

หลาย-หลายชื่อ

ในการทำคอลัมภ์นี้

ไม่ว่าจะเป็น จุ๊...จุ๊ คนน่ารัก

Gift Girl Gallery

รวมถึง ล้มทับสมาชิก

ซึ่งก็สร้างความสนิทสนม

ระหว่างผู้อ่านทางบ้าน

กับทางทีมงาน

ของนิตยสาร

ได้เป็นอย่างดี






สำหรับคอลัมภ์

อีกส่วนหนึ่ง

ที่ได้รับความนิยมมาก

ในกลุ่มผู้อ่าน

ของนิตยสาร

กิฟท์ แมกกาซีน

ในช่วงหลังๆ

ของนิตยสารเล่มนี้

คือคอลัมภ์

ในแบบบททดสอบ

ลักษณะนิสัย

ทำนายดวง

ทำนายบุคลิก

จากรุ๊ปเลือด

ซึ่งมีการแปล

มาจากนิตยสารวัยรุ่น

ของประเทศญี่ปุ่น

ซึ่งก็มีเสียงเรียกร้อง

มาในคอลัมภ์

วรรณกรรมคำตอบ

ให้ลงเพิ่มขึ้นอยู่เสมอ

เพื่อเป็นการทดแทน

ในส่วนของคอลัมภ์

เกี่ยวกับดวงชะตา

อย่าง ชะตาราศีคุณ

ที่การทำนาย

ประจำเดือน

ในแต่ละฉบับนั้น

มักจะไม่สามารถอ่านได้

เพราะนิตยสารฉบับนี้

มักจะออกล่าช้า

กว่ากำหนด

อยู่เสมอนั่นเอง







สำหรับส่วนสุดท้าย

ที่ผู้เขียนบลอก

จะขอกล่าวถึง

หากจะกล่าวถึง

ความโดดเด่น

ของนิตยสารกิฟท์

ในช่วงยุค 80

โดยจากความทรงจำ

ของผุ้เขียนบลอก

นิตยสารฉบับนี้

ยังเป็นที่จดจำ

จากการมักจะวางแผง

โดยมีของแถม

และมีการเปิดคอลัมภ์

ในด้านรายการ

การชิงรางวัล

ที่ทางนิตยสาร

และทีมงาน

ของกิฟท์ แมกกาซีน

มักจะมีมอบให้

กับผู้อ่าน

ที่ติดตาม

ทางนิตยสารเสมอ

โดยในฉบับพิเศษ

รวมถึงในฉบับปกติ

นิตยสารการ์ตูน

กิฟท์ แมกกาซีน

ก็มักจะมีของแถมพิเศษให้

ไม่ว่าจะเป็น สมุดโน๊ต

ปกเทป ส.ค.ส การ์ด

ตารางสอน ปฏิทิน

โปสเตอร์ สติกเกอร์ ฯลฯ

รวมถึงมีคอลัมภ์ต่างๆ

ที่ให้ผู้อ่านร่วมสนุก

ตอบคำถามชิงรางวัล

ในหลายๆคอลัมภ์

ไม่ว่าจะเป็น กิฟท์ขนมาแจก

กระซิบบอกลอกคราบ

รางวัลหล่นทับ

ภาพนี้มีปัญหา

ของฝากจากCBS

มุมของแจกฯ

ถือเป็นการตอบแทน

แฟนๆผู้อ่าน

ที่ให้การสนับสนุน

มาโดยตลอดนั่นเอง












จากความพิเศษ

ในหลายๆส่วน

ของนิตยสาร

กิฟท์ แมกกาซีน

ทำให้ช่วงยุค 80

ที่ผ่านมานั้น

นิตยสารการ์ตูน

สำหรับเด็กผู้หญิงเล่มนี้

ได้กลายเป็นที่นิยม

และเป็นที่จดจำ

ของผู้อ่านมากมาย

โดยจากความทรงจำ

ของผุ้เขียนบลอก

สิ่งหนึ่งที่รับประกัน

ความสำเร็จที่ยิ่งใหญ่

ของนิตยสาร

การ์ตูนผู้หญิงฉบับนี้

