CINEMAG (1994-2002)

ในวงการสื่อสิ่งพิมพ์

ประเภทนิตยสาร

ที่ออกวางจำหน่าย

ในประเทศไทย

ในทุกยุคสมัยนั้น

มีนิตยสารมากมาย

ที่มีความหลากหลาย

ทั้งในรูปแบบ

ประเภทรายสัปดาห์

รายปักษ์ รายเดือน

ที่เริ่มต้นการก่อตั้ง

และออกวางจำหน่าย

สู่สายตาผู้อ่าน

ให้ได้ติดตาม

และซื้อหา

ตามแต่รสนิยม

และความชื่นชอบ

ของผู้อ่านท่านนั้นๆ

ซึ่งในจำนวน

ของนิตยสารต่างๆ

ที่มีการสร้างสรรค์

ออกมาวางจำหน่าย

ในแต่ละยุคสมัยนั้น

ก็มีนิตยสารมากมาย

ที่มีการยุติการผลิต

และห่างหายไป

จากแผงหนังสือ

ด้วยเหตุผล

และปัจจัยต่างๆ

ที่มีความหลากหลาย

และแตกต่างกันไป

โดยนิตยสาร

แนวบันเทิง

ที่นำเสนอ

ข่าสารและเรื่องราว

ของวงการภาพยนตร์

จากฝั่งตะวันตก

ในชื่อว่า Cinemag

ที่ผู้เขียนบลอก

นำมาบันทึก

ไว้ในบทความ

ของบลอก

ในครั้งนี้นั้น

ถือเป็นนิตยสาร

เกี่ยวกับภาพยนตร์

อีกหนึ่งฉบับ

ที่เปิดตัวขึ้น

ในช่วงกลางยุค 90

ที่ได้ห่างหายไป

และยังคงเป็นที่จดจำ

ของผู้อ่านทางบ้าน

หลาย-หลายท่าน

มาจนถึงในทุกวันนี้

โดยในการบันทึก

บทความของบลอก

ในครั้งนี้นั้น

หากมีข้อผิดพลาด

ในด้านรายละเอียด

หรือมีข้อมูลต่างๆ

ที่ไม่ครบถ้วน

ผู้เขียนบลอก

ต้องขออภัย

ผู้ที่เกี่ยวข้อง

กับการสร้างสรรค์

นิตยสารฉบับนี้

ทุก-ทุกท่าน

ไว้ ณ ที่นี้


สำหรับผู้อ่านบลอก

ที่ไม่ได้เติบโต

มาในช่วงยุค 90

หรือไม่ได้ติดตาม

นิตยสารบันเทิง

สำหรับผู้อ่าน

ที่มีความสนใจ

ในด้านภาพยนตร์

จากต่างประเทศ

ในฉบับนี้

นิตยสารซิเนเเม็ก

(Cinemag)

เป็นนิตยสาร

แนวบันเทิง

เกี่ยวกับภาพยนตร์

ของบริษัท

แฟมไลต์ จำกัด

(ในช่วงปีแรกนั้น

ในหน้าสารบัญ

ของทางนิตยสาร

ระบุว่านิตยสาร

เป็นการผลิต

โดยบริษัทแห่งนี้

ก่อนจะมีการปรับ

ในหน้าสารบัญ

จากการไม่ได้ระบุ

ในด้านชื่อบริษัทไว้

ในช่วงปีต่อ-ต่อมา)

ที่มีการวางจำหน่าย

ในรูปแบบรายปักษ์

ที่ออกวางจำหน่าย

ไปสู่ผู้อ่าน

ในทุกวันที่ 1

และวันที่ 15

ของแต่ละเดือน

(โดยมีการปรับ

ในด้านรูปแบบ

เป็นรายเดือน

ในช่วงปี พ.ศ. 2543)

โดยนิตยสารซีเนเเม็ก

ในฉบับแรกนั้น

มีการเปิดตัว

และวางจำหน่าย

เป็นครั้งแรก

ในช่วงปักษ์แรก

ของเดือนมีนาคม

ปี พ.ศ. 2537

โดยในการเปิดตัว

และวางจำหน่าย

ในฉบับแรก

ของปีที่ 1 ฉบับที่ 1

นิตยสารภาพยนตร์

ในฉบับนี้

มีราคาปก

คือ  40 บาท

ต่อหนึ่งฉบับ

(โดยในช่วงปี พ.ศ. 2537

ถึงในช่วงปี พ.ศ. 2545

ที่มีการสร้างสรรค์

นิตยสารฉบับนี้

ออกมาวางจำหน่าย

ไปสู่ผู้อ่านนั้น

นิตยสารฉบับนี้

มีการปรับราคา

เป็น 50 / 60

และ 70 บาท

ในแต่ละช่วงเวลา)