คือการที่ในช่วงยุค 80

ถึงช่วงยุค 90

ที่ผ่านมานั้น

ทางบริษัทวิบูลย์กิจ

ได้มีการผลิต

นิตยสารการ์ตูน

สำหรับผู้หญิง

ออกมาวางจำหน่าย

อีกในหลายฉบับ

โดยนิตยสารใหม่

เหล่านี้นั้น

ต่างก็มีการตั้งชื่อ

โดยอิงกับชื่อ

ของนิตยสารกิฟท์

ที่เป็นที่นิยม

และติดตลาด

ในความรู้สึก

ของผู้อ่าน

ในวงกว้างไปแล้ว

โดยนอกจากนิตยสาร

กิฟท์  แมกกาซีน

ในรูปแบบปกติแล้ว

ในช่วงยุค 80

ถึงช่วงต้นยุค 90

ทางบริษัทวิบูลยืกิจ

ยังมีการผลิต

Gift Extra

Gift Out Of Order

Gift ฉบับ Best

Gift ฉบับ Hello

ซึ่งหลังเข้าสู่ช่วงใหม่

ของการเปลี่ยนแปลง

ในด้านลิขสิทธิ์

ในช่วงปี พ.ศ. 2535

ทางบริษัท วิบูลย์กิจ

ก็ได้ออกนิตยสารการ์ตูน

สำหรับเด็กผู้หญิง

ในแบบถุกลิขสิทธิ์

เพื่อทดแทน Gift

ที่ต้องยุติลงไป

โดยนิตยสารใหม่

ที่เปิดตัวเหล่านี้

ก็ยังคงใช้ชื่อ Gift

แม้จะมีความแตกต่าง

จาก Gift

ในแบบเดิมๆ

อย่างมากก็ตาม

โดยหลังจากปี พ.ศ. 2535

แผงหนังสือการ์ตูน

ก็ได้มี Gift ฉบับ Omo

Gift Scarett , Gift Mystery

ที่มีการเปิดตัว

ในตลาดการ์ตูน

ซึ่งนั่นก็แสดงถึง

ความโด่งดัง

และความสำเร็จ

อย่างแท้จริง

ของนิตยสารการ์ตูน

สำหรับผู้หญิง

ในฉบับนี้

ที่โด่งดังอย่างมาก

ในความทรงจำ

ของผู้อ่านมากมาย

ที่ได้ผ่านพ้น

ช่วงยุค 80

ร่วมกันมา












นิตยสารเก่าในความทรงจำ

นิตยสารเก่าในความทรงจำ
นิตยสารลลนา (1973-1995)

สโมสรผึ้งน้อย (1984)

บทความเก่าของบลอก

บทความเก่าของบลอก
แหม่ม พัชริดา วัฒนา

นิตยสารเก่าในความทรงจำ

นิตยสารเก่าในความทรงจำ
นิตยสารทีวีรีวิว (1972-1992)

SAN MIGUEL BEER (1989)

บทความเก่าของบลอก

บทความเก่าของบลอก
เมย์ ศศลักษณ์ พันธุ์หาญ

SVESVESB / YASUO MIYATA (1982)

การ์ตูนเก่าในความทรงจำ

การ์ตูนเก่าในความทรงจำ
เอล (1992-1995)

SEVENTH HEAVEN (1996-2007)

เสือ 11 ตัว (2001)

เสือ 11 ตัว (2001)

NIVEA SKIN LOTION (1988)

บทความเก่าของบลอก

บทความเก่าของบลอก
เจี๊ยบ ศักราช ฤกษ์ธำรงค์

BALENO / DAVID WU (1989)

นิตยสารเก่าในความทรงจำ

นิตยสารเก่าในความทรงจำ
นิตยสารแพรวสุดสัปดาห์ (1983)

สิงห์โกลด์ไลท์เบียร์ (1989)