สำหรับรายชื่อ

ของทีมงาน

ของทางนิตยสาร

ในชื่อ Cinemag

จากหน้าสารบัญ

ของนิตยสาร

ในช่วงปีแรก

ซึ่งเป็นช่วงยุคก่อตั้ง

ในช่วงปี พ.ศ. 2537

นิตยสารบันเทิง

เกี่ยวกับภาพยนตร์

ในฉบับนี้

มีรายชื่อทีมงาน

ในกองบรรณาธิการ

และผู้เกี่ยวข้อง

กับการผลิต

ในช่วงยุคแรก

ดังนี้ คุณประไพพรรณ เหล่ายนตร์

เป็นบรรณาธิการ

คุณมงคลชัย ชัยวิสุทธิ์

เป็นหัวหน้า

กองบรรณาธิการ

และบรรณาธิการ

ผู้พิมพ์ ผู้โฆษณา

คุณวรรัตน์ ปิยะกุล

เป็นผู้ช่วยบรรณาธิการ

คุณสุระชาติ ตั้งตระกูล

คุณอรรถพล นวมะชิติ

คุณมนต์ชัย ปั้นวงศ์รอด

คุณทรงศร สำลีทอง

คุณศิริพร เจริญหิรัญศิลป์

คุณวันชัย ไวยบุตร

คุณพรรณิภา กบิลลิกกะวานิชย์

คุณธิดา ผลิตผลการพิมพ์

เป็นกองบรรณาธิการ

คุณธเนศ หัศบำเรอ

คุณจักรี จงยศยิ่ง

คุณชาลี วงศ์เสงี่ยม

คุณสุภัทรชัย สรรเพชร

เป็นฝ่ายศิลป์

คุณวิไล เก่งทุกทาง

เป็นผู้จัดการฝ่ายโฆษณา

คุณดิเรก สุขเสมือน

คุณมาลี บุณยศรีสวัสดิ์

เป็นประชาสัมพันธ์

คุณธารทิพย์ เหล่ายนตร์

เป็นผู้จัดการทั่วไป

คุณเพ็ญจันทร์ จิตต์จุฬานนท์

เป็นฝ่ายผลิต

(เป็นรายชื่อทีมงาน

จากหน้าสารบัญ

ของนิตยสาร

ในช่วงยุคก่อตั้ง

ของปี พ.ศ. 2537

เพียงเท่านั้น

โดยในช่วงยุคที่ 2

ของทางนิตยสาร

ที่มีการเปลี่ยนแปลง

ในด้านตำแหน่ง

บรรณาธิการ

รวมถึงมีการปรับเปลี่ยน

ในด้านรูปแบบ

ของทางนิตยสาร

นิตยสารซีเนแม็ก

ในช่วงปี พ.ศ. 2543

ถึงปี พ.ศ. 2545

ก็มีคุณนพพร ศุภพิพัฒน์

มารับตำแหน่ง

เป็นบรรณาธิการ

ให้กับทางนิตยสาร

ในช่วงยุคที่สอง

ของการวางจำหน่าย)











สำหรับรูปแบบ

และภาพรวม

ของนิตยสาร

ในชื่อ Cinemag

ซึ่งนอกจากนิตยสาร

ในแบบปกติ

ที่ออกวางจำหน่าย

ในรูปแบบรายปักษ์

ยังมีนิตยสาร

ฉบับพิเศษ

ในชื่อ Cinemag

ฉบับ Special

และ Cinemag

ฉบับ Extra

ที่มีการสร้างสรรค์

ออกมาวางจำหน่าย

ในช่วงปี พ.ศ. 2537

ถึงในช่วงปี พ.ศ. 2545

ที่ผ่านมานั้น

จากความทรงจำ

ของผู้เขียนบลอก

นิตยสารฉบับนี้

เป็นนิตยสาร

แนวบันเทิง

ที่นำเสนอ

ข่าวสาร เรื่องราว

บทความ บทสัมภาษณ์

รูปภาพและคอลัมภ์

ที่มีความน่าสนใจ

เกี่ยวกับนักแสดง

ผู้กำกับภาพยนตร์

ทีมผู้สร้าง ผู้เขียนบท

จากวงการภาพยนตร์

จากทางฝั่งตะวันตก

(รวมถึงมีข่าวสาร

และบทความต่างๆ

เกี่ยวกับทีมงาน

และการสร้าง

ผลงานภาพยนตร์

ที่มีความน่าสนใจ

ในประเทศไทย

ให้ได้ติดตาม

เช่นเดียวกัน)