From Me To You


การจัดทำบลอกนี้

เกิดจากความรู้สึก

ที่ผู้เขียนบลอก

อยากจะบันทึก

ความทรงจำ

ในช่วงเวลา

ของวันเก่าๆ

ผ่านเส้นทาง

จากเรื่องราว

และผลงานต่างๆ

ของเหล่าดารา

นักร้อง นักแสดง

นายแบบ นางแบบ

นักเขียน ฯลฯ

ซึ่งมีความเกี่ยวข้อง

กับศิลปะบันเทิง

ในช่วงยุคสมัย

ก่อนการมาถึง

ของอินเทอร์เน็ต

ที่แพร่หลาย

ในสังคมไทย

อย่างในทุกวันนี้

ซึ่งในการจัดทำ

ผู้เขียนบลอก

ได้รวบรวม

เรื่องราวต่างๆ

จากความทรงจำ

และค้นข้อมูล

โดยนำรูปภาพ

จากนิตยสารต่างๆ

ในช่วงเวลาอดีต

นำมารวบรวม

และเรียบเรียง

ให้เป็นภาพชัดเจน

ขึ้นมาอีกครั้ง

ด้วยสิ่งที่ตนเองนั้น

ยังคงเก็บไว้

ด้วยความมุ่งหวัง

ในการนำเสนอ

ด้วยความให้เกียรติ

ผ่านการนำเสนอ

ในด้านที่สวยงาม

ซึ่งในการจัดทำ

บทความต่างๆ

ซึ่งต้องใช้ภาพ

จากนิตยสารแฟชั่น

และนิตยสารบันเทิง

ในฉบับต่างๆ

จากช่วงยุค 70

ถึงช่วงปลายยุค 90

ซึ่งภาพทั้งหมดนั้น

ถือเป็นลิขสิทธิ์

ของนิตยสาร

และช่างภาพ

ท่านต่างๆ

ทำให้ผู้เขียนบลอก

มีความตั้งใจ

ที่จะจัดทำบลอกนี้

โดยไม่แสวงผลกำไร

และไม่เปิดรับโฆษณา

เพื่อเป็นการยุติธรรม

ต่อเจ้าของภาพ

ในนิตยสาร หนังสือ

และวีดีโอต่างๆ

ที่ผู้เขียนบลอก

นำมาเรียบเรียงไว้

ในบทความ

โดยในการจัดทำ

ผู้เขียนบลอก

อยากจะขอขอบคุณ

นิตยสารและช่างภาพ

ซึ่งเป็นเจ้าของภาพ

สำหรับภาพสวยๆ

ในทุก-ทุกรูป

และอยากจะขอ

ความกรุณา

จากผู้อ่านทุกท่าน

ที่จะนำข้อมูล

และภาพต่างๆ

ในบลอกนี้

ซึ่งผู้เขียนบลอก

ไม่ใช่เจ้าของ

ในด้านลิขสิทธิ์

นำไปเผยแพร่

ขอให้ทุกท่าน

ที่จะนำภาพไปใช้

ขอให้นำไปใช้

โดยมิใช่เพื่อการค้า

หรือนำไปรวบรวมใว้

ในเวบไซต์ เพจ

หรือบลอกต่างๆ

ที่มีการลงโฆษณา

หรือนำไปประกอบ

ในข้อความ บทความ

ที่จะเป็นการล่วงเกิน

ผู้ที่เป็นแบบ

ในภาพนั้นๆ

จากการนำไปใช้

ร่วมกับข้อความ

ที่มีข้อมูล

ในด้านลบ

หรือใช้ถ้อยคำ

ที่มีความหยาบคาย

ซึ่งจะสร้างความเสียหาย

ให้กับผู้เป็นแบบ

ซึ่งอยู่ในภาพ

ท่านนั้นๆ

SUMMER CONCERT / JIMMY LIN (1992)

นิตยสารเก่าในความทรงจำ

นิตยสารเก่าในความทรงจำ
นิตยสารซินีแม๊ก (1994-2002)

SUCCESS / EISAKU YOSHIDA (1989)

บทความเก่าของบลอก

บทความเก่าของบลอก
Eisaku Yoshida

DIG MEN / TAKAHASHI BROTHERS (1989)

DAWSON'S CREEK (1998-2003)

บทความเก่าของบลอก

บทความเก่าของบลอก
นุ๊ก สุทธิดา เกษมสันต์ ณ อยุธยา

ชาวเวอร์ทูชาวเวอร์ / จอนนี่ แอนโฟเน่ (1989)

บทความเก่าของบลอก

บทความเก่าของบลอก
ลางลิขิต (2001)

โฆษณาเครื่องดื่มเป็ปซี่ / พีท ทองเจือ (1992)

นิตยสารเก่าในความทรงจำ

นิตยสารเก่าในความทรงจำ
Movie Time Magazine (1997-2009)

บทความเก่าของบลอก

บทความเก่าของบลอก
แพท พัสสน ศรินทุ

MELROSE PLACE (1992-1999)

นิตยสารเก่าในความทรงจำ

นิตยสารเก่าในความทรงจำ
Gift Magazine (1981-1992)
ในช่วงยุค 70-90 นั้น

สื่อสิ่งพิมพ์ประเภทการ์ตูน

ที่เข้ามาแพร่หลาย

ในประเทศไทยนั้น

ยังไม่ได้อยู่ภายใต้การบังคับ

ของกฎหมายลิขสิทธิ์

อย่างที่เกิดขึ้น

ในประเทศไทย

ในช่วงปี พ.ศ. 2535

ทำให้วงการการ์ตูน

ในประเทศไทย

ในขณะนั้น

มีการแข่งขันกัน

ระหว่างสำนักพิมพ์ต่างๆ

ในการตีพิมพ์และวางจำหน่าย

ผลงานการ์ตูนเรื่องดังๆ

จากประเทศญี่ปุ่น

จากเหตุผลในข้อนี้เอง

ทำให้เกิดนิตยสารการ์ตูน

เพื่อที่จะได้มีการแปล

และวางจำหน่าย

ให้ทันกับต้นฉบับ

ของนิตยสารการ์ตูน

ที่วางขายในประเทศญี่ปุ่น

และ กิฟท์ แม็กกาซีน

ของ ไลน์อาร์ทแพลนนิ่ง

ถือเป็นหนึ่งในนิตยสารการ์ตูน

สำหรับเด็กผู้หญิง

ที่โด่งดังมากที่สุด

ในช่วงยุค 80

ที่ผ่านมา

จากการมีการ์ตูนเรื่องดังๆ

อย่าง ไซเฟอร์ ไอบอย

เลขรักพิสดาร

อสูรน้อยกระซิบรัก

ตีพิมพ์เป็นประจำ

โดยนอกจากการ์ตูนฮิตเหล่านี้

กิฟท์ แม็กกาซีน

ยังมีลักษณะเฉพาะ

ที่มีความพิเศษ

ที่เป็นที่ชื่นชอบ

ของผู้อ่านมากมาย

จนกลายเป็นนิตยสารการ์ตูน

สำหรับเด็กผู้หญิง

ที่ยังคงอยู่ในความทรงจำ

ของผู้อ่านทุก-ทุกคน

มาจนถึงในทุกวันนี้

โดยผู้อ่านบลอก

ที่สนใจและชื่นชอบ

ในนิตยสารเล่มนี้

สามารถอ่านบทความ

และชมภาพทั้งหมด

ได้ในหัวข้อ 80 thai magazine

และ 90 thai magazinr

บทความเก่าของบลอก

บทความเก่าของบลอก
มารยาริษยา (1998)

SUNTORY NCAA / KOJI KIKKAWA (1985)

บทความเก่าของบลอก

บทความเก่าของบลอก
ต่อ กันติ ธรรมาณิชานนท์

MR PRIVATE EYE / CITY HUNTER (1987)

คิขุอาโนเนะ / วงบอยสเก๊าท์ (1993)

บทความเก่าของบลอก

บทความเก่าของบลอก
ธรรม์ โทณะวณิก

THE DREW CAREY SHOW (1995-2004)

นิตยสารเก่าในความทรงจำ

นิตยสารเก่าในความทรงจำ
นิตยสารอานนท์ (1993-1995)

SUNTORY / KAORU KOBAYASHI (1987)

การ์ตูนเก่าในความทรงจำ

การ์ตูนเก่าในความทรงจำ
รักทระนง (1987)

JAL OKINAWA / TORU KAZAMA (1989)

บทความเก่าของบลอก

บทความเก่าของบลอก
Taishu Kase

BEVERLY HILLS 90210 (1990-2000)

นิตยสารเก่าในความทรงจำ

นิตยสารเก่าในความทรงจำ
HELLO MAGAZINE (1985-1989)

LOVE LIGHT / YU HAYAMI (1982)

นิตยสารเก่าในความทรงจำ

นิตยสารเก่าในความทรงจำ
นิตยสารบงกช (1981-1989)

PRIVATE LIFE / SHONENTAI (1987)