โดยความโดดเด่น

ของนิตยสารฉบับนี้

คือการมีบรรณาธิการ

และนักเขียนชื่อดัง

ที่มีความรู้ ความเข้าใจ

ในด้านภาพยนตร์

ซึ่งมีชื่อเสียง

เป็นที่รู้จัก

จากการทำงาน

ในการสร้างสรรค์

นิตยสารเอนเตอร์เทน

ในช่วงยุคบุกเบิก

อย่างคุณประไพพรรณ เหล่ายนตร์

และคุณมงคลชัย ชัยวิสุทธิ์

ซึ่งมีผู้อ่านทางบ้าน

ที่มีความชื่นชอบ

ในงานเขียน

เกี่ยวกับภาพยนตร์

ของทั้งสองท่าน

จากทางนิตยสาร

ในฉบับเก่า

มารับหน้าที่

เป็นผู้ดูแล

และเป็นผู้สร้างสรรค์

นิตยสารภาพยนตร์

ในชื่อ ซีเนเเม็ก

ในฉบับนี้

นอกจากนี้

จากการเปิดตัว

ในรูปแบบนิตยสาร

ประเภทรายปักษ์

ที่ออกวางจำหน่าย

ในทุก 15 วัน

ก็ทำให้นิตยสาร

แนวบันเทิง

เกี่ยวกับภาพยนตร์

ในชื่อ ซิเนเเม็ก

ที่มีการเปิดตัว

ในช่วงปี พ.ศ. 2537

ในฉบับนี้นั้น

สามารถวางรูปแบบ

ในด้านเนื้อหา

ให้ความทันสมัย

ทันต่อเหตุการณ์

แต่ยังคงมีเวลา

และรูปเล่ม

ที่สามารถนำเสนอ

บทความพิเศษ

ในด้านความรู้

เกี่ยวกับภาพยนตร์

ซึ่งถือเป็นสิ่งสำคัญ

ทั้งสองด้าน

ของการผลิต

นิตยสารบันเทิง

เกี่ยวกับภาพยนตร์











โดยจากความทรงจำ

ของผู้เขียนบลอก

ในช่วงปี พ.ศ. 2537

ถึงในช่วงปี พ.ศ. 2545

นิตยสารซีเนแม็ก

ซึ่งเป็นที่คุ้นเคย

ของผู้อ่าน

จากการมีนักเขียน

และนักวิจารณ์ภาพยนตร์

อย่าง คุณนรา

คุณกฤตยา

คุณเดือนเพ็ญ สีหรัตน์

คุณมงคลชัย ชัยวิสุทธิ์

คุณประไพรรณ เหล่ายนตร์

คุณสุระชาติ ตั้งตระกูล

คุณมโนธรรม เทียมเทียบรัตน์

คุณปาจรีย์ ณ นคร

คุณเปรมปพัทธ ผลิตผลการพิมพ์

คุณธิดา ผลิตผลการพิมพ์

คุณศิวาภรณ์  พงษ์สุวรรณ

คุณเกษมสันต์ พรหมสุภา

คุณเรืองรอง รุ่งรัศมี ฯลฯ

มีผลงานตีพิมพ์

ลงในนิตยสารนั้น

มีคอลัมภ์ต่างๆ

ที่มีความโดดเด่น

และน่าสนใจ

สำหรับผู้อ่าน

ดังนี้ บก.แถลง

คุยกับบรรณาธิการ

(บทบรรณาธิการ

และการตอบจดหมาย

ของผู้อ่านทางบ้าน)

ภาพยนตร์สนทนา

(บทสัมภาษณ์

เกี่ยวกับผู้เกี่ยวข้อง

ของวงการภาพยนตร์)

Film News

Cinemag Starmania

คนดังเป็นข่าว

หนังข่าวรวมมิตร

(ข่าวนักแสดง

และวงการภาพยนตร์

จากฝั่งตะวันตก)

Cine Preview

(บทวิจารณ์ภาพยนตร์

จากนิตยสาร

ของต่างประเทศ)

ตีตั๋ว แขกรับชวน

หมาหยอกไก่

ชีวิตกับหนัง

คืนหมาหอน

เวทีวิจารณ์

(บทวิจารณ์ภาพยนตร์

จากนักวิจารณ์ไทย)

หลังจอ หลังกล้องกองถ่าย

แล่นตามหยามเตย

(ข่าวสารภาพยนตร์

ในประเทศไทย)

Cine Effect

(เบื้องหลังงานสร้าง

จากวงการภาพยนตร์

ในสหรัฐอเมริกา)

บันทึกที่สุด

ของวงการมายา

(รวมเรื่องเก่า

และสถิติต่างๆ

ของวงการภาพยนตร์

ในต่างประเทศ)

หรีดอาลัย

Cine Star Filmography

(บทสัมภาษณ์

และประวัติส่วนตัว

ของนักแสดง)

Coming Attraction

(คอลัมภ์แนะนำ

ภาพยนตร์ใหม่

ที่กำลังจะเข้าฉาย)

Cine Hut

(โปรแกรมภาพยนตร์

ของงานเทศกาลต่างๆ)

Cine Club

(คอลัมภ์ข่าวสาร

เกี่ยวกับสมาชิก

ของทางนิตยสาร

และการจัดงาน

ฉายภาพยนตร์

สำหรับผู้อ่าน)

Film Music

Soundtrack Corner

(บทวิจารณ์

อัลบั้มเพลง

ประกอบภาพยนตร์)

Box Office

(รายงานอันดับ

ภาพยนตร์ทำเงิน)

ข่าวบริการ

(ข่าวฝากประชาสัมพันธ์)

ใบปิดใบหนึ่ง

(คอลัมภ์แนะนำ

และวิจารณ์

การออกแบบ

ใบปิดภาพยนตร์)

The VISTA NEWS

V.D.O. UPDATE

(แนะนำวีดีโอออกใหม่)











ในฐานะนิตยสาร

ที่ต้องมีการปรับปรุง

และมีการปรับเปลี่ยน

เพื่อความน่าสนใจ

สำหรับผู้อ่าน

ในแต่ละช่วงเวลา

ของการสร้างสรรค์

นิตยสารซีเนแม็ก

ที่มีการเปิดตัว

เป็นครั้งแรก

ตั้งแต่ในปี พ.ศ. 2537

ก็มีการปรับปรุง

ในด้านรุปแบบ

ของทางนิตยสาร

หัวนิตยสาร

และเนื้อหา

ในคอลัมภ์ต่างๆ

เพื่อความทันสมัย

หลาย-หลายครั้ง

โดยจุดเปลี่ยน

ที่เป็นที่จดจำ

มากที่สุด

ของผู้อ่านทางบ้าน

คือการปรับเปลี่ยน

ในด้านบรรณาธิการ

จากคุณประไพพรรณ เหล่ายนตร์

มาเป็นคุณนพพร ศุภวิวัฒน์

(ในหน้าสารบัญ

ของนิตยสาร

ในช่วงยุคที่ 2

ยังคงมีคุณมงคลชัย

เป็นบรรณาธิการ

ผู้พิมพ์ ผู้โฆษณา

แบบในช่วงยุคแรก)