Shonentai / 少年隊

ในช่วงยุค 80

ที่ผ่านมานั้น

ถือเป็นช่วงยุคเฟื่องฟู

ของเหล่านักแสดง

นักร้องวัยรุ่น

ขวัญใจวัยรุ่น

จากประเทศญี่ปุ่น

ที่เริ่มเป็นที่รู้จัก

และมีชื่อเสียง

ในประเทศไทย

โดยหลังจากความสำเร็จ

ของละครโทรทัศน์

เรื่อง เคนโด้

ข้าคือลุกผู้ชาย

รวมถึงละครโทรทัศน์

แนวกีฬา

จากประเทศญี่ปุ่น

อีกหลายๆเรื่อง

ที่เข้ามาแพร่ภาพ

และได้รับความนิยม

ในประเทศไทย

ในช่วงยุค 70

ผู้ชมชาวไทย

ก็เริ่มจะเปิดรับ

ผลงานเพลง

ละครโทรทัศน์

และภาพยนตร์เรื่องต่างๆ

จากประเทศญี่ปุ่น

โดยในฐานะ

กลุ่มนักร้อง

ขวัญใจวัยรุ่น

สามนักร้องหนุ่มหล่อ

วง Shonentai

ถือเป็นกลุ่มนักร้อง

จากประเทศญี่ปุ่น

ที่ได้รับความนิยม

จากสาวๆชาวไทย

มากที่สุด

ในช่วงยุค 80

ซึ่งความโด่งดัง

ของพวกเขา

ทำให้ผู้ชม

ในประเทศไทยเอง

ได้มีโอกาสต้อนรับ

และเข้าชมคอนเสริต์

ของพวกเขา

ที่มีการจัดขึ้น

ในประเทศไทย

ซึ่งถือเป็นความยิ่งใหญ่

ในยุคสมัย

ที่ยังไม่มี Internet

และสื่อบันเทิงต่างๆ

ให้ได้ติดตามรับชม

กันอย่างมากมาย

เหมือนในทุกวันนี้

โดยผู้อ่านของบลอก

ที่คิดถึงผลงาน

และเรื่องราวเก่าๆ

ในช่วงแรก

ของอาชีพนักร้อง

ของทั้งสามหนุ่มหล่อนี้

สามารถติดตามเรื่องราว

และรับชมรูปภาพ

ของพวกเขาได้

ในหัวข้อ 80 Japan Male Idol

บทความเก่าของบลอก

บทความเก่าของบลอก
โด่ง สิทธิพร นิยม

แกล้งโง่ / ฝันดี ฝันเด่น จรรยาธนากร (1994)

ละครเก่าในความทรงจำ

ละครเก่าในความทรงจำ
ดั่งดวงหฤทัย (1996)

นิตยสารเก่าในความทรงจำ

นิตยสารเก่าในความทรงจำ
นิตยสารด้วยรัก (1983-1985)

ขอคืน / บอยสเก๊าท์ (1993)

นิตยสารเก่าในความทรงจำ

นิตยสารเก่าในความทรงจำ
Starpics Magazine (1965)

EARLY EDITION (1996-2000)

การ์ตูนเก่าในความทรงจำ

การ์ตูนเก่าในความทรงจำ
บันทึกรักโพนีเทล (1985-1987)

นิตยสารฉบับเก่าในความทรงจำ

นิตยสารฉบับเก่าในความทรงจำ
นิตยสารแพรว (1979)

STILL LOVE HER / TM NETWORK

บทความเก่าของบลอก

บทความเก่าของบลอก
Kazukiyo Nishikiori (Shonentai)

ปราสาทมืด (1994)

บทความเก่าของบลอก

บทความเก่าของบลอก
ม.6/2 ห้องครูวารี (1994)

MEIJI CHOCOLAT (1993)

บทความเก่าของบลอก

บทความเก่าของบลอก
อัลเฟรด เนติพงษ์ ศรีทองอินทร์

TOKI WO KAKERU SHOUJO (1983)

AGAINST ALL ODDS (1984)

นิตยสารเก่าในความทรงจำ

นิตยสารเก่าในความทรงจำ
Starpics Magazine (1965)

GLICO ALMOND / RYUJI HARADA (1992)

บทความเก่าของบลอก

บทความเก่าของบลอก
โจ ธเนศ ฉิมท้วม

โปลิศจับขโมย (1996)

ปุกปุย (1990)

ภาพยนตร์คุณภาพ

เรื่อง ปุกปุย

ที่ยังคงอยู่ในความทรงจำ

ของผู้ชมภาพยนตร์

หลาย-หลายท่าน

มาจนถึงในทุกวันนี้

เกิดจากแนวคิด

ในการเขียนบท

ของ คุณอุดม อุดมโรจน์

และ คุณทองขาว มะขาวป้อม

โดยภาพยนตร์เรื่องนี้

มีชื่อแรกในบทร่าง

ว่า ใครใครก็ไม่รัก

ซึ่งแนวคิดของเรื่อง

ได้รับแรงบันดาลใจ

มาจาก My Life As a Dog

จากการที่คุณอุดมนั้น

ต้องการสร้างภาพยนตร์

เกี่ยวกับเด็กเด็ก

ในแนวคิดที่อยากนำเสนอ

ให้สังคมและครอบครัว

หันมาใส่ใจ

และดูแลเด็กเด็ก

ในด้านความรู้สึก

ของพวกเขามากกว่านี้

โดยรายนามของผู้สร้างสรรค์

ภาพยนตร์คุณภาพเรื่องนี้

มีดังนี้ กำกับภาพยนตร์

โดย อุดม อุดมโรจน์

อำนวยการสร้าง

โดย จรัญ/วิสูตร พูลวรลักษณ์

ถ่ายภาพ

โดย ปัญญา นิ่มเจริญพงศ์

ดนตรีประกอบ

โดย จำรัส เศวตาภรณ์

ภาพยนตร์เรื่อง ปุกปุย

เปิดตัวต่อสื่อมวลชน

และออกฉายทั่วประเทศ

เมื่อวันที่ 19 พฤษภาคม พ.ศ. 2533

โดยแม้จะมาพร้อม

กับคุณภาพ

และงานการสร้าง

ที่มีความสมบูรณ์แบบ

แต่ภาพยนตร์เรื่องนี้

ไม่ได้ออกฉายทันที

ที่การถ่ายทำเสร็จสิ้นลง

เนื่องจากต้องรอคิว

และเวลาในการออกฉาย

ในโรงภาพยนตร์

ที่มีจังหวะเหมาะสม

ก่อนที่ภาพยนตร์เล็กๆเรื่องนี้

จะทำรายได้ในปีนั้น

ไปอย่างเหนือความคาดหมาย

และยังคงอยู่ในความทรงจำ

ของผู้ชมทุก-ทุกคน

มาจนถึงทุกในวันนี้

ภาพยนตร์เรื่อง ปุกปุย

นำแสดงโดย ด.ช. ณพัชร สุพัฒนกุล

ที่ให้การแสดงชั้นยอด

และเป็นทุกสิ่งทุกอย่าง

ที่บทภาพยนตร์ต้องการ

ร่วมด้วย ด.ญ. ปรางใส ณ นคร

ด.ช. ศุภชัย ชัยวัฒนเมธิน

เกรียงไกร อุณหนันท์

ธิติมา สังขพิทักษ์

และ ญาณี จงวิสุทธิ์

สบตา / แอนเดรีย สวอเรซ (1994)

นิตยสารเก่าในความทรงจำ

นิตยสารเก่าในความทรงจำ
นิตยสารมิถุนา (1983-1997)

อยากรู้ความจริง / ทัช ณ ตะกั่วทุ่ง (1992)

บทความเก่าของบลอก

บทความเก่าของบลอก
เจริญทอง เกียรติบ้านช่อง

ครีมอาบน้ำลักส์ / อัญชลี จงคดีกิจ (1985)

บทความเก่าของบลอก

บทความเก่าของบลอก
โป้ง วราวุธ บูรพาชยานนท์

MISSING YOU / TOMMY PAGE (1997)

ตามรักคืนใจ (1998)

ในปี พ.ศ. 2541

สถานีโทรทัศน์ช่อง 3

ร่วมกับบริษัท ยูมาร์ 99 จำกัด

ได้เสนอละครโทรทัศน์

เรื่อง ตามรักคืนใจ

แพร่ภาพเป็นประจำ

ทุกวันศุกร์และเสาร์

เวลา 20:30 น.