และมีการปรับเปลี่ยน

ในด้านรุปลักษณ์

ของทางนิตยสาร

จากการมีรูปเล่ม

หัวหนังสือ ราคา

ตัวอักษร การจัดหน้า

รวมถึงคอลัมภ์ใหม่

ที่เรียกว่าเป็นการปรับเปลี่ยน

ในแบบครั้งใหญ่

ของทางนิตยสาร

ในช่วงปี พ.ศ. 2543

ซึ่งก็ถือเป็นความแปลกใหม่

ของนิตยสารฉบับนี้

ที่มีการปรับปรุง

เพื่อนำเสนอ

ไปสู่ผู้อ่านประจำ

และผู้อ่านกลุ่มใหม่

ในอีกรูปแบบหนึ่ง











หลังจากการปรับเปลี่ยน

ในด้านบรรณาธิการ

ที่มีการแจ้ง

ไปสู่ผู้อ่าน

ในบทบรรณาธิการ

ของทางนิตยสาร

ในฉบับที่ 154

ประจำปีที่ 7

ของเดือนสิงหาคม

ปี พ.ศ. 2543

นิตยสารซีเนแม็ก

ในช่วงยุคที่ 2

ที่มีรูปแบบใหม่

ซึ่งมีการปรับเปลี่ยน

ในด้านการวางจำหน่าย

มาเป็นแบบรายเดือน

ก็มีการสร้างสรรค์

และวางจำหน่าย

ไปสู่ผู้อ่านทางบ้าน

ในรูปแบบนิตยสาร

อย่างต่อเนื่อง

อีกครั้งหนึ่ง

แต่เป็นที่น่าเสียดาย

ที่ในฐานะนิตยสาร

ที่นำเสนอข่าวสาร

เกี่ยวกับภาพยนตร์

จากฝั่งตะวันตก

กองบรรณาธิการ

ของนิตยสารซีเนแม็ก

ก็ได้ตัดสินใจ

ที่จะยุติการสร้างสรรค์

และการวางจำหน่าย

อีกครั้งหนึ่ง

ในช่วงปี พ.ศ. 2545

โดยนิตยสาร

ในชื่อ ซิเนเเม็ก

ในฉบับสุดท้าย

ที่ผู้เขียนบลอก

ยังคงมีเก็บไว้

คือนิตยสาร

ฉบับที่ 184

ของปี พ.ศ. 2545

(เป็นนิตยสาร

ในยุคสุดท้าย

ของการจัดพิมพ์

ที่ผู้เขียนบลอก

ยังคงมีเก็บไว้

เพียงเท่านั้น

ซึ่งอาจจะไม่ใช่

นิตยสารฉบับสุดท้าย

ที่มีการจัดพิมพ์)

โดยในฐานะ

นิตยสารชื่อดัง

ที่มีผู้อ่านมากมาย

ให้การติดตาม

หลังจากการยุติ

การวางจำหน่าย

ในรูปแบบ

ของนิตยสาร

ไปในช่วงปี พ.ศ. 2545

นิตยสารซีเนเเม็ก

มีโอกาส

กลับมาพบผู้อ่าน

ในระยะเวลาสั้น-สั้น

อีกครั้งหนึ่ง

ในช่วงปี พ.ศ. 2548

โดยในการกลับมา

ในครั้งนี้นั้น

เป็นการสร้างสรรค์

ในรุปแบบเวบไซต์

ที่มีชื่อเวบไซต์

ว่า  Cinemag Online

ซึ่งแม้ว่าเวบไซต์นี้

จะมีช่วงเวลา

ในการสร้างสรรค์

เพียงระยะสั้น-สั้น

แต่ก็เป็นช่วงเวลาหนึ่ง

ที่ทีมงานเก่า

ของทางนิตยสาร

และผู้อ่านทางบ้าน

ได้มีโอกาส

กลับมาพบปะ

และแลกเปลี่ยนความคิด

เกี่ยวกับวงการภาพยนตร์

แม้ว่าในการสร้างสรรค์

ในครั้งนี้นั้น

จะไม่ใช่ในรุปแบบ

ของการจัดพิมพ์

นิตยสารฉบับปกติ

อย่างที่เคยเป็นมา

ในช่วงยุคแรกเริ่มก็ตาม

(ข้อมูลต่างๆ

ในบทความนี้

มีการบันทึก

ข้อมูลต่างๆ

ของทางนิตยสาร

ถึงในช่วงปี พ.ศ. 2548

เพียงเท่านั้น

โดยหากมีข้อผิดพลาด

หรือมีข้อมูลต่างๆ

ในด้านรายละเอียด

ที่ไม่ถุกต้อง

ผู้เขียนบลอก

ต้องขออภัย

ทางทีมงาน

กองบรรณาธิการ

และผู้เกี่ยวข้อง

กับนิตยสารฉบับนี้

ไว้ ณ ที่นี้)













































นิตยสารเก่าในความทรงจำ

นิตยสารเก่าในความทรงจำ
นิตยสารลลนา (1973-1995)

สโมสรผึ้งน้อย (1984)

บทความเก่าของบลอก

บทความเก่าของบลอก
แหม่ม พัชริดา วัฒนา

นิตยสารเก่าในความทรงจำ

นิตยสารเก่าในความทรงจำ
นิตยสารทีวีรีวิว (1972-1992)

SAN MIGUEL BEER (1989)

บทความเก่าของบลอก

บทความเก่าของบลอก
เมย์ ศศลักษณ์ พันธุ์หาญ

SVESVESB / YASUO MIYATA (1982)

การ์ตูนเก่าในความทรงจำ

การ์ตูนเก่าในความทรงจำ
เอล (1992-1995)

SEVENTH HEAVEN (1996-2007)

เสือ 11 ตัว (2001)

เสือ 11 ตัว (2001)

NIVEA SKIN LOTION (1988)

บทความเก่าของบลอก

บทความเก่าของบลอก
เจี๊ยบ ศักราช ฤกษ์ธำรงค์

BALENO / DAVID WU (1989)