ทางสถานีโทรทัศน์ช่อง 3

โดยละครโทรทัศน์เรื่องนี้

สร้างจากบทประพันธ์

ของ กิ่งฉัตร

ดัดแปลงเป็นบทโทรทัศน์

โดย ทุ่งดอกไม้

กำกับการแสดง

โดย วิลักษณา

นำแสดงโดย ธนากร โปษยานนท์

รับบท สีหนาท หรือ นายสิงห์

รามาวดี สิริสุขะ

รับบท หนูนา หรือ นารา

พงษ์พัฒน์ วชิรบรรจง

รับบท ราม

นาถยา แดงบุหงา รับบท รัศมี

นพชัย มัททวีวงศ์ รับบท อดิศร

ชไมพร สิทธิวรนันท์

รับบท จุฑารัตน์ หรือ จุ๊

เมธี อมรวุฒิกุล รับบท สารวัตรกช

รุ้งทอง ร่วมทอง รับบท ขนิษฐา

สมบัติ เมทะนี รับบท วรรณ

ทนงศักดิ์ ศุภการ รับบท ศักดา

ดารณีนุช โพธิปิติ รับบท แป้น

พิมพกา เสียงสมบุญ รับบท พวง

ศักราช ฤกษ์ธำรงค์ รับบท เอกชาติ

วัชรเกียรติ บุญภักดี รับบท เรือง

เรือนมยุรา (1997)

เธอยังคงมีฉัน / ปัทมวรรณ เค้ามูลคดี (1994)

บทความเก่าของบลอก

บทความเก่าของบลอก
เจ มณฑล จิรา

NEVER SURRENDER / COREY HART (1985)

บทความเก่าของบลอก

บทความเก่าของบลอก
Paul Visut Carey

คลังบทความของบล็อก

TOKI / YUTAKA OZAKI (1988)

บทความพิเศษของบลอก

บทความพิเศษของบลอก
นิตยสารวัยรุ่นทศวรรษที่ 90

TRUE / SPANDAU BALLET (1983)

MY FAVORITE ALBUM / EISAKU YOSHIDA

MOU DAREMO AISANAI (1991)

ดอกแก้วการะบุหนิง (2000)

ในปี พ.ศ. 2543

สถานีโทรทัศน์ช่อง 3

ร่วมกับบริษัท ฮู แอนด์ ฮู

โดย วรายุฑ มิลินทจินดา

เสนอละครโทรทัศน์

เเนว โรแมนติก-แฟนตาซี

เรื่อง ดอกแก้วการะบุหนิง

โดยเป็นการสร้าง

จากบทประพันธ์

โดย แก้วเก้า

นำมาดัดแปลง

เป็นบทโทรทัศน์

โดย วรดา

กำกับการแสดง

โดย ชูศักดิ์ สุธีรธรรม

นำแสดงโดย ธนากร โปษยานนท์

รับบท ดนย์

คัทลียา แมคอินทอช

รับบท การะบุหนิง

ฉัตรชัย เปล่งพานิช

รับบท สุหราปาตี

จินตหรา สุขพัฒน์

รับบท กิรณา

เพลงประกอบละครโทรทัศน์

เพลง เธอ

โดย ศิริลักษณ์ ผ่องโชค

ภาพประกอบละครโทรทัศน์

ช่วง Opening Credits

โดย อ.สุรเดช แก้วท่าไม้

ละครโทรทัศน์

เรื่อง ดอกแก้วการะบุหนิง

ออกอากาศเป็นประจำ

ทุกวันจันทร์ อังคาร

เวลา 20.25 น.

ทางสถานีโทรทัศน์ช่อง 3

ในปี พ.ศ. 2543

นิตยสารเก่าในความทรงจำ

นิตยสารเก่าในความทรงจำ
นิตยสารกระดังงา (1984-1990)

VITASOY / SIMON LO (1992)

บทความเก่าของบลอก

บทความเก่าของบลอก
สามารถ พยัคฆ์อรุณ

ป้ายกำกับ

JAL / KAORU KOBAYASHI (1991)

MY FAVORITE ALBUM

MY FAVORITE ALBUM
CAPRICCIO / SHONENTAI (1988)

HI-C LEMON TEA / EKIN CHENG (1987)

นิตยสารเก่าในความทรงจำ

นิตยสารเก่าในความทรงจำ
นิตยสารเพื่อนเดินทาง (1980)

GILMORE GIRLS (2000-2007)

HOP-STEP-LOVE / JUNICHI NITTA (1982)

บทความเก่าของบลอก

บทความเก่าของบลอก
Shingo Kazami

JA KYOSAI / EISAKU YOSHIDA (1990)

บทความเก่าของบลอก

บทความเก่าของบลอก
Yuki Saito

วนิดา (1991)