นิตยสารเก่าในความทรงจำ

นิตยสารเก่าในความทรงจำ
นิตยสารแพรวสุดสัปดาห์ (1983)

สิงห์โกลด์ไลท์เบียร์ (1989)

From Me To You


การจัดทำบลอกนี้

เกิดจากความรู้สึก

ที่ผู้เขียนบลอก

อยากจะบันทึก

ความทรงจำ

ในช่วงเวลา

ของวันเก่าๆ

ผ่านเส้นทาง

จากเรื่องราว

และผลงานต่างๆ

ของเหล่าดารา

นักร้อง นักแสดง

นายแบบ นางแบบ

นักเขียน ฯลฯ

ซึ่งมีความเกี่ยวข้อง

กับศิลปะบันเทิง

ในช่วงยุคสมัย

ก่อนการมาถึง

ของอินเทอร์เน็ต

ที่แพร่หลาย

ในสังคมไทย

อย่างในทุกวันนี้

ซึ่งในการจัดทำ

ผู้เขียนบลอก

ได้รวบรวม

เรื่องราวต่างๆ

จากความทรงจำ

และค้นข้อมูล

โดยนำรูปภาพ

จากนิตยสารต่างๆ

ในช่วงเวลาอดีต

นำมารวบรวม

และเรียบเรียง

ให้เป็นภาพชัดเจน

ขึ้นมาอีกครั้ง

ด้วยสิ่งที่ตนเองนั้น

ยังคงเก็บไว้

ด้วยความมุ่งหวัง

ในการนำเสนอ

ด้วยความให้เกียรติ

ผ่านการนำเสนอ

ในด้านที่สวยงาม

ซึ่งในการจัดทำ

บทความต่างๆ

ซึ่งต้องใช้ภาพ

จากนิตยสารแฟชั่น

และนิตยสารบันเทิง

ในฉบับต่างๆ

จากช่วงยุค 70

ถึงช่วงปลายยุค 90

ซึ่งภาพทั้งหมดนั้น

ถือเป็นลิขสิทธิ์

ของนิตยสาร

และช่างภาพ

ท่านต่างๆ

ทำให้ผู้เขียนบลอก

มีความตั้งใจ

ที่จะจัดทำบลอกนี้

โดยไม่แสวงผลกำไร

และไม่เปิดรับโฆษณา

เพื่อเป็นการยุติธรรม

ต่อเจ้าของภาพ

ในนิตยสาร หนังสือ

และวีดีโอต่างๆ

ที่ผู้เขียนบลอก

นำมาเรียบเรียงไว้

ในบทความ

โดยในการจัดทำ

ผู้เขียนบลอก

อยากจะขอขอบคุณ

นิตยสารและช่างภาพ

ซึ่งเป็นเจ้าของภาพ

สำหรับภาพสวยๆ

ในทุก-ทุกรูป

และอยากจะขอ

ความกรุณา

จากผู้อ่านทุกท่าน

ที่จะนำข้อมูล

และภาพต่างๆ

ในบลอกนี้

ซึ่งผู้เขียนบลอก

ไม่ใช่เจ้าของ

ในด้านลิขสิทธิ์

นำไปเผยแพร่

ขอให้ทุกท่าน

ที่จะนำภาพไปใช้

ขอให้นำไปใช้

โดยมิใช่เพื่อการค้า

หรือนำไปรวบรวมใว้

ในเวบไซต์ เพจ

หรือบลอกต่างๆ

ที่มีการลงโฆษณา

หรือนำไปประกอบ

ในข้อความ บทความ

ที่จะเป็นการล่วงเกิน

ผู้ที่เป็นแบบ

ในภาพนั้นๆ

จากการนำไปใช้

ร่วมกับข้อความ

ที่มีข้อมูล

ในด้านลบ

หรือใช้ถ้อยคำ

ที่มีความหยาบคาย

ซึ่งจะสร้างความเสียหาย

ให้กับผู้เป็นแบบ

ซึ่งอยู่ในภาพ

ท่านนั้นๆ

SUMMER CONCERT / JIMMY LIN (1992)

นิตยสารเก่าในความทรงจำ

นิตยสารเก่าในความทรงจำ
นิตยสารซินีแม๊ก (1994-2002)

SUCCESS / EISAKU YOSHIDA (1989)

บทความเก่าของบลอก

บทความเก่าของบลอก
Eisaku Yoshida

DIG MEN / TAKAHASHI BROTHERS (1989)

DAWSON'S CREEK (1998-2003)

บทความเก่าของบลอก

บทความเก่าของบลอก
นุ๊ก สุทธิดา เกษมสันต์ ณ อยุธยา

ชาวเวอร์ทูชาวเวอร์ / จอนนี่ แอนโฟเน่ (1989)

บทความเก่าของบลอก

บทความเก่าของบลอก
ลางลิขิต (2001)

โฆษณาเครื่องดื่มเป็ปซี่ / พีท ทองเจือ (1992)

นิตยสารเก่าในความทรงจำ

นิตยสารเก่าในความทรงจำ
Movie Time Magazine (1997-2009)

บทความเก่าของบลอก

บทความเก่าของบลอก
แพท พัสสน ศรินทุ

MELROSE PLACE (1992-1999)

นิตยสารเก่าในความทรงจำ

นิตยสารเก่าในความทรงจำ
Gift Magazine (1981-1992)
ในช่วงยุค 70-90 นั้น

สื่อสิ่งพิมพ์ประเภทการ์ตูน

ที่เข้ามาแพร่หลาย

ในประเทศไทยนั้น

ยังไม่ได้อยู่ภายใต้การบังคับ

ของกฎหมายลิขสิทธิ์

อย่างที่เกิดขึ้น

ในประเทศไทย

ในช่วงปี พ.ศ. 2535

ทำให้วงการการ์ตูน

ในประเทศไทย

ในขณะนั้น

มีการแข่งขันกัน

ระหว่างสำนักพิมพ์ต่างๆ

ในการตีพิมพ์และวางจำหน่าย

ผลงานการ์ตูนเรื่องดังๆ

จากประเทศญี่ปุ่น

จากเหตุผลในข้อนี้เอง

ทำให้เกิดนิตยสารการ์ตูน

เพื่อที่จะได้มีการแปล

และวางจำหน่าย

ให้ทันกับต้นฉบับ

ของนิตยสารการ์ตูน

ที่วางขายในประเทศญี่ปุ่น

และ กิฟท์ แม็กกาซีน

ของ ไลน์อาร์ทแพลนนิ่ง

ถือเป็นหนึ่งในนิตยสารการ์ตูน

สำหรับเด็กผู้หญิง

ที่โด่งดังมากที่สุด

ในช่วงยุค 80

ที่ผ่านมา

จากการมีการ์ตูนเรื่องดังๆ

อย่าง ไซเฟอร์ ไอบอย

เลขรักพิสดาร

อสูรน้อยกระซิบรัก

ตีพิมพ์เป็นประจำ

โดยนอกจากการ์ตูนฮิตเหล่านี้

กิฟท์ แม็กกาซีน

ยังมีลักษณะเฉพาะ

ที่มีความพิเศษ

ที่เป็นที่ชื่นชอบ

ของผู้อ่านมากมาย

จนกลายเป็นนิตยสารการ์ตูน

สำหรับเด็กผู้หญิง

ที่ยังคงอยู่ในความทรงจำ

ของผู้อ่านทุก-ทุกคน

มาจนถึงในทุกวันนี้

โดยผู้อ่านบลอก

ที่สนใจและชื่นชอบ

ในนิตยสารเล่มนี้

สามารถอ่านบทความ

และชมภาพทั้งหมด

ได้ในหัวข้อ 80 thai magazine

และ 90 thai magazinr

บทความเก่าของบลอก

บทความเก่าของบลอก
มารยาริษยา (1998)

SUNTORY NCAA / KOJI KIKKAWA (1985)

บทความเก่าของบลอก

บทความเก่าของบลอก
ต่อ กันติ ธรรมาณิชานนท์

MR PRIVATE EYE / CITY HUNTER (1987)

คิขุอาโนเนะ / วงบอยสเก๊าท์ (1993)

บทความเก่าของบลอก

บทความเก่าของบลอก
ธรรม์ โทณะวณิก

THE DREW CAREY SHOW (1995-2004)

นิตยสารเก่าในความทรงจำ

นิตยสารเก่าในความทรงจำ
นิตยสารอานนท์ (1993-1995)

SUNTORY / KAORU KOBAYASHI (1987)

การ์ตูนเก่าในความทรงจำ

การ์ตูนเก่าในความทรงจำ
รักทระนง (1987)

JAL OKINAWA / TORU KAZAMA (1989)

บทความเก่าของบลอก

บทความเก่าของบลอก
Taishu Kase

BEVERLY HILLS 90210 (1990-2000)

นิตยสารเก่าในความทรงจำ

นิตยสารเก่าในความทรงจำ
HELLO MAGAZINE (1985-1989)

LOVE LIGHT / YU HAYAMI (1982)

นิตยสารเก่าในความทรงจำ

นิตยสารเก่าในความทรงจำ
นิตยสารบงกช (1981-1989)

PRIVATE LIFE / SHONENTAI (1987)

Shonentai / 少年隊

ในช่วงยุค 80

ที่ผ่านมานั้น

ถือเป็นช่วงยุคเฟื่องฟู

ของเหล่านักแสดง

นักร้องวัยรุ่น

ขวัญใจวัยรุ่น

จากประเทศญี่ปุ่น

ที่เริ่มเป็นที่รู้จัก

และมีชื่อเสียง

ในประเทศไทย

โดยหลังจากความสำเร็จ

ของละครโทรทัศน์

เรื่อง เคนโด้

ข้าคือลุกผู้ชาย

รวมถึงละครโทรทัศน์

แนวกีฬา

จากประเทศญี่ปุ่น

อีกหลายๆเรื่อง

ที่เข้ามาแพร่ภาพ

และได้รับความนิยม

ในประเทศไทย

ในช่วงยุค 70

ผู้ชมชาวไทย

ก็เริ่มจะเปิดรับ

ผลงานเพลง

ละครโทรทัศน์

และภาพยนตร์เรื่องต่างๆ

จากประเทศญี่ปุ่น

โดยในฐานะ

กลุ่มนักร้อง

ขวัญใจวัยรุ่น

สามนักร้องหนุ่มหล่อ

วง Shonentai

ถือเป็นกลุ่มนักร้อง

จากประเทศญี่ปุ่น

ที่ได้รับความนิยม

จากสาวๆชาวไทย

มากที่สุด

ในช่วงยุค 80

ซึ่งความโด่งดัง

ของพวกเขา

ทำให้ผู้ชม

ในประเทศไทยเอง

ได้มีโอกาสต้อนรับ

และเข้าชมคอนเสริต์

ของพวกเขา

ที่มีการจัดขึ้น

ในประเทศไทย

ซึ่งถือเป็นความยิ่งใหญ่

ในยุคสมัย

ที่ยังไม่มี Internet

และสื่อบันเทิงต่างๆ

ให้ได้ติดตามรับชม

กันอย่างมากมาย

เหมือนในทุกวันนี้

โดยผู้อ่านของบลอก

ที่คิดถึงผลงาน

และเรื่องราวเก่าๆ

ในช่วงแรก

ของอาชีพนักร้อง

ของทั้งสามหนุ่มหล่อนี้

สามารถติดตามเรื่องราว

และรับชมรูปภาพ

ของพวกเขาได้

ในหัวข้อ 80 Japan Male Idol

บทความเก่าของบลอก

บทความเก่าของบลอก
โด่ง สิทธิพร นิยม

แกล้งโง่ / ฝันดี ฝันเด่น จรรยาธนากร (1994)

ละครเก่าในความทรงจำ

ละครเก่าในความทรงจำ
ดั่งดวงหฤทัย (1996)

นิตยสารเก่าในความทรงจำ

นิตยสารเก่าในความทรงจำ
นิตยสารด้วยรัก (1983-1985)

ขอคืน / บอยสเก๊าท์ (1993)

นิตยสารเก่าในความทรงจำ

นิตยสารเก่าในความทรงจำ
Starpics Magazine (1965)

EARLY EDITION (1996-2000)

การ์ตูนเก่าในความทรงจำ

การ์ตูนเก่าในความทรงจำ
บันทึกรักโพนีเทล (1985-1987)

นิตยสารฉบับเก่าในความทรงจำ

นิตยสารฉบับเก่าในความทรงจำ
นิตยสารแพรว (1979)

STILL LOVE HER / TM NETWORK

บทความเก่าของบลอก

บทความเก่าของบลอก
Kazukiyo Nishikiori (Shonentai)

ปราสาทมืด (1994)

บทความเก่าของบลอก

บทความเก่าของบลอก
ม.6/2 ห้องครูวารี (1994)

MEIJI CHOCOLAT (1993)

บทความเก่าของบลอก

บทความเก่าของบลอก
อัลเฟรด เนติพงษ์ ศรีทองอินทร์

TOKI WO KAKERU SHOUJO (1983)

AGAINST ALL ODDS (1984)

นิตยสารเก่าในความทรงจำ

นิตยสารเก่าในความทรงจำ
Starpics Magazine (1965)

GLICO ALMOND / RYUJI HARADA (1992)

บทความเก่าของบลอก

บทความเก่าของบลอก
โจ ธเนศ ฉิมท้วม

โปลิศจับขโมย (1996)

ปุกปุย (1990)

ภาพยนตร์คุณภาพ

เรื่อง ปุกปุย

ที่ยังคงอยู่ในความทรงจำ

ของผู้ชมภาพยนตร์

หลาย-หลายท่าน

มาจนถึงในทุกวันนี้

เกิดจากแนวคิด

ในการเขียนบท

ของ คุณอุดม อุดมโรจน์

และ คุณทองขาว มะขาวป้อม

โดยภาพยนตร์เรื่องนี้

มีชื่อแรกในบทร่าง

ว่า ใครใครก็ไม่รัก

ซึ่งแนวคิดของเรื่อง

ได้รับแรงบันดาลใจ

มาจาก My Life As a Dog

จากการที่คุณอุดมนั้น

ต้องการสร้างภาพยนตร์

เกี่ยวกับเด็กเด็ก

ในแนวคิดที่อยากนำเสนอ

ให้สังคมและครอบครัว

หันมาใส่ใจ

และดูแลเด็กเด็ก

ในด้านความรู้สึก

ของพวกเขามากกว่านี้

โดยรายนามของผู้สร้างสรรค์

ภาพยนตร์คุณภาพเรื่องนี้

มีดังนี้ กำกับภาพยนตร์

โดย อุดม อุดมโรจน์

อำนวยการสร้าง

โดย จรัญ/วิสูตร พูลวรลักษณ์

ถ่ายภาพ

โดย ปัญญา นิ่มเจริญพงศ์

ดนตรีประกอบ

โดย จำรัส เศวตาภรณ์

ภาพยนตร์เรื่อง ปุกปุย

เปิดตัวต่อสื่อมวลชน

และออกฉายทั่วประเทศ

เมื่อวันที่ 19 พฤษภาคม พ.ศ. 2533

โดยแม้จะมาพร้อม

กับคุณภาพ

และงานการสร้าง

ที่มีความสมบูรณ์แบบ

แต่ภาพยนตร์เรื่องนี้

ไม่ได้ออกฉายทันที

ที่การถ่ายทำเสร็จสิ้นลง

เนื่องจากต้องรอคิว

และเวลาในการออกฉาย

ในโรงภาพยนตร์

ที่มีจังหวะเหมาะสม

ก่อนที่ภาพยนตร์เล็กๆเรื่องนี้

จะทำรายได้ในปีนั้น

ไปอย่างเหนือความคาดหมาย

และยังคงอยู่ในความทรงจำ

ของผู้ชมทุก-ทุกคน

มาจนถึงทุกในวันนี้

ภาพยนตร์เรื่อง ปุกปุย

นำแสดงโดย ด.ช. ณพัชร สุพัฒนกุล

ที่ให้การแสดงชั้นยอด

และเป็นทุกสิ่งทุกอย่าง

ที่บทภาพยนตร์ต้องการ

ร่วมด้วย ด.ญ. ปรางใส ณ นคร

ด.ช. ศุภชัย ชัยวัฒนเมธิน

เกรียงไกร อุณหนันท์

ธิติมา สังขพิทักษ์

และ ญาณี จงวิสุทธิ์

สบตา / แอนเดรีย สวอเรซ (1994)

นิตยสารเก่าในความทรงจำ

นิตยสารเก่าในความทรงจำ
นิตยสารมิถุนา (1983-1997)

อยากรู้ความจริง / ทัช ณ ตะกั่วทุ่ง (1992)

บทความเก่าของบลอก

บทความเก่าของบลอก
เจริญทอง เกียรติบ้านช่อง

ครีมอาบน้ำลักส์ / อัญชลี จงคดีกิจ (1985)

บทความเก่าของบลอก

บทความเก่าของบลอก
โป้ง วราวุธ บูรพาชยานนท์

MISSING YOU / TOMMY PAGE (1997)

ตามรักคืนใจ (1998)

ในปี พ.ศ. 2541

สถานีโทรทัศน์ช่อง 3

ร่วมกับบริษัท ยูมาร์ 99 จำกัด

ได้เสนอละครโทรทัศน์

เรื่อง ตามรักคืนใจ

แพร่ภาพเป็นประจำ

ทุกวันศุกร์และเสาร์

เวลา 20:30 น.

ทางสถานีโทรทัศน์ช่อง 3

โดยละครโทรทัศน์เรื่องนี้

สร้างจากบทประพันธ์

ของ กิ่งฉัตร

ดัดแปลงเป็นบทโทรทัศน์

โดย ทุ่งดอกไม้

กำกับการแสดง

โดย วิลักษณา

นำแสดงโดย ธนากร โปษยานนท์

รับบท สีหนาท หรือ นายสิงห์

รามาวดี สิริสุขะ

รับบท หนูนา หรือ นารา

พงษ์พัฒน์ วชิรบรรจง

รับบท ราม

นาถยา แดงบุหงา รับบท รัศมี

นพชัย มัททวีวงศ์ รับบท อดิศร

ชไมพร สิทธิวรนันท์

รับบท จุฑารัตน์ หรือ จุ๊

เมธี อมรวุฒิกุล รับบท สารวัตรกช

รุ้งทอง ร่วมทอง รับบท ขนิษฐา

สมบัติ เมทะนี รับบท วรรณ

ทนงศักดิ์ ศุภการ รับบท ศักดา

ดารณีนุช โพธิปิติ รับบท แป้น

พิมพกา เสียงสมบุญ รับบท พวง

ศักราช ฤกษ์ธำรงค์ รับบท เอกชาติ

วัชรเกียรติ บุญภักดี รับบท เรือง

เรือนมยุรา (1997)

เธอยังคงมีฉัน / ปัทมวรรณ เค้ามูลคดี (1994)

บทความเก่าของบลอก

บทความเก่าของบลอก
เจ มณฑล จิรา

NEVER SURRENDER / COREY HART (1985)

บทความเก่าของบลอก

บทความเก่าของบลอก
Paul Visut Carey

คลังบทความของบล็อก

TOKI / YUTAKA OZAKI (1988)

บทความพิเศษของบลอก

บทความพิเศษของบลอก
นิตยสารวัยรุ่นทศวรรษที่ 90

TRUE / SPANDAU BALLET (1983)

MY FAVORITE ALBUM / EISAKU YOSHIDA

MOU DAREMO AISANAI (1991)

ดอกแก้วการะบุหนิง (2000)

ในปี พ.ศ. 2543

สถานีโทรทัศน์ช่อง 3

ร่วมกับบริษัท ฮู แอนด์ ฮู

โดย วรายุฑ มิลินทจินดา

เสนอละครโทรทัศน์

เเนว โรแมนติก-แฟนตาซี

เรื่อง ดอกแก้วการะบุหนิง

โดยเป็นการสร้าง

จากบทประพันธ์

โดย แก้วเก้า

นำมาดัดแปลง

เป็นบทโทรทัศน์

โดย วรดา

กำกับการแสดง

โดย ชูศักดิ์ สุธีรธรรม

นำแสดงโดย ธนากร โปษยานนท์

รับบท ดนย์

คัทลียา แมคอินทอช

รับบท การะบุหนิง

ฉัตรชัย เปล่งพานิช

รับบท สุหราปาตี

จินตหรา สุขพัฒน์

รับบท กิรณา

เพลงประกอบละครโทรทัศน์

เพลง เธอ

โดย ศิริลักษณ์ ผ่องโชค

ภาพประกอบละครโทรทัศน์

ช่วง Opening Credits

โดย อ.สุรเดช แก้วท่าไม้

ละครโทรทัศน์

เรื่อง ดอกแก้วการะบุหนิง

ออกอากาศเป็นประจำ

ทุกวันจันทร์ อังคาร

เวลา 20.25 น.

ทางสถานีโทรทัศน์ช่อง 3

ในปี พ.ศ. 2543

นิตยสารเก่าในความทรงจำ

นิตยสารเก่าในความทรงจำ
นิตยสารกระดังงา (1984-1990)

VITASOY / SIMON LO (1992)

บทความเก่าของบลอก

บทความเก่าของบลอก
สามารถ พยัคฆ์อรุณ

ป้ายกำกับ

JAL / KAORU KOBAYASHI (1991)

MY FAVORITE ALBUM

MY FAVORITE ALBUM
CAPRICCIO / SHONENTAI (1988)

HI-C LEMON TEA / EKIN CHENG (1987)

นิตยสารเก่าในความทรงจำ

นิตยสารเก่าในความทรงจำ
นิตยสารเพื่อนเดินทาง (1980)

GILMORE GIRLS (2000-2007)

HOP-STEP-LOVE / JUNICHI NITTA (1982)

บทความเก่าของบลอก

บทความเก่าของบลอก
Shingo Kazami

JA KYOSAI / EISAKU YOSHIDA (1990)

บทความเก่าของบลอก

บทความเก่าของบลอก
Yuki Saito

วนิดา (1991)